พาร์กินสัน, ผู้สูงอายุ, สมอง, ชราภาพ, โรคพาร์กินสัน, สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน

รู้จัก พาร์กินสัน โรคสั่นของคนสูงวัย

อาการของพาร์กินสัน

อาการของโรคพาร์กินสันที่แสดงออกชัดเจนและมักพบในผู้ป่วยทั่วไปมีดังนี้คือ

อาการสั่น

มักพบได้บ่อยที่มือและเท้า แต่บางครั้งผู้ป่วยบางคนก็เป็นที่คางหรือลิ้น ประมาณร้อยละ 60-70 ของผู้ป่วย จะมีอาการสั่นโดยเฉพาะเวลาอยู่นิ่งๆจะสั่นมาก (ประมาณ 4-8 ครั้ง/วินาที) แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมโดยไม่อยู่นิ่ง อาการสั่นก็จะลดลงหรือหายไป

 

อาการเกร็ง

ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อโดยเฉพาะที่บริเวณโคนแขน โคนขาและลำตัว แม้ว่าจะไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักก็ตาม ผู้ป่วยบางรายต้องกินยาแก้ปวดหรือต้องนวดอยู่เป็นประจำ

พาร์กินสัน, ผู้สูงอายุ, อาการโรคพาร์กินสัน, ชราภาพ, สาเหตุของโรคพาร์กินสัน
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มักมีอาการมือและเท้าสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ

ระยะแรก ผู้ป่วยอาจรู้สึกทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำตามปกติช้าลงและเคลื่อนไหวไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนก่อน โดยเฉพาะระยะเริ่มต้นของการเคลื่อนไหว ถ้าเป็นมากขึ้นอาจเดินเองไม่ได้ต้องใช้ไม้เท้าหรือใช้คนพยุง

 

การทรงตัวลำบาก

จนทำให้ท่าเดินผิดปกติไปจากเดิม นอกจากนั้น ผู้ป่วยบางคนยังเดินหลังค่อม ตัวงอ มือชิดแนบลำตัวหรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการหกล้มได้บ่อยๆจนในบางราย โดยเฉพาะผู้สูงอาอายุ ทำให้กระดูกต้นขาหัก สะโพกหัก ศีรษะแตก เป็นต้น

 

นอกจากอาการข้างต้นแล้วผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายยังมีอาการแทรกซ้อนอื่นอีก เช่น สีหน้าเฉยเมย ไม่ค่อยยิ้มเวลาหัวเราะดูเหมือนไม่มีอารมณ์และความรู้สึกใดๆ เสียงพูดมักจะเบา มีจังหวะเดียวไม่มีเสียงสูงต่ำหากพูดไปนานๆเสียงจะหายไปในลำคอ การเขียน ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะเขียนหนังสือลำบาก ตัวหนังสือจะค่อยๆเล็กลงจนอ่านไม่ออกในที่สุด มีปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้คล่องแคล่วอย่างคนปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุก

นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้อแท้ สิ้นหวัง ซึมเศร้า ซึ่งบางครั้งอาจเป็นมากถึงขั้นทำร้ายตัวเอง บางรายอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆร่วมด้วย เช่นท้องผูกเป็นประจำ อ่อนเพลีย เป็นต้น

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.