เบาหวาน, ของหวาน, โรคแทรกซ้อน, ป้องกันเบาหวาน, ผู้ป่วยเบาหวาน

วิธีตัดวงจรโรคแทรกซ้อน เพื่อคน เบาหวาน สุขภาพเลิศ

เปลี่ยนพฤติกรรมกิน ไตวาย…ตายไม่ไว

ระบบในร่างกายเปรียบได้กับนาฬิกาที่มีกลไกต่าง ๆ สัมพันธ์กัน หากลานเล็กๆ ตัวใดตัวหนึ่งเสีย ก็จะทำให้ทั้งเรือนหยุดเดินเช่นเดียวกับ “ไต” ที่มีหน้าที่รักษาสมดุลของน้ำในร่างกาย โดยกรองเอาของเสียออกจากเลือด เก็บรักษาเม็ดเลือดแดงที่ดีและโปรตีนเอาไว้ แต่หากกินอาหารที่มีน้ำตาลซูโครสมากเกินไปจะส่งผลต่อระบบกรองของเสียและร่างกายทั้งหมด

นายแพทย์นัฐสิทธิ์ ลาภปริสุทธิ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล อธิบายว่า

“ในผู้ป่วยโรคเบาหวาน ไต ต้องทำงานหนักตามระดับน้ำตาลที่ปะปนกับเลือดมากขึ้น ทำให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงภายในไตส่งผลให้หลอดเลือดในไตเปราะ ไตจึงไม่สามารถกรองเลือดและโปรตีนได้ตามปกติ

“ในที่สุดจึงเกิดโปรตีนรั่วปนมาในปัสสาวะ เป็นสิ่งบ่งชี้ว่า คุณกำลังเข้าสู่ภาวะไตเสื่อม และหากปล่อยทิ้งไว้นานๆ จะกลายเป็นอาการไตวายเรื้อรัง ซึ่งไตจะไม่สามารถกรองของเสียได้อีกต่อไป ทำให้ผู้ป่วยต้องพึ่งพาเครื่องฟอกไตในการขับของเสียเพื่อรักษาสมดุลน้ำในร่างกายแทน”

โดยการฟอกไตนั้นต้องใช้เงินจำนวนมากคือ ประมาณ 2 หมื่นถึง 6 หมื่นบาทต่อเดือน และต้องทำตลอดไป จัดเป็นการรักษาที่สิ้นเปลืองที่สุดในหมู่โรคแทรกซ้อนเลยทีเดียว

อย่างไรก็ดี การฟอกไตไม่ใช่การรักษาโรค เป็นเพียงการยื้อชีวิตเท่านั้น เพราะมีงานวิจัยของประเทศออสเตรเลียและนิวซีแลนด์พบว่า การฟอกไตไม่มีผลต่อการรอดชีวิตของผู้ป่วยไตวายเรื้อรัง

คุณหมอนัฐสิทธิ์ยืนยันเช่นเดียวกันว่าการฟอกไตเป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ ทางที่ดีผู้ป่วยโรคเบาหวานควรป้องกันการเกิดโรคไตตั้งแต่แรก โดยรับการตรวจปัสสาวะทุกๆ 6 เดือน เพื่อตรวจดูปริมาณโปรตีนและควบคุมน้ำตาลในเลือดให้คงที่จะดีกว่า

เบาหวาน,โรคเบาหวาน, โรคไต, ผู้ป่วยเบาหวาน, ไตวายเรื้อรัง

เบาหวานร้ายแรงอย่างไร

องค์การอนามัยโลก (WHO: World Health Organization) ระบุว่า ระดับน้ำตาลในเลือดปกติอยู่ที่ 82 - 110 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากตรวจพบว่า ระดับน้ำตาลในเลือดสูงมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อ

เดซิลิตรขึ้นไป หรือระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) สูงมากกว่า 6.5 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป แสดงว่าคุณกำลังเป็น “โรคเบาหวาน”

แม้ผู้ป่วยบางคนจะได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าระดับน้ำตาลในเลือดเกินเกณฑ์มาตรฐานไม่มาก หรือที่เรียกว่า “ภาวะใกล้เป็นเบาหวาน” แต่ก็ยังมีความเสี่ยงเป็น เบาหวาน จึงไม่ควรนิ่งนอนใจเพราะมีงานวิจัยพบว่า 11 เปอร์เซ็นต์ของผู้มีภาวะใกล้เป็นเบาหวานจะกลายเป็นเบาหวานภายในเวลา 3 ปี

 

ทำอย่างไร…หากมีโปรตีนในปัสสาวะแล้ว

ในส่วนของการรักษาผู้ป่วย เบาหวาน ที่มีโปรตีนในปัสสาวะแล้ว คุณหมอนัฐสิทธิ์ แนะว่า

  1. ต้องควบคุมอาหารเพิ่มขึ้น (แม้ยังไม่ต้องฟอกไตก็ตาม) คือ นอกจากจะงดหวานแล้ว ยังต้องคุมโปรตีน จำกัดอาหารรสเค็มและอาหารที่มีฟอสฟอรัสอย่างเคร่งครัดด้วย เพื่อชะลอการเกิดภาวะไตวาย
  2. ต้องได้รับการตรวจเลือดเป็นประจำ และรับการรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างใกล้ชิด

ดังนั้นทั้งผู้ป่วยเบาหวานและคนปกติจึงควรงดตามใจปาก ลดหวาน ลดเค็มกันตั้งแต่แรก จะได้ไม่ต้องนั่งเศร้า พะวงเรื่องอาหารการกินและฟอกไตในภายหลัง

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 6 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.