โรคซึมเศร้า

ชนะเครียดหยุด โรคซึมเศร้า เราทำได้

STOP AUTOMATIC THOUGHT  แก้ไขกระบวนการสร้างความคิดลบ

คุณหมอทานตะวันอธิบายว่า การรักษาโรคซึมเศร้าแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ การรักษาด้วยยาปรับสมดุลสารเคมีในสมองและการใช้วิธีจิตบำบัด (Psychotherapy)

หนึ่งในวิธีจิตบำบัดที่ช่วยให้ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ารู้เท่าทันความคิดลบได้ เร็วขึ้นและชัดเจนขึ้น คือ เทคนิคซีบีที ซึ่งเป็นแนวทางการปรับเปลี่ยน ความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavior Therapy) ซึ่งปัจจุบัน แนวทางนี้กำลังได้รับความนิยมในต่างประเทศ เพราะช่วยแก้ไขกระบวนการ คิดลบของผู้ป่วยโรคซึมเศร้าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

โดยคุณหมอทานตะวันชี้แจงว่า

“ความคิดเป็นสิ่งที่ไร้รูปร่าง จับต้องไม่ได้ แต่มีพลังมาก หากเรา ไม่รู้เท่าทันก็มีโอกาสที่จะปักใจเชื่อทันที เช่น ทันทีที่คิดว่าเราเป็นคนไม่เก่ง ทำอะไรก็ล้มเหลว เราก็แทบจะเชื่อในทันทีว่า ตัวเองเป็นคนแบบนั้นจริงๆ แต่เทคนิคนี้จะช่วยชี้ให้เห็นว่า กระบวนการเกิดความคิดลบนั้นมีที่มาที่ไป อย่างไร

“ความคิดอัตโนมัติที่เป็นลบนั้นเกิดขึ้นรวดเร็วมาก ทำให้ตีความคำพูด หรือการกระทำของผู้อื่นเป็นลบ มองสถานการณ์เป็นลบ และสร้างความ คิดลบตามมา แต่การใช้เทคนิคซีบีทีจะค่อยๆ ช่วยให้ผู้เข้ารับการบำบัด กลับมารู้เท่าทันความคิดอัตโนมัติได้ดีขึ้น”

รับรู้อารมณ์ มองหาความจริง ป้องกันโรคซึมเศร้า
การรับรู้อารมณ์ มองหาความจริง จะช่วยแก้ไขอารมณ์ด้านลบที่เกิดขึ้น ป้องกันโรคซึมเศร้าได้

CBT THERAPY  รับรู้อารมณ์ มองหาความจริง

คุณหมอทานตะวันอธิบายว่า ในการทำจิตบำบัดแบบ ซีบีทีนั้น ขั้นแรกจะมุ่งให้ผู้เข้ารับการบำบัดรู้ว่า ขณะนี้มีความ คิดลบอะไรเกิดขึ้นบ้าง ขั้นที่ 2 รู้ทันอารมณ์เชิงลบที่เกิด ตามมา โดยต้องบอกได้ว่ามีอารมณ์เชิงลบใดเกิดขึ้น เช่น เศร้า เครียด กังวล ไม่มั่นใจ โดยอารมณ์ดังกล่าวเป็นผล ของความคิดลบที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้นั่นเอง ขั้นที่ 3 มองหา ความจริงในสถานการณ์ที่เกิดขึ้น โดยยกตัวอย่างประกอบว่า

“ลองคิดภาพตามดูนะคะว่า เช้านี้เราเดินลงมากินข้าว เจอน้องสาวนั่งอยู่ก่อน แต่เขารีบเดินสวนออกไปและไม่ได้ ทักเรา ความคิดลบที่เกิดขึ้นคือคิดว่าน้องโกรธเรา

“อารมณ์ที่ตามมา คือ เสียใจ น้อยใจ แต่ถ้ามอง ในมุมอื่นจะพบว่ามีความเป็นไปได้มากมาย เช่น เขาอาจ มีธุระต้องรีบไป ปวดท้องจนไม่มีอารมณ์อยากคุยกับใคร อดนอน หรือเครียดเรื่องสอบ”

ต่อมาคุณหมอทานตะวันได้อธิบายถึงประโยชน์ของเทคนิค ซีบีทีเพิ่มเติมว่า

“ขั้นตอนนี้ทำให้ผู้เข้ารับการทำจิตบำบัดมองเห็นว่า สิ่งที่เราคิดไว้แต่แรก อาจไม่ตรงกับความจริงเสมอไป ดังนั้น การ ‘คลี่’ หรือเผยให้เห็นถึงความเป็นไปได้อื่นๆ ของสถานการณ์ ออกมาพิจารณาและชี้ให้เห็นว่ามีความเป็นไปได้อีกมากมาย จะช่วยแก้ไขอารมณ์ด้านลบที่มักเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติให้เปลี่ยน เป็นความเข้าใจตามหลักเหตุผลได้ดีขึ้น

“แนวคิดของเทคนิคนี้ใกล้เคียงกับการฝึกสติ เพราะมี จุดมุ่งหมายให้เรารู้เท่าทันความคิดลบ และทราบว่าอารมณ์ ด้านลบที่เกิดตามมาคืออะไร ซึ่งอาจเทียบเคียงได้กับภาษา วัยรุ่นที่ใช้คำว่า ‘มโน’ ซึ่งหมายความว่า เรื่องที่เกิดอาจจะเล็ก นิดเดียว แต่นำไปตีความต่อจนเกิดอารมณ์เชิงลบนั่นเอง”

ทั้งนี้ คุณหมอทานตะวันชี้แจงว่า เทคนิคซีบีทีใช้ได้ผลดี กับผู้ที่ไม่มีอาการประสาทหลอนหรือหลงผิด และไม่มีความ บกพร่องในการทำกิจกรรมต่างๆ โดยหากต้องการใช้เทคนิค ดังกล่าว ควรปรึกษาจิตแพทย์ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เท่านั้น

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 5 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.