กระดูก, โรคกระดูก, กระดูกพรุน, ป้องกันกระดูกพรุน

6 พฤติกรรมแย่ๆ ทำลาย กระดูก เดี้ยงถาวร

คุณหมอสุมาภา ชัยอำนวย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคข้อ มีไลฟ์สไตล์ทำลาย กระดูก ซึ่งเราอาจคาดไม่ถึงมาบอก เริ่มกันเลยค่ะ

1. สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้น้อย ร่างกายจึงไม่ได้รับแคลเซียม ในปริมาณที่เพียงพอต่อการสร้างความแข็งแรง จึงเกิดการสลายกระดูกออกมาเพื่อรักษา ปริมาณแคลเซียมในร่างกายให้คงที่และสารพิษในบุหรี่ยังทำลายเซลล์ที่สร้างกระดูก ทำให้มวลกระดูกลดลงและเปราะบางมากขึ้น

การสูบบุหรี่จะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกระดูกหัก ถ้ายังสูบอยู่จะเพิ่มความเสี่ยงในการ เกิดกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุนถึงร้อยละ 13 โดยเฉพาะอย่างยิ่งกระดูกสะโพก จะเพิ่มความเสี่ยงมากถึงร้อยละ 60 และเมื่อหยุดสูบบุหรี่แล้วความเสี่ยงจะลดลง แต่ ยังมีความเสี่ยงมากกว่าผู้ที่ไม่เคยสูบบุหรี่เลย

นอกจากนี้ บุหรี่ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคอื่นๆ อีกมากมาย เช่น โรคหลอดเลือด หัวใจและสมอง โรคมะเร็ง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ โรคเหงือก ด้วยเหตุผลมากมาย ขนาดนี้ ใครสูบบุหรี่อยู่ต้องหยุดด่วนเลยค่ะ

บุหรี่, สูบบุหรี่, กระดูก, โรคกระดูก, กระดูกพรุน
บุหรี มีสารพิษทำลายเซลล์ที่สร้างกระดูก สูบมากเสี่ยงโรคกระดูกพรุน

2. ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

แอลกอฮอล์จะเข้าไปขัดขวางการทำงานของเซลล์ Osteoblast ที่ทำหน้าที่สร้างกระดูก เมื่อร่างกายสร้างกระดูกไม่ได้ จึงไม่เกิดการซ่อมแซมรอยร้าวต่างๆ ของ กระดูก ทำให้กระดูกพรุนและหักได้ง่ายขึ้น โดยมีข้อมูลว่า หากดื่มเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์มากกว่าวันละ 3 หน่วย จะเพิ่มความเสี่ยงกระดูกหักร้อยละ 38 โดยเฉพาะจะเพิ่มความเสี่ยงกระดูกสะโพกหักถึงร้อยละ 68

ถ้าอดใจไม่ไหวจริงๆ ก็ไม่ควรดื่มเกินวันละ 3 หน่วย สัปดาห์ละไม่เกิน 2 – 3 วัน สำหรับแอลกอฮอล์ 1 หน่วยนั้นมีค่าเท่าไหร่ คำตอบคือเท่ากับปริมาณแอลกอฮอล์บริสุทธิ์ 8 กรัม เช่น เบียร์ 1 กระป๋องเท่ากับ 1.5 – 2 หน่วย ไวน์ 1 แก้ว เท่ากับ 2 หน่วย

 

3. ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน

ชา กาแฟ ช็อกโกแลต โกโก้ น้ำอัดลม ล้วนมีกาเฟอีน ผลเสียของกาเฟอีน คือ

หนึ่ง มีฤทธิ์ขับแคลเซียมออกทางปัสสาวะและอุจจาระ และยังลดการดูดซึม แคลเซียมของลำไส้ ส่งให้ผลรวมของแคลเซียมในร่างกายติดลบ ร่างกายจึงต้อง พยายามหาแคลเซียมมาเติมเต็ม เนื่องจากแคลเซียมเป็นสารอาหารที่สำคัญมาก ในกระบวนการทำงานของร่างกายที่ไม่ใช่แค่การสร้างกระดูก แต่แคลเซียมยังทำให้ การทำงานของระบบประสาทเป็นไปอย่างปกติ

สอง คือ กาเฟอีนทำให้เซลล์ที่มีหน้าที่สร้างกระดูกสลายและตายไปในที่สุด ทำให้ไม่สามารถสร้างกระดูกเพิ่มได้

สาม คือ กาแฟอาจจะทำให้เกิดการหกล้มมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ที่ดื่มกาแฟ ในปริมาณมากอาจจะมีอาการใจสั่น มือสั่น กระวนกระวาย ทำงานมาก เดินมาก ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการหกล้ม

นอกจากนี้น้ำอัดลมยังมีกรดฟอสฟอรัสที่อาจกัดกระดูกให้กร่อนลงได้อีกด้วย ซึ่งพบแนวโน้มในการเกิดกระดูกหักและมวลกระดูกลดลงในเพศหญิงชัดเจนมาก ดังนั้นหากคุณผู้หญิงทั้งหลายต้องการดื่มกาแฟให้ปลอดภัย ควรดื่มกาแฟไม่เกิน วันละ 2 แก้วหรือน้อยที่สุดเท่าที่ทำได้ หรือควรดื่มกาแฟร่วมกับการดื่มนม หรือ กินอาหารชนิดอื่นๆ ที่ให้แคลเซียมในปริมาณเพียงพอกับที่ร่างกายต้องการ

ส่วนคุณผู้ชาย แม้ข้อมูลผลเสียของกาแฟต่อกระดูกจะไม่ชัดเจน แต่ก็ไม่ควร ละเลยนะคะ

ดื่มเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน, กาเฟอีน, กระดูก, โรคกระดูก, กระดูกพรุน
เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน จะลดการดูดซึม แคลเซียมของลำไส้ ส่งผลเสียต่อการสร้างกระดูก

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.