แรงบันดาลใจ
เสริมสร้าง แรงบันดาลใจ ด้วยประสบการณ์ตรงของคนดัง และเรื่องดี ๆ ในกระแส เพื่อให้มีพลังในการใช้ชีวิต พิชิตเป้าหมายที่ต้องการ
ก่อนที่ความตายจะมาพราก…
ตอนเด็กๆ ฉันเคยคิดว่า ถ้าแม่เป็นอะไรไปฉันคงต้องตายตาม… อาจเป็นเพราะฉันผูกพันกับแม่มาก ต่อมาเมื่อแม่ล้มป่วยด้วยโรคที่รักษาไม่ได้ ฉันก็รู้สึกทุกข์ทรมานใจ จนทุกครั้งที่แม่เข้าโรงพยาบาล ฉันจะต้องบนบานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อขอต่ออายุให้แม่ทุกครั้ง ความในใจของลูก …แต่มาวันนี้ ฉันกลับไม่ต้องการยื้อยุดหรือร้องขอชีวิตแม่กับใครอีกต่อไป เพราะฉันคิดว่า การที่จะฉุดรั้งใครไว้เพื่อความสุขของเรามันเป็นความเห็นแก่ตัวมากกว่า ในขณะที่คนคนนั้นอยู่ในความทุกข์ทรมานมาโดยตลอด ฉันรู้ว่าเวลาของแม่เหลือน้อยลงทุกที ฉันจึงอยากใช้วันคืนกับแม่ให้คุ้มค่าที่สุด…ฉันได้พาแม่มาอยู่ด้วยกันที่บ้าน ทุกเช้าก่อนไปทำงานฉันมีเวลาเพียงแค่ทักทายแม่ แต่ทุกเย็นฉันก็จะชดเชยด้วยการป้อนข้าวหรือแปรงฟันให้แม่ ในขณะที่ทุกวันหยุดก็จะได้ป้อนเกือบทุกมื้อ แถมด้วยการอ่านหนังสือให้ฟังตอนกลางวัน อาบน้ำแต่งตัว และพาไปนั่งรถเข็นดูดอกไม้ตอนเย็น…แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ทุกคืนฉันจะนำแม่สวดมนต์และทำสมาธิก่อนนอน ฉันดีใจที่ได้มีโอกาสทำอะไรหลายๆ อย่างเหมือนที่แม่ทำให้ฉันตอนเด็กๆ มันทำให้ฉันรู้ว่า แม่เลี้ยงลูกทุกคนมาด้วยความรัก ความเอาใจใส่ และความอดทนขนาดไหน ก่อนนอนฉันจะพูดกับแม่เสมอว่า “แม่หลับให้สบายนะคะ ไม่ต้องนึกถึงอะไรนอกจากลมหายใจเข้า – ออกและความดีทั้งหลายที่แม่ได้ทำมาตลอดชีวิต…อย่าไปสนใจร่างกายนี้ เพราะมันถึงเวลาที่ต้องเสื่อมโทรมแล้ว ใครๆ ก็ต้องแก่ เจ็บ และตาย…แต่ถ้าแม่ทำใจให้มีความสุข แม่จะได้ไปสวรรค์นะ ไม่ต้องห่วงใครทั้งนั้น แม่แค่ไปรออยู่ที่นั่น แล้วเราก็จะได้พบกันอีก หรือถ้าแม่ทำใจให้ว่างเปล่า แม่อาจไม่ต้องเกิดอีกเลยก็ได้นะคะ” พูดจบฉันก็จะเปิดเทปเพลงธรรมะให้แม่ฟัง ความในใจของลูก ฉันไม่คิดว่าการพูดถึงความตายเป็นสิ่งอัปมงคล แต่ตรงกันข้าม เราควรให้ผู้ที่กำลังจะพบกับมันได้เตรียมตัวเตรียมใจและรับรู้ว่า ความตายไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด มันเป็นเพียงการเปลี่ยนสถานะเท่านั้น…ถึงแม้ส่วนใหญ่แม่จะหลับไปก่อนด้วยความอ่อนเพลีย แต่ฉันก็ดีใจที่ใบหน้าแม่ระบายไปด้วยความสงบสุข มันทำให้ฉันเชื่อว่า ถ้าแม่จากไปในวันนั้น […]
นิพา เดชมา เศรษฐินีร้อยล้าน “ฉันมีความจนเป็นแรงบันดาลใจ”
เรื่องราวต่อไปนี้ถ่ายทอดจากชีวิตจริงของหญิงแกร่งร่างเล็กที่ชื่อ นิพา เดชมา หรือ คุณปุ๋ยอดีตลูกชาวนาผู้ไม่เคยยอมแพ้ต่อชะตาชีวิต
มหัศจรรย์แห่งความกตัญญู
ฉันชอบคํากล่าวที่ว่า “Be wise enough not to trust in miracles but be foolish enough to believe in one.” หรือ “จงฉลาดพอที่จะไม่งมงายในความมหัศจรรย์แต่จงโง่เขลาพอที่จะเชื่อว่ามันมีอยู่จริง” เพราะการที่คนเรามีความเชื่อในอะไรที่อยู่เหนือธรรมชาติ หรือพิสูจน์ไม่ได้ด้วยวิธีทางวิทยาศาสตร์ ก็ทําให้เรามีความหวังว่าจะมีอะไรที่แปลกประหลาดหรือมหัศจรรย์เกิดขึ้นกับเราได้ โดยเฉพาะเมื่อเรากําลังตกอยู่ในความทุกข์หรือหมดหวังในชีวิต ความกตัญญู ฉันเองเคยอยู่ในภาวะนั้น