เดินจงกรม

Amazing พิชิต 7 โรคร้ายด้วย เดินจงกรม

ฟื้นฟูการเคลื่อนไหว ให้ผู้ป่วยระยะพักฟื้น

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นายแพทย์ชินภัทร์ จิระวรพงศ์ ภาควิชาออร์โธปิดิกส์และเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร อธิบายว่า การ เดินจงกรม มีประโยชน์มากในกลุ่มผู้ป่วยที่ต้องนอนรักษาตัวนานๆ

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ประสบอุบัติเหตุรุนแรง ผู้ป่วยที่ผ่านการผ่าตัดใหญ่ ผู้ป่วยที่ต้องนอนพักฟื้นเป็นระยะเวลานานๆ และผู้ป่วยที่มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหว เช่น ยกแขนหรือขาไม่ค่อยได้ เนื่องจากผู้ป่วยในกลุ่มนี้มักมีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนล้า (Fatigue)

“การเดินจงกรมเป็นประจำ ช่วยเพิ่มความแข็งแรงและสร้างความทนทาน (Endurance) ของกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะกล้ามเนื้อขา เข่า สะโพก ได้เป็นอย่างดี มีผลให้เวลาในการฝึกเดินของผู้ป่วยลดลงและได้ผลดีกว่าการฝึกเดินโดยไม่เสริมการเดินจงกรมร่วมด้วย

“ยกตัวอย่างผู้ป่วยอายุ 65 ปี มีอาการโรคข้อเข่าเสื่อมปานกลางทั้งสองข้าง เดินได้ระยะสั้น ๆ 5 - 10 ก้าว แต่ต้องมีผู้ช่วยประคองหากเดินเป็นระยะทางไกลกว่านั้น ต่อมาเมื่อเดินจงกรมร่วมด้วยทำให้อาการดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด เพราะสามารถเพิ่มระยะทางในการเดินมากขึ้นเรื่อยๆ ได้

“ในกรณีของผู้ป่วยอัมพฤกษ์อัมพาต เราพบว่า การฝึกเดินจงกรมช่วยจัดระเบียบท่าเดินให้เข้าสู่สภาวะปกติ ลดการบาดเจ็บจากท่าเดินที่ไม่เหมาะ เช่น เท้าแพลง นิ้วเท้าจิกจนทำให้เกิดแผล และป้องกันการหกล้มขณะเดินได้ดีขึ้น”

เดินจงกรม ฟื้นฟูการเคลื่อนไหว
เดินจงกรม ช่วยฟื้นฟูการเคลื่อนไหวของผู้ป่วยระยะพัก

สุดยอดวิธีชะลอโรค เมื่ออวัยวะเสื่อมตามวัย

นายแพทย์ชินภัทร์ชี้แจงว่า ทุกวันนี้คนเราอายุยืนขึ้นหมายความว่า ระยะเวลาที่ต้องรับมือกับภาวะเสื่อมของร่างกายจะยาวนานตามไปด้วย โดยเฉพาะช่วงอายุหลัง 70 ปีเป็นต้นไปร่างกายต้องเผชิญกับโรคที่เกิดจากภาวะเสื่อมของอวัยวะต่างๆ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นโรคข้อเข่าเสื่อม สมองเสื่อม พาร์กินสัน ภาวะกล้ามเนื้อลีบ กระดูกพรุน ฯลฯ

เมื่อศึกษางานวิจัยในระดับสากลจะพบว่า แพทย์ส่วนใหญ่ ล้วนแนะนำให้ผู้สูงอายุเลือกการเดินเป็นการออกกำลังกายทุกวัน เพราะพบว่าช่วยชะลอความเสื่อมและช่วยฟื้นฟูร่างกายหลังเกิดความเสื่อมในอวัยวะต่างๆ ได้อย่างดี

ตัวอย่างเช่น The European League Against Rheumatism (EULAR) ซึ่งเป็นการรวมตัวของแพทย์ผู้รักษาโรคข้อในยุโรป ได้รวบรวมงานวิจัยออกมาเป็นแนวทางในการดูแลสุขภาพผู้ป่วยโรคข้อเสื่อมว่า นอกจากการปรับอาหารและเสริมแคลเซียมแล้ว ควรจะเดินออกกำลังกายเป็นประจำด้วย

นายแพทย์ชินภัทร์อธิบายต่อว่า

“ในแง่ของความปลอดภัยแล้ว จะพบว่า ผู้สูงอายุซึ่งร่างกายมีภาวะเสื่อมปรากฏขึ้นในจุดต่างๆ ค่อนข้างมาก ควรเลือกการเดินจงกรมแทนการวิ่ง หรือเดินออกกำลังกายตามปกติ เนื่องจากการเดินจงกรมต้องใช้การกำหนดสติควบคู่ไปด้วยจึงช่วยลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุ อีกทั้งจังหวะที่ก้าวก็ช้า ไม่ต้องออกแรงมาก จึงนับว่าเหมาะกับผู้สูงอายุที่สุด”

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.