โรคไต ไตวาย

วิธีกินช่วยผู้ป่วย โรคไต แข็งแรง อายุยืน

ผู้ป่วยที่ต้องการลดน้ำหนัก

ผลการศึกษาหนึ่งพบว่า หากมีน้ำหนักเกินมาตรฐานการลดปริมาณอาหารประจำวันลงวันละ 500 กิโลแคลอรีสามารถลดน้ำหนักได้เดือนละ 1 – 2 กิโลกรัม แถมมีผลชะลอไตเสื่อมและลดการรั่วของโปรตีนในปัสสาวะด้วย

ทั้งนี้เพื่อให้เกิดผลดีในระยะยาว คุณเอกหทัยแนะนำให้ควบคุมอาหารร่วมกับการออกกำลังกาย เพราะการออกกำลังกายอย่างเหมาะสมไม่เพียงช่วยขับโซเดียมผ่านเหงื่อ ลดการทำงานของไตในการขับของเสีย ยังช่วยเพิ่มความไวในการทำงานของอินซูลิน ช่วยควบคุมและลดระดับน้ำตาลในเลือดอีกด้วย

ผู้ป่วยโรคไตกับการลดความอ้วน
ผู้ป่วยโรคไตที่มีน้ำหนักเกิน ควรลดน้ำหนัก ด้วยการควบคุมอาหาร และออกกำลังกายอย่างเหมาะสม

กินถนอมไต : ไม่แนะนำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำกัดอาหารหรือลดความอ้วนโดยพลการ แต่ควรปรึกษาแพทย์และนักกำหนดอาหารให้ช่วยประเมินดัชนีมวลกาย รวมถึงความเสี่ยงเช่นการขาดสารอาหารจากการลดน้ำหนักร่วมด้วย

หากพบว่าดัชนีมวลกายสูงเกินมาตรฐาน สมควรที่ต้องลดน้ำหนัก นักกำหนดอาหารจะแนะนำอาหารตามสภาวะของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง โดยลดปริมาณพลังงานจากอาหารประจำวันของผู้ป่วยลงวันละ 500 กิโลแคลอรี วิธีลดพลังงานไม่จำเป็นต้องกินอาหารปริมาณน้อยลงเสมอไป เพียงลดน้ำตาลและ

ไขมันในอาหารประจำวันก็สามารถช่วยลดน้ำหนักได้ ตามที่คุณเอกหทัยให้ข้อมูลว่า

“การควบคุมอาหารทำได้โดยลดขนมหวาน น้ำตาลหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารทอด แกงกะทิ เนื้อสัตว์ไขมันสูงหันมากินอาหารแบบต้ม ตุ๋น นึ่ง ย่าง ยำแทน สำหรับใครที่หิวบ่อย บางมื้อสามารถเลือกนำแป้งปราศจากพลังงาน เช่น บุก หรือเส้นแก้ว (วุ้นเส้นสาหร่าย) มาปรุงอาหารก็ช่วยให้อิ่มท้องและช่วยให้น้ำหนักค่อยๆ ลดลงได้”

คุณเอกหทัยเน้นว่า ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรลดน้ำหนักอย่างหักโหม แต่ควรลดน้ำหนักอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยควรลดน้ำหนักไม่เกินเดือนละ 2 กิโลกรัม คุณเอกหทัยยังเสริมว่า

“อย่าลืมออกกำลังกายแบบความหนักปานกลางร่วมด้วยเช่น การเดิน แกว่งแขน ปั่นจักรยาน เล่นยางยืด วันละ 30 – 60 นาที แต่ต้องระวังไม่ให้เหนื่อยเกินไป วิธีตรวจสอบง่ายๆ คือ ขณะออกกำลังกายสามารถพูดคุยเป็นประโยครู้เรื่อง แต่ถ้าถึงขนาดพูดไม่ออก หายใจไม่ทัน แสดงว่ออกกำลังกายหนักเกินไป”

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 5 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.