เมื่อแม่ซึ่งมีสุขภาพแข็งแรงต้องประสบอุบัติเหตุรุนแรงจนกลายเป็นอัมพาตทั้งตัวภายในชั่วข้ามคืน ฉันพยายามทําทุกวิถีทางที่จะไม่ให้แม่ต้องพิการไม่ว่าจะเป็นด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือไสยศาสตร์ ฉันไม่เคยยอมจํานนต่อคําตัดสินของหมอคนไหน และคิดเสมอว่าต้องมีทางอื่นที่เป็นไปได้ ฉันจึงพาแม่ไปรักษาทุกโรงพยาบาลที่ใครบอกว่ามีหมอเก่งทั้งในและต่างประเทศ ขณะเดียวกันก็ทําบุญสะเดาะเคราะห์และอธิษฐานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั่วทุกหัวระแหง…แต่ปาฏิหาริย์ก็ไม่มีจริงสําหรับแม่ ฉันจึงได้แต่คิดว่าคงเป็นกรรมเก่าที่แม่ทําไว้ชาติที่แล้ว เพราะชาตินี้แม่เป็นคนที่ดีที่สุดในสายตาของทุกคน ถึงแม้จะหมดหวัง แต่ฉันก็ไม่เคยท้อแท้ที่จะดูแลแม่และทําชีวิตที่เหลืออยู่ของแม่ให้มีคุณภาพที่สุด เพราะแม่ยังสมองดีและรับรู้ทุกอย่าง ระยะแรกฉันไปหาแม่ทุกวันที่ทําได้ ไม่ว่าแม่จะต้องไปรักษาตัวอยู่ไกลแค่ไหน บางครั้งฉันต้องขับรถไปถึงต่างจังหวัดเพื่อดูแลแม่ แล้วก็กลับมาเยี่ยมพ่อที่อีกโรงพยาบาลหนึ่ง ในช่วงที่พ่อล้มเจ็บเพราะไปอยู่เป็นเพื่อนแม่ ฉันต้องทําทุกอย่างคนเดียว เนื่องจากตอนนั้นน้องคนหนึ่งอยู่ต่างจังหวัดและอีกคนอยู่ต่างประเทศ บางวันฉันเหนื่อยจนต้องร้องไห้ขณะขับรถ เพราะไม่อยากให้พ่อแม่เห็นฉันอ่อนแอ แต่ก็ไม่เคยนึกเบึ่อที่จะทําสิ่งเหล่านี้ ตรงกันข้าม ฉันภูมิใจและมีความสุขที่ได้ดูแลคนที่ฉันรักและรักฉันมากที่สุด น่าเสียดายที่พ่อมาด่วนจากฉันเร็วเกินไป ฉันเสียใจอย่างบอกไม่ถูกเมื่อคิดว่าควรจะได้ตอบแทนพระคุณท่านมากกว่านี้ ฉันตั้งใจไว้ว่าจะไม่ให้ตัวเองต้องรู้สึกผิดที่ไม่ได้ทําอะไรจนสุดความสามารถอีก เมื่อแม่ออกจากโรงพยาบาล ฉันจึงดูแลเอาใจใส่ท่านอย่างดีที่สุดเท่าที่จะทําได้ พาท่านไปทุกหนทุกแห่งเพื่อให้ท่านคลายทุกข์ ถึงแม้บางแห่งจะลําบากมากสําหรับคนพิการ […]
โตโน่ – ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ร็อคเกอร์หัวใจรักษ์โลก
โตโน่ – ภาคิน คำวิลัยศักดิ์ ร็อคเกอร์หัวใจรักษ์โลก ไม่มีใครไม่รู้จัก โตโน่ หนุ่มหน้ามนที่แจ้งเกิดจากเวทีเดอะสตาร์ ปีที่ 6 เมื่อ พ.ศ. 2553 และจดจำได้ไม่รู้เลือนจากละครเรื่องเรือนแพในบทของแก้ว และบทเสือเล้งจากละครเรื่องเพชฌฆาตดาวโจร จนวันนี้ ร็อคเกอร์หนุ่ม โตโน่ – ภาคิน นอกจากจะเป็นนักร้องและนักแสดงมากฝีมือแล้ว ตอนนี้หัวใจของเขากำลังเป็นสีเขียว เพราะอะไรตามมาดูกัน จากข่าวคราวที่ทราบกันดีว่า ร็อคเกอร์หนุ่มจากบ้านเดอะสตาร์ ประกาศบนอินสตาแกรมส่วนตัวเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2562 ว่า ” ถึงเวลาหรือยัง…ที่เราจะใส่ใจมลพิษทางอากาศ ทางบก ทางน้ำ กันอย่างจริงจัง โดยเฉพาะในกรุงเทพมหานคร ผมขอเริ่มที่ตัวผมเองแล้วกันนะครับ ผมจะตระเวนเก็บขยะในกรุงเทพฯ ในวันที่ผมว่าง วันละ 3-5 ชั่วโมง เริ่มจากวันพรุ่งนี้ ใครจะว่าผมบ้าก็ไม่เป็นไร ผมอึดอัดใจที่ต้องเห็นสิ่งที่แผ่นดินไทยกำลังเผชิญอยู่ ใครอยากเก็บ อยากช่วยผมขอบคุณมาก ดูแลตัวเองกันด้วยนะครับคนไทย ผมขอใช้ชื่อสิ่งที่เราจะทำชื่อว่า โครงการเก็บรักษ์ #มลพิษทางอากาศ #ฝุ่นPM2.5 #เริ่มเลยแล้วกันครับ #เก็บรักษ์ จาก คนไทยคนหนึ่ง […]
เหตุผลที่เราทุกคนควรมี “ คนข้างๆ ”
