โรคระบบทางเดินอาหาร, กรดไหลย้อน, ท้องผูก, กระเพาะอาหารอักเสบ

โรคระบบทางเดินอาหาร ที่คนรุ่นใหม่ รู้สาเหตุก่อน หายก่อน

2. ท้องผูก

อาการท้องผูกนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพอีกมากมาย อาจารย์ สาทิสอธิบายสาเหตุและอาการไว้ดังนี้

หนุ่มสาวสมัยนี้ท้องผูกกันเป็นแฟชั่น สามวันถ่ายทีก็มี สัปดาห์ที ถ่ายทีก็มี ถ่ายสัปดาห์ละครั้งก็มาก สองสัปดาห์ถ่ายครั้งนั้น มีน้อย แต่สมัยนี้อาการเหล่านี้ชักจะมากขึ้นทุกที

แต่การจะตัดสินว่า คุณไม่ถ่ายทุกวัน คุณเป็นโรคท้องผูก ก็คงไม่ใช่ นายแพทย์มาร์วิน ชูสเตอร์ ศาสตราจารย์ผู้เชี่ยวชาญ ด้านโรคระบบย่อย กล่าวไว้ว่า คนที่เป็นโรคท้องผูกนั้นต้องดู ที่สภาพร่างกายของแต่ละคน บางคนถ่ายวันละสามครั้งก็ถือว่าปกติ หรือบางคนถ่ายสามวันครั้งก็ถือว่าปกติเช่นกัน

ให้ดูว่า สภาพร่างกายแข็งแรงตามปกติ และชีวิตประจำวัน เป็นไปตามปกติหรือไม่ ถ่ายวันละครั้งก็ดีแล้ว แต่บางคนที่ถ่าย สามวันครั้ง อาจจะมีระบบย่อยซึ่งทำงานยาก อาจจะช้าหน่อย แต่ ถ้าถ่ายสามวันครั้งเป็นประจำ และเวลาถ่ายก็ถ่ายได้หมดท้องนั้น ก็ถือว่าปกติเช่นกัน แต่ถ้าเกินกว่าสามวันขึ้นไป ถือว่ามีอาการท้องผูก

แต่สำหรับบางคนเป็นโรคท้องผูกที่เกิดจากพฤติกรรม คือ การไม่สนใจว่าคุณควรจะถ่ายทุกวัน หรือขี้เกียจเข้าห้องน้ำ เมื่อ ไม่ถ่ายก็นิยมกินยาถ่าย ซึ่งจะทำให้เกิดอาการติดยาตามมา

นอกจากนี้อาการท้องผูกที่เกิดจากพฤติกรรมไม่ถ่ายให้เป็นปกติ ทุกวันนั้นมีดังนี้

  1. มีอาการปวดหัว เวียนหัว ตัวร้อน เป็นประจำ รวมถึง อาการเกี่ยวกับท้องและอาการจากอาหารไม่ย่อย คือ ท้องอืด ท้องเฟ้อด้วย
  2. ถ้ามีอาการผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนจะทำให้มีอาการ ท้องผูกมากขึ้น
  3. ถ้าท้องผูกขนาดที่เวลาถ่ายมีเลือดปนออกมาด้วย ให้ระวัง มาก ๆ อาจเสี่ยงเป็นโรคริดสีดวงทวารหรือมะเร็งลำไส้
  4. มีสิวหรือการอักเสบบนใบหน้า เป็นแผลหรือฝีหัวเล็กๆ
  5. กลิ่นตัวแรงและกลิ่นผายลมเหม็นมาก
ผักที่มีใยอาหารสูง, โรคระบบทางเดินอาหาร, ท้องผูก, ป้องกันอาการท้องผูก, โรคท้องผูก
กินผักที่มีใยอาหารสูง ดีต่อระบบขับถ่าย ป้องกันอาการท้องผูก

HOW TO TREAT

สำหรับวิธีเยียวยาและป้องกันอาการท้องผูก อาจารย์สาทิส แนะนำไว้ว่า

  1. กินอาหารที่มีใยอาหารสูง เช่น ผัก ผลไม้ ผักไม่ควรเลือก ชนิดที่กรอบๆ เช่น ผักกาดแก้ว ผักกาดหอม ผักกาดขาว เขียว เหล่านี้ มีรสชาติอร่อย แต่ขาดใยอาหาร แนะนำให้กินผักที่มี ใยอาหารสูง เช่น บุ้ง คะน้า บรอกโคลี กะหล่ำปลี ตำลึง หัวปลี สะเดา ขี้เหล็ก ดอกแค

นอกจากนี้ควรกินพืชประเภทที่มีเมือกหรือชนิดที่ช่วยหล่อลื่น เช่น กระเจี๊ยบแดง กระเจี๊ยบเขียว ลูกสลิดอ่อน ฟักทอง ลูกแตงโมอ่อน มันเทศ มันฝรั่ง อาหารที่มีใยอาหารสูงจะเป็นตัวช่วย ให้กากอาหารในลำไส้ใหญ่เคลื่อนที่ไปได้ อาหารประเภทหล่อลื่นก็จะ ช่วยให้การเคลื่อนไหวในลำไส้ดีขึ้น อุจจาระถูกขับออกไปได้สะดวกขึ้น

  1. ดื่มน้ำให้พอดี แนะนำว่า ให้ดื่มน้ำวันละประมาณ 4 – 6 แก้ว หรือวันละ 1 – 2 ลิตร แต่อย่าดื่มพรวดเดียวหมด ควรแบ่งปริมาณให้ เป็นส่วนๆ เท่าๆ กัน ที่สำคัญที่สุด อย่ากินข้าวคำน้ำคำ เพราะน้ำนั้น จะไปละลายน้ำย่อยของเราให้เจือจางทำให้อาหารย่อยไม่หมด จนอาจ ตกค้างในท้องกลายเป็นพิษหรือท็อกซิน ส่งผลให้มีอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ท้องขึ้น ท้องเสีย หรือท้องผูกโดยใช่เหตุ
  2. ออกกำลังกาย บางคนกินเสร็จแล้วนอน จะเห็นได้ว่าเนื้อตัว เหลวไปหมด ไม่มีกล้ามเลย เราจึงควรออกกำลังกายทุกวัน
  3. ผ่อนคลายความเครียด มีคำพูดที่ว่า “อะไรที่เข้าหัว มักจะ ลงที่ท้อง” อะไรที่เข้าหัว หมายถึง อารมณ์ที่เราโกรธ เกลียด เสียใจ ดีใจ สุข ทุกข์ เหล่านี้สิ่งที่เข้าหัวเรา เมื่อเข้าหัวไปลงที่ ท้อง หมายถึงอารมณ์ความรู้สึกต่างๆ โดยเฉพาะด้านลบ มักจะมีผล ให้เกิดปฏิกิริยาในช่องท้องของเรา เราอาจจะรู้สึกเบื่ออาหาร กินข้าว ไม่ลง ฉะนั้น ถ้าเครียดจะเกิดอาการท้องผูกแน่นอน จึงต้องหาวิธีผ่อนคลายความเครียดล

 

 

 

<< อ่านต่อหน้าที่ 3 >>

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.