เอสแอลอี แพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน โฮมิโอพาธี โรคพุ่มพวง

แผนจีน ไทย โฮมีโอพาธี สยบ เอสแอลอี

คู่มือฉบับย่อ รอบรู้โรคเอสแอลอี

ฐานข้อมูลของคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี และคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า โรคเอสแอลอี (Systemic lupus erythematosus SLE) เป็นโรคเรื้อรังและไม่ใช่โรคติดต่อ พบมากในหญิงวัยเจริญพันธุ์ถึงร้อยละ 90 ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน แต่สันนิษฐานว่าเกิดจากกรรมพันธุ์ร่วมกับสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้เกิดความผิดปกติต่อระบบภูมิคุ้มกัน มีการกำเริบและสงบของโรคเป็นระยะ

โรคเอสแอลอี เอสแอลอี
กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ควบคู่การออกกำลังกาย ช่วยลดปัจจัยเสี่ยงการเกิดโรคเอสแอลอีได้

อาการ ผู้ป่วยแต่ละคนจะมีอาการต่างกัน บางรายอาจมีการอักเสบของเนื้อเยื่ออวัยวะเพียงระบบเดียว แต่บางรายมีการอักเสบหลายระบบ ดังนี้

  • ผิวหนัง พบได้ประมาณร้อยละ 60 – 80 มักมีผื่นขึ้น โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกแสงแดด เช่น ผื่นที่หน้าบริเวณโหนกแก้มและจมูก ทำให้มีลักษณะคล้ายปีกผีเสื้อ อาจมีผมร่วงร่วมด้วย
  • ข้อ พบได้ประมาณร้อยละ 40 – 90 ทำให้ข้ออักเสบและมีอาการปวดหรือมีไข้สูง
  • กล้ามเนื้อ เป็นผลจากข้ออักเสบ ทำให้ปวดกล้ามเนื้อ มีอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ระบบทางเดินหายใจ พบร้อยละ 30 – 60 มักมีไข้ ไอ หอบ เหนื่อยเวลาออกแรง กล้ามเนื้อ กะบังลมและกล้ามเนื้อที่ใช้ในการหายใจทำงานน้อยลง
  • หัวใจ พบได้ร้อยละ 20 – 30 เกิดอาการเจ็บหน้าอก หัวใจเต้นผิดจังหวะ หัวใจโต
  • ไต พบได้ร้อยละ 60 ของผู้ป่วย ทำให้มีอาการบวมและความดันโลหิตสูง มีโอกาสทำให้เกิดภาวะไตวายได้ถึงร้อยละ 10 – 30 นับเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายถึงแก่ชีวิต
  • ระบบประสาท พบได้ร้อยละ 10 - 30 เช่น มีปัญหาด้านการเคลื่อนไหว เกิดความผิดปกติด้านการรับรู้ ความทรงจำ และอาการทางสมอง

 

จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 381


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ประสบการณ์สุขภาพ มหัศจรรย์วิถีชีวจิต เพิ่มเกร็ดเลือด สยบเอสแอลอีอยู่หมัด

ป้องกันภูมิแพ้ ด้วยโปรแกรมการกิน+ออกกำลังกาย

2 ประสบการณ์ปรับการกินอยู่ สู้โรคแพ้ภูมิตนเองเอสแอลอี

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.