ประสบการณ์โลกออนไลน์ : เสี่ยงติด HIV เพราะเข็มเล่มเดียว ซ้ำแพ้ยาต้านไวรัสหนักมาก

สาวนักศึกษา เล่าประสบการณ์เสี่ยงติด เชื้อHIV เพราะเข็ม 1 เล่ม

เรื่องราวต่อไปนี้ เป็นเรื่องราวจากเว็บไซต์ Pantip.com ของสมาชิกชื่อ bam#egypt มาแชร์ประสบการณ์น่าสนใจ ที่สามารถเรียนรู้จากวิธีรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินของเธอ ในการเผชิญหน้ากับภาวะเสี่ยงติด เชื้อHIV จากอุบัติเหตุในมหาวิทยาลัย

เรื่องเกิดจากเข็มเล่มเดียว

เจ้าของกระทู้ดังกล่าวที่ชื่อคุณ bam#egypt ทำกิจกรรมจัดเวทีกับเพื่อนๆ โดยมีเพื่อนที่สนิทกันคนหนึ่งเป็นผู้มีเชื้อHIVแล้วเกิดอุบัติเหตุคือเพื่อนคนนี้ถูกเข็มหมุดยึดผ้าตำจนเลือดไหล จึงมาเตือนให้ระวัง โดยยังไม่ได้เก็บเข็มดังกล่าวไปทิ้ง ทางเจ้าของกระทู้ก็ไปทำงานบริเวณนั้นแล้วถูกเข็มหมุดเล่มเดียวกันนี้ทิ่มอีกหน เมื่อได้สติว่านี่คือเข็มเล่มเดียวกัน ทางเจ้าของกระทู้จึงรีบรุดไปตรวจเช็กกับโรงพยาบาลของมหาวิทยาลัย

เชื้อ HIV
ภาพกระทู้ดังกล่าว

แม้โอกาสเสี่ยงจะน้อย แต่เจ้าของกระทู้ก็ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์โดยการกินยาต้านไวรัสอย่างเคร่งครัด แต่ก็ต้องเจอกับผลข้างเคียงของยามากมาย ทั้งเวียนหัว คลื่นไส้ อาเจียน จนกระทบการเรียนและชีวิตปกติ หรือแม้กระทั่งมีอาการแพ้ยารุนแรงจนเป็นผื่นแดงขึ้นทั้งตัว แม้อยากจะหยุดยา แต่ก็ฝืนกินยาต่อและเข้าปรึกษาแพทย์เพื่อเปลี่ยนตัวยาใหม่ที่ไม่ก่อให้เกิดการแพ้

สุดท้ายเมื่อเธอกินยาต้านไปได้ระยะหนึ่งและหมั่นตรวจเลือดเป็นประจำ พบว่าผลเลือดเป็นปกติ และได้มาแชร์ประสบการณ์ดังกล่าวในโลกออนไลน์นั่นเอง

อ่านเรื่องราวเต็มๆ ได้ที่นี่ : [แชร์ประสบการณ์] เสี่ยงติดเชื้อ HIV เพราะเข็มเล่มเดียวและทานยาต้านไวรัสฉุกเฉิน(แพ้ยารุนแรง)

ความสำคัญของยาต้านเชื้อHIV

จากกระทู้นี้จะเห็นได้ว่าเจ้าของกระทู้รับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวได้รวดเร็วและรู้ว่าตัวเองต้องทำอะไรบ้าง อีกทั้งแพทย์ที่ตรวจยังชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการกินยาต้านเชื้อHIV เราจึงมาดูกันว่าเมื่อติดเชื้อหรือเสี่ยงติดเชื้อHIV ทางการแพทย์แผนปัจจุบันมีวิธีการรับมืออย่างไรบ้าง

แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน

แนวทางการรักษาผู้ติดเชื้อเอชไอวีในปัจจุบัน คือ การรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีเท่านั้น เนื่องจากเป็นวิธีการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด โดยผู้ติดเชื้อจะได้รับยาต้านเอชไอวีอย่างน้อย 3 ชนิดร่วมกันเป็นสูตรยา แต่มีหลักการรักษา คือ ผู้ติดเชื้อต้องกินยาให้ตรงเวลาทุกวันต่อเนื่องตลอดชีวิต เพราะยาจะไปทำการยับยั้งการแบ่งตัวและการเพิ่มจำ นวนของเชื้อไวรัส ถ้าหยุดกินเมื่อไหร่ก็จะทำ ให้เชื้อไวรัสแบ่งตัวเพิ่มจำ นวนและแพร่กระจาย

นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว มีวิธีรักษาอื่นใดอีกบ้าง

การติดเชื้อเอชไอวีเป็นโรคติดต่อเรื้อรัง ดังนั้น การรักษาหลักคือการกินยาต้านเอชไอวีตลอดชีวิต ปัจจุบันนักวิจัยจึงสนใจและเกิดแนวคิดที่จะหาวิธีการรักษาใหม่ๆ โดยทำอย่างไรให้การติดเชื้อเอชไอวีหรือโรคเอดส์หายขาด หรือว่าไม่ต้องกินยาตลอดไป อุปสรรคสำคัญที่ทำ ให้การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดเป็นไปได้ยากคือ เชื้อไวรัสมีการหลบซ่อนอยู่ในเซลล์ต่างๆ และอยู่ในระยะที่ไม่แบ่งตัวทำ ให้ยาต้านเอชไอวีไม่สามารถออกฤทธิ์ได้ ซึ่งในขณะนี้ พบผู้ติดเชื้อเอชไอวีเพียง 1 รายในโลก ที่หายขาดจากการติดเชื้อเอชไอวี โดยเป็นผู้ติดเชื้อเอชไอวีที่เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวร่วมด้วย และได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก ฉายแสง รับยาเคมีบำ บัด รักษาตามขั้นตอนของผู้ป่วยโรคมะเร็ง และอยู่รอดมาจนถึงทุกวันนี้ จนกระทั่งพบว่าสามารถหยุดยาต้านเอชไอวีได้มากกว่า 5 ปี โดยที่ยังตรวจไม่พบเชื้อไวรัสกลับมาใหม่ แต่ว่าเป็นกรณีที่ผ่านวิธีการรักษาที่ซับซ้อน นักวิจัยจึงหวังและพยายามคิดค้นวิธีรักษาว่าทำอย่างไรจึงจะมีวิธีการรักษาที่ทำ ให้ผู้ติดเชื้อเอชไอวีหายขาดจากการติดเชื้อเอชไอวีได้ เช่น นักวิจัยพยายามพัฒนาวัคซีนเพื่อเป็นการกระตุ้นภูมิคุ้มกันของร่างกายเพื่อหวังที่จะให้สามารถกำจัดเชื้อไวรัสออกไปจากร่างกายได้รวมไปถึงการหาสารบางชนิดและยาที่กระตุ้นเชื้อไวรัสที่หลบซ่อนอยู่ในเซลล์ให้ออกมา และใช้ยาต้านเอชไอวียับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสอีกขั้นตอนหนึ่ง เป็นต้น

ยาต้าน HIV
ผู้ติดเชื้อ HIV ควรกินยาต้านเชื้อให้ตรงเวลาทุกวันอย่างต่อเนื่อง เพื่อควบคุมปริมาณไวรัส

การติดเชื้อเอชไอวีรักษาให้หายขาดได้จริงหรือไม่

การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาดมี 2 ความหมาย ความหมายแรกหมายถึงการที่หายขาดจริงๆ ซึ่งพบเพียงรายเดียวดังที่ยกตัวอย่างมาเบื้องต้น แต่อีกความหมายหนึ่ง คือ กลุ่มผู้ติดเชื้อที่อาจหยุดการรักษาด้วยยาต้านเอชไอวีได้หลังจากที่ได้รับการรักษามาแล้วระยะเวลาหนึ่ง แต่เชื้อไวรัสยังอยู่ในร่างกาย ซึ่งตอนนี้มีผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้กำลังมีการติดตามโดยนักวิจัยการที่สามารถหยุดการรักษาได้เพราะอาจมีการกินยาเร็วตั้งแต่ที่ทราบว่ามีการติดเชื้อไม่นานเมื่อหยุดยาก็สามารถควบคุมปริมาณไวรัสไม่ให้มีการเพิ่มจำ นวนอยู่ได้ ยังคุมไวรัสได้เหมือนคนที่ยังกินยาอยู่ ยกตัวอย่างเช่น กลุ่มผู้ติดเชื้อเอชไอวีในประเทศอิตาลีประมาณ 10 กว่าราย ที่หยุดยาต้านเอชไอวีได้ ซึ่งแพทย์กำลังติดตามอาการและผลการหยุดยานี้อยู่

การรักษาการติดเชื้อเอชไอวีให้หายขาด มีความยุ่งยากหลายประการดังได้กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ในอนาคตมีการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม และมีการวิจัยที่ประสบความสำ เร็จ แพทย์ผู้ทำการรักษาและผู้ติดเชื้อเอชไอวีอาจมีความหวังว่าจะหายขาดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เรื้อรังนี้ได้

(ข้อมูลจาก นิตยสารอิเล็กทรอนิกส์ @RAMA ฉบับที่ 17 พ.ย. 2557 คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล)


บทความอื่นๆ ที่น่าสนใจ

อินเดียพลาด! ถ่ายเลือดติด HIV มีผู้ป่วยใหม่หลายพัน

เอดส์ : ภัยร้ายของวัยไร้เดียงสา

วาเลนไทน์ ห่วงวัยรุ่นมีเซ็กส์เพศสัมพันธ์ เสี่ยงโรคเอดส์

 

 

 

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.