ความรู้สึกผิด, ซึมเศร้า, โรคซึมเศร้า, อาการซึมเศร้า, ป้องกันโรคซึมเศร้า, แก้อาการซึมเศร้า

เคล็ดลับ หยุดนิสัยโทษตัวเอง ก่อนป่วย ซึมเศร้า

เมื่อเกิดความรู้สึกผิดควรดูแลจิตใจตัวเองอย่างไร

อย่างเรื่องที่เล่ามา คุณควรกลับมารับรู้ถึงเจตนาและความหวังดี ที่คุณมีให้เพื่อน การที่ช่วงนี้เพื่อนและสามีทะเลาะกันบ่อยๆ ส่วนสำคัญเกิดจากปัญหาในการปรับตัวเข้าหากัน ซึ่งพบบ่อยมาก ในช่วงต้นๆ ของการแต่งงาน เพราะในขณะที่คบเป็นแฟน ความสัมพันธ์ราบรื่นดี ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย ทว่าหลังแต่งงาน ในช่วงต้น ๆ หลายคู่จะเกิดปัญหาทะเลาะเบาะแว้งกันมากกว่าตอน เป็นแฟนกัน สิ่งที่เกิดกับเพื่อนคุณตอนนี้ไม่ได้แสดงว่าเพื่อนกับสามี จะเป็นคู่ที่ไม่มีความสุขไปตลอดชีวิต คุณเองเป็นแค่คนแนะนำให้เขา รู้จักกัน แต่หลังจากนั้นความสัมพันธ์จะราบรื่นดีหรือไม่ เป็นสิ่งที่ คนสองคนเป็นผู้รับผิดชอบ เป็นผู้สานต่อเอง

ดังนั้นในกรณีนี้ถ้ามองตามเหตุปัจจัย มองอย่างเข้าใจกลไก ของชีวิตและความสัมพันธ์ คุณไม่ควรจะมองว่าเป็นความผิด หรือความไม่ดีของคุณ เพราะคุณมีเจตนาดี และในความสัมพันธ์ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้กัน การปรับตัวเข้าหากัน ซึ่งไม่มีใครคาดเดา เหตุการณ์ล่วงหน้าได้

ในกรณีอื่นๆ ที่คุณอาจจะมีแนวโน้มรู้สึกผิดหรือรู้สึกว่ารับตนเองไม่ได้เมื่อทำบางสิ่งผิดพลาดไปจนทำให้จิตใจย่ำแย่ แนวทางเหล่านี้ น่าจะช่วยคุณได้

1. เข้าใจและยอมรับความผิดพลาดที่เกิดขึ้น เพราะความผิดพลาดล้วนเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดา ในโลกนี้ไม่มีใครที่ไม่เคยผิดพลาด ความผิดพลาดจึงเป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์ ผู้ที่ไม่ผิดพลาดคือ ผู้ที่ไม่เคยทำอะไรเลย

2. เรียนรู้จากความผิดพลาดนั้น ความผิดพลาดเป็นโอกาสของ การเรียนรู้ชั้นดี จำไว้เสมอว่าความผิดพลาดคือครู

3. ให้เวลา “จิตใจ” รู้สึกเศร้าเสียใจ พร้อมส่งความรักและ เมตตาต่อตัวเอง ไม่ควรปฏิเสธความรู้สึกเศร้าเสียใจ แต่อย่าซ้ำเติม ตัวเองจนเกินไป

4. พูดคุยกับผู้อื่น เพราะการเก็บตัว ไม่พูดคุยกับใคร จะยิ่ง ทำให้อาการแย่ลง

5. แบ่งปันความรู้สึกกับคนใกล้ตัว เช่น เพื่อน คนในครอบครัว คนที่รู้สึกสนิทใจ เป็นต้น

6. หากิจกรรมต่างๆ ทำ เพื่อไม่ให้ว่าง เพราะการมีเวลาว่างมักจะ ทำให้คิดมาก ฟุ้งซ่าน คิดเลยเถิด เกินจริงไป

7. แนะนำให้กล่าวคำ “ขอโทษ” ถ้ามีโอกาสที่จะทำได้ เพราะ เป็นสิ่งที่ช่วยเยียวยา “แผลใจ” ได้มาก ไม่ว่าอีกฝั่งจะยกโทษให้ หรือไม่ก็ตาม อย่างน้อยเราก็ได้ทำสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้ว

8.เปลี่ยนความรู้สึกเป็นพลังด้านบวก

– การทำงานอาสาสมัครต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ช่วยลดความ รู้สึกผิดและช่วยให้กลับมาเห็นคุณค่าในตนเองได้

– มองว่าความผิดนั้นเป็นการเรียนรู้ ซึ่งเป็นบทเรียนที่มีค่า อย่างยิ่ง เป็นประโยชน์อย่างยิ่งที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตต่อไปดียิ่งขึ้น ทั้งต่อตนเอง ต่อคนในครอบครัว และต่อสังคม

 – มองถึงสิ่งดีๆ และเจตนาดีต่างๆ ในตนเอง

9. ใคร่ครวญอย่างมีสติ พิจารณาดูว่า เราคิดมาก คิดแต่งเติม ใส่ร้ายตัวเองมากเกินไปหรือเปล่า

10. การให้อภัยตนเองและเริ่มต้นชีวิตใหม่ ข้อนี้สำคัญที่สุด

ความรู้สึกผิด, ซึมเศร้า, โรคซึมเศร้า, อาการซึมเศร้า, แก้โรคซึมเศร้า
เมื่อเกิดความรู้สึกผิด ควรหาทางปรับปรุง แก้ไข เพื่อนำไปสู่สิ่งที่ดีกว่า

มีผู้กล่าวไว้ว่า “การไม่ให้อภัยตัวเองคือการหลงตัวเองชนิดหนึ่ง” ซึ่งเป็นความจริง เพราะเราหลงตัวเองว่าจะทำผิดอะไรไม่ได้เลย เราจึง ไม่สามารถให้อภัยตัวเองได้

ในความจริ งคนเราทุกคนล้วนทำผิดได้ ความผิดพลาดเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ เราเองเป็นคนคนหนึ่ง เมื่อคนอื่นทำผิดได้ เราก็ทำผิด ได้เช่นกัน

ฝึกที่จะให้อภัยตัวเองและเริ่มต้นใหม่ด้วยชีวิตที่ดีขึ้น เพราะเรา ได้บทเรียนดีๆ สอนใจเราแล้ว

ดังนั้นความรู้สึกผิดไม่ใช่สิ่งเลวร้าย เพราะทำให้เกิดการแก้ไข และนำมาสู่สิ่งที่ดีกว่า

ตรงข้ามกับการไม่มีความรู้สึกผิด มีแต่การแก้ตัว กล่าวโทษ คนอื่น ทะเลาะกัน และทำร้ายกัน เต็มไปด้วยความวุ่นวาย

แต่ความรู้สึกผิดที่มากเกินไปจะกลับมาทำร้ายเราได้ “ความเมตตาต่อตัวเอง” จึงเป็นสิ่งที่สำคัญมากค่ะ

 

จาก คอลัมน์ MIND UPDATE นิตยสารชีวจิต ฉบับ 472


บทความน่าสนใจอื่นๆ

10 วิธีแก้ซึมเศร้าคนอกหัก

Before & After เคล็ดลับบอกลาโรคซึมเศร้า

ชนะเครียด หยุดโรคซึมเศร้า เราทำได้

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.