ลำไส้อักเสบ, ระบบย่อย, ลำไส้, โพรไบโอติก, จุลินทรีย์ชนิดดี

ป้องกัน ลำไส้อักเสบ ภูมิคุ้มกันตก

10 โพรไบโอติกต้องกิน

เราจำเป็นต้องเติมโพรไบโอติกหรือจุลินทรีย์ดีที่มีชีวิต เข้าสู่ร่างกายเพื่อเพิ่มปริมาณจุลินทรีย์ดีให้มากขึ้น โดยสามารถ เลือกกินได้ 2 รูปแบบ คือ

หนึ่ง การกินในรูปแบบอาหารเสริม ซึ่งมีทั้งชนิดเม็ด และชนิดผงบรรจุในซอง

สอง การกินในรูปแบบอาหาร ซึ่งเรากินกันมาเนิ่นนาน หลายทศวรรษแล้ว ขอยกตัวอย่างอาหารใกล้ตัว เช่น

 

1. โยเกิร์ตนม

ถ้าเป็นโยเกิร์ตโฮมเมดทำเองจะดีที่สุด ส่วน ในท้องตลาดมีหลายยี่ห้อ หลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละยี่ห้อจะมี คำแนะนำชัดเจนว่าผลิตจากจุลินทรีย์ชนิดใด ซึ่งแต่ละชนิด จะให้รสชาติ กลิ่น รสที่แตกต่างกันไป แนะนำให้เลือก ชนิดเพลนโยเกิร์ตจะดีที่สุด หรือถ้าเป็นโยเกิร์ตทั่วไป แนะนำให้เลือกกรีกโยเกิร์ต เพราะมีโปรตีนสูงกว่าโยเกิร์ตทั่วไป รวมถึงต้องดูเรื่องปริมาณน้ำตาลด้วย ควรเลือกชนิดไม่หวาน หรือรสธรรมชาติ

โยเกิร์ต, ลำไส้อักเสบ, ระบบย่อย, โพรไบโอติก, จุลินทรีย์
โยเกิร์ต หนึ่งในอาหารที่ช่วยเพิ่มโพรไบโอติกในร่างกาย

 

2. โยเกิร์ตธัญพืช

เช่น โยเกิร์ตนมถั่วเหลืองหรือโยเกิร์ต กะทิ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่แพ้น้ำตาลแล็กโทส

 

3. ซาวร์ครีม

เป็นเครื่องจิ้มของฝรั่ง ใช้กินคู่กับผัก ขนมปัง เกิดจากการนำโยเกิร์ตมาหมักอีกทีทำให้ได้เนื้อ ที่เข้มข้นกว่าเดิม ซึ่งจะมีความเปรี้ยวมากกว่าโยเกิร์ต แต่ ต้องระวังเรื่องปริมาณน้ำตาลเช่นกัน

 

4. ซาวร์เคลา

คืออาหารหมักของฝรั่ง เกิดจากการนำ กะหล่ำปลีมาหมักกับเครื่องเทศ กินเป็นเครื่องเคียงกับสเต๊ก ข้อดีคือ ซาวร์เคลามีสารกลูตามีนสูงซึ่งจะช่วยลดอาการ ของภาวะลำไส้รั่วได้ วิธีเลือกคือ ควรเลือกชนิดที่ไม่ผ่าน การพาสเจอไรซ์

กิมจิ, ลำไส้อักเสบ, ระบบย่อย, โพรไบโอติก, จุลินทรีย์
ควรกินกิมจิแบบเย็นๆมากกว่านำไปผ่านความร้อน เพราะโพรไบโอติกจะตาย

5. กิมจิ

เป็นอาหารหมักของชาวเกาหลี โดยนำผักกาดขาว หอมหัวใหญ่ พริก ขิง มาหมักกับหัวเชื้อ กิมจิโฮมเมด จะดีต่อสุขภาพที่สุด และแนะนำว่าควรกินชนิดที่เสิร์ฟ แบบเย็นๆ เพราะการนำไปทำซุปหรือผ่านความร้อนจะทำให้ โพรไบโอติกตาย แต่ถึงอย่างนั้นเราก็ยังได้รับเกลือแร่ วิตามินจากผักดองบางส่วนอยู่

 

 

 

 

<< อาหารโพรไบโอติก มีต่อค่ะ อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.