ป้องกันโรคมะเร็งผู้หญิง โรคมะเร็งผู้หญิง มะเร็งผู้หญิง มะเร็ง

หมอสูติแนะนำ ทำอย่างไรจึงจะป้องกันโรคมะเร็งผู้หญิง

2. มะเร็งมดลูก

มีหลายชนิด  แต่ที่พบมากที่สุดคือ  มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก

อาการ

มีเลือดออกกะปริบกะปรอยจากโพรงมดลูก  หรือหมดประจำเดือนไปแล้ว  แต่กลับมีเลือดประจำเดือนออกมาอีก

ปัจจัยเสี่ยง

พบมากในผู้หญิงที่อยู่ในวัยใกล้หมดประจำเดือน  วัยหมดประจำเดือน  มีน้ำหนักมาก เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือโรคเบาหวาน  ไม่
แต่งงาน  ไม่มีลูก  มีลูกน้อย  หรือมีลูกเมื่ออายุเกิน 30 ปี  ใช้ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโทรเจน (estrogen) โดยที่ไม่ใช้ควบคู่กับฮอร์โมนโพรเจสเทอโรน (progesterone) การใช้ควบคู่กันสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกได้

วิธีป้องกัน

• เนื่องจากยังไม่มีวิธีคัดกรองโรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกแต่เนิ่นๆ  จึงควรสังเกตอาการ  เช่น  มีเลือดออกกะปริบกะปรอยหรือประจำเดือนมาผิดปกติในวัยใกล้หมดประจำเดือนหรือหมดประจำเดือน  ซึ่งควรไปพบแพทย์ทันที  ไม่ควรคิดว่าเป็นอาการทั่วไปของคนที่จะหมดประจำเดือน

• โรคนี้มักเป็นในคนอ้วน  จึงควรลดน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ  โดยควบคุมการกินอาหารที่มีไขมันสูง  ออกกำลังกายเป็นประจำ  และนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

• ควรควบคุมโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

• ไม่ควรกินฮอร์โมนเพศหญิงเอง  ไม่ว่าจะโดยการซื้อสมุนไพรหรือฮอร์โมนที่ใช้ในการแพทย์แผนปัจจุบัน

• การกินยาเม็ดคุมกำเนิดสามารถลดความเสี่ยงร้อยละ 60 – 80  โดยการป้องกันจะเริ่มมีผลเมื่อกินยาคุมกำเนิดครบ 1 ปี  และหลังหยุดกินยังป้องกันต่อได้อีก 15 ปี

ป้องกันโรคมะเร็งผู้หญิง โรคมะเร็งผู้หญิง มะเร็งผู้หญิง มะเร็ง

3. มะเร็งช่องคลอด

อาการ

อาจไม่แสดงอาการ  หรือมีอาการคันและแสบบริเวณช่องคลอด  มีตกขาว  หรือมีเลือดออกจากช่องคลอด

ปัจจัยเสี่ยง

อายุมากกว่า 60 ปี  สูบบุหรี่  ติดเชื้อไวรัสเอชพีวี(HPV) และเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกที่ลุกลามมายังช่องคลอด

วิธีป้องกัน

• สามารถใช้การป้องกันเช่นเดียวกับโรคมะเร็งปากมดลูก (ดูคอลัมน์เปิดห้องหมอสูติ  นิตยสารชีวจิต  ฉบับที่ 337  วันที่ 16 ตุลาคม 2555)

• ตรวจภายในเป็นประจำ  และทำแป๊ปสเมียร์ (Pap smear) ตามโปรแกรมตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

• ไปพบแพทย์เมื่อช่องคลอดมีอาการผิดปกติ เช่น  คัน  แสบ  ตกขาว  มีเลือดออก  โดยเฉพาะหากเป็นในคนวัยหมดประจำเดือนจะยิ่งเสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งช่องคลอด

• ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสเอชพีวี  แม้ว่ายังไม่มีการรับรองในกรณีที่นำมาใช้กับโรคมะเร็งช่องคลอดโดยเฉพาะ  แต่ตามหลักวิชาการสามารถป้องกันได้

 

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.