กรด ด่างในร่างกาย, ปรับสมดุลกรด-ด่าง, ปรแกรม 5 เล็กของชีวจิต, ชีวจิต

โปรแกรม 5 เล็ก ชีวจิต สร้างสมดุล กรด ด่างในร่างกาย

ปรับ 5 เล็ก ปรับสมดุลกรด – ด่าง

ชีวจิต จึงขอนำเสนอสูตร 5 เล็กตามแนวทางของอาจารย์สาทิสและ เทคนิคการดูแลสุขภาพของคุณหมอสาริษฐา เพื่อสร้างสมดุลกรด – ด่าง ในร่างกายให้ทุกคนนำไปปฏิบัติตามเพื่อสุขภาพที่ดีค่ะ

 

1. กิน

อาจารย์สาทิส อธิบายไว้อย่างละเอียดว่า การวัดความเป็นกรด หรือด่างให้ใช้มาตรา pH จาก 0 ถึง 14 ถ้าได้ 7 แปลว่าเป็นกลาง ไม่ใช่ด่างหรือกรด ถ้าต่ำกว่า 7 ลงมา ถือว่าเป็นกรด ถ้ามากกว่า 7 ขึ้นไป ให้ถือว่าเป็นด่าง

ปกติแล้วเลือดของเราควรจะเป็นด่างนิดๆ คือ pH ประมาณ 7.2 – 7.4 ถ้าวัดผลเลือดได้เท่านี้ แสดงว่าร่างกายแข็งแรงและสมบูรณ์สุด ๆ ถ้าพูดแบบชาวบ้านก็คือ “เลือดฝาด อุดมสมบูรณ์ดี หน้าตาผิวพรรณ เป็นสีชมพู

แล้วกินอย่างไรร่างกายจึงจะไม่เป็นกรดหรือเป็นด่างมากจนเกินไป อาจารย์สาทิสอธิบายว่า เลือดของเราควรจะเป็นด่างนิดๆ คือ pH 7.2 – 7.4 ฉะนั้นอาหารและเครื่องดื่มที่เรากินควรจะเป็นอาหารที่เมื่อย่อยแล้ว จะไม่เป็นกรด อาหารที่เรากินจึงควรมุ่งไปที่การสร้างความสมดุลของกรด และด่าง (Acid-Base Balance)

อาจารย์สาทิส แนะนำ ให้เลือกกินอาหารที่จะช่วยสร้างความเป็นด่าง เล็กน้อยกับร่างกาย แต่ตามปกติแล้วอาหารมักจะมีความเป็นกรด แต่ ร่างกายเราก็ขาดไม่ได้ เพราะมีสารอาหาร (Nutrient) ที่สำคัญ

คำตอบจริง ๆ จึงอยู่ที่ว่า เราต้องเลือกกินอาหารที่มีความเป็นกรดน้อย และในขณะเดียวกันก็ต้องเลือกอาหารที่จะไปสร้างด่างเล็กน้อยให้ได้ด้วย นี่แหละคือกฎความสมดุลของกรด – ด่าง (Acid-Base Balance) โดย ก่อนอื่นเราต้องลดหรืองดอาหารที่สร้างความเป็นกรดให้กับร่างกายให้ได้ เสียก่อน อันได้แก่อาหารประเภทเนื้อสัตว์ใหญ่และอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ตัวเลขด้านหลังคือค่า pH ที่แสดงความเป็นกรด – ด่าง เช่น เนื้อวัว – 5.3 หมู – 5.3 ไก่ – 5.5 เป็ด – 6.0 ไส้กรอก – 6.2 หมูแฮม – 6.0

อาหารทะเลและปลาน้ำจืดมีความเป็นด่างมากกว่า ชีวจิต จึงแนะนำ ให้กินปลาได้ เช่น ปลาทูน่า 5.9 – 6.1 ปลาทู 5.9 – 6.2 แซลมอน 6.1 – 6.5 ปลาดุก – ปลาช่อน 6.6 – 7.0, กุ้ง 6.8 – 8.2 หอยนางรม 5.9 – 6.7 หอยทะเล 5.9 – 7.1

