เอสแอลอี แพทย์ทางเลือก แพทย์แผนไทย แพทย์แผนจีน โฮมิโอพาธี โรคพุ่มพวง

แผนจีน ไทย โฮมีโอพาธี สยบ เอสแอลอี

แพทย์แผนไทยคืนสมดุลตับกำราบเอสแอลอี

แพทย์แผนไทยมองโรคเอสแอลอีว่าเป็นอาการ แต่ไม่ใช่โรค จึงมุ่งเน้นการรักษาไปที่ต้นเหตุของอาการ

แพทย์แผนไทยคมสัน ทินกร ณ อยุธยา แพทย์แผนไทยประจำคลินิกการแพทย์แผนไทยหม่อมราชวงศ์สอาด ทินกรได้อธิบายมูลเหตุของการเกิดโรคเอสแอลอีตามหลักแพทย์แผนไทยว่า

“มีสมุฏฐานหลักอยู่ที่ระบบการทำงานของตับหรือพัทธะ ปิตตะ ตับซึ่งมีหน้าที่รุ / ล้าง / สร้าง / เสริม / เก็บหลายสิ่งหลายอย่าง เพื่อให้คนเราดำเนินชีวิตอยู่ได้โดยปกติ หากตับมีอาการกำเริบ หย่อน และพิการ ก็จะทำให้ร่างกายสูญเสียความสมดุล ย่อมส่งผลให้เกิดความผิดปกติตามมา ดังสมุฏฐานที่ว่า ‘พัทธะปิตตะหย่อน’ หรือระบบการทำงานของตับทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้มีอาการกำเริบขึ้นมา และลมซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนการทำงานก็จะกำเริบ ทำให้เสมหะหย่อนตามเกิดของเสียตกค้างอยู่ในระบบเลือด”

แพทย์แผนไทยคมสันได้อธิบายต่อโดยสรุปว่า เมื่อมีของเสียตกค้างในกระแสเลือดมากขึ้น ตับซึ่งทำหน้าที่กำจัดของเสียจึงต้องทำงานหนักขึ้น เกิดภาวะกระษัยหรือภาวะเสื่อมทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดน้อยลง กระทบต่อสมดุลของตรีธาตุ (ปิตตะ วาตะ เสมหะ) ซึ่งเป็นระบบควบคุมการทำงานของร่างกาย มีผลทำให้ธาตุดินพิการตามไปด้วย จึงปรากฏอาการต่างๆ เช่น ทางผิวหนัง (พหิทธโรโค) จะทำให้มีผื่นแดง บริเวณข้อจะส่งผลให้มีอาการปวดและบวม เป็นต้น

อาการจะลุกลามมากน้อยแค่ไหนนั้นขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของพัทธะปิตตะในผู้ป่วยแต่ละคน นอกจากนี้ของเสียที่ตกค้างอยู่ในเลือดจะแล่นเข้าสู่ระบบน้ำเหลือง แพร่ไปทุกส่วนของร่างกาย ทำให้ปรากฏอาการตามที่ต่างๆ ทั่วร่างกาย

แพทย์แผนไทย รักษาโรคเอสเอลอี เอสแอลอี
ตำหรับยา แพทย์แผนไทย รักษาโรคเอสแอลอี

How-to รักษาตามหลักแพทย์แผนไทย

ตามหลักแพทย์แผนไทยนั้นจะรักษาโดยบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น ล้อมผลของอาการนั้นไว้ และรักษาที่ต้นเหตุของอาการโดยตรง แพทย์แผนไทยคมสันมีแนวทางในการรักษาทั้งหมด 4 ขั้นตอนดังต่อไปนี้

  1. รุ เป็นการนำของเสียที่ล่องลอยอยู่ในระบบเลือดและน้ำเหลืองออกซึ่งเป็นต้นเหตุของอาการที่เกิดขึ้น โดยการใช้ยารสสุขุม เช่น ยาพิษพินาศ
  1. ล้อม เป็นการรักษาอาการข้างเคียงที่เกิดจากอาการหลักให้บรรเทาลง กล่าวคือเป็นการรักษาตามอาการที่ปรากฏออกมาให้เห็น เช่น หากผิวหนังมีผื่นจะใช้ยาที่มีรสฝาดจัด ร้อน เค็ม อย่างเช่น การพอกยารัศมีทินกร เพื่อให้ความร้อนบริเวณผื่นนั้นเย็นลง จะช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนและคันได้
  1. รักษา เป็นการรักษาตับที่สูญเสียสภาวะสมดุลให้กลับมาทำงานดียิ่งขึ้น โดยการให้กินยาตำรับกล่อมนางนอนและน้ำกระสายยาบำรุงตับ เพื่อทำให้ตับเย็นลง ซึ่งจะส่งผลให้ตับสามารถขับของเสียได้ดี
  1. บำรุง จะเน้นการบำรุงตับและการบำรุงเลือดเพื่อช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทาน ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการเกิดอาการข้างต้น โดยการบำรุงตับและเลือดนั้นจะเน้นให้กินยาตำรับที่มีรสขมและหวาน อย่างเช่น น้ำกระสายยาเบญจผลา

 

<< วิธีกำราบเอสแอลอี อ่านต่อหน้าที่ 4 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.