กระดูกพรุน

ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ฯ ชี้ 1ใน 5 ของผู้หญิงวัย 40-80 เสี่ยงโรค กระดูกพรุน

กระดูกพรุน กระดูกหักซ้ำ ภัยร้ายของของผู้หญิง วัย 40-80 ปี

กระดูกพรุน กระดูกหักในผู้สูงวัยจากโรค กระดูกพรุน ค่อนข้างมาก  เนื่องจากสถานการณ์ผู้สูงวัยในประเทศไทยกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (ผู้สูงวัยคือผู้ที่มีอายุ 60 ปี)

สถานการณ์โรคกระดูกพรุน

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้ความสนใจกับเรื่องกระดูกหักในผู้สูงวัยจากโรคกระดูกพรุนค่อนข้างมาก  เนื่องจากสถานการณ์ผู้สูงวัยในประเทศไทยกำลังมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (ผู้สูงวัยคือผู้ที่มีอายุ 60 ปี)

โดยในปี 2562 จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยจะมีประชากรสูงวัยมากกว่าประชากรเด็ก คือ มีผู้สูงวัย 18% เด็ก 15.9% และในปี 2564 ประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ คือมีประชากรสูงวัย มากกว่า 20% และในปี 2574 จะมีอัตราส่วนของผู้สูงวัย 28 % จากจำนวนประชากรทั้งประเทศ

และเนื่องในวันกระดูกพรุน โลกซึ่งตรงกับวันที่ 20 ตุลาคม 2561 ทางราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย ( The Royal College of Orthopaedic Surgeons of Thailand = RCOST)  ร่วมกับ บริษัท แอมเจน (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมจัดงาน Special talk with experts” at Technology Pavilion เนื่องในวันกระดูกพรุนโลก ปี 2561 เพื่อให้ความรู้ ลดความเสี่ยง การเกิดกระดูกหักซ้ำในผู้สูงอายุ

กระดูกพรุน กระดูกหัก
ราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์ ฯ ชี้ 1ใน 5 ของผู้หญิงวัย 40-80 เสี่ยงโรค กระดูกพรุน กระดูกหักซ้ำ

โดยงานประชุมได้รับเกียรติจาก .นพ.อารี ตนาวลี ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย, รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์ ประธานอนุสาขาเมตาบอลิกและผู้สูงอายุ (MBOG), รศ.นพ.สัตยา โรจนเสถียร ว่าที่ประธานอนุสาขาเมตาบอลิก และผู้สูงอายุ , ศาสตราจารย์ ..(พิเศษ) ดร.นพ.ทวี ทรงพัฒนาศิลป์ ประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย เข้าร่วมในงานและให้ความรู้เกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน

1ใน 5 ของผู้หญิงวัย 40 -80 เป็นโรคกระดูกพรุน

.นพ.อารี ตนาวลี ประธานราชวิทยาลัยแพทย์ออร์โธปิดิกส์แห่งประเทศไทย  กล่าวว่า เนื่องจากกระทรวงสาธารณสุข ให้ความสนใจเรื่องกระดูกหักในผู้สูงวัยจากโรคกระดูกพรุนค่อนข้างมากจากสถานการณ์ผู้สูงวัยในประเทศไทย หลายหน่วยงานจึงร่วมกันรณรงค์ เพราะหากไม่ได้รับการรักษาในแนวทางที่ถูกต้อง อาจนำไปสู่การเสียชีวิต ประมาณ 20-25 % ในปีแรก และคนไข้บางรายไม่สามารถกลับไปใช้ชีวิตได้ตามปกติได้ ซึ่งทางราชวิทยาลัยฯ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของอันตรายจากภาวะดังกล่าว แพทย์ออร์โธปิดิกส์จึงได้ร่วมมือกันในการให้ความสำคัญ ดูแลผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการหักซ้ำของกระดูก

ทั้งนี้ กระดูกหักในผู้ป่วยที่มีกระดูกพรุน พบได้บ่อยกว่าที่คิด  ทุกๆ 3 วินาทีจะมีกระดูกหักใหม่เกิดขึ้น ประชากรทั่วโลกมีสตรีที่เป็นโรคกระดูกพรุนประมาณ 200 ล้านคน ข้อมูลในประเทศไทย 1 ใน 5 ของผู้หญิงอายุ 40-80 ปี เป็นโรคกระดูกพรุน

ตำแหน่งที่พบบ่อยจากการหกล้ม คือกระดูกสะโพก และกระดูกข้อมือ ส่วนกระดูกสันหลังหักอาจพบโดยเกิดกระดูกยุบตัว จากอุบัติเหตุหรือเกิดขึ้นเอง และหากภาวะกระดูกพรุนไม่ถูกควบคุมดีพอก็อาจเกิดการหักซ้ำได้ในส่วนอื่นๆ  โดยราชวิทยาลัยฯ ได้ดำเนินการรณรงค์ให้บุคลากรทางการแพทย์และประชาชนทั่วไปตระหนักถึงภาวะกระดูกพรุนและจะนำเดินต่อไปให้เป็นวงกว้างมากขึ้น

