หยุดปวด, ปวดหัว, ปวดหลัง, ปวดข้อ, ปวดไมเกรน

16 วิธี หยุดปวด ไมเกรน กล้ามเนื้อหลัง และข้อ

5 วิธีสยบปวดข้อ

อาการปวดข้อเป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อวัยวะเริ่มมีความเสื่อมไปตามวัย เริ่มตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดรุนแรงทนไม่ได้ สำหรับอาการปวดข้อเกิดได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น

โดยเราได้รวบรวมวิธีบำบัดแบบธรรมชาติที่ช่วยแก้อาการปวดข้อยอดฮิตมาแนะนำดังนี้

 

วิธีที่ 12 ยาพอกแก้อาการปวดข้อเข่า

สำหรับอาการปวดข้อเข่านั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การปวดข้อเข่าจากความเสื่อมโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน) โรคเกาต์ (เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดสูง และมีการตกผลึกของกรดยูริก)

ในทางการแพทย์แผนไทยแบ่งอาการปวดข้อเข่าออกเป็น 2 ประเภท คือ จับโปงแห้งและจับโปงน้ำ ซึ่งทั้งสองอาการมีความแตกต่างกันไปตามพยาธิสภาพ

จับโปงน้ำ คือข้อเข่ามีอาการปวด บวม แดง ร้อน ส่วนจับโปงแห้ง คือมีอาการปวด แต่ไม่มีอาการบวม แดง ร้อน มีเสียงในข้อเข่าเวลาเดินซึ่งการดูแลและรักษามีความแตกต่างกัน

NATURAL PAINKILLER

แนะนำว่า ผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าควรใช้ยาพอกเข่าในการรักษา เพื่อช่วยลดอาการปวดช่วยนำสารอาหารมาเลี้ยงข้อเข่ามากขึ้น และช่วยดูดพิษร้อน ซึ่งมีวิธีทำดังนี้

สูตรยาร้อน 

(สำหรับข้อเข่าที่มีอาการปวด แต่ไม่มีอาการบวม แดง ร้อน) ประกอบด้วยขิงน้ำตาล ไพล ปริมาณเท่าๆ กัน และพริก 2 - 3 เม็ด

สูตรยาเย็น 

(สำหรับข้อเข่าที่มีอาการปวด บวม แดง ร้อน) ประกอบด้วยดินสอพอง ยาเขียว ใบย่านาง ตำลึง ปริมาณเท่าๆ กัน

วิธีทำ 

ตำสมุนไพรทั้งหมดเข้าด้วยกันพอหยาบแล้วนำมาพอกเข่าที่มีอาการปวด พันด้วยผ้าพันแผล ทิ้งไว้ 15 - 20 นาที แล้วล้างออก

อาการปวดข้อไหล่ติด, หยุดปวด,ปวดไหล่, ปวดข้อ, วิธีแก้ปวดข้อไหล่ติด
การบริหารข้อไหล่ด้วยท่าปูไต่ ช่วยบรรเทาอาการปวดข้อไหล่ติดได้

วิธีที่ 13 ปูไต่แก้อาการปวดข้อไหล่ติด

แพทย์หญิงชยาภรณ์ โชติญาณวงษ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ระบุว่า ไหล่ติดเป็นภาวะที่หัวไหล่ไม่สามารถเคลื่อนไหวข้อไหล่ได้สุดพิสัยตามองศาการเคลื่อนไหว ไม่ว่าจะขยับเองหรือให้ผู้อื่นช่วยขยับ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดไหล่

โดยสาเหตุการเกิดนั้นยังไม่ทราบแน่ชัด แต่จากการศึกษาพบว่า เกิดจากการอักเสบของเยื่อหุ้มข้อและมีการหนาตัวของเยื่อหุ้มข้อจนเป็นพังผืดตามมา ทำให้เคลื่อนไหวข้อได้น้อยลงนั่นเอง

NATURAL PAINKILLER

สำหรับท่าบริหารข้อไหล่เมื่อมีอาการไหล่ติด ขอแนะนำท่าปูไต่ เหมาะสำหรับคนที่ใช้แขนข้างเดียวเป็นประจำ เช่น ครู อาจารย์ที่ต้องเขียนกระดาน ช่างตัดผม - ดรายผม ฯลฯ โดยมีวิธีดังต่อไปนี้

1. ยืนหันหน้าเข้าผนังหรือหันด้านข้างเข้าผนัง โดยยืนห่างจากผนังประมาณ 1 ฟุต

2. วางมือที่ผนัง แล้วใช้นิ้วไต่ผนังขึ้นไปเรื่อย ๆ ให้สูงที่สุดเท่าที่จะทนปวดได้ แล้วทำเครื่องหมายไว้ วันต่อมาก็พยายามทำให้สูงกว่าเดิม อย่าเขย่งหรือเอี้ยวตัว

3. ทำซ้ำช้า ๆ อย่างน้อยวันละ 10 - 15 ครั้ง

ในกรณีที่อาการปวดไหล่ไม่รุนแรงให้ประคบด้วยความร้อน โดยใช้ถุงนํ้าร้อน ผ้าชุบ นํ้าอุ่น หรือลูกประคบสมุนไพร และเริ่มบริหารข้อไหล่ได้ตามปกติ หรือทำเป็นประจำก็ช่วยป้องกันข้อไหล่ติดได้เช่นกัน

 

<< ปวดข้อม มีต่อหน้าที่ 8 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.