ระบบย่อย, ดูแลระบบย่อย, การดูแลสุขภาพ, อาหารที่ดีต่อระบบย่อย

ดูแลระบบย่อย ด้วยวิถีสุขภาพระดับโลก

ดูแลระบบย่อย ด้วยวิถีสุขภาพระดับโลก

ดูแลระบบย่อย รูปแบบการกินและการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปในปัจจุบันส่งผลให้คนในยุคนี้ มีปัญหาสุขภาพอันเนื่องจากระบบย่อยตามมามากมาย ชีวจิต ขอเสนอแนวทาง การดูแลสุขภาพและระบบย่อยจากวิถีชีวิตของผู้คนทั่วโลก ย้ำชัดว่า การกินอยู่ให้สอดคล้องกับธรรมชาติและสภาพแวดล้อมคือ แนวทางการดูแลสุขภาพที่เรียบง่ายและคืนสมดุลให้ร่างกายได้ดีที่สุด

 

JAPAN

สัดส่วนอาหาร

ข้อมูลล่าสุดจากองค์การอนามัยโลกในปี 2016 ระบุว่า ญี่ปุ่น ครองอันดับ 1 ประเทศที่ประชากรมีอายุเฉลี่ยสูงสุด คือ 83.7 ปี และการศึกษาหลายฉบับก็ชี้ว่า อาหารของชาวญี่ปุ่นเป็นปัจจัยสำคัญ ที่ส่งเสริมให้พวกเขามีสุขภาพแข็งแรง อีกทั้งมีนโยบายปลูกฝังให้ ประชากรเดินออกกำลังกายและมีวัฒนธรรมเพื่อสุขภาพอย่างการ แช่น้ำอุ่นที่มีส่วนช่วยให้เลือดลมไหลเวียนสะดวก ซึ่งมีผลดีต่อการ ทำงานของระบบย่อยอาหารทางอ้อม

ญี่ปุ่น, ดูแลระบบย่อย, ระบบย่อย, อาหารญี่ปุ่น, คนญี่ปุ่น

HEALTHY FOOD

ตั้งแต่ ค.ศ. 2005 แล้วที่รัฐบาลญี่ปุ่นระบุถึงสัดส่วนอาหารใน 1 วัน ไว้ใน The Japanese Government’s Official Advice on Food โดยกำหนดสัดส่วนของธัญพืชสูงสุด คือ 5 – 7 หน่วยบริโภค ใกล้เคียง กับผัก 5 – 6 หน่วยบริโภค รองลงมาเป็นกลุ่มโปรตีนจากปลา เนื้อสัตว์ ไข่ และถั่วต่าง ๆ 3 – 5 หน่วยบริโภค สุดท้ายเป็นผลไม้ 2 หน่วย บริโภค และนม 2 หน่วยบริโภค

สัดส่วนสูงสุดใน 1 มื้ออาหารที่แนะนำ คือ ธัญพืชและผักผลไม้ ซึ่งมีใยอาหารสูงทั้งคู่ จึงมีส่วนช่วยให้ขับถ่ายสะดวก ลดโอกาสเสี่ยง มะเร็งลำไส้ อีกทั้งเป็นพรีไบโอติกซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ดีในลำไส้ ส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานได้อย่างเต็มที่ ลดโอกาสเกิดโรคติดเชื้อ ในลำไส้

นอกจากนี้สัดส่วนโดยรวมของอาหารญี่ปุ่นยังช่วยลดความ เสี่ยงโรคสำคัญ เช่น หลอดเลือดสมอง ข้อมูลจากการศึกษาของ National Centre for Global Health and Medicine กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า ผู้ที่กินอาหารตามสัดส่วนที่ The Japanese Government’s Official Advice on Food แนะนำมีความเสี่ยงโรค หลอดเลือดสมองน้อยกว่าคนทั่วไปและมีอัตราเสียชีวิตก่อนวัยอันควร น้อยกว่าคนทั่วไปถึงร้อยละ 15

เมื่อศึกษาเรื่องอาหารให้ลึกลงไปจึงพบว่า ชาวญี่ปุ่นบริโภค อาหารทะเลปริมาณสูงถึง 55.7 กิโลกรัมต่อคนต่อปี เมื่อเทียบกับ ชาวอเมริกันที่บริโภคอาหารทะเลเพียง 24.2 กิโลกรัมต่อคนต่อปี โดยสัดส่วนของอาหารทะเลที่นิยมบริโภคสูงสุด คือ ปลากับสาหร่าย ซึ่งย่อยง่ายกว่าเมื่อเทียบกับเนื้อสัตว์ประเภทอื่น

