โรคไต ไตวาย

วิธีกินช่วยผู้ป่วย โรคไต แข็งแรง อายุยืน

ผู้ป่วยเด็กที่กำลังเจริญเติบโต

ปัญหาสำคัญของผู้ป่วยโรคไตที่อายุยังน้อยคือ มีการเจริญเติบโตช้ากว่าเด็กปกติ จำเป็นต้องดูแลเรื่องอาหารอย่างใกล้ชิดเพื่อให้ได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ

ที่สำคัญ ผู้ปกครองควรหมั่นตรวจเช็กพัฒนาการด้านร่างกายของเด็กจากกราฟแสดงเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเด็ก โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ว่าเป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่ร่วมด้วย

 

กินถนอมไต : คุณเอกหทัยเน้นว่า ผู้ป่วยเด็กมีความต้องการพลังงานและสารอาหารเหมือนในเด็กปกติ เพียงแต่ควรเป็นอาหารจากธรรมชาติที่ไม่ปรุงแต่งด้วยผงชูรส ผงปรุงรส หรือปรุงด้วยน้ำตาล น้ำปลา ซีอิ๊วขาวมากจนเกินไป แต่หากพบว่าน้ำหนักและส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ควรให้เด็กกินอาหารเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีพัฒนาการเช่นเดียวกับเพื่อนในวัยเดียวกัน 

“ผู้ปกครองควรให้เด็กกินอาหารว่างเพิ่มขึ้น หรือหากลูกเป็นเด็กกินยาก อาจใช้วิธีเพิ่มน้ำมันคุณภาพดี ได้แก่ น้ำมันรำข้าว น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันคาโนลา น้ำมันมะกอก ลงในอาหาร สามารถทำเมนูได้หลากหลาย เช่น ข้าวผัด ก๋วยเตี๋ยวผัด ผักทอด เพื่อให้เด็กได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นโดยไม่กระทบต่อปริมาณอาหาร

“สำหรับผู้ป่วยเด็กที่ฟอกเลือดหรือต้องล้างไตทางช่องท้อง ควรปรับการกินโปรตีนให้เพียงพอกับปริมาณที่สูญเสียไปขณะฟอกเลือดหรือล้างไต โดยเพิ่มการกินเนื้อสัตว์ เช่น เนื้อปลาหรือไข่ขาวอีก

ประมาณ 20 – 50 เปอร์เซ็นต์จากเดิม ยกเว้นในเด็กอายุ 1 – 10 ขวบที่ฟอกเลือดผ่านทางช่องท้อง สามารถเพิ่มการกินเนื้อสัตว์ได้มากกว่าเดิมถึง 60 – 80 เปอร์เซ็นต์ โดยผู้ปกครองอาจเสริมในรูปแบบขนมโปรตีนสูง เช่น คัสตาร์ดไข่ขาว วุ้นไข่ขาว หรือของว่าง เช่น ขนมจีบ เกี๊ยวกุ้ง”

โรคไตในเด็ก

ผู้ป่วยที่ต้องล้างไตด้วยเครื่องไตเทียม

เมื่อไตเสื่อมจนเข้าสู่ไตวายระยะสุดท้าย คือไตไม่สามารถทำหน้าที่กำจัดของเสียได้อีกต่อไป จึงจำเป็นต้องใช้ไตเทียมทำหน้าที่ชะล้างของเสียที่คั่งค้างภายในร่างกายแทน อาจเลือกล้างไตโดยการ

ฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียม (Hemodialysis) ล้างไตผ่านทางช่องท้อง (Peritoneal Dialysis) หรือผ่าตัดเปลี่ยนไต ในกรณีนี้จะกล่าวถึงการล้างไตที่ไม่รวมถึงการผ่าตัดเปลี่ยนไต

คุณเอกหทัยอธิบายว่า “สำหรับการฟอกเลือดด้วยเครื่องไตเทียมจะใช้วิธีดึงเลือดของผู้ป่วยที่เต็มไปด้วยของเสียต่าง ๆ ออกมาผ่านเข้าเครื่องไตเทียม เมื่อเลือดไหลผ่านตัวกรองของเสีย และเกลือแร่น้ำส่วนเกินในเลือดจะถูกกรองทิ้ง เหลือแต่เลือดดีไหลกลับเข้าสู่ร่างกายผู้ป่วยอีกครั้ง แต่ระหว่างที่เลือดไหลไปเพื่อกรองของเสียสารโปรตีนในร่างกายของคนไข้จะถูกกรองทิ้งไปด้วย”

กินถนอมไต : โดยเฉลี่ยผู้ที่รับการฟอกเลือดจะมีการสูญเสียสารโปรตีนในรูปของกรดแอมิโนเฉลี่ยวันละ 27 – 39 กรัม หรือเทียบเท่ากับการกินไข่ขาว 8 – 12 ฟอง หากกินอาหารเหมือนก่อนฟอกเลือดอาจเสี่ยงทำให้ผู้ป่วยขาดโปรตีน ดังนั้นในระยะนี้จึงต้องเปลี่ยนจากการจำกัดโปรตีนเป็นกินโปรตีนเพิ่มขึ้น โดยเพิ่มโปรตีนหรือเนื้อสัตว์จากเดิมอีกเท่าหนึ่ง หรือประมาณวันละ 12 – 18 ช้อนแกงส่วนผักผลไม้อื่นๆ แนะนำให้กินเหมือนช่วงก่อนเข้ารับการล้างไต

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 7 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.