ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, ป้องกันมะเร็ง

20 ผักและผลไม้ ต้านมะเร็ง จากห้องวิจัย

กินมันม่วง หนีมะเร็งลำไส้

การกินอาหารที่ให้พลังงานสูงและไขมันสูงเป็นประจำอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ แต่ล่าสุดผลการศึกษาจากวารสาร Nutritional Biochemistry พบว่า หากเพิ่มมันม่วงเข้าไป ในมื้ออาหารจะเป็นการช่วยลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ได้ง่ายๆ

โดยพบว่า หมูที่กินมันม่วงไม่ว่าจะดิบหรือสุกต่างมีระดับโปรตีนที่ชื่อ อินเตอร์ลูคิน – 6 (Interleukin-6) ในร่างกายต่ำกว่าหมูที่ไม่ได้กินถึง 6 เท่า

อินเตอร์ลูคิน – 6 คือโปรตีนชนิดหนึ่งที่ส่งผลต่อการอักเสบ การแพร่กระจาย และ การเติบโตของเซลล์มะเร็ง หากมีระดับโปรตีนชนิดนี้สูง ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง

รองศาสตราจารย์ ใจราม เค.พี. วานามาลา (Jairam K.P. Vanamala) นักวิจัย จากมหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้สัมภาษณ์ผ่านทางเว็บไซต์ของ มหาวิทยาลัยว่า

“มันม่วงอุดมไปด้วยสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น แอนโทไซยานิน (Anthocyanin) และกรดฟีนอลิก (Phenolic Acid) ซึ่งเป็นสารสำคัญที่ช่วยป้องกันโรคมะเร็ง และไม่เฉพาะ ผักและผลไม้สีม่วง ผักผลไม้สีต่าง ๆ ที่พบในอาหารจากธรรมชาติก็ล้วนให้ผลในการต่อต้าน โรคมะเร็งเช่นกัน

“แม้ยาจะมีบทบาทสำคัญในการรักษาโรค แต่ควรให้ความสำคัญกับการกินผักและผลไม้ ร่วมด้วย เพราะสารอาหารในผักและผลไม้ล้วนมีคุณสมบัติต้านการอักเสบ ต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถป้องกันและสนับสนุนการรักษาโรคต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

นักวิจัยเชื่อว่า ผลการทดลองในคนน่าจะเป็นไปในแนวทางเดียวกัน เพราะหนูมีระบบ ทางเดินอาหารใกล้เคียงกับระบบทางเดินอาหารของคนมากที่สุด นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยหลายชิ้น ที่ทำการทดลองในหนูยืนยันผลลัพธ์เหมือนกัน

HOW TO CHOOSE

การเลือกซื้อควรเลือกหัวมันที่เปลือกเรียบ ไม่มีร่องรอยการเจาะเป็นรู หัวอวบ เต่งตึง และไม่มีกลิ่นเหม็นหืน ส่วนใหญ่นำมาอบหรือเผา

ต้านมะเร็ง, ผักผลไม้, โรคมะเร็ง, มะม่วง

มะรุม ช่วยลดจำนวนก้อนมะเร็ง

การศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า มะรุมต้มสามารถป้องกันและรักษา โรคมะเร็งลำไส้ได้ โดยมีผลช่วยลดจำนวนก้อนมะเร็ง

ผศ. ดร. ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ประจำสถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล แนะนำว่า การกินมะรุมในรูปของอาหารนับว่าเพียงพอ ไม่จำเป็นที่จะต้องกินมะรุม ในรูปผงบรรจุแคปซูลให้สิ้นเปลือง เพราะอาจไม่ได้ให้ผลดีมากไปกว่ามะรุมจากอาหาร

นอกจากนี้ยังมีคำเตือนจากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลว่า หากจะกินใบ เนื้อในฝัก หรือดอกมะรุม เพื่อจุดประสงค์ในการรักษาโรค ย่อมทำได้ แต่ไม่ควรกินในปริมาณมากหรือติดต่อกันนานเกินไป เพราะอาจเกิดการสะสมสาร บางอย่างในร่างกายซึ่งเป็นพิษ

รายงานความเป็นพิษในสัตว์ทดลองพบว่า การกินมะรุมในปริมาณมากและ ติดต่อกันนานเกินไปอาจทำให้เกิดการแท้ง ดังนั้นสตรีมีครรภ์ควรใช้ด้วยความระมัดระวัง ทั้งนี้ผู้ป่วยที่กินมะรุมในรูปอาหารเสริม กินในปริมาณมากกว่าปกติ เช่น ดื่มน้ำคั้น หรือกินติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรตรวจการทำงานของตับร่วมด้วย เพราะพบว่า อาจมีผลทำให้เอนไซม์ตับเพิ่มขึ้นซึ่งบ่งบอกถึงความผิดปกติของตับ

HOW TO CHOOSE

การนำมะรุมมาทำอาหารนั้นสามารถใช้ได้ตั้งแต่

  • ยอดอ่อน ฝักดอก และใบ โดยนิ ยมนำยอดอ่อนไปเป็นเครื่องเคียงอาหารรสจัด
  • ฝักอ่อน สามารถนำมาปรุงโดยไม่ต้องปอกเปลือก นิยมนำมาผัดน้ำมันหรือทำยำ
  • ส่วนฝักแก่เปลือกจะแข็งเกินไป กินไม่ได้ ต้องปอกเปลือกออกก่อน นิยมนำ มาทำแกงส้มปลาช่อน

ในตลาดสดส่วนใหญ่ มักนิยมนำฝักแก่ มาขายมากที่ สุ ดการเก็บรักษามะรุมให้ สดใหม่ อยู่ได้นาน สามารถทำได้หลายวิธี เช่น ปอกเปลือกแล้วหั่นเป็นท่อนสั้นๆ ขนาดตาม ต้องการ ใส่กล่องปิดให้มิดชิดแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา

ทางที่ดีที่สุดคือ ควรกินมะรุมร่วมกับผักชนิดอื่นให้หลากหลาย ไม่กินผักชนิดใด ชนิดหนึ่งซ้ำๆ เพียงชนิดเดียว แนะนำให้ปรุงเป็นอาหาร เช่น แกงส้มมะรุมใส่สารพัดผัก ทั้งอร่อยแถมได้ประโยชน์จากสารอาหารในส่วนผสมหลายชนิด ดีกว่ากินมะรุมผง ปริมาณมากเพียงอย่างเดียว เพราะกินได้ไม่นานก็เบื่อ หรือกินมากไปอาจได้รับผลเสีย มากกว่าผลดีอีกด้วย

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.