ต้นกัญชา, กัญชา, สมุนไพร, ยาไทยผสมกัญชา, ลักษณะของต้นกัญชา

กัญชารักษามะเร็ง ได้หรือไม่

กัญชารักษามะเร็ง หรือผลข้างเคียงโรคมะเร็งกันเเน่

กัญชารักษามะเร็ง ได้จริงหรือไม่ ?

เมื่อไม่นานมานี้ ชีวจิตออนไลน์ ได้มีโอกาสเข้าร่วมสัมนา ของราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย “การใช้สเต็มเซลล์ในการรักษาโรคมะเร็ง”และบทบาทของ”กัญชา”กับโรคมะเร็ง  เพื่อไขข้อกระจ่างและขยายผลจากงานวิจัยที่ถูกต้องเพื่อเป็นประโยชน์ต่อสังคมไทย ในมุมองของแพทย์แผนปัจจุบัน กัญชารักษามะเร็ง ได้หรือไม่

กัญชารักษามะเร็ง

ข้อเท็จจริงเเล้วเป็นอย่างไร เราลองมาฟังคำตอบจากคุณหมอกันครับ

รศ.ดร.นพ.วิโรจน์ ศรีอุฬารพงศ์  อดีตนายกสมาคมมะเร็งวิทยาสมาคมแห่งประเทศไทยและหัวหน้าศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์โรคมะเร็งครบวงจร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กล่าวถึงเรื่องบทบาทของ“กัญชา”กับโรคมะเร็ง ว่า

ในปัจจุบันมีแรงผลักดันให้มีการนำกัญชามาใช้ในประเทศไทยอย่างมากจากหลายภาคส่วน เน้นเป้าหมายว่า กัญชาไม่ควรที่จะถูกจัดกลุ่มอยู่ในสารเสพติด และควรเปิดกว้างให้มีการใช้อย่างแพร่หลายมากขึ้น เสียงเรียกร้องที่ออกคล้ายกับว่า กัญชาเป็นพืชที่มีแต่ประโยชน์สูงมาก มีผลเสียน้อย ไม่ควรที่จะถูกปิดกั้นให้อยู่ในกลุ่มสารเสพติด หนึ่งในประเด็นสำคัญที่มีการอ้างอย่างมากคือ ประโยชน์ของกัญชาในการรักษาโรคมะเร็ง

สารสำคัญในกัญชา

ในกัญชาจะมีสารกลุ่ม Cannabinoid เป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทและภูมิคุ้มกัน สารเคมีที่ออกฤทธิ์หลักใน Cannabinoid ได้แก่ delta-9-THC ซึ่งออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท และทำให้มีอาการเคลิ้ม (high) อีกชนิดคือ Cannabidiol (CBD) จะลดอาการปวด การอักเสบ และความเครียดกังวล โดยไม่ทำให้เกิดอาการ high มากเท่า delta-9-THC

ผลข้างเคียงที่เกิดเมื่อใช้กัญชา หรือ Cannabinoid ที่พบได้ ได้แก่ ใจสั่น ความดันโลหิตต่ำ กล้ามเนื้ออ่อนตัว ระบบการย่อยอาหารทำงานลดลง เวียนศีรษะ อารมณ์ซึมเศร้า หลอนและหวาดระแวง เมื่อใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน อาจเกิดอาการถอนยาเมื่อหยุดใช้ ได้แก่ อารมณ์หงุดหงิด นอนไม่หลับ กระสับกระส่าย ร้อนวูบวาบ คลื่นไส้ เป็นตะคริว ลักษณะดังกล่าวข้างต้น เกิดขึ้นเนื่องจากกัญชาและ Cannabinoid อาจทำให้เกิดอาการติดยาได้

กัญชา, สมุนไพร, ยาไทยผสมกัญชา, กัญชารักษามะเร็ง
A dispensary worker vending jars of cannabis.

