รักษามะเร็ง, โรคมะเร็ง, รักษามะเร็ง, เทคโนโลยีรักษามะเร็ง, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

เทคโนโลยี รักษามะเร็ง จากโรงพยาบาลจุฬาภรณ์

INTENSITY MODULATED RADIOTHERAPY การฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้ม

ต่อมาเป็นการอัพเดตเทคโนโลยี ที่ช่วยให้การ รักษามะเร็ง ที่เกิดขึ้นกับอวัยวะบริเวณศีรษะและลำคอได้ผลดียิ่งขึ้น โดยมี นายแพทย์ธง โชติชุติพันธุ์ แพทย์เฉพาะทางด้านรังสีรักษาและมะเร็งวิทยา แผนกรังสีมะเร็งวิทยาโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ มาช่วยให้ข้อมูล ดังนี้

“เนื่องจากบริเวณศีรษะและลำคอครอบคลุมอวัยวะต่าง ๆ เช่น ช่องปากลิ้น โพรงจมูก ไซนัส ต่อมน้ำลาย การรักษาด้วยการผ่าตัดจะทำให้เกิดผลกระทบต่อการกลืน การพูด หรือในกรณีที่มะเร็งไปเกิดกับบริเวณที่ผ่าตัดไม่ได้ จึงจำเป็นต้องใช้วิธีรังสีรักษาแทนการผ่าตัด เช่น มะเร็งหลังโพรงจมูก ซึ่งอยู่ใกล้เส้นประสาทตาและสมองครับ อีกกรณีหนึ่งที่ใช้รังสีรักษาได้ คือ เป็นการรักษาแบบประคับประคองในระยะที่มะเร็งเริ่มแพร่กระจายแล้ว วิธีนี้ก็ช่วยควบคุมก้อนมะเร็งไม่ให้เติบโตลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงได้”

ปัจจุบันโรงพยาบาลจุฬาภรณ์มีแนวทางการรักษามะเร็งที่เกิดขึ้นในบริเวณศีรษะและลำคอ ด้วยการฉายรังสีสามมิติแบบปรับความเข้ม (Intensity Modulated Radiotherapy) ซึ่งนายแพทย์ธงให้ข้อมูลว่า

“การฉายรังสีแบบเดิม บริเวณที่รับรังสีจะได้รับความเข้มเท่ากัน ทั้งในส่วนของก้อนมะเร็งและบริเวณที่ใกล้เคียง แต่แนวทางใหม่นี้มีการปรับความเข้มของรังสีได้ ลดบริเวณที่รับรังสีลง ผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นจึงน้อยลง ที่ผ่านมาคนไข้ที่มาฉายรังสีที่ศีรษะและลำคอมักมีปัญหาน้ำลายแห้งและกลืนลำบาก

วิธีการใหม่นี้พบว่า คนไข้มีปัญหาน้ำลายแห้งระดับ 2 ขึ้นไปเพียงร้อยละ 29ขณะที่การฉายรังสีแบบเดิมพบปัญหานี้สูงถึงร้อยละ 83”

รักษามะเร็ง, โรคมะเร็ง, รักษามะเร็ง, เทคโนโลยีรักษามะเร็ง, โรงพยาบาลจุฬาภรณ์

ต่อมา นายแพทย์ธง ระบุถึงขั้นตอนในการรักษาด้วยวิธีนี้ว่า

“ขั้นตอนแรกสุด เราต้องให้คนไข้ทำเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ก่อน เพื่อนำมาใช้เป็นข้อมูลวางแผนการฉายรังสีให้เข้าสู่ก้อนมะเร็งได้อย่างครอบคลุมและแม่นยำ ที่สำคัญ พยายามไม่ให้ล้ำไปโดนอวัยวะอื่น ๆ โดยแพทย์และนักเทคนิคการแพทย์จะทำงานร่วมกันเพื่อเลือกทางเข้าของรังสี โดยใช้คอมพิวเตอร์คำนวณความเข้มของปริมาณลำรังสีให้ก้อนมะเร็งได้รับปริมาณรังสีเท่าที่จำเป็น ที่หัวฉายมีซี่เหล็กขยับให้เปลี่ยนความเข้มของลำรังสีได้ สุดท้าย ขณะที่ฉายรังสี เราจำเป็นต้องใช้อุปกรณ์ช่วยตรึงใบหน้าคนไข้ให้นิ่งที่สุดไม่ให้ตำแหน่งที่คำนวณไว้คลาดเคลื่อนครับ”

นายแพทย์ธงทิ้งท้ายว่า สถิติมะเร็งที่เกิดกับอวัยวะต่าง ๆ บริเวณศีรษะและลำคอ พบมากเป็นอันดับ 5 - 6 ของผู้ป่วยมะเร็งในประเทศ ส่วนใหญ่พบในคนไข้เพศชาย ปัจจัยหลักยังเป็นการสูบบุหรี่และดื่มเหล้า การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี การติดเชื้อไวรัสอีบีวีการรับรังสีอัลตราไวโอเลตจากแสงแดดเป็นระยะเวลา

นาน และการเคี้ยวหมาก

สุดท้าย แพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งสองท่าน แนะนำว่า แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีในการรักษามะเร็งที่ให้ผลดีและลดผลข้างเคียงในการรักษาได้แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม การป้องกันโรคก็ยังเป็นหนทางที่ดีที่สุดประหยัดที่สุด และเสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด

ไลฟ์สไตล์ที่สมดุล ทั้งอาหาร การทำงาน การพักผ่อน การออกกำลังกาย รวมถึงการดูแลจิตใจให้แจ่มใสอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ขาดไม่ได้ ซึ่งแนวทางดังกล่าวคนรักสุขภาพทั้งหลายย่อมทราบกันดีอยู่แล้ว

ส่วน ชีวจิต ในฐานะเพื่อนคู่ใจคนรักสุขภาพก็จะคอยคัดสรรสาระดี ๆ ในการดูแลสุขภาพมาฝากอย่างสม่ำเสมอต่อไปค่ะ

 

จาก คอลัมน์ TRENDY HEALTH นิตยสารชีวจิต ฉบับ 445


บทความน่าสนใจอื่นๆ

เช็ก 12 อาการโรคมะเร็ง ยอดฮิต ที่ไม่ควรมองข้าม

วิธีการรักษามะเร็ง …ที่คุณต้องรู้

CHECK NOW! 6 ภาวะเสี่ยงมะเร็ง

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.