สำหรับกลุ่มผักและผลไม้ คุณหมอสาริษฐาอธิบายว่า แร่ธาตุที่ทำให้ร่างกายเป็นด่าง คือ แคลเซียม แมกนีเซียม ฟอสเฟต โดยแร่ธาตุเหล่านี้มีอยู่ในผักและผลไม้หลากหลาย ชนิด เช่น บรอกโคลี เซเลอรี่ กะหล่ำปลี

อาหาร, กรด-ด่างในร่างกาย, อาหารที่สร้างกรด, อาหารที่สร้างด่าง
เลือกกินอาหาร ช่วยปรับกรด-ด่าง ในร่างกายให้สมดุลได้

นอกจากนี้น้ำผลไม้บางชนิดก็มีประโยชน์ แม้จะมีรสเปรี้ยว และมีค่าเป็นกรด เช่น น้ำแอ๊ปเปิ้ลวินีการ์หรือน้ำมะนาวที่มี กรดซิตริก แต่กรดเหล่านี้ก็ถูกทำให้สมดุลด้วยอิเล็กทรอไลต์ ในผักผลไม้ อันได้แก่ แมกนีเซียม ฟอสเฟต สุดท้ายจึงเกิด ความเป็นกลาง เมื่อเข้าไปในร่างกายจะเกิดกระบวนการบัฟเฟอร์ ทำให้เกิดค่า pH ที่สมดุล

ลองฝานมะนาวเหลืองหรือมะนาวเขียวทั้งเปลือกแล้ว ใส่น้ำกิน เช่น มะนาวเหลือง 1 ลูก ใส่น้ำประมาณ 1 ลิตร แช่ไว้ดื่มได้ทุกวัน เพื่อสร้างสมดุลกรด – ด่างในร่างกาย

น้ำเอนไซม์ของชีวจิตก็มีประโยชน์ในเรื่องปรับสมดุลกรด – ด่าง ในร่างกาย เพราะส่วนใหญ่มีค่า pH เท่ากับ 8 เช่น น้ำเอนไซม์ แครอต น้ำเอนไซม์แอ๊ปเปิ้ล น้ำเอนไซม์เซเลอรี่

คุณหมอสาริษฐาเสริมว่า อาหารไทย เช่น แกงส้มที่มี น้ำมะขามเปรี้ยว เมื่อรวมกับผักต่างๆ เช่น กะหล่ำปลี ดอกกะหล่ำ ผักใบเขียว ซึ่งให้ฟอสเฟต จะกลายเป็นอาหาร ที่กินเข้าไปแล้วเกิดเป็นด่างที่สมดุล

การกินอาหารบางมื้อก็มีเคล็ดลับที่ช่วยสร้างสมดุลกรด – ด่าง ในร่างกายเหมือนกัน คุณหมอสาริษฐาแนะนำว่า ตอนเช้าควร กินอาหารที่มีโปรตีน เพราะเราไม่ได้กินอาหารมาตั้งหลายชั่วโมง กระเพาะจึงหลั่งน้ำย่อยซึ่งเป็นกรด ซึ่งน้ำย่อยนี้ย่อยโปรตีน แต่ก็ไม่ควรเป็นโปรตีนที่หนักเกินไป เพราะจะไปกระตุ้น การหลั่งน้ำย่อยให้มากขึ้นทั้งวัน ทำให้มีอาการจุกเสียดแน่นท้อง สำหรับมื้อเช้าแนะนำให้เป็นโปรตีนที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวต้มปลา โจ๊กปลา โจ๊กกุ้ง นมถั่วเหลือง ซีเรียล

 

 

 

 

<< อ่านต่อสูตร 2 และ 3 ที่หน้า 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.