ชะลอวัย ลดไขมันในเลือด ฟื้นฟูร่างกาย

โปรแกรมช่วยชะลอวัย ลดไขมันในเลือด

โปรแกรมช่วย ชะลอวัย ลดไขมันในเลือด

ไม่ว่าหญิงหรือชายใครๆ ก็อยาก ชะลอวัย ชะลอความชราด้วยกันทั้งนั้น แต่หากถามว่า ปัจจุบันเรื่อง Anti-aging หรือศาสตร์ด้านการชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพนี้มีอะไรได้ผลจริงจังบ้างขอตอบว่า หลักฐานทางวิทยาศาสตร์เรื่อง Anti-aging (ในคน) ทุกวันนี้มีน้อย เพราะไม่มีตัวชี้วัดที่เชื่อถือได้ หากจะเอาความยืนยาวของชีวิตเป็นตัวชี้วัด ก็ต้องทำงานวิจัยกันนานถึง 20 - 40 ปีเป็นอย่างน้อย ซึ่ง ณ วันนี้ยังไม่มีใครทำงานวิจัยแบบนี้สักชิ้นเดียว

ในบรรดาตัวชี้วัด Anti-aging ที่พอใช้ได้ทุกวันนี้ วงการแพทย์ดูจะยอมรับการยืดหรือหดตัวของทีโลเมียร์ (Telomere) ว่ามีความสัมพันธ์กับการแก่ช้าหรือเร็วมากที่สุด โดยเจ้าทีโลเมียร์ที่ว่าก็คือส่วนปลายเส้นโมเลกุลของโครโมโซม ซึ่งเป็นแหล่งรวมรหัสพันธุกรรมที่เรียกว่า “ยีน (Gene)” ผู้บงการชะตาชีวิตของเซลล์ร่างกายเรานั่นเอง

ทีโลเมียร์มีหน้าที่คุ้มกันยีนไม่ให้หลุดลุ่ยเสียหายจากการแบ่งตัวของเซลล์ซ้ำๆ ซากๆ เปรียบเหมือนตรงปลายของเชือกผูกรองเท้าที่จะมีปลอกพลาสติกหรือปลอกเหล็กเล็กๆ รัดไว้ไม่ให้ปลายเชือก

ผูกรองเท้าหลุดลุ่ย ประเด็นก็คือ เมื่อเซลล์แบ่งตัวรุ่นแล้วรุ่นเล่า ทีโลเมียร์จะหดสั้นลงจนหมดเกลี้ยงในที่สุด เมื่อทีโลเมียร์หมดเกลี้ยง ยีนจะเริ่มหลุดลุ่ยเสียหายทำให้เซลล์รุ่นต่อไปออกอาการผิดเพี้ยนเหลาเหย่ เป็นมะเร็ง หมดอายุ หรือพูดง่ายๆ ว่าความแก่มาเยือน

บรรทัดนี้ผมขอหยุด 1 นาทีเพื่อคารวะนักศึกษาปริญญาโทสาวชาวออสซี่คนหนึ่งชื่อ แครอล กรีเดอร์ (Carol W. Greider) ผู้ค้นพบเอนไซม์ทีโลเมียเรส (Telormerase) ซึ่งทำหน้าที่ป้องกันการหดสั้นของทีโลเมียร์ ขณะที่เธอทำวิทยานิพนธ์ปริญญาโท และผลงานนี้ส่งผลให้เธอได้รับรางวัลโนเบลร่วมในสาขาชีวโมเลกุล

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่สรุปผลได้ว่าความเครียดเรื้อรังทำให้ความแอ๊คทีฟของเอนไซม์ทีโลเมียเรสลดลง และทำให้ทีโลเมียร์หดสั้นเร็วกว่าปกติ จึงอาจมีผลให้อายุสั้นลงด้วย ที่น่าสนใจยิ่งกว่านั้นคืองานวิจัยที่แคลิฟอร์เนีย ทำโดยกลุ่มคนที่เชื่อถือได้รวมทั้งผู้ที่ได้รางวัลโนเบลเรื่องทีโลเมียร์ได้เอาคนอายุมากตัวเป็นๆ 30 คนมาวัดกิจกรรมของเอนไซม์ทีโลเมียเรสและความยาวของทีโลเมียร์ไว้หมด แล้วให้เข้า

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.