แทบทุกคนต้องเคยผ่านช่วงเวลาที่รู้สึกอ่อนล้า สิ้นหวังในการทำสิ่งใดๆ มาบ้าง เมื่อถึงช่วงเวลานั้นเราแทบทุกคนต่างต้องการกำลังใจจาก คนข้างๆ
ความงามในแบบของ ออเดรย์ เฮปเบิร์น
หากปรารถนาจะมีริมฝีปากที่ดึงดูดใจ จงกล่าวถ้อยคำอันเปี่ยมด้วยเมตตา ออเดรย์ เฮปเบิร์น หากปรารถนาจะมีดวงตาอันงดงาม จงมองเห็นความดีในตัวผู้อื่น หากปรารถนาจะมีรูปร่างอันงามระหง จงเอื้อเฟื้อแบ่งปันอาหารแก่ผู้หิวโหย หากปรารถนาเส้นผมงามสลวย จงปล่อยให้เด็กน้อยลูบไล้เส้นผมของคุณวันละครั้ง… นี่เป็นบางส่วนจากบทกวี Time Tested Beauty Tips (เคล็ดลับความงามอย่างยั่งยืน) ของ แซม เลอเวนสัน ที่ ออเดรย์ เฮปเบิร์น อดีตเจ้าหญิงแห่งฮอลลีวู้ด ต้นแบบความงามอย่างอ่อนเยาว์แห่งยุคทศวรรษ 1950 มักยกมาสอนลูกๆ และเตือนใจสาวๆ ไม่ให้ยึดติดกับรูปลักษณ์ภายนอกที่มีแต่จะร่วงโรยตามกาลเวลา เพราะความงามอันแท้จริงควรสะท้อนมาจากจิตวิญญาณภายในอันเปี่ยมด้วยความรัก การให ้ และการแบ่งปัน หลายคนอาจจดจำอดีตดาราสาวเอวบางร่างน้อยผู้นี้ในฐานะหนึ่งในสตรีที่สวยที่สุดในโลกตลอดกาล แต่ใครจะรู้ว่าตัวจริงของเธอนิยมใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายก็เน้นที่สวมสบายไม่เป็นทางการ ชอบใช้ชีวิตอย่างสงบกับครอบครัวในบ้านหลังเล็กๆ มากกว่าในคฤหาสน์ ชอบเลี้ยงสัตว์และอยู่ใกล้ชิดธรรมชาติ เฮปเบิร์นผู้ไม่เคยมองว่าตัวเองมีเสน่ห์ดึงดูดใจเคยให้สัมภาษณ์ว่า ”ใครๆ ก็มีรูปลักษณ์อย่างฉันได้ แค่ตัดผมสั้น สวมแว่นกันแดดอันใหญ่และชุดกระโปรงแขนกุดตัวเล็กๆ” เจ้าของรางวัลออสการ์ สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จาก Roman Holiday (1953) ผู้นี้เป็นคนร่าเริง ขี้เล่น […]
” ดั่งกันและกัน ” บทความดี ๆ สื่อถึงความประทับใจของผู้ป่วยจาก นายแพทย์ชวโรจน์ เกียรติกำพล
เมื่อเธอคิดถึงคนที่รักเธอลองมองดูที่มือของเธอสิ แล้วเธอจะเห็นเขาอยู่กับเธอตลอดเวลา แม้ว่าวันนี้จะมีเขาอยู่ด้วยหรือไม่ก็ตาม เพราะเธอและเขาเป็น ดั่งกันและกัน
เกรซ – พัชร์สิตา อธิอนันตศักดิ์ เป็นจิตอาสาเพราะหัวใจเรียกร้อง
เกรซ – พัชร์สิตา อธิอนันตศักดิ์ เป็นจิตอาสาเพราะหัวใจเรียกร้อง เกรซ – พัชร์สิตา อธิอนันตศักดิ์ นักแสดงสาวลูกครึ่งไทย-อินเดียแห่งวิกหมอชิต กับผลงานล่าสุดในละครเรื่อง “หลงเงาจันทร์” เมื่อไม่นานมานี้ เกรซมีข่าวว่า ได้เข้าช่วยผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนน ทำให้เราได้รู้ว่าเธอเป็นจิตอาสาของมูลนิธิป่อเต็กตึ๊งอยู่ด้วย จุดเริ่มต้นของการเป็นนางเอกจิตอาสา ” เกรซสนใจงานจิตอาสาอยู่แล้ว เพราะมีความฝังใจมานานว่าอยากมีความรู้ในการช่วยเหลือผู้บาดเจ็บจากอุบัติเหตุได้อย่างถูกต้อง พอมาได้รู้จักกับพี่กุ้ง ซึ่งเป็นจิตอาสาประจำจุดพื้นที่ สน.ลุมพินี ตรงลานพระบรมรูป รัชกาลที่ 6 จึงเข้ามาสู่การเป็นจิตอาสา เกรซเริ่มงานจิตอาสาครั้งแรกคือ งานพระบรมศพ ในหลวง รัชกาลที่ 9 เรามีหน้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่เดินทางมาร่วมงานกราบพระบรมศพ ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็รู้สึกชื่นชอบงานจิตอาสามากขึ้น เราเลือกเข้าอบรม EMR (หลักสูตรสำหรับเจ้าหน้าที่และอาสาสมัครกู้ชีพ ซึ่งอนาคตจะบังคับให้จิตอาสาจำเป็นต้องเรียน) แล้วนำความรู้จากการอบรมครั้งนี้มาใช้ สามารถช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุได้ในเบื้องต้น และยังเป็นการป้องกันการถูกเข้าใจผิดว่าเป็นจิตอาสาเถื่อน เพราะเราจะได้ใบรับรองจากการอบรมครั้งนี้ด้วย ทุกวันนี้เกรซจะพกกระเป๋ายาและชุดปฐมพยาบาลติดไว้ในรถเสมอ ” จิตวิญญาณและสัญชาตญาณของความเป็นจิตอาสา ” อย่างที่ทราบกันดีว่าเกรซมีข่าวช่วยเหลือคุณลุงที่ประสบอุบัติเหตุจากมอเตอร์ไซค์ชนกัน เหตุเกิดขึ้นที่ถนนบางนา-ตราด หลังจากถ่ายละครช่วงเช้าเสร็จก็ขับรถไปทำธุระที่เมกะบางนา ระหว่างทางมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น เราตัดสินใจจอดรถชิดข้างทาง แล้วลงไปช่วยผู้บาดเจ็บทันที […]
จากโบสถ์สู่สังคม อาจารย์ไลฟ์ – วาระ มีชูธน กูรูด้านความรัก
จากโบสถ์สู่สังคม อาจารย์ไลฟ์ – วาระ มีชูธน กูรูด้านความรัก Secret ชวนมารู้จักกับ อาจารย์ไลฟ์ – วาระ มีชูธน กูรูด้านความรัก ผู้ให้คำปรึกษาคู่รักในงาน Staying in Love ของบริษัทธุรกิจเพื่อสังคม LIFEiS ที่จัดขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ถึงแม้จะเป็นกูรูด้านความรัก แต่ชีวิตของเขาไม่ได้หวานแหวว และการผ่านพ้นวิกฤตที่เลวร้ายมาได้ในแต่ละครั้งคือ ความศรัทธา ทำไมถึงเป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านความรัก ” ก่อนหน้านี้ผมเป็นครูสอนที่โรงเรียนนานาชาติถึง 15 ปี เป็นอาจารย์พิเศษที่มหาวิทยาลัยมหิดล และอาชีพสุดท้ายของผมคือ ผู้บริหารโรงเรียนนานาชาติ ผมลาออกจากงานประจำมาเป็นศิษยาภิบาล เพื่อใช้เวลาทั้งหมดที่มีทุ่มเทให้กับงานศาสนา ผมมองย้อนกลับไปในตอนที่ผมกับภรรยากำลังจะแต่งงาน เราทั้งสองต้องเข้าอบรมเรื่องการครองคู่ก่อนที่จะเข้าพิธีแต่งงาน ซึ่งเป็นธรรมเนียมของคริสเตียน เพื่อให้คู่รักแน่ใจว่าจะครองรักกันในฐานะสามีและภรรยาได้ตลอดไป โดยมีผู้ให้คำปรึกษาตลอดการอบรมคือศิษยาภิบาล ตอนนั้นผมรู้สึกว่าเป็นอะไรที่มีคุณค่ามากสำหรับคู่รัก เป็นการตอกย้ำให้แน่ใจว่าเราทั้งสองจะครองรักร่วมกันอย่างมั่นคง และในวันนี้ผมได้มาเป็นศิษยาภิบาล ซึ่งต้องทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษาด้านความรักแก่คู่รัก และหน้าที่อื่นที่ต้องสนองงานศาสนา ซึ่งผมพยายามหนีหน้าที่นี้มาโดยตลอด แต่พระองค์ก็กำหนดผมไว้แล้วว่าผมต้องเป็นศิษยาภิบาล ” ทำไมถึงหนีการเป็นศิษยาภิบาล ” คุณพ่อคุณแม่ของผมเป็นศิษยาภิบาล ท่านจะเดินทางไปสอนหนังสือให้เด็ก ๆ ที่ยากไร้ในจังหวัดร้อยเอ็ด […]
“โชคดี” สร้างได้ …ไม่ต้องรอโชคชะตา
โชคดี สร้างได้ …ไม่ต้องรอโชคชะตา โชคดี สร้างได้ – ผู้คนส่วนใหญ่หากทำอะไรแล้วล้มเหลว ไม่ประสบความสำเร็จ ก็มักจะ “อ้าง” ว่าเป็นเพราะโชคชะตากำหนด ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว โชคจะดีหรือไม่ เราสามารถสร้างหรือกำหนดขึ้นได้ด้วยตัวเอง ศาสตราจารย์ริชาร์ด ไวส์แมน (RichardWiseman) แห่งสถาบันจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเฮิร์ตฟอร์ดเชียร์ (University of Hertfordshire) อังกฤษ ผู้ศึกษาวิจัยเรื่อง “ความโชคดี” มานับสิบปีได้ข้อสรุปว่า “ความโชคดีไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีลักษณะพิเศษ” คนลักษณะพิเศษที่พูดถึง ได้แก่ ผู้ที่มีทักษะในการสร้างโอกาสและมองเห็นโอกาส