เอสแอลอี แพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน โฮมิโอพาธี โรคพุ่มพวง

แผนจีน ไทย โฮมีโอพาธี สยบ เอสแอลอี

สยบเอสแอลอีด้วยศาสตร์  โฮมีโอพาธี

สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคเอสแอลอีนั้น ดร.อาดิล ชิมทนาวาลา (Dr. Aadil Chimthanawala) แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโฮมีโอพาธี วิทยาลัยการแพทย์แห่งรัฐ เมืองนาคปุระ ประเทศอินเดีย ระบุไว้ใน National Journal of Homeopathy ว่า

“โรคดังกล่าวเป็นผลจากนิสัยหวาดกลัว (Psoro-sycotic) และขี้กังวลหรือปริวิตกถึงสิ่งผิดปกติ (Syco-syphiltic) มากกว่าเป็นผลที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อสิ่งเร้าหรือสิ่งแวดล้อมภายนอก”

ดร.อาดิลอธิบายสรุปได้ว่า จริงอยู่ที่การเกิดโรคนี้มักเริ่มจากผู้ป่วยประสบกับสิ่งเร้า เช่น การติดเชื้อรวมถึงการถูกทำร้ายร่างกายหรือประสบอุบัติเหตุที่รุนแรงซึ่งก่อให้เกิดบาดแผลทางอารมณ์ (Emotional trauma) แต่เมื่อรวมกับลักษณะนิสัยที่อ่อนไหวของผู้ป่วยแล้ว จึงทำให้เกิดความแปรปรวนของระบบภูมิคุ้มกันตามมาและแสดงออกมาในลักษณะอาการของโรค

โฮมีโอพาธี ลดผลข้างเคียงจากยาเคมี

เภสัชกรหญิง ดร.มณฑกา ธีรชัยสกุล เภสัชกรผู้เชี่ยวชาญด้านโฮมีโอพาธี ประจำศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายวิธีการรักษาไว้ว่า

“โฮมีโอพาธี ไม่ได้รักษาเฉพาะอาการป่วยซึ่งเปรียบเสมือนยอดภูเขาน้ำแข็งเพียงอย่างเดียว แต่มุ่งไปสู่การแก้ไขที่ต้นเหตุ คือ ปรับสมดุลให้พลังชีวิตของผู้ป่วยคืนสู่สภาวะปกติอีกครั้ง การใช้ยาโฮมีโอพาธีเป็นเครื่องมือในการปรับสมดุลต้องทำร่วมกับการปรับพฤติกรรมก่อโรคต่างๆ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องใช้เวลาพอสมควร เมื่อตระหนักว่าโรคนี้สัมพันธ์กับความเครียดจากพื้นฐานจิตใจที่อ่อนไหวและเป็นทุกข์ง่าย เพื่อให้ได้ผลการรักษาที่ยั่งยืน ผู้ป่วยจึงควรฝึกปล่อยวางความเครียด”

รักษาโรคเอสแอลอี ด้วยโฮมีโอพาธี
โฮมีโอพาธี อีกหนึ่งทางเลือกการรักษาโรคเอสแอลอี

นอกจากนี้อาจารย์มณฑกาได้อธิบายถึงผลดีของการรักษาด้วยโฮมีโอพาธีไว้ว่า

“วิธีนี้ช่วยลดการสะสมยาในตับได้ดี เพราะการรักษาโรคนี้ด้วยแพทย์แผนปัจจุบันจะใช้ยาสเตียรอยด์เพื่อกดการทำงานของภูมิคุ้มกัน ซึ่งมีผลข้างเคียง เช่น กินจุ หน้าบวม อารมณ์แปรปรวน นอนไม่หลับ ผิวบางลงจนเห็นหลอดเลือดใต้ผิวหนัง เกิดจ้ำเลือดง่ายเพราะหลอดเลือดฝอยเปราะขนดก กระดูกพรุน ความดันโลหิตสูง เป็นเบาหวาน ฯลฯ”

