โรคระบบทางเดินอาหาร, กรดไหลย้อน, ท้องผูก, กระเพาะอาหารอักเสบ

โรคระบบทางเดินอาหาร ที่คนรุ่นใหม่ รู้สาเหตุก่อน หายก่อน

3. กระเพาะอาหารอักเสบ

หนังสือ โรคของหลอดอาหาร กระเพาะอาหาร ลำไส้ และทวารหนัก โดย ศาสตราจารย์เกียรติคุณ แพทย์หญิงพวงทอง ไกรพิบูลย์ สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ อธิบายถึงโรคกระเพาอาหารอักเสบไว้ว่า

โรคกระเพาะอาหารอักเสบ คือ โรคที่เกิดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อเมือกบุภายในกระเพาะอาหาร ทำให้เยื่อเมือกบวม แดง ปวด ย่อยอาหารได้ไม่ดี จนกลายเป็นแผลได้

โดยสาเหตุที่พบบ่อย ได้แก่ การติดเชื้อ เช่น จากเชื้อแบคทีเรีย จากเชื้อไวรัส และจากเชื้อรา การอักเสบที่ไม่ได้เกิด จากการติดเชื้อ เช่น จากสารก่อระคายเคืองต่างๆ เช่น เหล้า บุหรี่ กรด ด่าง ภาวะกรดในกระเพาะอาหารมากกว่าปกติ เช่น จากการสูบบุหรี่ การดื่มเครื่องดื่มกาเฟอีนสูง หรือปัญหาทางด้านอารมณ์และจิตใจจากการกินยาชนิดต่างๆ โดยเฉพาะ ยาแอสไพริน ยาต้านการอักเสบในกลุ่มเอ็นเสด ยาสเตียรอยด์

สำหรับอาการที่พบบ่อย คือ ปวดท้องบริเวณลิ้นปี่ ส่วนใหญ่มักสัมพันธ์กับการกินอาหารและชนิดอาหาร ท้องอืด ท้องเฟ้อ คลื่นไส้ อาเจียน สะอึกบ่อย อาจมีอาการเบื่ออาหารร่วมด้วย

บางครั้งเมื่อมีอาการมาก อาจมีเลือดออกจากแผลที่อักเสบ ส่งผลให้อาเจียนเป็นเลือด หรือมีอุจจาระดำเหมือน ยางมะตอย เมื่อไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะมีอาการดังกล่าวเรื้อรังหรือเป็นๆ หายๆ

โรคระบบทางเดินอาหาร, กระเพาะอาหารอักเสบ, สาเหตุกระเพาะอาหารอักเสบ, วิธีป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของมัน ของทอด ช่วยป้องกันกระเพาะอาหารอักเสบ

HOW TO TREAT

หนังสือ ความรู้เรื่องโรค สำนักพิมพ์รีดเดอร์ส ไดเจสท์ ประเทศไทย ให้ข้อมูลวิธีป้องกันโรคกระเพาะอาหารอักเสบไว้ว่า

  1. ควรเลิกสูบบุหรี่ ดื่มสุรา งดเครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
  2. พยายามสังเกตว่า อาหารชนิดใดกระตุ้นให้อาการกำเริบ ควรหลีกเลี่ยง และงดกินอาหารรสจัด อาหารมัน ของทอด
  3. ควรกินมื้อละน้อยๆ แต่บ่อยครั้ง จะช่วยลดอาการปวดได้
  4. นักธรรมชาติบำบัดแนะนำให้ดื่มน้ำแอ๊ปเปิ้ลไซเดอร์ 1 ช้อนโต๊ะ ขณะเกิดอาการ ถ้ารู้สึกว่าได้ผล ให้จิบทีละนิด ระหว่างมื้ออาหาร แต่ถ้าทำให้อาการกำเริบมากขึ้น ควรหยุดทันทีและพยายามหลีกเลี่ยงยาช่วยย่อยที่มีกรดไฮโดรคลอริก เป็นส่วนผสม

 

จาก คอลัมน์เรื่องพิเศษ นิตยสารชีวจิต ฉบับ 466


บทความน่าสนใจอื่นๆ

กินเสี่ยง โรคกระเพาะอาหาร

3 พฤติกรรมต้องห้าม เสี่ยงกรดไหลย้อน

ท้องผูก แน่นท้อง ลำไส้แปรปรวน โพรไบโอติกช่วยได้

ติดตาม ชีวจิต ในช่องทางต่างๆ ได้ที่

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.