ผู้ที่ตัดสินใจอย่างชาญฉลาดโดยไม่ได้อาศัยแค่บรรทัดฐานของตนเองเพียงอย่างเดียว มีความคาดหวังในด้านบวก และมีทัศนคติที่ยืดหยุ่น นอกจากนั้นยังพบว่า ผู้คนที่อับโชคมักเป็นคนเคร่งเครียด มองโลกในแง่ร้าย ไม่กล้าเปิดใจรับสิ่งใหม่ ๆ สนใจแต่เรื่องเดิม ๆ สิ่งเหล่านี้เองที่ทำให้พวกเขามักจะพลาดโอกาสต่าง ๆ ไปอย่างน่าเสียดาย เมื่อศาสตราจารย์ริชาร์ดทดลองให้ผู้คนที่อับโชคเข้ารับการฝึกฝนคุณลักษณะต่าง ๆ ของคนที่โชคดีเป็นเวลาหนึ่งเดือน ผลการทดลองก็แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า อาสาสมัครกว่าร้อยละ 80 รู้สึกว่าตนเองเริ่มโชคดีมากขึ้น 10 อุปนิสัยแห่งความโชคดี ดักลาส มิลเลอร์ (Douglas Miller) นักเขียน นักพูด นักฝึกอบรม และโค้ชด้านอาชีพชื่อดัง เป็นอีกคนหนึ่งซึ่งเชื่อว่า โชคดีไม่ใช่แค่เรื่องบังเอิญ เขาเขียนหนังสือ “THE LUCK HABIT” ซึ่งระบุถึงปัจจัยแห่งความโชคดีไว้ดังนี้คือ 1 รู้จักตนเอง รู้ว่าอะไรที่สำคัญกับชีวิตบ้างเพื่อจะได้ทุ่มเทใช้ชีวิตไปให้ถูกทาง 2 มีเป้าหมาย ทั้งระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้เกิดแรงจูงใจและมีทิศทางในการใช้ชีวิตอย่างชัดเจน 3 กระตือรือร้น สดชื่นอยู่เสมอ ใส่ใจกับทุกสิ่งที่ทำ อยากรู้อยากเห็นสนใจเปิดรับเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆเสมอ 4 เชื่อมั่น “ทำได้” และ “จะทำ” การมีความรู้และทักษะต่าง ๆ แม้จะก่อให้เกิดความมั่นใจ แต่ยังไม่พอ ต้องสร้างแรงจูงใจว่า “อยากทำ” ด้วย เพราะความเชื่อมั่นและแรงจูงใจจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในชีวิต 5 อย่าขี้เกียจ ต้องทำงานหนัก การทำงานหนักหมายถึงหมั่น “ตรวจสอบ” ตัวเองอยู่เสมอว่ามีอะไรที่ต้องปรับปรุงหรือพัฒนา จากนั้นจึงฝึกฝนทักษะใหม่ ๆ นั้นให้เชี่ยวชาญ 6 อย่ากลัวอย่ากังวลกับสิ่งที่ยังไม่เกิด เพราะความกดดันอาจทำให้เกิดความผิดพลาดได้ คิดไว้เสมอว่า ทุกปัญหาสามารถแก้ไขได้โดยการจัดการอย่างมีสติและเป็นขั้นเป็นตอน 7 ล้มบ้างก็ได้ แพ้บ้างก็ดี เรียนรู้จากความล้มเหลวหรือความพ่ายแพ้เพื่อไม่ให้เกิดซ้ำอีก 8 เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็น ให้คิดว่าทั้งคำชมและคำวิจารณ์ ถือเป็น “ของขวัญ” และ “โอกาส” ในการพัฒนาตนเอง 9 สัมพันธภาพเป็นสิ่งสำคัญ ไม่ใช่แค่หมั่น “สร้าง” ให้เพิ่มขึ้น แต่ต้องหมั่น“รักษา” สิ่งที่มีอยู่ไม่ให้ขาดหาย ยิ่งคุณรู้จักผู้คนมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งเป็นประโยชน์มากเท่านั้น 10 มองเห็นโอกาส ไม่รอให้โอกาสมาหา แต่ขวนขวายสร้างโอกาสให้ตัวเอง ขณะเดียวกันต้องเตรียมความพร้อมในด้านต่าง ๆ อยู่เสมอ เช่นพัฒนาความรู้ความสามารถและทักษะเพื่อสร้างโอกาสนั้นให้เป็นจริง อย่าสร้างอุปสรรคปลอม ๆ มาบั่นทอนความมั่นใจของตนเอง เช่น ฉันทำไม่ได้หรอก ฉันไม่เก่ง “คนที่มีอุปนิสัยแห่งความโชคดีจะให้ความสำคัญกับการสร้างความโชคดีเสมอ และไม่ปล่อยให้โอกาสหลุดลอย ไปโดยไม่ได้ทำอะไรเลยอย่างแน่นอน ” เรื่องจาก : นิตยสาร Secret […]
บทความให้กำลังใจ “ป่วยกายแต่ใจไม่ป่วย” เรื่องเล่าของผู้ป่วยระยะสุดท้าย
บทความให้กำลังใจ ต่อไปนี้ เป็นเรื่องของความงดงามและเข้มแข็งของจิตใจมนุษย์ที่ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค ในที่นี้คือความเจ็บป่วยทั้งหลาย
