ทรีทเม้นท์ แพทย์แผนจีน ฝั่งเข็ม กัวซา ทุยหนา สมุนไพรจีน

5 ทรีทเม้นท์ แผนจีน รักษาโรคได้ หายชัวร์

รักษาคนไม่ใช่แค่รักษาโรค

ตามแนวคิดของแพทย์แผนจีนมองว่า คนไข้แต่ละคนไม่เหมือนกัน การรักษาโรคเดียวกันอาจใช้วิธีต่างกัน เมื่อคนไข้มาหาหมอด้วยอาการหวัด การรักษาแบบแพทย์แผนจีนจะแยกอาการหวัดไว้ถึง 9 ประเภท เช่น หวัดร้อน หวัดเย็น หวัดชื้น และหยางพร่อง ฯลฯ แม้จะให้ยาตำรับเดียวกันแต่ก็ต้องปรุงยาเพิ่มหรือลดส่วนผสมให้เหมาะกับคนๆ นั้น เช่น เป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ขี้หนาวหรือขี้ร้อน หรือถึงแม้จะมาด้วยอาการเดียวกันก็อาจฝังเข็มในจุดต่างกัน หรือฝังเข็มร่วมกับการรักษาวิธีอื่น จึงเป็นการรักษาที่ต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์อย่างแท้จริง

เรามาดูกันว่าการรักษาที่เคยได้ยินมาและได้รับความนิยมมีอะไรบ้าง

การจับชีพจร
ผู้ที่จับชีพจรเป็น จะต้องใช้เวลาฝึกฝนเป็นเวลานาน จนเชี่ยวชาญ

ไปหาหมอแมะกันไหม

ความจริงแล้วเวลาใครบอกว่าไปหาหมอแมะก็หมายถึงไปหาแพทย์แผนจีนเพื่อตรวจร่างกายนั่นเอง  ขั้นตอนวินิจฉัยของแพทย์จีนมี 4 ขั้นตอนคือการดู ฟังและดมกลิ่น ซักถาม และการจับชีพจรหรือที่เรียกว่า “แมะ”

ดู เป็นการตรวจหาความผิดปกติในร่างกายที่เห็นได้จากภายนอก เช่น ใบหน้าและลิ้นมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับอวัยวะภายในมาก นอกจากนี้จะดูสภาพร่างกายโดยรวม ความมีชีวิตชีวา สีหน้า ผิวพรรณ รูปร่าง และท่าทาง

ฟังและดมกลิ่น ที่สะท้อนถึงปัญหาภายในร่างกาย เช่น  ฟังว่าเสียงพูดเป็นอย่างไร เช่น มีพลังหรือแหบแห้ง พูดเบา พูดไม่ชัด หรือไม่รู้เรื่อง  เสียงไอ หรืออาเจียน เป็นอย่างไร ส่วนการดม จะได้กลิ่นลักษณะต่างๆ เช่น กลิ่นปาก กลิ่นเหงื่อ และกลิ่นตัว เป็นต้น

ถาม มีหัวข้อในการซักถามคนไข้ เช่น รู้สึกร้อนหรือหนาวอย่างไร มากน้อยแค่ไหน เวลาใด เหงื่อออกอย่างไร ปวดศีรษะอย่างไร เวลาใด กินอาหารได้มากหรือน้อย รสชาติในปาก การกระหายน้ำ การได้ยิน การนอนหลับ ปัสสาวะ อุจจาระ ประจำเดือน ประวัติการเจ็บป่วย

จับชีพจร แพทย์ต้องใช้สมาธิและความสงบเพื่อการตรวจที่ถูกต้องแม่นยำ การจับมี 7 วิธี เช่น ยก กด เคลื่อน ฯลฯ ลักษณะของชีพจรก็มีถึง 28 แบบ เช่น ชีพจรลอย จม เต้นช้า ลื่น ฯลฯ ลักษณะของชีพจรจะเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพร่างกาย สิ่งแวดล้อม อายุ เพศ ลักษณะภายนอก การใช้ชีวิต จิตใจและอารมณ์ ชีพจรที่แตกต่างกันจะบ่งบอกถึงโรคที่ต่างกันไป ผู้ที่จับชีพจรเป็นจะต้องมีความละเอียดอ่อนในการสังเกตและใช้เวลาฝึกฝนเป็นเวลาหลายปีจนกระทั่งเชี่ยวชาญ เพราะฉะนั้นการจับชีพจรหรือการแมะหาใช่ศาสตร์ลี้ลับเหนือธรรมชาติแต่อย่างใด

เมื่อตรวจวินิจฉัยโรคเสร็จแพทย์จีนจึงค่อยเลือกวิธีรักษาว่า จะให้กินยาสมุนไพร ฝังเข็ม นวด ครอบแก้ว หรือวิธีรักษาร่วมกับแผนปัจจุบันตามความเหมาะสม

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.