มะเร็งรังไข่, รังไข่, มะเร็ง, มะเร็งในผู้หญิง

11 CHECKLIST สาเหตุ มะเร็งรังไข่ คุณผู้หญิง

11 CHECKLIST สาเหตุ มะเร็งรังไข่ คุณผู้หญิง

เรียน คุณหมอชัญวลี ดิฉันอายุ 23 ปี มีก้อนเนื้อที่มดลูก หมอให้ผ่าตัดซีสต์ออกและบอกว่า มีความเสี่ยงที่จะเป็น มะเร็งรังไข่ ตอนนี้ดิฉันเพิ่งผ่าตัดมา มดลูกบวมมากและปวดมาก เมื่อคิดถึงคำพูดหมอ จิตตกและกังวลไปหมด อยากให้คุณหมอช่วยให้กำลังใจและคำแนะนำในการดูแลตัวเองด้วยค่ะ ก่อนหน้านี้ ติดน้ำอัดลมมาก กินวันละหลายขวด แถมชอบกินลาบเลือดและอาหารแบบสุก ๆ ดิบ ๆ มาก เลยไม่รู้ว่าเป็นสาเหตุไหม ขอบพระคุณคุณหมอมากค่ะ

คุณหมอชัญวลี ตอบ

อ่านจดหมายฉบับนี้เข้าใจว่าคุณมีความเสี่ยงต่อการ เป็น มะเร็งรังไข่ เนื่องจากก้อนเนื้อของมดลูกไม่ค่อยเกิด ในคนอายุน้อย ทั้งเมื่อเกิดขึ้นก็มีโอกาสเป็นมะเร็งน้อยกว่า ร้อยละ 0.5 ขณะที่เนื้องอกรังไข่มีหลายชนิด บางชนิด เกิดในคนอายุน้อย โดยมีโอกาสเสี่ยงเป็นมะเร็งประมาณ ร้อยละ 10

อาจจะมีความเข้าใจที่สับสนระหว่างซีสต์ เนื้องอก และมะเร็ง จึงขออธิบายความหมายดังนี้ค่ะ

1. ซีสต์ (Cyst)

คือถุงน้ำ เป็นถุงที่มีผิวบาง ภายในมีเยื่อบุผิว (Epithelium) ที่สร้างของเหลว ของเหลวปนของแข็ง น้ำ น้ำมัน หรือ ลมอยู่ภายใน ซีสต์ไม่ใช่มะเร็ง ส่วนใหญ่ไม่กลายเป็นมะเร็ง ซีสต์ บางชนิดเป็นเรื่องธรรมชาติที่ร่างกายจำเป็นต้องมี เช่น ซีสต์ที่เกิด หลังไข่ตก (Corpus Luteum Cyst) ซึ่งช่วยสร้างฮอร์โมน

ซีสต์บางชนิดไม่ต้องรักษา สามารถยุบหายได้เอง เช่น ซีสต์รังไข่ ขนาดเล็ก แต่หากเป็นโรค เช่น ซีสต์ไขมันผิวหนัง ซีสต์พยาธิตัวตืด (Hydatid Cyst) ซีสต์รังไข่ขนาดใหญ่ที่มีอาการเจ็บปวด ระคายเคือง อักเสบ ไม่สวยงาม เกิดภาวะแทรกซ้อน ขั้วซีสต์บิดหรือแตก ต้องรักษา

ซีสต์มีหลายร้อยชนิด เกิดได้ตั้งแต่หัวจรดเท้า เช่น ซีสต์ตามผิวหนัง เปลือกตา หู ฟัน เต้านม ข้อพับ ต่าง ๆ สมอง ไทรอยด์ ปอด ตับ ไต ตับอ่อน ลำไส้ กระดูก รังไข่ ท่อนำไข่ ปากมดลูก มดลูก ช่องคลอด ต่อมน้ำหล่อลื่นที่อวัยวะเพศ เป็นต้น

ซีสต์บางชนิดพบเจอได้บ่อย เช่น ซีสต์รังไข่ ใน ผู้หญิงที่เป็นประจำเดือน 1 ใน 3 คนสามารถตรวจพบได้โดย บังเอิญ ซีสต์บางชนิดพบเจอได้น้อย เช่น ซีสต์ของมดลูก

มะเร็งรังไข่,มะเร็ง,โรคมะเร็ง,สาเหตุมะเร็งรังไข่,ซีสต์
คนอ้วนหรือเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ มีโอกาสเป็นมะเร็งรังไข่สูงกว่าคนทั่วไป

2. เนื้องอกหรือก้อนเนื้อ (Tumour)

หมายถึงก้อน ผิดปกติที่เกิดขึ้นตามอวัยวะต่าง ๆ หากใช้คำว่าก้อนเนื้อ ส่วนใหญ่ไม่ใช่มะเร็ง บางก้อนมีขนาดคงที่ แต่ส่วนใหญ่ มีแนวโน้มโตขึ้น เกิดได้ทุกอวัยวะเช่นเดียวกับซีสต์ หากมี ขนาดเล็กอาจไม่ต้องรักษา แต่หากมีขนาดใหญ่จนทำให้อวัยวะ ทำหน้าที่ผิดเพี้ยนไป หรือกดเบียดอวัยวะใกล้เคียงจนเกิด อาการผิดปกติ อาจต้องผ่าตัดรักษา ก้อนเนื้อที่พบบ่อย ในสตรี ได้แก่ เนื้องอกกล้ามเนื้อของมดลูก (Leiomyoma) อายุ 40 ปี พบได้ร้อยละ 10 – 40

 

3. มะเร็ง (Cancer)

หมายถึงก้อนเนื้อที่เกิดจากการแบ่งตัวแบบ ผิดปกติขของเซลล์ที่ไม่สามารถควบคุมได้ สามารถกระจายไปยังอวัยวะ ใกล้เคียง และอวัยวะที่ห่างไกลได้ทางหลอดเลือด หลอดน้ำเหลือง มะเร็งมีมากกว่า 200 ชนิด ปัจจุบันเป็นโรคที่มีอัตราการเสียชีวิตเป็นอันดับ หนึ่งของประชากรโลก ข้อมูลจากอังกฤษพบว่า 1ใน 2 ของประชากร ชั่วชีวิตหนึ่งต้องเคยเป็นหรือเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.