โรคหัวใจ, หัวใจ, วินิจฉัย โรคหัวใจ, โรคหัวใจขาดเลือด, โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

วินิจฉัย โรคหัวใจ เพื่อคนไข้ปลอดภัย ประหยัดงบ

ข้อที่ 2

ปัจจุบันนี้มีหลักฐานเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ว่า มีผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันระดับหนักปางตายจำนวนมาก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยที่อายุยังน้อย ที่แม้จะมีอาการกล้ามเนื้อหัวใจ ตายรุนแรงระดับนี้แล้ว แต่เมื่อสวนหัวใจดูกลับพบว่าเพิ่งเป็นโรค หลอดเลือดหัวใจในระยะตั้งต้นเท่านั้นเอง ไม่ได้มีรอยตีบชัดเจน ถึงเกณฑ์ดั้งเดิมที่ว่าตีบเกิน 50 เปอร์เซ็นต์ของเส้นผ่านศูนย์กลาง ด้วยซ้ำ แต่ ทำไมจึงเกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันรุนแรงขึ้นได้ อันนี้วงการแพทย์ก็ยังไม่ทราบเหตุผลที่แท้จริง ได้แต่เดาเอาว่าอาจ เป็นเพราะ

 

หนึ่ง ตุ่มไขมันระยะต้นของโรคมีเยื่อบุผิวที่ไม่เหนียวจึงขาด ชะเวิกออกได้ง่าย (Vulnerable Plaque) หรือ

สอง เกิดการหดตัว ของหลอดเลือดจากสาเหตุอื่นที่วงการแพทย์รู้อยู่แล้วว่าทำให้หลอดเลือดหดตัวได้ เช่น ความเครียด ร่างกายขาดน้ำ ไขมัน ในเลือดสูง โซเดียมในเลือดสูง มีสารพิษในเลือด เช่น สารจากบุหรี่

 

แต่ประเด็นที่ว่าคนอายุน้อยเกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตาย ระดับปางตายหรือตายจริง ๆ ได้เพราะเหตุใดนั้นไม่ใช่สารัตถะ สำคัญที่ผมจะชี้ให้เห็น สารัตถะสำคัญอยู่ที่คนเหล่านี้ยังไม่มีการ ดำเนินของโรคหลอดเลือดหัวใจในระยะรุนแรงจนไม่สามารถ ตรวจคัดกรองพบด้วยวิธีใดๆ เพราะเป็นโรคระยะแรกขนาด นั้นตรวจด้วยวิธีไหนก็ไม่พบ ถ้าการตรวจคัดกรองไม่สามารถ ค้นพบคนที่ใกล้ตายเพื่อเอาไปรักษาเสียก่อนได้ คุณจะไปหวัง จัดการโรคนี้ด้วยวิธีตรวจคัดกรองไม่ได้นะครับ ต้องไปหวังพึ่ง การจัดการปัจจัยเสี่ยงของโรคด้วยตัวคุณเองแทน

 

ข้อที่ 3

หลักฐานระดับสูงทุกวันนี้บ่งชี้ได้แบบเบ็ดเสร็จ เด็ดขาดแล้วว่า การเอาผู้ป่วยโรคหัวใจขาดเลือดซึ่งมีอาการเจ็บหน้าอกระดับไม่มาก (คือเจ็บหน้าอกระดับ 1 – 3 จากทั้งหมด 4 ระดับ) ไปรักษาแบบรุกล้ำ เช่น ทำบอลลูนใส่สเต็นท์ไม่ได้ ช่วยให้คนไข้มีอายุยืนยาวขึ้นแต่อย่างใด (COURAGE Trial) และมีหลักฐานระดับสูงบ่งชี้ได้แบบเบ็ดเสร็จอีกเหมือนกันว่า การเอาผู้ป่วยที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute MI) ที่รอดตายมา และหายจากภาวะช็อกแล้ว มีอาการคงที่แล้ว เกิน 24 ชั่วโมงขึ้นไป ไปรักษาแบบรุกล้ำด้วยการทำบอลลูน ใส่สเต็นท์ก็ไม่ได้ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวขึ้นมากไปกว่าการ ไม่ทำบอลลูนใส่สเต็นท์แต่อย่างใด (OAT Trial)

พูดง่ายๆ ว่า ารทำบอลลูนใส่สเต็นท์หรือผ่าตัดหัวใจ มีประโยชน์เฉพาะแก่คนที่เกิดกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน และมีอาการไม่คงที่ คือช็อกหรือเจ็บหน้าอกมากอยู่เท่านั้น ไม่ได้มีประโยชน์สำหรับคนที่มีอาการน้อย ยิ่งสำหรับคนที่ไม่มี อาการอะไรเลยก็ยิ่งไม่มีหลักฐานเลยว่ามันมีประโยชน์

โรคหัวใจ, หัวใจ, วินิจฉัย โรคหัวใจ, โรคหัวใจขาดเลือด,  โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ

เออ…ก็ในเมื่อการทำบอลลูนใส่สเต็นท์ไม่มีประโยชน์ใน คนที่มีอาการน้อยระดับ 1 – 3 และคนที่แม้จะหัวใจวายไปแล้ว แต่ฟื้นตัวดีแล้วเช่นนี้ เราจะไปพยายามคัดกรองคนเป็นโรค หัวใจที่มีอาการน้อยหรือยังไม่มีอาการอะไรเลยอย่างนี้เพื่อส่งไป ทำบอลลูนใส่สเต็นท์ทำพรื้อล่ะครับ

 

จาก คอลัมน์ WELLNESS CLASS นิตยสารชีวจิต ฉบับ 476


บทความน่าสนใจอื่นๆ

Q&A รู้ครบขั้นตอนการตรวจรักษาโรคหัวใจ

หยุดฟุ้งซ่าน ป้องกันโรคหัวใจ By หมอสันต์ ใจยอดศิลป์

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.