ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, ป้องกันมะเร็ง

20 ผักและผลไม้ ต้านมะเร็ง จากห้องวิจัย

กุยช่าย ต้นหอม ลดความเสี่ยงมะเร็งต่อมลูกหมาก

การศึกษาทางระบาดวิทยาและทางห้องปฏิบัติการพบว่า กุยช่ายและพืชในตระกูลเดียวกัน ได้แก่ ต้นหอม หัวหอม กระเทียม อุดมด้วยสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) และสารในกลุ่มออร์แกโนซัลเฟอร์ (Organo-sulfur) เช่น สารอัลลิซิน (Allicin) ซึ่งมีคุณสมบัติในการต้านอนุมูลอิสระและยับยั้งการก่อตัวของเนื้องอกและ เซลล์มะเร็ง

การศึกษาในวารสาร National Cancer Institute ซึ่งทำการเก็บข้อมูลจากอาหารประจำวันของชายชาวจีน ในเมืองเซี่ยงไฮ้จำนวน 238 คน พบว่า ผู้ที่กินกุยช่ายและพืชในตระกูลเดียวกันเป็นประจำมากกว่า 10 กรัม ต่อวัน สามารถลดอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมากได้

นอกจากนี้ข้อมูลจากวารสาร The American Journal of Clinical Nutrition และ Journal of Nutrition ยังพบว่า กุยช่ายและพืชในตระกูลเดียวกันสามารถลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ เช่น หลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ใหญ่ ได้อีกด้วย

HOW TO CHOOSE

เลือกต้นที่ใบแบนยาว มีสีเขียวสด ต้นและใบไม่ช้ำ มีกลิ่นฉุน

 

ผักผลไม้ หนุนคีโมสู้มะเร็ง

เคมีบำบัดหรือที่รู้จักในชื่อคีโม เป็นกระบวนการที่ใช้ ยาเคมีเข้าไปออกฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็งโดยการหยุดยั้งหรือ ชะลอการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งที่แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว

คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาลให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า เมื่อการดำเนินของโรคมะเร็งถึงจุดที่ไม่สามารถรักษาได้โดย การผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาให้ผู้ป่วยเข้าสู่กระบวนการ รักษาด้วยยาเคมีบำบัดซึ่งมีทั้งวิธีกินและฉีด โดยแพทย์จะ วินิจฉัยจากชนิด ระยะของโรคมะเร็ง ผลข้างเคียงจากยา และสภาพของผู้ป่วย

ทั้งนี้หากเซลล์มะเร็งตอบสนองต่อยาเคมีบำบัดได้ดี ย่อม ส่งผลดีต่อการรักษาและช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งไม่ให้ลุกลาม

ล่าสุดมีการศึกษาจากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย (University of California) ประเทศสหรัฐอเมริกา พบว่า อะพิจีนิน (Apigenin) สารในกลุ่มฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งพบมาก ในผักและผลไม้ ช่วยให้เซลล์มะเร็งตอบสนองต่อการรักษา ด้วยยาเคมีบำบัดได้ดีขึ้น

โดยอะพิจีนินพบมากในผักชีฝรั่ง โหระพา อาร์ติโช้ก (Artichoke) แอ๊ปเปิ้ล เชอร์รี่ องุ่น ถั่วเปลือกแข็ง ซึ่ง นอกจากช่วยสนับสนุนการรักษาด้วยเคมีบำบัด หลายการศึกษา ยังพบว่า อะพิจีนินมีผลช่วยยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง ในหลายอวัยวะ เช่น เต้านม ลำไส้ใหญ่ ตับอ่อน ผิวหนัง ต่อมไทรอยด์ และในเซลล์เม็ดเลือดขาวอีกด้วย

นักวิจัยกล่าวทิ้งท้ายว่า ผักและผลไม้คืออาหารจาก ธรรมชาติซึ่งมีคุณสมบัติต้านมะเร็งได้จริง จึงแนะนำให้ทั้ง ผู้ป่วยและผู้ที่ไม่ป่วยกินเป็นประจำ โดยควรกินให้หลากหลาย เพื่อช่วยสนับสนุนการรักษาและป้องกันสารพัดโรคร้าย

พริกไทย, ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, พริกไทยดำ
สารพิเพอรีนในพริกไทยดำ มีคุณสมบัติต้านสารก่อมะเร็ง

พริกไทยดำ ต้านโลหะหนักก่อมะเร็ง

พริกไทยมีสารสำคัญที่มีชื่อว่า สารพิเพอรีน (Piperine) ซึ่ง พบในพริกไทยดำมากกว่าในพริกไทยขาว โดยมีรายงานการศึกษา ในวารสาร Biometals ว่า สารพิเพอรีนมีคุณสมบัติต้านสารแคดเมียม (Cadmium) ซึ่งเป็นสารโลหะหนักที่เป็นพิษต่อร่างกายและ สิ่งแวดล้อม

สารแคดเมียมสามารถเข้าสู่ร่างกายด้วยการสูดดมผ่านการหายใจ การกินอาหารที่ปนเปื้อน หรือได้รับผ่านการสูบบุหรี่ โดยสามารถ สะสมที่ตับและไต นับเป็นสารก่อมะเร็งอันตรายที่อาจทำให้เกิดโรคมะเร็งปอดได้

นักวิจัยระบุว่า สารพิเพอรีนในพริกไทยดำมีผลทำลายสารก่อ มะเร็งและช่วยฟื้นฟูความเสียหายของเซลล์ในร่างกายได้ระดับหนึ่ง สำหรับประโยชน์ด้านอื่นๆ มีรายงานว่า สามารถลดอาการซึมเศร้า ป้องกันโรคมะเร็ง และป้องกันโรคสมองเสื่อมได้

HOW TO CHOOSE

พริกไทยดำมีความปลอดภัยเมื่อกินในรูปของอาหาร แต่ควรใช้ เป็นส่วนประกอบในอาหาร ไม่ควรกินเดี่ยวๆ ตอนท้องว่าง เพราะ อาจเกิดการระคายเคืองบริเวณลำคอและกระเพาะอาหารได้

 

 

 

 

<< อ่านต่อนหน้าที่ 8 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.