โรคจิต, สุขภาพจิต, โรคจิตเภท, จิตแพทย์, อาการโรคจิตเภท

เช็ก 6 บุคลิกเสี่ยง โรคจิต แบบไม่รู้ตัว

3. ความผิดปกติด้านพฤติกรรม

คือ แสดงบุคลิกท่าทางไม่เหมาะสม เช่น วุ่นวายกว่าปกติพูดจาเนื้อหาแปลกๆ จับใจความได้ยาก หรือนิ่งเฉยมากผิดปกติ เช่น ไม่ขยับตัว ไม่ขยับแขนขา ไม่ยอมลุกไปไหน หรือแสดงกิริยาที่ไม่เหมาะสม เช่น เดินไหว้ เดินกราบสิ่งต่างๆ อยู่ตลอดเวลา พูดพึมพำ ยิ้มหัวเราะอยู่คนเดียว หรือไม่ค่อยดูแล

สุขอนามัยและความสะอาด เช่น ไม่อาบน้ำ ไม่ดูแลเสื้อผ้าหน้าผมปล่อยปละละเลยร่างกายจนดูสกปรก

 

4. ความผิดปกติด้านความรู้สึก

เช่น ไม่แสดงอารมณ์หรือแสดงอารมณ์น้อยกว่าปกติ ขาดความกระตือรือร้น (Avolition) ขาดแรงจูงใจในการใช้ชีวิตหรือแสดงอารมณ์ออกมาไม่เหมาะสมกับบริบทรอบตัว ก้าวร้าวมากกว่าปกติในผู้ป่วยที่มีความคิดหวาดระแวง

โรคจิต, สุขภาพจิต, โรคจิตเภท, จิตแพทย์
เก็บตัว ไม่เข้าสังคม หนึ่งในพฤติกรรมเสี่ยงโรคจิตเภท

5. ความผิดปกติด้านสังคมหรือบกพร่องในหน้าที่การงานอย่างชัดเจน

เช่น การเรียน การงาน สัมพันธภาพกับผู้อื่นแย่ลง ชอบเก็บตัว ไม่เข้าสังคม ไม่ดูแลตนเอง ทำงานไม่ได้

 

6. ระยะเวลาที่เจ็บป่วย

อย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไป ซึ่งส่วนใหญ่จะมีอาการต่อเนื่องมาเป็นปีหรือหลายปี

 

โรคนี้พบได้มากน้อยแค่ไหน

พบได้ร้อยละ 0.5 – 1 ในประชากรทั่วไป ช่วงอายุที่พบการเกิดโรคคือ 15 – 24 ปี ส่วนใหญ่เริ่มมีอาการในช่วงวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ตอนต้น ถ้าพบว่าคนรู้จักหรือญาติมีอาการลักษณะนี้ ควรพามาพบจิตแพทย์

 

ยิ่งพบจิตแพทย์เร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำให้โอกาสในการรักษาหายมีมากขึ้น เหมือนศาสตราจารย์จอห์น แนช พระเอกในเรื่อง A Beautiful Mind ที่สุดท้ายก็ได้เข้าสู่การรักษา

 

จาก คอลัมน์ MIND UPDATE นิตยสารชีวจิต ฉบับ 477


บทความน่าสนใจอื่นๆ

16 สเต็ป วิธีคิดเพื่อ สุขภาพจิต

ฟิตสุขภาพใจ รับภัยอากาศเปลี่ยนแปลง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.