มัสเยนดราสนะ, โยคะ, กระดูกสันหลัง

มัสเยนดราสนะ ท่าบิดตัว ช่วยคลายกระดูกสันหลัง

มัสเยนดราสนะ ท่าบิดตัว ช่วยคลายกระดูกสันหลัง เพิ่มความผ่อนคลาย

มัสเยนดราสนะ ชื่ออาจไม่ค่อยคุ้น  แต่ถ้าฝึกท่าโยคะนี้จนคุ้นเคยแล้ว ร่างกายของคุณจะผ่อนคลาย และเพิ่มความสดชื่นได้มาก

หลายคนเคยสงสัยว่า ทําไมหลังตื่นนอนตอนเช้าคนเราต้องบิดขี้เกียจ จนได้รู้คําตอบ ภายหลังว่า นั่นคือกลไกที่ธรรมชาติสร้างสรรค์ขึ้นเพื่อสร้างสมดุลให้กับร่างกาย หลังจากนอนหรือนั่งเป็นระยะเวลานานๆ ส่งผลให้กล้ามเนื้อไม่มีการเคลื่อนไหว เกิดความเครียดหรือการกดทับ ทําให้ได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ

นอกจากนี้การบิดขี้เกียจยังเป็นการกระตุ้นให้ร่างกายสดชื่นและกลับมาตื่นตัวอีกครั้ง แม้จะมีประโยชน์มากมาย แต่การบิดเช่นนี้ไม่สามารถใช้กับอวัยวะบางส่วนได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ซึ่งถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางที่เชื่อมต่อกับส่วนต่างๆ ของร่างกาย และเป็นแหล่งรวมเส้นประสาทมากมาย วันนี้ผู้เขียนจึงขอแนะนําการบิดตัวตามศาสตร์ของโยคะ ชื่อท่าว่า Masyendrasana ซึ่งเป็นชื่อ “เทพแห่งปลา” ผู้ที่ได้ยินคําสอนจากพระศิวะและได้รับมอบหมายให้สืบทอดโยคะต่อมา ท่านี้มีประโยชน์มากมายโดยเฉพาะกระดูกสันหลัง ดังนี้

-กระตุ้นเส้นประสาท

-เพื่อจัดกระดูกสันหลัง

-เพื่อให้เลือดมาหล่อเลี้ยงกระดูกสันหลังมากขึ้น

-บีบนวดอวัยวะช่องท้องได้ดีที่สุด เมื่อเทียบกับท่าโยคะแนวอื่น ถ้าไม่นับการทําเนาลิกับอุทธิยานะพันธะ(ท่าเฉพาะของโยคะที่ไว้ใช้นวดหน้าท้องได้ดีที่สุด)

-บรรเทาอาการปวดหลังได้ดี

-ขับลมเสียที่คั่งค้างในช่องท้อง

เริ่มฝึกปฏิบัติกันเลยดีกว่าค่ะ

มัสเยนดราสนะ, โยคะ, กระดูกสันหลัง

ท่าเตรียม

ไขว้ขาโดยวางเข่าซ้ายไว้ด้านล่าง เข่าขวาตั้งขึ้น ประสานมือแล้วยืด กระดูกสันหลัง

ท่าปฏิบัติ

หายใจเข้า: วางมือขวาและหันปลายนิ้วไปทางด้านหลัง ยกแขนซ้ายเหยียดขึ้นไปบนเพดานจนสุด ยืดกระดูกหลัง คอ และขยายทรวงอก

หายใจออก: บิดลําตัวและแขม่วหน้าท้อง เพื่อไขว้แขนซ้ายมาวางพาดด้านนอกเข่าขวา แล้วจับที่ข้อเท้า หันมองผ่านหัวไหล่ขวาไปที่ด้านหลัง ค้างท่าไว้ 1-3 นาที หรือ 10 รอบหายใจ พร้อมมีสมาธิอยู่กับการบิดตัว กระดูกสันหลัง ความสบายยามอยู่ในท่า และลมหายใจ(ไม่ปล่อยไปตามธรรมชาติ ย้ําจิตรู้ตามร่างกายเสมอ) เพื่อบิดตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป จากนั้นค่อยๆ คลายท่าอย่างช้าๆ แล้วเปลี่ยน ทําอีกข้าง

หรับผู้ฝึกโยคะเพื่อใช้บําบัดอาการปวดหลัง ควรทําความรู้จักกับร่างกายตัวเองให้มาก คือ รู้ว่าแค่ไหนจึงพอดี และช่วงแรกๆ อาการปวดอาจยังไม่ดีขึ้น แต่ขอให้ทําทุกวันเป็นเวลาสัก 2-3 เดือนในการบําบัดนะคะ รับรองเห็นผล

โยคะเกือบทุกท่ามีประโยชน์ถึง 3 ประการคือ เป็นท่าป้องกันเป็นท่าแก้ และเป็นท่าบําบัด ประโยชน์มากมายขนาดนี้ ต้องหมั่นลงมือปฏิบัติกันนะคะ


บทความอื่นที่น่าสนใจ

โยคะท่าสามเหลี่ยม และท่างู 2 ท่าง่ายแก้ปวดหลัง

โยคะเช้า 10 นาที ง่ายๆ ทำได้บนเตียง

 

สามารถติดตาม ชีวจิต ในช่องทางอื่นๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.