กระดูกพรุน กระดูกหัก
ผู้ที่เป็นโรคกระดูกพรุน มีโอกาสเกิดกระดูกหักซ้ำได้มากกว่าคนทั่วไป การป้องกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ

สาเหตุ ทำกระดูกพรุน

รศ.นพ.สัตยา โรจนเสถียร ว่าที่ประธานอนุสาขาเมตาบอลิกและผู้สูงอายุ กล่าวว่า โรคกระดูกพรุนคือโรคที่คนไข้มีมวลกระดูกต่ำ โครงสร้างกระดูกเสื่อมโทรมและกระดูกหักง่ายแม้เพียงการล้มเบาเบา ผลกระทบสำคัญของโรคกระดูกพรุนคือกระดูกหักในตำแหน่งต่าง ของร่างกาย เช่น กระดูกข้อมือหัก กระดูกสันหลังหัก กระดูกสะโพกหัก กระดูกต้นแขนหัก กระดูกเชิงกรานหัก การมีกระดูกหักในตำแหน่งต่าง เหล่านี้จะทำให้คุณภาพชีวิตลดลง คนไข้มีความสามารถในการใช้ชีวิตประจำวันด้อยลง และมีความเสี่ยงต่อการเสียชีวิตเร็วกว่าเวลาอันสมควร

คนไข้ที่เคยมีกระดูกหักจากภยันตรายที่ไม่ร้ายแรงเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณภาพกระดูกไม่ดี และเป็นโรคกระดูกพรุน คนไข้เหล่านี้มีโอกาสเกิดกระดูกหักซ้ำได้มากกว่าประชากรทั่วไปหลายเท่า การป้องกันก่อนกระดูกหักจึงเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง ขณะเดียวกันการป้องกันมีให้กระดูกหักซ้ำในผู้ป่วยซึ่งเคยมีกระดูกหักมาแล้วยิ่งมีความสำคัญอย่างมาก มีข้อมูลแสดงว่า ผู้ป่วยกระดูกสะโพกหักที่ไม่ได้รับยารักษาโรค กระดูกพรุน มีอัตราตายมากกว่ากลุ่มที่ได้รับยาถึงสองเท่า

วิธีรักษา และป้องกัน กระดูกพรุน

รศ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ยุกตะนันทน์  ประธานอนุสาขาเมตาบอลิกและผู้สูงอายุ  กล่าวว่า การรักษาโรคกระดูกพรุนไม่ยาก เริ่มต้นจากการวินิจฉัยในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีประวัติการะดูกหัก หรือ กระดูกสันหลังยุบ, คนไข้ที่หมดประจำเดือนเร็ว, ผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปีและน้ำหนักน้อยกว่า 45 กิโลกรัม ส่งตรวจค่ามวลกระดูก และตรวจเลือดเพิ่มเติม เมื่อวินิจฉัยเป็นโรคกระดูกพรุนแล้ว จึงเลือกใช้ยาตามข้อบ่งชี้ ยามี 2 กลุ่มหลักๆ คือ ยาต้านการสลายกระดูก และยากระตุ้นการสร้างกระดูก ซึ่งควรพิจารณาเลือกใช้ยาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายในระยะเวลาที่เหมาะสม สุดท้ายคือ ติดตามผล โดยตรวจวัดมวลกระดูก ทุก 1-2 ปี

 ศาสตราจารย์ ..(พิเศษ) ดร.นพ.ทวี ทรงพัฒนาศิลป์ ประธานมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทย กล่าวว่า บทบาทของมูลนิธิโรคกระดูกพรุนแห่งประเทศไทยฯ (TOPF) ในการให้ความรู้เกี่ยวกับโรค กระดูกพรุน แบ่งเป็น 2 แนวทางใหญ่ ประกอบด้วย

1) การให้ความรู้กับแพทย์ในสาขาต่าง และบุคคลากรทางการแพทย์ ให้เกิดความเข้าใจ สามารถวินิจฉัย และให้การรักษาที่เหมาะสมกับผู้ป่วยเหล่านี้ได้ เครือข่ายต่างๆภายให้มูลนิธิ ได้แก่ ชมรมผู้เชี่ยวชาญโรคกระดูกพรุน (TOSS), เครือข่ายการดูแลผู้ป่วยกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน(Thailand-FFN) , ชมรมการตรวจวัดมวลกระดูกทางคลินิก (TSCD) 

2) การให้ความรู้แก่ประชาชน ในการดูแลสุขภาพกระดูก การกินอาหาร และการออกกำลังกายที่ถูกต้อง เราก็มีชมรมรักษ์กระดูก (Thai Osteoporosis Patient Society) ในการจัดอบรมแก่ อสส.อสม. และประชาชนทั่วไป รวมทั้งผู้สูงวัย ที่จะได้มีความรู้ สามารถดูแลกระดูกของตนเอง ญาติพี่น้อง คนในหมู่บ้าน ในตำบล ได้ถูกต้อง

บทความน่าสนใจ

ออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance Exercise) ลดภาวะกระดูกพรุน

4 อาหาร ป้องกันกระดูกพรุน

เคล็ดลับกินลูกเดือย ป้องกันกระดูกพรุน มะเร็ง เบาหวาน

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.