ความเชื่อเบาหวาน, เบาหวาน, น้ำตาล

ความเชื่อเบาหวาน คนที่บ้านเป็นเบาหวาน ลูกหลานต้องเป็นด้วย

ความเชื่อเบาหวาน : คนที่บ้านเป็นเบาหวาน ลูกหลานต้องเป็นด้วย

ความเชื่อเบาหวาน  มีทั้งใช่และไม่ใช่ ที่เรายังเข้าใจกันถูกผิด เพราะไม่แน่ว่า ความเชื่อ (ผิด ๆ) ต่อไปนี้อาจเป็นสิ่งที่หลายคนอ่านแล้วต้องบอกว่า “ไม่น่าเชื่อ” ก็เป็น ได้… เพราะไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี โรคเบาหวานยังคงเป็นโรคยอดฮิตของคนไทย โดยมีสถิติจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยที่ระบุว่า ในคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปทุก ๆ 100 คน จะมีผู้ป่วยเบาหวานอยู่ 7 คนความน่ากลัวของโรคเบาหวานอยู่ที่โรคนี้อาจนําไปสู่โรคร้ายแรงอื่น ๆได้อีกหลายสิบโรค

คนที่บ้านเป็นเบาหวาน ลูกหลานต้องเป็นด้วย

Fact: ไม่จริง

อย่างที่ทราบกันว่า ปัจจัยอย่างหนึ่งที่ก่อโรคเบาหวานคือ พันธุกรรม และด้วยตัวเลขสถิติผู้ป่วยเบาหวานทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก ที่ยังคงพุ่งขึ้นสูงนั่นจึงหมายความว่า บนโลกใบนี้มีบุคคลที่มียีนเบาหวานในร่างกายหลายร้อยล้านคนเลยทีเดียว อาจารย์ศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกําหนดอาหารวิชาชีพ ผู้เขียนหนังสือ เรื่องกินอย่างไรไม่อ้วน ไม่มีโรค อธิบายว่า

“ลักษณะพันธุกรรมของชาวเอเชียถือว่ามียีนประหยัด (Thrifty Gene) ซึ่งทําหน้าที่สะสมอาหารที่กินอย่างเหลือเฟือไว้ในรูปของไขมันที่หน้าท้องเพื่อใช้ในยามที่ขาดแคลนอาหาร”

เบาหวาน, ตรวจเบาหวาน, ต้นเเบบสุขภาพ, ความเชื่อโรคเบาหวาน, ความเชื่อเบาหวาน
อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เป็นโรคเบาหวาน

ลักษณะแบบนี้จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทําให้คนเอเชียอ้วนลงพุงได้ง่าย ยิ่งคนที่กินอาหารมาก แต่ไม่ค่อยได้ใช้พลังงาน ก็จะเกิดปัญหาการดื้ออินซูลินและเป็นเบาหวานตามมา อาจารย์วรรณี ผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์เบาหวานศิริราช กล่าวว่า พันธุกรรมไม่ได้มีส่วนก่อโรคเบาหวานมากเท่าไร เพราะคนเป็นเบาหวานส่วนใหญ่มักเกิดจากปัจจัยอื่นๆ มากกว่า

ส่วน นายแพทย์โรเบิร์ต ซี. แอตคินส์(Robert C. Atkins) เคยทําการวิจัยเกี่ยวกับการปฏิวัติอาหารยุคใหม่ (Dr. Atkins’ New Diet Revolution) พบเช่นกันว่า สาเหตุหลักของเบาหวานมาจากอาหารมากกว่ากรรมพันธุ์ โดยคนที่กินผิดๆมาตั้งแต่เด็กและกินต่อเนื่องสะสมมาเป็นเวลานาน เมื่อเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ก็จะป่วยเป็นเบาหวานได้ความเชื่อที่ว่า หากคนในครอบครัวเป็นเบาหวานแล้ว เราจะเป็นโรคนี้ด้วยจึงไม่จริงเสมอไป โดยเฉพาะคนที่เพิ่งพบว่าตนเองเป็นเบาหวานตอนอายุมากแล้ว

อ่านเพิ่มเติม : 6 ชาติ 6 ศาสตร์ สยบเบาหวาน

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.