โรคออฟฟิศซินโดรม

เรื่องต้องรู้ ก่อนนวดรักษา โรคออฟฟิศซินโดรม

เรื่องต้องรู้ ก่อนนวดรักษา โรคออฟฟิศซินโดรม

โรคออฟฟิศซินโดรม ก่อให้เกิดอาการเมื่อยล้าที่บริเวณคอ บ่าไหล่ สะบักและต้นแขน การนวด เป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่งในการรักษา เพราะทำให้เกิดการยืดเหยียดและคลายกล้ามเนื้อ ทั้งยัง ช่วยผ่อนคลายอารมณ์ ระดับความเครียดและความเจ็บปวดจึงบรรเทาเบาบางลง ทำให้ร่างกาย หลั่งฮอร์โมนความสุขเพิ่มมากขึ้นอย่างไรก็ตาม ก่อนจะไปนวดอย่าลืมตรวจสอบตนเองก่อนว่า มีข้อห้ามในการนวดหรือไม่ ดังต่อไปนี้

 

6 อาการต้องระวังก่อนนวด

1. มีความดันโลหิตสูงซึ่งควบคุมไม่ได้

โดยดูว่าค่าความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัวมากกว่า 140 มิลลิเมตรปรอท และค่าความดันโลหิต ขณะหัวใจคลายตัวมากกว่า 100 มิลลิเมตร ปรอทหรือไม่ เนื่องจากขณะบีบนวดเพื่อรักษา จะเกิดการไหลเวียนเลือดมากขึ้น จึงทำให้ ค่าความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นได้ อาจมีอาการ หน้ามืดวิงเวียนตามมา และในขณะที่บีบนวด แบบผ่อนคลาย ความดันโลหิตจะลดลง ซึ่ง อาจจะทำให้ คนที่มีระดับความดั นโลหิตสูงมานาน ไม่ชินกับความดันโลหิตที่ลดลง จนเกิดอาการ เวียนศีรษะได้เช่นกัน

2. มีบาดแผลตามร่างกายหรือมีแผลเรื้อรัง

เพราะการนวดอาจเกิดการอักเสบ ทำให้แผล เรื้อรังหายช้า

นวด, โรคออฟฟิศซินโดรม, อาการต้องระวังก่อนนวด, นวดรักษาโรค, นวดบำบัด
ผู้ที่มีโรคประจำตัวบางโรค ก็ไม่ควรรักษาโรคออฟฟิศซินโดรมด้วยการนวด

3. มีการอักเสบในบริเวณที่นวด

อาการอักเสบที่สังเกตได้ คือ มีอาการปวด บวม แดง ร้อน เพราะการนวดจะทำให้เลือด ไหลเวียนไปบริเวณนั้นมากขึ้น และอาจจะทำให้ เกิดการอักเสบมากขึ้นได้

4. มีภาวะเลือดออกง่ายหรือเลือดแข็งตัวช้า

เช่น ผู้ป่วยโรคฮีโมฟิเลีย หรือผู้ที่รับประทาน ยาละลายลิ่มเลือด เช่น ยา warfarin เพราะ การนวดอาจจะทำให้เกิดเลือดออกในกล้ามเนื้อ ซึ่งจะหยุดได้ยากกว่าเลือดที่ออกบริเวณผิวหนัง เพราะไม่สามารถกดให้หยุดได้ นอกจากนี้กล้ามเนื้อเป็นบริเวณที่กว้างมาก เลือดจึง สามารถออกได้ในปริมาณมาก

5. เป็นไข้

คือ มีอุณหภูมิร่างกายมากกว่า 38.5 องศาเซลเซียส เมื่อรับการนวดอาจจะ ทำให้เหงื่อออก ความดันโลหิตไม่คงที่ เกิด อาการหน้ามืดหรือวิงเวียนได้

6. เป็นโรคกระดูกพรุนหรือกระดูกบาง อย่างรุนแรง

เพราะการนวดโดยการออกแรงกด กระดูกหรือการดัดกระดูกอาจจะทำให้กระดูกหักได้

นอกจากนี้ในผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวานและโรคหัวใจที่ยังควบคุมอาการไม่ได้ โรคมะเร็ งหลอดเลื อดดำอั กเสบ หญิ งตั้ งครรภ์ ก็ควรระมัดระวังเช่นกัน

นวด, โรคออฟฟิศซินโดรม, อาการต้องระวังก่อนนวด, นวดรักษาโรค, นวดบำบัด
การนวดที่รุนแรงมากเกินไปอาจเสี่ยงต่อการบาดเจ็บได้

นวดอย่างไรไม่เสี่ยงบาดเจ็บ

จุดที่ห้ามนวดเด็ดขาดคือ ตามแนวกระดูกและหลอดเลือด ได้แก่ แนวกระดูก คอ ต้นคอบริเวณข้างคอ ใต้หู หลังหู เพราะบริเวณนี้มีหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง ทั้งด้านหน้าและด้านหลัง ถ้าไปกดหรือบีบโดนหลอดเลือดจะทำให้เลือดไปเลี้ยงสมอง ลดลง มี รายงานการฉี กเซาะของหลอดเลื อดแดงที่ไปเลี้ยงสมองในคนที่ไปนวดบริเวณ คออย่างยาวนานและรุนแรง ทำให้เป็นอัมพฤกษ์ อัมพาต

ข้อควรระวังอื่นๆ คือ การนวดที่รุนแรงมากเกินไปอาจจะทำลายกล้ามเนื้อหรือ ทำให้กล้ามเนื้อตาย จนสารในกล้ามเนื้อที่ตายออกมาปนในเลือดและเป็นอันตรายต่อไตได้ สุดท้ายการนวดอาจเกิดการทำลายเส้นประสาท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนวด บริเวณสะบักอาจเกิดอันตรายต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวไหล่ ทำให้ไหล่ ด้านนั้นยกไม่ขึ้น และกระดูกสะบักยื่นออกมาที่เรียกว่า Scapular Winging

ดังนั้นก่อนนวดจึงแนะนำให้สำรวจตัวเอง ว่า คุณผู้อ่านมีความพร้อมสำหรับ การนวดหรือไม่ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ อย่าลืมบอกประวัติโรคประจำตัว รวมถึง ยาที่รับประทานอยู่กับหมอนวด และในขณะที่นวดให้สังเกตความเจ็บปวดของ บริเวณที่นวด หากเจ็บปวดมากควรบอกให้หมอนวดทราบเพื่อหยุดนวดชั่วคราว หรือหยุดนวดไปเลย หลีกเลี่ยงท่าทางที่ดัดหรือบิดโครงสร้างของร่างกายมากเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดการบาดเจ็บกับเนื้อเยื่อรอบๆ ได้

 

จาก คอลัมน์ HAPPY BONE นิตยสารชีวจิต ฉบับ 465


บทความน่าสนใจอื่นๆ

นวดไทย นวดพื้นบ้าน 4 ภาค แก้โรคผู้หญิงโรคออฟฟิศซินโดรม

เช็ค 10 อาการ หายได้ด้วยการนวดไทย

นวดมดลูก ช่วยให้มดลูกแข็งแรงด้วยวิธีธรรมชาติ แก้ปวดประจำเดือน

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.