โรคกอร์แฮมดิซีส, ภาวะกระดูกทำลายตัวเอง, โรค GSD, โรคกระดูก, กระดูกพรุน

โรคกอร์แฮมดิซิส “ภาวะกระดูกทำลายตัวเอง” อาการเฉียบพลันถึงขั้นเสียชีวิต

โรคกอร์แฮมดิซิส “ภาวะกระดูกทำลายตัวเอง”

โรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ ชี้ โรคกอร์แฮมดิซีส หรือโรค GSD หรือภาวะกระดูกทำลายตัวเอง เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดโรค อาจพบได้น้อยในประเทศไทย และมักไม่แสดงอาการให้เห็น แต่หากโรครุนแรงมากขึ้นจะมีอาการแบบเฉียบพลันและอาจเสียชีวิต

โรคกอร์แฮมดิซิส คืออะไร ?

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคกอร์แฮม ดิซีส หรือภาวะกระดูกทำลายตัวเอง เป็นโรคที่ประชาชนอาจไม่รู้จักและไม่เคยได้ยินชื่อ เนื่องจากเกิดขึ้นได้น้อย โดยทั่วโลกมีรายงานพบผู้ป่วยเพียง 300 คนเท่านั้น สำหรับประเทศไทยพบผู้ป่วยโรคนี้ประมาณ 3 ราย

โรคกอร์แฮม ดิซีส เป็นภาวะที่กระดูกเกิดการละลาย หรือเสื่อมสลายแบบเฉียบพลัน สามารถเกิดขึ้นได้กับกระดูกทุกส่วนของร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกระดูกสันหลัง กระดูกซี่โครง กะโหลกศีรษะ และขากรรไกร

โรคกอร์แฮมดิซีส, ภาวะกระดูกทำลายตัวเอง, โรค GSD, โรคกระดูก, กระดูกพรุน
โรคกอร์แฮมดิซีส เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดของการเกิดโรค

นอกจากนี้ยังมีการเติบโตที่ผิดปกติของผนังท่อน้ำเหลืองร่วมด้วย ซึ่งภาวะกระดูกละลายยังส่งผลต่อกล้ามเนื้อโครงสร้างของร่างกาย อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บที่อวัยะภายในได้ ทั้งนี้สามารถเกิดขึ้นได้และทุกช่วงอายุ มีรายงานตั้งแต่อายุน้อยกว่า 1 เดือนและอายุมากกว่า 70 ปี โดยพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิง

บทความน่าสนใจ : ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ฯ ชี้ 1ใน 5 ของผู้หญิงวัย 40-80 เสี่ยงโรค กระดูกพรุน

อาการ โรคกอร์แฮมดิซิส ?

นายแพทย์สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเลิดสิน กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคกอร์แฮมดิซีส เป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค ผู้ป่วยจะไม่แสดงอาการให้เห็นในทันที แต่จะมีอาการอย่างเฉียบพลันเมื่อโรคเริ่มรุนแรงขึ้นและอาจเสียชีวิต

โดยอาการของโรคจะขึ้นอยู่กับบริเวณที่เป็น เช่น บริเวณใบหน้า จะมีความผิดปกติของใบหน้า รู้สึกปวดฟัน หรือฟันหัก บางรายอาจมีอาการอักเสบของเยื่อหุ้มสมอง หากเกิดที่กระดูกสันหลัง และกะโหลกศีรษะ จะมีอาการผิดปกติของระบบประสาท หรือมีอาการปวดหลัง ปวดเอว แบบเรื้อรัง

บางรายอาจเป็นอัมพาตอย่างเฉียบพลัน หากเป็นบริเวณทรวงอก หรือกระดูกทรวงอก อาจทำให้หายใจลำบาก แน่นหน้าอก และอาจพบภาวะน้ำเหลืองท้นในช่องเยื่อหุ้มหัวใจ และช่องปอด นอกจากนี้หากเกิดการแทรกซ้อนทางระบบทางเดินหายใจอาจถึงแก่ชีวิต

อ่านเพิ่มเติม : สารสำคัญจากอาหารที่จำเป็นในการบำรุงกระดูกและข้อให้แข็งแรง

โรคกอร์แฮมดิซีส, ภาวะกระดูกทำลายตัวเอง, โรค GSD, โรคกระดูก, กระดูกพรุน
Young female doctor looking at the x-ray picture of knee injury in a hospital

 

มีวิธีการรักษาหรือไม่ ?

สำหรับการรักษาจะเป็นการรักษาตามอาการ ซึ่งอาจใช้วิธีผ่าตัด ฉายแสง เคมีบำบัด หรือใช้หลายๆวิธีควบคู่กัน ซึ่งการรักษาจำเป็นต้องใช้ระยะเวลา ขึ้นอยู่กับสภาพร่างกายของผู้ป่วย

โรคดังกล่าวแม้จะดูเหมือนเป็นโรคไกลตัว แต่ประชาชนควรดูแลสุขภาพของตนเอง หากพบความผิดปกติในร่างกาย ควรรีบไปพบแพทย์ เพราะยิ่งรู้เร็ว ยิ่งรักษาได้เร็ว โอกาสหายจากโรคย่อมสูงขึ้น

อ้างอิง :กรมการแพทย์

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.