อ้วน เด่นคุณ จากเด็กขี้แยสู่พระเอกละคร
ใครจะคิดว่าเด็กขี้แยที่เอาแต่ร้องไห้เวลาถูกเพื่อนแกล้งจะกลายมาเป็นพระเอกละครในวันนี้ อ้วน เด่นคุณ ผมเกิดที่จังหวัดอุบลราชธานี ตั้งแต่เด็ก ๆ ผมไม่ชอบเดินตามใคร ไม่ชอบทำตามเพื่อน ซึ่งพอไม่ทำตามเพื่อน นอกจากจะไม่มีใครคบแล้ว เพื่อน ๆ ยังรวมหัวแกล้งผมตลอด อย่างตอนพักเที่ยง ผมตักข้าวใส่ถาดเสร็จ เพื่อนเอาดินสอหลาย ๆ แท่งมาปักในข้าวผมแล้วร้องเพลงแฮ็ปปี้เบิร์ธเดย์ ข้าวก็เลอะคราบดินสอ กินไม่ได้ ผมทำอะไรไม่ได้นอกจากนั่งร้องไห้อยู่คนเดียว บางครั้งเพื่อนก็เอาถาดใส่ข้าวมายัดใส่กระเป๋าผมตอนเผลอ คือหาเรื่องแกล้งได้ไม่เว้นแต่ละวัน ผมร้องไห้กลับบ้านทุกวัน ผมโกรธนะที่เพื่อนแกล้ง แต่ไม่กล้าตอบโต้เพราะไม่มีพวกเหมือนคนอื่น พอขึ้นมัธยมปลาย ผมไม่อยากถูกแกล้งอีก จึงเริ่มทำตัวกลมกลืนกับเพื่อน เริ่มเลียนแบบเพื่อน จนถึงขั้นเสเพล มีเรื่องท้าตีท้าต่อยไม่เว้นแต่ละวัน แต่ไม่ว่าจะเกเรขนาดไหน ผมก็มีความฝัน นั่นคือการเป็นนักดนตรี ผมเดินตามความฝันก้าวแรกโดยการเป็นนักดนตรีวงโยธวาทิตของโรงเรียน ทุกวันที่ผมเดินเข้าโรงเรียน ผมจะไหว้ศาลหน้าโรงเรียนแล้วขอพรว่า “สาธุ ขอให้ผมได้เป็นนักดนตรีดัง ๆ ด้วยเถิด” เวลานั้นเรื่องการเป็นดาราไม่อยู่ในความคิดของผมเลยแม้แต่น้อย มันคือสิ่งที่ห่างไกลกับเด็กต่างจังหวัดมาก เวลาผมดูโทรทัศน์ ผู้หญิงคนนั้นสวยมาก ชอบมากแต่ไม่เคยคิดว่าเราจะไปยืนในจุดนั้น แต่แล้วสิ่งที่เหนือความคาดหมายก็เกิดขึ้น วันนั้นภาพยนตร์เรื่อง ฮักนะ สารคาม มาเปิดรับนักแสดงที่โรงเรียน โดยแต่ละห้องต้องส่งตัวแทนเพื่อไปคัดเลือกนักแสดง ผมไม่ได้สนใจเพราะไม่ใช่ทางของผม แต่หัวหน้าห้องส่งชื่อผมไปโดยไม่บอกก่อน พอถึงวันทดสอบการแสดง ซึ่งตรงกับวันเสาร์ ปกติแล้วทุกวันเสาร์ผมจะสอนดนตรีน้อง ๆ ที่บ้าน เพราะแม่ไม่ให้ออกจากบ้านไปไหน แต่ครั้งนี้หัวหน้าห้องมัดมือชก โทร.บอกแม่ว่ามีสอบภาษาไทย แล้วมาบอกผมว่าให้ไปเป็นหน้าเป็นตาให้เพื่อนในห้องหน่อย ผมจึงตกกระไดพลอยโจนต้องไปทดสอบการแสดงในที่สุด เมื่อไปถึงที่ทดสอบการแสดง คนอื่นแต่งตัวกันมาดีมาก แต่ผมไม่คิดจะทำงานเส้นทางสายนี้อยู่แล้วจึงใส่เสื้อผ้าสไตล์ตัวเอง เสื้อขาด ๆ กางเกงยีนตัดขา ไม่น่าเชื่อว่าผมผ่านการคัดเลือกและได้เป็นหนึ่งในนักแสดงภาพยนตร์เรื่องนั้น เพราะทีมงานต้องการคาแร็คเตอร์จน ๆ นั่นคือจุดเริ่มต้นที่ทำให้ชีวิตของผมเปลี่ยนไป เมื่อเริ่มเข้าวงการบันเทิง ชีวิตไม่ได้สวยงามอย่างที่คิด ผมต้องหยุดเรียนไปถ่ายภาพยนตร์ พอกลับมาเรียน สอบตกเกือบทุกวิชา ตอนนั้นเรียน ม.6 แล้ว โชคดีที่โรงเรียนมีระยะเวลาให้นักเรียนสอบซ่อม ผมกลับมาดูหนังสืออย่างหนักจนสอบผ่านทุกวิชาและจบพร้อมเพื่อนในที่สุด เมื่อเข้ามาเรียนในกรุงเทพฯ ทำงานในวงการเต็มตัว จากเด็กที่ไม่มีความรับผิดชอบก็รับผิดชอบมากขึ้น แม้การได้เป็นนักแสดงจะเป็นเรื่องเหนือความคาดหมาย แต่เมื่อได้โอกาสแล้วก็ต้องตั้งใจทำงานอย่างเต็มที่ สิ่งที่ผมยึดเป็นหลักในการทำงานมาตลอดคือสติ ต้องมีสติติดตัวอยู่เสมอ เพราะถ้ามีสติ เราจะไม่ทำเรื่องที่ไม่ควรทำ หรือสิ่งใดที่เคยทำแล้วไม่ดี เราก็ไม่ทำอีก ผมเชื่อว่าหากมีสติ ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไร เราก็สามารถผ่านมันไปได้ครับ Secret BOX ไม่มีคำพูดใครชี้ชะตาเราได้เท่าเราลงมือทำด้วยตัวเอง เพราะสุดท้ายแล้ววันหนึ่งถ้าเราทำดีหรือทำชั่ว มันก็มาจากการตัดสินใจของเรา โทษคนอื่นไม่ได้ อ้วน – เด่นคุณ งามเนตร ที่มา นิตยสาร Secret ฉบับที่ 183 เรื่อง เด่นคุณ งามเนตร เรียบเรียง อุรัชษฎา ขุนขำ ภาพ ฝ่ายภาพ อมรินทร์พริ้นติ้งฯ Secret Magazine (Thailand) IG @Secretmagazine
