เดิน, ออกกำลังกาย, ข้อเข่าแข็งแรง

10 WALKING TIPS เดิน ให้ข้อ เข่า กระดูกสันหลังแข็งแรง

1. ปรับท่าเดินให้ถูกต้อง

เพราะท่าเดินที่ถูกต้องจะช่วยให้บุคลิกดีขึ้นและดูสง่างาม โดย

  • ตามองตรง ไม่ก้มศีรษะ เพราะการก้มศีรษะ จะไปเพิ่มการลงน้ำหนักที่กระดูกสันหลังบริเวณคอและหลัง ทำให้มีอาการปวดคอ บ่า ไหล่ และหลังตามมาได้
  • ตั้งลำตัวตรง ไหล่สองข้างอยู่ในแนวขนาน เพื่อให้กระดูกสันหลังเกิดความสมดุลไม่ลงน้ำหนักไปที่ กระดูกสันหลังข้างใดข้างหนึ่ง แกว่งแขนซ้าย – ขวาสลับกัน โดยสลับหน้า – หลังด้วย เพื่อความสมดุลของร่างกาย
  • ไม่เกร็งระหว่างเดิน ผ่อนคลายตั้งแต่มือ ข้อนิ้วมือ อาจจะงอข้อศอกเล็กน้อย และก้าวเท้าให้เหมาะสม ไม่ยาว ไม่สั้นจนเกินไป จะลดอาการปวดเกร็งของเข่า และกล้ามเนื้อต้นขาได้
  • ขณะที่เดินให้ลงน้ำหนักที่ส้นเท้าก่อน ตามมาด้วย เหยียบเท้าให้เต็มฝ่าเท้า ส่วนเท้าอีกข้างให้ยกส้นเท้าขึ้น ก่อนเช่นกัน จะเป็นการช่วยบริหารกล้ามเนื้อหน้าแข้ง

 

2. เลือกรองเท้าให้เหมาะสม

โดยเฉพาะ อย่างยิ่งหากต้องเดินไกลๆ ควรเลือก รองเท้าหุ้มส้นที่สวมสบาย โดยควรลอง สวมรองเท้าเดินก่อนที่จะเดินทางไกล

เดิน, ออกกำลังกาย, ข้อเข่าแข็งแรง
ใส่รองเท้าที่สวมใส่สบาย ช่วยให้เดินได้สะดวก และปลอดภัย

3. หลีกเลี่ยงการสวมรองเท้าส้นสูง

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสวมรองเท้าที่ส้นสูง เกิน 1 นิ้วครึ่ง เพราะเมื่อสวมส้นสูงจะ ทำให้หลังงอและมีการโน้มตัวไปด้านหน้า ร่างกายจึงพยายามรักษาสมดุลด้วยการต้าน หรือเกร็งไม่ให้ลำตัวและแผ่นหลังเอนไป ข้างหน้ามากเกินไป ส่งผลให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำ มาสู่อาการปวดหลัง หากมีพฤติกรรมนี้เป็นเวลานานๆ ก็จะทำให้กระดูกเคลื่อนไป กดทับเส้นประสาทได้

 

4. แขม่วพุงหรือแขม่วท้องเวลาเดิน

เป็นการฝึกบริหาร กล้ามเนื้อหลังมัดลึก ทำได้ดังนี้คือ

 

ขั้นที่1 หายใจเข้าและออกให้สุด จำความรู้สึกไว้ว่า การหายใจเข้าและออกแบบลึกสุดๆ คิดเป็นการหายใจแบบ 100 เปอร์เซ็นต์

ขั้นที่ 2 หายใจเข้าประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์ แขม่วท้องค้างไว้ นับ 1 – 10 แล้วหายใจออก คลายหน้าท้อง โดยขณะเกร็งหรือ แขม่วให้ผ่อนคลายในระดับที่สามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้อื่นได้

 

การแขม่วพุงยังมีประโยชน์อีกมากมาย เช่น เพิ่มความ แข็งแรงของกล้ามเนื้อแกนกลางลำตัว ลดแรงกระทำ และ ช่วยกระจายแรงกระทำต่อกระดูกสันหลัง เพิ่มความมั่นคง ให้กระดูกสันหลัง ป้องกันการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุบริเวณหลังส่วนล่างทำให้ประสิ ทธิภาพการหายใจดีขึ้นกระชับหน้าท้องทำให้หน้าท้องแบนราบ บุคลิกภาพดี

น้ำหนักตัว, เดิน, ออกกำลังกาย, ข้อเข่าแข็งแรง
น้ำหนักตัวเกินเกณฑ์มาตราฐาน เสี่ยงโรคข้อเข่าเสื่อม

5. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

คนที่น้ำหนักตัว เพิ่มขึ้น 10 กิโลกรัม จะมีแรงกดต่อข้อเข่าเพิ่มขึ้น 40 กิโลกรัม หรือ 4 เท่าของน้ำหนักตัวทุกๆ ย่างก้าวที่เดิน ซึ่งจะเป็นการ เพิ่มความเสี่ยงการเกิดอาการปวดจากโรคข้อเข่าเสื่อม โดย น้ำหนักตัวที่เหมาะสมสำหรับชาวไทยคือ ค่าดัชนีมวลกาย ระหว่าง 19 – 25 กิโลกรัมต่อตารางเมตร

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.