นอกจากย่อยง่าย ลดภาวะกรดเกินในกระเพาะ และลดความ เสี่ยงมะเร็งลำไส้ได้แล้ว ทั้งปลาทะเลและสาหร่ายทะเลยังอุดมไป ด้วยโปรตีนและไขมันดี จึงช่วยต้านการอักเสบ ลดความเสี่ยงโรค หลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคมะเร็งต่อมลูกหมาก และบรรเทาอาการก่อนมีรอบเดือน (Premenstrual Syndrome) หรือพีเอ็มเอส ได้อีกด้วย

สุดท้าย ชาวญี่ปุ่นยังนิยมบริโภคอาหารและเครื่องดื่มที่ดีต่อ ระบบย่อย เช่น ชาเขียว ซึ่งมีสารแอนติออกซิแดนต์สูง ชะลอความ เสื่อมของเซลล์ ลดความเสี่ยงเซลล์เติบโตผิดปกติ ส่วนอาหาร หมักดอง เช่น กลุ่มผักดอง ที่จัดเป็นเครื่องเคียงจานเล็กแทบทุกมื้อ และยังมีนัตโตะหรือถั่วเหลืองหมัก ซึ่งทั้ง 2 เมนูนี้มีโพรไบโอติก ที่ส่งเสริมให้จุลินทรีย์ดีในร่างกายเติบโตได้อย่างสมดุล ช่วยให้ดูดซึม วิตามินไปใช้ได้ดีและระบบขับถ่ายทำงานได้ตามปกติ

ชาเขียว, ดูแลระบบย่อย, ญี่ปุ่น, อาหารญี่ปุ่น, การดูแลสุขภาพของคนญี่ปุ่น
ชาวญี่ปุ่นนิยมดื่มชาเขียว ซึ่งดีต่อระบบย่อย

HEALTHY LIFESTYLE

ประเทศญี่ปุ่นปลูกฝังให้ประชากรเดินทางโดยใช้แรงกาย (Active Transport) เป็นหลัก ด้วยนโยบาย Walking to School Practice ที่ใช้มาตั้งแต่ ค.ศ. 1953 ทำให้เด็กญี่ปุ่นตั้งแต่วัยอนุบาล จนถึงมัธยมปลายเดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ระบบขนส่งมวลชน เพื่อเดินทางไปโรงเรียนเป็นประจำ ปัจจุบันเด็กๆ ในระบบการศึกษา ทั้งหมด ร้อยละ 98 เดินทางโดยใช้แรงกาย

เมื่อได้รับการปลูกฝังให้มีพฤติกรรมสุขภาพเช่นนี้ตั้งแต่เด็ก พอเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ พวกเขาจึงมีสุขภาพแข็งแรง เพราะได้ ออกกำลังกายด้วยการเดิน ปั่นจักรยาน หรือใช้ขนส่งมวลชน เฉลี่ยครั้งละ 30 นาที – 1 ชั่วโมง อย่างน้อยวันละ 2 ครั้งทุกวัน

การออกกำลังกายเป็นประจำจะช่วยให้ระบบย่อยทำงานได้ตาม ปกติ เลือดไปเลี้ยงที่กระเพาะอาหารได้ดี กระตุ้นให้ลำไส้บีบตัว ส่งผลให้อาหารที่ย่อยแล้วเคลื่อนลงไปได้เร็วขึ้น ไม่ตกค้างอยู่นาน

สุดท้าย วัฒนธรรมการอาบน้ำอุ่นยังมีผลทางอ้อมในการช่วย ส่งเสริมให้ระบบย่อยทำงานได้ดีขึ้น โดยข้อมูลจาก ดร.ยูโกะ อากิชิ มหาวิทยาลัยฮกไกโด ประเทศญี่ปุ่น ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว CNN ว่า พบการแช่ตัวในน้ำอุ่นและบ่อน้ำแร่ในญี่ปุ่นมายาวนานกว่า 3,000 ปีแล้ว ซึ่งมีผลช่วยบำบัดอาการโรคข้อ กระตุ้นระบบไหลเวียน โลหิต ทำให้ผิวพรรณเปล่งปลั่ง ผ่อนคลายความเมื่อยล้าและความ เครียดจากการทำงานมาตลอดทั้งวันได้เป็นอย่างดี ซึ่งทั้งหมดนี้ ล้วนมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ขับถ่ายได้คล่อง ลดปัญหาท้องผูกได้

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 2 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.