เพื่อความปลอดภัยและผลในการรักษา อาจารย์มณฑกาแนะนำเพิ่มเติมว่า

“แม้ในต่างประเทศ โดยเฉพาะในทวีปยุโรปและอเมริกานิยมใช้โฮมีโอพาธีอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นยาที่หาซื้อได้ทั่วไปแล้ว ประกอบกับตัวยาโฮมีโอพาธีเองไม่มีการสะสมที่ก่อโทษต่อร่างกาย แต่ด้วยเหตุที่โรคเอสแอลอีเป็นโรคเรื้อรังที่มีความซับซ้อนและก่อให้เกิดอาการต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ขอแนะนำให้ผู้ป่วยที่สนใจเข้ารับการรักษากับแพทย์หรือเภสัชกรผู้เชี่ยวชาญที่ผ่านการรับรองแล้วเท่านั้น”

ผู้สนใจปรึกษาและรักษาโรคเอสแอลอีสามารถตรวจสอบรายชื่อแพทย์และเภสัชกรที่ผ่านการรับรอง จากสมาคมโฮมีโอพาธีย์แห่งประเทศไทยได้ในเว็บไซต์ www.thaihomeopathy.org/announce_files/pdf_1.pdf

 

ดูแลสุขภาพครบทุกมิติเมื่อใช้โฮมีโอพาธีรักษา

หากผู้ป่วยตัดสินใจเลือกรักษาโรคเอสแอลอีด้วยโฮมีโอพาธีแล้ว มีข้อปฏิบัติตัวอย่างไรบ้างนั้น อาจารย์มณฑกาได้สรุปขั้นตอนในการดูแลสุขภาพไว้สั้นๆ ดังนี้ค่ะ

  1. ทำความเข้าใจโรค สุขภาพที่แข็งแรงเกิดจากพลังงานชีวิตที่หมุนเวียนอย่างสมดุลและต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง ผู้ป่วยจึงต้องลดความเครียดซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่กระตุ้นให้อาการกำเริบ
  2. สังเกตอาการและจดบันทึกเป็นประจำเพื่อให้แพทย์ได้รับข้อมูลที่ถูกต้องในการปรับสารรักษา ผู้ป่วยจำเป็นต้องจดบันทึกอาการและความผิดปกติต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างละเอียด เพื่อนำไปสู่สาเหตุและการเลือกใช้สารรักษาได้ถูกต้อง
  3. กินแต่พอดีและมีคุณภาพ เนื่องจากโฮมีโอพาธีเน้นเรื่องพลังงานชีวิต การกินอาหารที่สด สะอาด ปราศจากสารเคมี จึงมีส่วนช่วยให้พลังงานชีวิตคืนสู่สมดุลได้อย่างรวดเร็ว

ศาสตร์ทางเลือกทุกแขนงล้วนมีจุดร่วมสำคัญ คือ การกินอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติและฝึกผ่อนคลายจิตใจอยู่เสมอ ซึ่งจะเป็นตัวช่วยสำคัญทั้งในการเยียวยาและป้องกันโรคเอสแอลอี ชีวจิตจึงอยากให้คุณผู้อ่านทุกท่านลองนำไปปรับใช้กันดูค่ะ

ยาโฮมีโอพาธี รักษาเอสแอลอี เอสแอลอี
อาการของผู้ป่วยเอสแอลอีบางราย อาจต้องใช้ยาโฮมีโอพาธีมากกว่า 1 ชนิด

ยาโฮมีโอพาธีรักษาเอสแอลอีมีอะไรบ้าง

ข้อมูลจากศูนย์การแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยแมริแลนด์ บอลทิมอร์กรุงวอชิงตัน ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า แม้ขณะนี้จะมีงานวิจัยที่ศึกษาและรับรองประสิทธิภาพของการรักษาโรคเอสแอลอีด้วยโฮมีโอพาธีน้อยมาก แต่นักบำบัดโฮมีโอพาธีผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่มักจะแนะนำให้ใช้สารรักษาหนึ่งชนิดหรือมากกว่านั้น ขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยแต่ละรายว่ามีมากหรือน้อยและกระทบกับการทำงานของร่างกายในระบบใดบ้าง ยกตัวอย่างสารรักษา ได้แก่ Apis mellifica, Arsenicum album, Calcarea carbonica, Causticum, Rhus toxicodendron, Ruta graveolens, Thuja occidentalis

 

 

 

<< รอบรู้เกี่ยวกับโรคเอสแอลอี อ่านต่อหน้าที่ 6 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.