ไข้หวัดใหญ่, โรคไข้หวัดใหญ่, ไข้หวัด, ไข้หวัด, ป้องกันไข้หวัดใหญ่, รักษาไข้หวัดใหญ่

10 ข้อต้องรู้ ป้องกันและรักษา ไข้หวัดใหญ่

6. ประเด็นการวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่

การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ทำโดยวิธีดูโหงวเฮ้ง อิๆ พูดเล่น เอ๊ย…ไม่ใช่ พูดจริง การวินิจฉัยโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการ มีส่วนน้อยที่แพทย์ยืนยันการวินิจฉัยโดยเอาสำลีพันปลายไม้กวาดเยื่อเมือกในจมูก หรือในลำคอไปตรวจแล็บหาแอนติเจนของเชื้อ เพราะวุ่นวายยุ่งยาก การเจาะเลือด ไปตรวจนับเม็ดเลือดไม่ใช่วิธียืนยันการวินิจฉัย แต่เป็นการช่วยวินิจฉัยทางอ้อม เพราะผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มักมีเม็ดเลือดขาวต่ำและอาจมีเกล็ดเลือดต่ำด้วย

 

7. ประเด็นวิธีรักษา

มาตรฐานการรักษาไข้หวัดใหญ่คือการให้นอนพักประมาณ 3 วัน และให้การ บรรเทาอาการไปตามมีตามเกิด เพราะโรคนี้เป็นโรคที่หายเองได้

การให้กินยาต้านไวรัสเป็นทางเลือกเสริมในการรักษาที่แพทย์อาจจะตัดสินใจใช้ ทั้งนี้หากให้เร็วภายใน 40 ชั่วโมงนับตั้งแต่เริ่มมีอาการก็จะช่วยบรรเทาอาการรุนแรง เช่น ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เปลี้ยล้า ให้หายเร็วขึ้นได้ประมาณหนึ่งวันเมื่อเทียบ กับการกินยาหลอก คือ กินยาหลอกมีอาการสำคัญอยู่นาน 125 ชั่วโมง กินยา ต้านไวรัสมีอาการสำคัญอยู่นาน 100 ชั่วโมง

ยาที่นิยมเลือกใช้กันเป็นตัวแรกๆ คือ Oseltamivir 74 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน Zanamivir แบบสูดดม 10 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 5 วัน หรือ Peramivir 600 มิลลิกรัม ฉีดเข้าเส้นตูมเดียวจบ

ยา Oseltamivir (Tamiflu) ซึ่งเป็นยายอดนิยมในบ้านเรานั้น พบข้อมูล ในสหรัฐฯว่า เชื้อ H1N1 ดื้อต่อยานี้ 10.9 เปอร์เซ็นต์ ความนิยมในการใช้ยานี้ ในปัจจุบันจึงซาไป

ส่วนยาปฏิชีวนะหรือยาแก้อักเสบ (Antibiotic) เป็นยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ไม่มี ประโยชน์ในการใช้รักษาโรคไข้หวัดใหญ่เลย และไม่มีผลในการป้องกันการติดเชื้อ แบคทีเรียแทรกซ้อนแต่อย่างใด จึงไม่ควรใช้

 

8. ประเด็นวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่

วัคซีนที่ใช้ทุกวันนี้เป็นวัคซีนชนิดเชื้อเป็น Inactivated Influenza Vaccine (IIV) หรือ Recombinant Influenza Vaccine (RIV) ซึ่งทำจากไข่ ถ้าแพ้ไข่ แค่เบาะๆ คือผื่นขึ้นเป็นลมพิษก็ยังให้วัคซีนได้ตามสบาย แต่ถ้าแพ้ระดับความดัน เลือดตก จับหืด หรือแพ้จนต้องฉีดยาอะดรีนาลินแก้ การให้วัคซีนคนที่แพ้ แบบนั้นควรทำในโรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลที่มีความพร้อมรับมือกับการแพ้ ระดับรุนแรงครบเครื่องเท่านั้น

ส่วนวัคซีนหยอดจมูกซึ่งเป็นวัคซีนชนิด Live Attenuated Influenza Vaccine (LAIV) เมื่อนำออกมาใช้ จริ งในช่ วงปี 2013 – 2016 พบว่าไม่เจ๋งอย่างที่คิด ศูนย์ควบคุมโรค (CDC) จึงแนะนำว่าไม่ควรใช้ในปีนี้

ไข้หวัดใหญ่, โรคไข้หวัดใหญ่, ฉีดวัคซีน, วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่, ป้องกันไข้หวัดใหญ่
วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ควรได้รับการฉีดทุกปี ปีละ 1 เข็ม

9. ประเด็นประสิทธิผลของวัคซีน

วัคซีนไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิผลในการป้องกันโรค 48 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2016 หมายความว่า คนที่ได้รับเชื้อแล้ว 100 คน มี 48 คนไม่เป็นโรค แต่ในปี 2017 หากนับมาถึงเดือนมิถุนายน พบว่า มีประสิทธิผลในการป้องกันโรค 42 เปอร์เซ็นต์

 

10. ประเด็นใครบ้างควรฉีดวัคซีน

วงการแพทย์แนะนำว่า ทุกคนที่มีอายุหกเดือนขึ้นจนถึงวัยชราควรได้รับการ ฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ทุกปี โดยฉีดปีละเข็ม แต่หากเป็นเด็กที่ไม่เคยได้รับการฉีด วัคซีนมาก่อน ควรฉีดสองเข็มห่างกันหนึ่งเดือน

 

จาก คอลัมน์ WELLNESS CLASS นิตยสารชีวจิต ฉบับ 475


บทความน่าสนใจอื่นๆ

วัคซีนไข้หวัดใหญ่ ฉีดอย่างไรให้ปลอดภัย

ระวัง! โรคหน้าหนาว By กูรูต้นตำรับชีวจิต

8 สมุนไพร ใกล้ตัว จากตำราการแพทย์แผนจีน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.