ดูแลระบบย่อยอาหาร, ระบบย่อยอาหาร, อาหารสุขภาพ, การดูแลสุขภาพ

วิธี ดูแลระบบย่อยอาหาร ด้วยวิถีสุขภาพจากต่างแดน

CANADA

คุณภาพอากาศส่งผลต่อระบบย่อย

ทุกคนคงทราบดีว่า คุณภาพอากาศมีส่วนส่งเสริมให้สุขภาพแข็งแรง เมื่อไม่นานมานี้ มีข้อมูลงานวิจัย ที่ชี้ว่าช่วงเวลาที่คุณภาพอากาศแย่ลงจะมีผู้ป่วยโรคระบบย่อยอาหารเพิ่มขึ้นด้วย

แคนนาดา, ดูแลระบบย่อยอาหาร, อาหารสุขภาพ
ในแคนนาดา มีการวิจัยว่าสภาพอากาศมีผลต่อระบบย่อยอาหาร

รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ด็อกเตอร์กิลาด แคปแลน ผู้ช่วยผู้อำนวยการประจำ สถาบันวิจัย Snyder Institute for Chronic Diseases & Institute of Public Health มหาวิทยาลัยคาลการี รัฐแอลเบอร์ตา ประเทศแคนาดา ระบุว่า มีงานวิจัยฉบับหนึ่งที่ทำ การศึกษาในสหราชอาณาจักร พบว่า ประชากรอายุ 5 – 23 ปีที่ได้รับสารไนโตรเจนไดออกไซด์ มากกว่าคนทั่วไป เพิ่มโอกาสเสี่ยงเป็นโรคโครห์น (Crohn’s Disease) หรือโรคลำไส้อักเสบ เรื้อรัง ซึ่งมีอาการปวดท้อง ท้องเสียเรื้อรัง อุจจาระเหลวเป็นมูกมีเลือดปน

คุณหมอกิลาด ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า มีการศึกษาจากโรงพยาบาลที่เมืองวิสคอนซิน สหรัฐอเมริกา พบว่า ในช่วงเวลาที่มีมลภาวะในอากาศสูง เช่น คอร์บอนมอนอกไซด์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ และฝุ่นละอองขนาดเล็ก จะมีผู้ป่วยเข้าพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย โรคเกี่ยวกับลำไส้สูงขึ้นถึงร้อยละ 40

ขณะที่การศึกษาข้อมูลในโรงพยาบาลที่เมืองมอนทรีออลและเอดมันตัน ประเทศแคนาดา พบว่า มักมีกลุ่มผู้ป่วยอายุ 15 – 24 ปี มาพบแพทย์ฉุกเฉินด้วยอาการปวดในช่องท้อง โดยไม่ทราบสาเหตุในวันที่มีมลพิษในอากาศสูงกว่าวันอื่น ๆ เล็กน้อย

ด็อกเตอร์แคเรน แมดเซน นักวิทยาศาสตร์ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบทางเดินอาหาร ศูนย์ ความเป็นเลิศเรื่องระบบทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน มหาวิทยาลัยแอลเบอร์ตา ประเทศ แคนาดา อธิบายว่า

เมื่อทำการทดลองกับหนู พบว่า มลพิษทางอากาศทำให้ผนังลำไส้ระคายเคือง มีผลต่อ สมดุลจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ซึ่งถ้าเกิดการอักเสบที่ผนังลำไส้อย่างต่อเนื่องจะมีผลกระทบต่อระบบ ภูมิคุ้มกันในเวลาต่อมาได้

นอกจากนี้ยังมีรายงานพบว่า มลพิษ ทางอากาศมีผลกระทบต่อกลไกการหลั่ง ไซโตไคน์ซึ่งเป็นสารโปรตีนที่มีความสัมพันธ์ กับระบบภูมิคุ้มกันซึ่งมีอยู่ทั่วร่างกาย รวมถึง ในลำไส้ด้วย

ในตอนท้ายคุณหมอกิลาดกล่าวว่า ข้อมูลที่ระบุว่ามลภาวะในอากาศสัมพันธ์ กับโรคระบบย่อยอย่างไรยังมีไม่มากนัก แต่เมื่อพิจารณาร่วมกับปัจจัยอื่น ๆ เช่น การสูบบุหรี่ ปริมาณวิตามินดีในร่างกายต่ำ ที่พักอาศัยอยู่ในเขตเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ สูง พบว่า เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคลำไส้สูงกว่า คนทั่วไป

จากการศึกษาข้อมูลวิถีสุขภาพทั้ง 7 ประเทศจะพบว่า การกิน – อยู่ที่กลมกลืน กับสภาพสิ่งแวดล้อมช่วยให้ระบบย่อยทำงาน ได้ตามปกติ สุขภาพโดยรวมจึงแข็งแรง

การใช้ชีวิตผสานเป็นหนึ่งเดียวกับ ธรรมชาติเช่นนี้ตรงกับแนวทางของชีวจิต เลยค่ะ

 

จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 466


บทความน่าสนใจอื่นๆ

ดูแลระบบย่อยด้วยวิถีสุขภาพระดับโลก

รวมวิธีกินกล้วยที่ดีที่สุด รักษา 6โรคยอดฮิต ระบบย่อยอาหาร

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.