กินเกลือ, กินเค็ม, เกลือ, กินเกลือวันละเท่าไหร่, โซเดียม

กินเกลือ วันละเท่าไหร่ พอดี ?

กินเกลือ วันละเท่าไหร่พอดี ?

กินเกลือ กินเค็ม ประเด็นฮอตสุขภาพอีกประเด็นของประเทศไทย เพราะเมื่อไม่นานมานี้ รัฐกำลังพยายามผลักดัน กฏหมายทางอ้อม ด้วยการขึ้นภาษีเกลือ หรือกล่าวได้ว่า อาหาร เครื่องปรุง และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่มีส่วนผสมของเกลือ และโซเดียม เกินมาตรฐานที่กำหนดไว้จะมีราคาที่เพิ่มขึ้น เราจะจ่ายกันไหวไหม ถ้าจะกินเค็มกันต่อไป

อ่านเพิ่มเติม : คนไทยกินเค็มกว่าปกติ 2-3 เท่า เสี่ยงโรคเรื้อรัง ไตพังก่อนวัย

ทำไมต้อง กินเกลือ กินเค็ม ให้น้อยลง ?

หากร่างกายได้รับปริมาณเกลือ โซเดียม ในปริมาณที่มากจนเกินความจำเป็นของร่างกาย แน่นอนว่าทำให้เราเจ็บป่วยได้อย่างเเน่นอน โดยเฉพาะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง เสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

องค์การอนามัยโลก แนะนำว่า

“ผู้ใหญ่ควรกินโซเดียม วันละ น้อยกว่า 2,000 มิลลิกรัม หรือ กินเกลือ ได้เพียงวันละ  5 กรัม เท่านั้น และ กินโพแทสเซียมได้อย่างน้อยวันละ  3,510 มิลลิกรัมซึ่งเป็นตามหลักเกณฑ์ใหม่ที่ออกโดยองค์การอนามัยโลก”

อย่างไรก็ตาม คนที่มีระดับโซเดียมสูง และระดับโพแทสเซียมต่ำ อาจมีความเสี่ยงต่อความดันโลหิตเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้

อ่านเพิ่มเติม : เทคนิค กินเค็ม ทำอย่างไรไตไม่พัง

อาหารที่พบปริมาณโซเดียมสูง (กินน้อยๆ)

แร่ธาตุโซเดียมสามารถพบได้โดยตามธรรมชาติ ในอาหารที่หลากหลาย เช่น

  • นมและครีม (ประมาณ 50 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)
  • ไข่ (ประมาณ 80 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)

นอกจากนี้ยังพบได้ในอาหารที่ผ่านกระบวนการ หรืออาหารโปรเซส (Process) สำเร็จรูป เช่น

  • ขนมปัง (ประมาณ 250 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)
  • เนื้อสัตว์แปรรูป เช่น เบคอน (ประมาณ 1,500 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)
  • ขนมขบเคี้ยว เช่น ข้าวโพดคั่ว ประมาณ 1,500 มิลลิกรัม ต่อ100 กรัม)
  • เครื่องปรุงต่างๆเช่น ซีอิ๊ว (ประมาณ 7,000 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)
  • น้ำซุปหรือน้ำตาล (ประมาณ 20,000 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)
กินเกลือ, กินเค็ม, เกลือ, กินเกลือวันละเท่าไหร่, โซเดียม
กินเกลือในปริมาณที่เหมาะสม ลดความเสี่ยงการเกิดโรคได้

อาหารที่อุดมด้วยโพเเทสเซียมสูง (ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง)

สำหรับอาหารที่อุดมด้วยแร่โพแทสเซียมสูง ต้องกินให้เยอะๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคความดันโลหิตสูง  เช่น

  • ถั่วมีเปลือก (ประมาณ 1,300 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)
  • ถั่ว (ประมาณ 600 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)
  • ผัก เช่น ผักขม กะหล่ำปลี และผักชีฝรั่ง (ประมาณ 550 มิลลิกรัมต่อ 100 กรัม)
  • ผลไม้ เช่น กล้วย มะละกอ (ประมาณ 300 มิลลิกรัม ต่อ 100 กรัม)

แต่อย่างไรก็ตามยิ่งมีการแปรรูปอาหาร  ปริมาณโพเเทสเซียมจะลดลงด้วย

ไม่อยากเป็นโรคความดันโลหิตสูง ต้องกินเกลือ กินเค็ม ในปริมาณที่น้อยลงนะครับ

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.