โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดหัวใจ

วิถีกินอยู่อย่างง่าย ประหยัด หยุดความเสี่ยง โรคหัวใจ

FOOD TIPS อาหารเพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ

คุณหมอนิธิอธิบายว่า กรณีที่ป่วยเป็นโรคหัวใจหรือโรค อื่นๆ ที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจ ได้แก่ เบาหวาน ไขมันใน เลือดสูง และความดันโลหิตสูง มีแนวทางปรับอาหารดังนี้

  • จำกัดปริมาณอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล ถ้าเป็นกลุ่ม อาหารพลังงานสูง สารอาหารต่ำ ให้งดเด็ดขาดจะดีกว่า แนะนำให้เปลี่ยนไปกินแป้งที่มีโมเลกุลเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ธัญพืชต่างๆ และต้องคุมปริมาณอาหารโดยรวม ไม่ควรกินเกิน
  • กรณีที่มีระดับไขมันในเลือดสูง ควรหลีกเลี่ยงไขมัน จากสัตว์และลดปริมาณไขมันจากพืช เรื่องการกินไขมัน คนก็ เข้าใจผิดกันมาก ตัวอย่างเช่น น้ำมันมะกอกเป็นไขมันดี แต่ ถ้าเอาไปปรุงโดยผ่านความร้อนสูงๆ ก็จะกลายเป็นไขมันไม่ดี น้ำมันที่เป็นไขมันดีและมีจุดเดือดสูงหน่อยก็มี เช่น น้ำมัน เมล็ดชา น้ำมันรำข้าว

กรณีน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น ซึ่งช่วงหลังกำลังได้รับความ นิยมในกลุ่มผู้บริโภค แต่ถ้ากินมากไปก็ทำให้ไตรกลีเซอไรด์ สูงได้ เกณฑ์ที่กรมอนามัยระบุให้กินไขมันได้เพียงวันละ 6 ช้อนชา นับว่าน้อยมาก ถ้ากินเกินก็ก่อโรคแน่นอน

อาหาร เพื่อผู้ป่วยโรคหัวใจ
ผู้ป่วยโรคหัวใจ ควรจำกัดปริมาณอาหารกลุ่มแป้งและน้ำตาล

HOW – TO งดปรุงแต่งรส ช่วยลดโรค

จากประสบการณ์ดูแลผู้ป่วยกว่า 20 ปีทำให้คุณหมอนิธิเห็นต้นตอก่อโรค ดังนี้

  • ปรุงแต่งรสเกินพอดี ปัจจุบันการทำให้อาหารอร่อย ใช้เทคนิค เพียง 3 ข้อ หนึ่ง ความมัน ทำให้อาหารนุ่ม กรอบ มีกลิ่นหอมชวนกิน สอง ความหวาน ทำให้คนเสพติด และ สาม ความเค็ม กระตุ้นต่อม รับรส เมื่อเน้นปรุงแต่งรสชาติให้จัดจ้านรวม 3 ข้อ จึงทำให้มีปริมาณไขมัน โซเดียม และน้ำตาลในแต่ละจานสูงมาก
  • โซเดียมแฝงในอาหาร มีอาหารบางประเภทที่รสไม่จัด แต่มีโซเดียมสูง ได้แก่ ขนมปัง เค้ก เบเกอรี่ เมื่อกินสะสมเข้าไปทุกวันๆ ทั้งไขมัน เบาหวาน ความดันโลหิตสูงก็มา ไม่นานโรคหัวใจก็จะตามมาด้วย

ส่วนแนวทางปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร คุณหมอนิธิ เสนอให้ปฏิบัติดังนี้

  • กินหลากหลายและหยุดก่อนอิ่ม อย่ากินอาหารซ้ำๆ เน้นกินหลากสี ครบ 5 หมู่ แต่ต้องควบคุมปริมาณโดยหยุดก่อนอิ่ม อย่าไปเสียดาย และตักอาหารครั้งละน้อยๆ
  • ทำกินเอง สาเหตุที่ควรทำอาหารเองเพื่อจะได้ควบคุมการเติมสาร ปรุงแต่งรสต่างๆ ให้น้อยที่สุด รู้ที่มาที่ไปของวัตถุดิบต่างๆ และยังช่วย ประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาวได้
  • เน้นผักผลไม้ แนวทางการกินผัก ผลไม้ ธัญพืช (Plant Based Diet) ช่วยลดโอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดสมองได้ เพราะมีปริมาณ น้ำตาล ไขมัน และโซเดียมต่ำ แต่ผู้ป่วยมักบอกว่าไม่อร่อย เพราะเขาติด รสชาติจัดจ้าน ขอให้ลองปฏิบัติตามข้อถัดไป
  • ฝึกกินอาหารปราศจากการปรุงแต่ง ผมขอเสนอว่า ให้ลองกินไป เรื่อยๆ ยิ่งถ้าลดการปรุงแต่งจะยิ่งรับรสชาติได้ละเอียดขึ้น ไวต่อรส ธรรมชาติของอาหารแต่ละประเภทมากขึ้น เราจะรู้ได้เลยว่า ส้มที่ซื้อมา

พร้อมกันมีรสหวานไม่เท่ากันในแต่ละลูก ตัวผมเองก็ทำแบบนั้นครับ

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.