วิธีบำบัดโรคที่ผู้ให้และผู้รับได้บุญร่วมกัน ปูเป้-อรปวีณ เมืองเกษม
วิธีบำบัดโรคที่ผู้ให้และผู้รับได้บุญร่วมกัน ปูเป้–อรปวีณ เมืองเกษม ปูเป้-อรปวีณ เมืองเกษม เป็นผู้ป่วยโรคลมชักและเคยเข้ารับการผ่าตัดสมองตอนอายุ 18 ปี จึงมีอาการป่วยทางจิตเวช แต่โชคดีที่ไม่รุนแรง ปูเป้รักษาอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี หลังจากนั้นพักฟื้นโดยการฝากเลี้ยงในสถานที่ดูแลต่าง ๆ ปัจจุบันย้ายมาอยู่ที่ศูนย์พัฒนพงศ์ เนอร์สซิ่งโฮม ซึ่งเป็นศูนย์ดูแลผู้สูงอายุและผู้ป่วยพักฟื้นของอาจารย์บุษยา พัฒนพงศ์ เธอเล่าให้ฟังว่า “ หลังจากผ่าตัดสมองมา การบำบัดอาการของปูเป้ต้องอาศัยกิจกรรมที่ทำให้เกิดสมาธิ เมื่อปูเป้บำบัดอาการด้วยการถักผ้าพันคอซึ่งเรียนรู้มาจากคุณแม่ ปูเป้จำได้ว่าผ้าพันคอผืนแรกที่ปูเป้ตั้งใจถักเป็นผืนสีขาว-เหลือง ถักเพื่อมอบเป็นของขวัญให้กับจิตแพทย์ที่ดูแลเราตอนรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลรามาธิบดี คือ รศ.นพ.ศิริไชย หงษ์สงวนศรี เพราะท่านเคยช่วยเหลือชีวิตเราเอาไว้ ปูเป้จึงอยากตอบแทนพระคุณ “ หลังจากนั้นก็ย้ายไปพักฟื้นอยู่หลายแห่ง แต่ยังรักษาที่โรงพยาบาลรามาธิบดีอยู่ เพราะยังต้องรักษาโรคลมชักให้หายขาด ทำให้ห่างหายจากการถักผ้าพันคอไป จนกระทั่งที่บ้านย้ายปูเป้มาพักที่ศูนย์พัฒนพงศ์ เนอร์สซิ่งโฮม เราจึงได้มีโอกาสกลับมาถักผ้าพันคออีกครั้ง ปูเป้ดีใจมากเพราะมีความสุขทุกครั้งที่ถัก ทำให้ปูเป้มีสมาธิ และไม่เครียด อีกอย่างนอกจากการถักผ้าพันคอ ปูเป้ก็จะสวดมนต์และนั่งสมาธิ ซึ่งพี่จ๋า ลูกสาวของคุณยายที่พักอยู่ในศูนย์นี้เป็นคนสอน พี่จ๋าให้ปูเป้กำหนดลมหายใจเข้า-ออก และคอยสังเกตสภาพอารมณ์บ้างในบางครั้ง “ ระหว่างที่ปูเป้พักอยู่ที่นี่ได้ช่วยเหลือพี่ ๆ พยาบาลดูแลผู้สูงอายุ อาบน้ำ วัดความดัน และทำกิจกรรมบำบัด พูดคุยกับคุณตา-คุณยาย เราเป็นเด็กคนเดียวในศูนย์แห่งนี้ […]
ผู้ป่วยแห่งเมืองเบอร์ลิน ผู้เปลี่ยน “โรค” ให้เป็น “โชค”
“ทิโมธี เรย์ บราวน์” ผู้ป่วยแห่งเมืองเบอร์ลิน ผู้เปลี่ยน “โรค” ให้เป็น “โชค” ในปี พ.ศ. 2538 ชายชาวอเมริกันผู้หนึ่งทราบผลการตรวจว่าตัวเองติดเชื้อไวรัสเอชไอวี
อายุไม่ได้เป็นเพียงตัวเลข บทความชวนคิดจาก นายแพทย์ชวโรจน์ เกียรติกำพล
สิ่งที่สำคัญกว่าคือ อายุ ที่ไม่เป็นเพียงตัวเลขคืออายุที่หมายถึงพลังชีวิตนั่นเองครับ การมีพลังชีวิตสูง คือมีความต้องการที่จะมีชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
“ฉันดี ฉันเก่ง ฉันดัง ฉันรวย” แต่ทำไมฉันไม่มีความสุข น้ำผึ้ง - ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
น้ำผึ้ง เริ่มทำงานในวงการบันเทิงตั้งแต่อายุ 14 - 15 พออายุ 17 ก็ได้เป็นนางเอกละคร และเพียงแค่เรื่องแรกเท่านั้น ชื่อของน้ำผึ้งก็ขึ้นแท่นนางเอกเบอร์ต้นๆ ของวงการ…ชีวิตเปลี่ยนทันที!