ทั้งกัญชาและ Cannabinoids อาจมีประโยชน์ในการรักษาอาการบางชนิดที่เกิดในผู้ป่วยโรคมะเร็ง  Dronabinol และ Nabilone เป็น Cannabinoids ที่ได้ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยนำไปใช้ในการบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนที่เกี่ยวข้องกับการรับยาเคมีบำบัด  มีงานวิจัยพบว่ากัญชาสามารถออกฤทธิ์ลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัดได้ แต่มีประสิทธิภาพเทียบเท่ากับยาป้องกันคลื่นไส้อาเจียน Prochlorperazine ซึ่งไม่เสพติด ในทางตรงกันข้ามหากใช้ในปริมาณมาก อาจเกิดอาการคลื่นไส้อาเจียนรุนแรงจากกัญชาได้

กัญชากับโรคมะเร็ง

ในด้านฤทธิ์ต่อต้านมะเร็ง มีการศึกษาว่ากัญชาสามารถออกฤทธิ์ฆ่าเซลล์มะเร็งในการเพาะเลี้ยงเซลล์ในห้องแล็บ แต่ยังไม่มีการศึกษาถึงผลของกัญชาต่อโรคมะเร็งในมนุษย์ กล่าวคือ แม้ว่าจะมีการศึกษากัญชาในห้องปฏิบัติการมานานแล้ว กลับไม่มีหลักฐานการนำเอากัญชามาใช้วิจัยเพื่อรักษามะเร็งในมนุษย์เลย

นอกจากนี้ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการนำกัญชามาใช้บรรเทาอาการหรือผลข้างเคียงจากโรคมะเร็งได้อย่างมีประสิทธิภาพมากพอ จากหลักฐานที่ตีพิมพ์เผยแพร่ทางวิชาการ มีการศึกษาใช้ในการควบคุมอาการปวดจากโรคอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โรคมะเร็ง

ในปี 2015 ผลการวิจัยพบว่า การใช้การกัญชาร่วมไปกับการบำบัดความเจ็บปวดอื่นได้ผลการควบคุมความเจ็บปวดได้ไม่ต่างกับการรักษาที่ไม่ใช้กัญชา อีกทั้งกัญชายังทำให้เกิดผลข้างเคียงมากกว่า   ในปี 2006 มีการวิจัยนำเอากัญชา และ delta-9-THC มาใช้เพื่อกระตุ้นความเจริญอาหาร โดยเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับกัญชา พบว่ากัญชาไม่สามารถเพิ่มความเจริญอาหารมากกว่ากลุ่มที่ไม่รับกัญชา

กัญชา, สมุนไพร, ยาไทยผสมกัญชา, กัญชารักษามะเร็ง
Photo of dry medical marijuana buds with shallow DOF

สรุป

จากหลักฐานทางการวิจัยที่มีคุณภาพ พบว่า ไม่มีการนำกัญชามารักษาโรคมะเร็งในมนุษย์เลย ในด้านการรักษาอาการเจ็บปวดหรือคลื่นไส้อาเจียน ก็มียาที่มีประสิทธิภาพสูงอยู่แล้วโดยไม่ใช่สารเสพติด ในด้านการลดความเจ็บปวดหรือกระตุ้นความอยากอาหารก็ได้ผลไม่ชัดเจน

ปัจจุบันองค์การอนามัยโลกไม่รับรองให้นำกัญชามาใช้รักษาโรคมะเร็งแต่อย่างใด แม้ว่ากัญชาอาจมีผลในการรักษาโรคเกร็ง ลมชักได้ แต่การวิจัยกัญชามาใช้รักษาโรคมะเร็งน่าจะไม่ได้ประโยชน์ จึงไม่ควรกล่าวอ้างหลอกลวงว่ากัญชาสามารถรักษามะเร็งได้ ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคมะเร็งเข้าใจผิด และเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วยมะเร็งได้

อ่านเพิ่มเติมกัญชารักษามะเร็ง

กัญชา ยาเสพติด หรือ ยาสมุนไพร

9 ตำรับยาไทย จารึกวัดโพธิ์ ผสมกัญชา

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.