มะเร็ง โรคในผู้หญิง มะเร็งในผู้หญิง มะเร็งรังไข่ มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก

สารพัดวิธีรบ…สยบ มะเร็ง ผู้หญิง

8 Risks เสี่ยงมะเร็งเต้านม      

  1. เพศ: พบมะเร็งเต้านมในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย 100 เท่า
  2. กรรมพันธุ์: ร้อยละ 10 ของผู้ป่วยที่ตรวจพบ จะมีญาติเป็นมะเร็งเต้านม
  3. อายุ: ร้อยละ 70 - 80 ของมะเร็งเต้านมเกิดในผู้หญิงที่มีอายุมากกว่า 50 ปี
  4. ภาวะเครียด: ผู้มีอาการเครียดเรื้อรังเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนที่สุขภาพจิตดี 2 เท่า
  5. ผู้ป่วยในกลุ่มโรคเมแทบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome): ผู้ป่วยโรคอ้วน ความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่มีสุขภาพปกติ 3 เท่า
  6. วิถีชีวิต: น้ำหนักตัวมาก ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด ไม่ออกกำลังกาย หรือกินอาหารไขมันสูง
  7. ยีนกลายพันธุ์: ผู้หญิงที่มียีนกลายพันธุ์บีอาร์ซีเอ 1 (BRCA 1) และบีอาร์ซีเอ 2 (BRCA 2) นั้น จะเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งรังไข่และมะเร็งเต้านม
  8. ปัจจัยอื่นๆ: ผู้ที่เคยเป็นมะเร็งเต้านมข้างหนึ่ง เต้านมอีกข้างจะมีโอกาสเป็นซ้ำมากกว่าผู้อื่น 5 เท่า ผู้ที่มีลูกหลังอายุ 34 ปีจะเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้ที่มีลูกขณะอายุน้อย 4 เท่า ผู้ที่มีประจำเดือนก่อนอายุ 12 ปีจะเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าผู้มีประจำเดือนหลังอายุ 12 ปี 1.3 เท่า
มะเร็ง เต้านม
ในปัจจุบันการรักษาโรคมะเร็งเต้านม สามารถเลือกทำได้หลายวิธี

7 ทางรอดมะเร็งเต้านม

นอกจากการผ่าตัดและรังสีรักษาแล้ว ยังมีวิธีการรักษามะเร็งเต้านมแบบอื่นๆ อีก ซึ่งคุณหมอชัญวลีอธิบายไว้ในหนังสือชุดโรคภัยใกล้ตัว ต้านมะเร็งเต้านมสำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ ว่า การรักษามะเร็งเต้านมสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ ผลชิ้นเนื้อจากการวินิจฉัยทางพยาธิวิทยา ตัวผู้ป่วยมะเร็งเต้านม และข้อจำกัดอื่นๆ ซึ่งมีรายละเอียดโดยสรุปดังต่อไปนี้

1. การผ่าตัด: ในปัจจุบันพบว่า ร้อยละ 60 - 75 ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านมสามารถผ่าเพื่อตัดเฉพาะก้อนมะเร็งและเนื้อเยื่อรอบๆ เพียงเล็กน้อยได้ แต่หากมะเร็งกระจายต่อไปยังต่อมน้ำเหลือง อาจต้องใช้วิธีรังสีรักษา เคมีบำบัด หรือวิธีอื่นๆ ควบคู่กันไป

2. รังสีรักษา: ส่วนใหญ่จะใช้หลังการผ่าตัด 2 – 4 สัปดาห์เพื่อทำลายเซลล์มะเร็งที่อาจหลงเหลืออยู่บริเวณต่อมน้ำเหลืองหรือที่เต้านม ลดการเกิดซ้ำของมะเร็งเต้านม และใช้เมื่อผู้ป่วยไม่สามารถผ่าตัดได้ ในกรณีที่สภาพร่างกายไม่พร้อมหรือเป็นมะเร็งเต้านมระยะสุดท้าย

3. เคมีบำบัด: ใช้ในกรณีที่มะเร็งกระจายไปต่อมน้ำเหลืองไหปลาร้า กระดูก ปอด หรือสมอง หรือกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งก่อนหมดประจำเดือนและไม่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมน

4. ฮอร์โมนบำบัด: ใช้รักษาร่วมกับการผ่าตัด รังสีรักษาและเคมีบำบัด หรือใช้สำหรับมะเร็งระยะสุดท้ายที่ดื้อต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ ซึ่งผู้ป่วยมะเร็งเต้านมจะรับการรักษาด้วยวิธีนี้ได้ในกรณีที่มีตัวรับสัญญาณฮอร์โมนที่ก้อนมะเร็ง โดยแพทย์จะให้ยาต้านฮอร์โมนในร่างกายไม่ให้ไปกระตุ้นการเจริญเติบโตของมะเร็ง

5. ภูมิต้านทานบำบัด: เป็นการกำจัดมะเร็งเต้านมโดยใช้ภูมิต้านทานจากทั้งภายในและภายนอกร่างกาย อาจใช้ในกรณีที่มะเร็งดื้อต่อเคมีบำบัดและฮอร์โมนบำบัด เนื่องจากมียีนกลายพันธุ์ที่กระตุ้นการสร้างมะเร็ง

6. การรักษาที่เป้าหมายของการเกิดมะเร็ง (Targeted Therapy): โดยให้ยาที่ออกฤทธิ์เฉพาะเจาะจงกับผู้ป่วย ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยและดุลยพินิจของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ว่าผู้ป่วยรับยาได้หรือไม่ เพราะปัจจุบันนี้ยาที่ใช้ยังคงมีราคาสูงมาก

7. ชีวบำบัด: การให้สารเพิ่มภูมิต้านทาน เพื่อไปทำลายเซลล์มะเร็งนิยมใช้คู่กับเคมีบำบัดหรือใช้กับผู้ป่วยที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาด้วยวิธีอื่นๆ

ทุกๆ ทางเลือกในการรักษามะเร็งเต้านมที่กล่าวมานั้นจะมีผลข้างเคียงทางร่างกายเช่นอ่อนเพลีย เวียนศีรษะคลื่นไส้ เบื่ออาหาร ขาหรือแขนบวม ผมร่วง เป็นต้นผู้ป่วยควรศึกษาข้อมูลการเตรียมตัวทั้งก่อนและหลังการรักษาเพื่อปฏิบัติตนให้ถูกต้อง ซึ่งจะบรรเทาความเจ็บปวดและช่วยให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 5 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.