โรคNCDs โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง โรควิถีชีวิต โรคพฤติกรรมผิดๆ

24 ชั่วโมง ปรับชีวิตพิชิต โรคNCDs

8 am 

ปรับใจช่วงรถติด

อาจารย์ ดร.ธรรมวัฒน์ อุปวงษาพัฒน์ อาจารย์ประจำภาควิชาสุขศึกษา คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา และเป็นหนึ่งในสมาชิกสมาคมการสั่งจิตบำบัดทางการแพทย์และทันตกรรมนานาชาติสหรัฐอเมริกา (IMDHA) อธิบายว่า ขณะเดินทางไปทำงาน หลายคนมักเกิดความเครียดจากสภาพการจราจรที่ติดขัด แต่ถ้าหากคุณปล่อยให้ตัวเองจมอยู่กับความเครียดเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายเกิดความไม่สมดุลของระบบฮอร์โมนซึ่งเป็นชีวเคมีที่สำคัญต่อมนุษย์ เพราะทำหน้าที่ช่วยควบคุมการทำงานของระบบต่างๆ ภายใน ขณะเกิดความเครียดจะทำให้ต่อมหมวกไตหลั่งฮอร์โมน คอร์ติซอล (Cortisol) เพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดอาการทางกายหลายอย่างแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ตั้งแต่ปวดศีรษะปวดหลัง อ่อนเพลีย

และหากต้องเผชิญกับความเครียดที่รุนแรงมากๆ เป็นเวลานาน อาจก่อให้เกิด โรคNCDs หรือถึงขั้นทำให้เสียชีวิตได้ เนื่องจากระบบการทำงานของร่างกายล้มเหลว เช่น คนที่มีโรคเบาหวานเป็นโรคประจำตัวอยู่แล้วหากเกิดความเครียดอย่างรุนแรง ฮอร์โมนคอร์ติซอลจะไปกระตุ้นระดับน้ำตาลในเลือดให้สูงขึ้นหรือลดต่ำลงอย่างผิดปกติ และทำให้เกิดอาการช็อกได้ หรือในบางรายที่ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้ไม่เต็มที่ ส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้ต่างๆ และมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็งได้ง่ายกว่าเมื่อเทียบกับคนปกติ

อาจารย์ ดร.ธรรมวัฒน์แนะนำเพิ่มเติมอีกด้วยว่า “ธรรมะเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยขจัดความเครียดได้ โดยทำจิตใจให้สงบ พร้อมแผ่เมตตาแก่เพื่อนร่วมทางบนท้องถนน เนื่องจากจิตใจและร่างกายเชื่อมโยงกันตลอดเวลา การทำสมาธิจะช่วยปรับสภาวะจิตภายในส่งผลไปที่สภาวะกายอันได้แก่ ระบบเลือด ระบบฮอร์โมนโดยอัตโนมัติ”

นอกจากนี้การใช้ ดนตรีบำบัด เลือกฟังเพลงที่ชื่นชอบ หรือฟังวิทยุคลื่นโปรดยามที่คุณต้องติดแหง็กบนท้องถนนเป็นเวลาหลายชั่วโมง ก็เป็นวิธีที่ไม่เลวเลยทีเดียวในการจัดการกับความเครียด เนื่องจากมีการวิจัยของภาควิชาวิสัญญีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ และภาควิชาการพยาบาลศัลยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่าดนตรีมีผลต่อร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณของบุคคล ความเร็วของจังหวะเสียงดนตรีมีผลต่อร่างกาย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของจังหวะของร่างกาย เช่น การเต้นของหัวใจ การหายใจ รวมทั้งการทำงานของกล้ามเนื้อและอารมณ์ของบุคคล ยิ่งไปกว่านั้นดนตรียังมีผลดีต่อสุขภาพหลายประการ เช่น ทำให้ภูมิต้านทานของร่างกายเพิ่มขึ้น ลดความกังวลลดปวด ลดอาการซึมเศร้า ที่สำคัญคือ ลดความเครียด อีกหนึ่งตัวการร้ายที่ก่อให้เกิด โรคNCDs ได้อย่างไม่น่าเชื่อ

กินขนมขบเคี้ยวเสี่ยงต่อการเกิดโรคกลุ่ม NCDs
ในขนมขบเคี้ยว มีไขมันทรานส์ และโซเดียมสูง กินมากเสี่ยงต่อการเกิดโรคความดันโลหิตสูง

9 am

งดของขบเคี้ยว

เวลานี้เป็นช่วงที่เราปลอดโปร่งทั้งสมองและร่างกายควรทำกิจกรรมต่างๆ ให้เต็มที่ และพยายามหลีกเลี่ยงการกินขนมขบเคี้ยว เช่น คุกกี้ ขนมกรุบกรอบของทอดต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งสะสมของไขมันทรานส์ที่ก่อให้เกิดสารพัดโรคในกลุ่ม NCDs เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน และโรคอ้วน

ซ้ำร้ายกว่านั้น ข้อมูลจาก สถาบันวิจัยโภชนาการระบุว่า ในขนมขบเคี้ยวต่างๆ ที่มีรสชาติเค็ม เช่นมันฝรั่งแผ่นทอดกรอบ มันฝรั่งแท่ง หรือแป้งทอดกรอบปรุงแต่งรสต่างๆ นั้น จะมีโซเดียมผสมอยู่ในปริมาณค่อนข้างสูง ซึ่งหากเราทานอาหารรสเค็มจัดที่ได้จากเกลือโซเดียมมากกว่า 6 กรัมต่อวัน (เทียบกับร่างกายผู้ใหญ่) หรือมากกว่า 1 ช้อนชาขึ้นไปเป็นประจำ ก็จะเสี่ยงต่อการเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดสมองแตก โรคหัวใจ และไตวายได้ในอนาคต

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.