ดนตรีสร้างชีวิต สงกรานต์-รังสรรค์ ปัญญาเรือน
ผมเกิดและเติบโตที่จังหวัดลำปาง พ่อแม่แยกทางกันตอนผมอยู่ ป.1 ในวัยเด็กผมเป็นเพียงเด็กเกเรคนหนึ่งที่มีใจรักการเล่นกีตาร์เท่านั้น รังสรรค์ ปัญญาเรือน ผมเรียนอยู่ที่ลำปางจนถึง ม.5 แล้วย้ายมาอยู่กับน้าที่จังหวัดนครราชสีมา น้าของผมเปิดโรงเรียนสอนดนตรี ผมจึงได้ฝึกเล่นกีตาร์คลาสสิกอย่างจริงจัง โดยน้าคอยสอนคอยชี้แนะให้อย่างใกล้ชิด ผมฝึกซ้อมอย่างหนักจนสุดท้ายก็ฝีมือดีพอจะเป็นครูสอนกีตาร์คลาสสิกให้เด็ก ๆ ในโรงเรียนสอนดนตรีของน้าได้ ช่วงม.ปลาย ผมตั้งวงดนตรีกับเพื่อน เริ่มแกะเพลงไปจนถึงเขียนเพลงเอง แล้ววันหนึ่งผมกลับรู้สึกว่ากีตาร์คลาสสิกไม่ใช่ทางของผม แม้จะรู้สึกภูมิใจทุกครั้งที่เล่นเพลงใหม่ ๆ ได้ แต่ภายในใจกลับรู้สึกว่า “ทำไมเราเครียดจังวะ ทำไมเราเล่นแล้วไม่มีความสุขเลย” วันหนึ่งผมจึงบอกน้าว่าอยากไปเรียนกีตาร์บลูส์ น้าโมโหมาก เพราะเขาสอนกีตาร์คลาสสิกให้ผมมาตั้งแต่แรก จากนั้นเราก็ทะเลาะกันใหญ่โต จนผมออกจากบ้านน้ามาเช่าบ้านอยู่เอง เพียงเพราะคิดว่า “ไม่ว่าเส้นทางชีวิตข้างหน้าจะลำบากแค่ไหน เราก็ขอเลือกอนาคตและความสุขของตัวเอง” จากวันนั้นชีวิตของผมก็เริ่มจากศูนย์ ผมยังคงต้องเรียนเพื่อให้จบม.6 แต่ผมไม่มีเงินติดตัวเลย จึงต้องรับจ้างทำงานทุกอย่างเพื่อให้มีเงินพอกินพอใช้ ช่วงนั้นตอนกลางคืนผมเล่นกีตาร์ที่ร้านอาหารพอให้มีรายได้เลี้ยงตัวเอง หลังจากเรียนจบม.6 มาได้อย่างทุลักทุเล ผมก็เดินหน้าทำงานอย่างจริงจัง โดยหวังว่าสักวันจะต้องทำงานหาเลี้ยงแม่และยายให้ได้ ผมทำงานทุกอย่างตั้งแต่พนักงานขายรองเท้าในห้างสรรพสินค้า เด็กเสิร์ฟ เด็กจัดโต๊ะ ทำขนมรังผึ้งขาย ทอดลูกชิ้นขาย แล้วแต่โอกาสจะพาไป แต่งานหนึ่งที่ผมทำมาตลอดและไม่เคยทิ้งเลยคือ การเล่นดนตรี อยู่มาวันหนึ่ง ขณะที่ผมกำลังทอดลูกชิ้นขาย “มีน” เพื่อนสนิทของผมซึ่งเป็นหนึ่งในสมาชิกวงดนตรี […]
จอห์น พอล โจนส์ เดอโจเรีย จากคนไร้บ้านสู่มหาเศรษฐีพันล้าน
คนส่วนใหญ่เมื่อล้มเหลวมักรู้สึกท้อแท้ สิ้นหวัง ไร้กำลังใจ และละทิ้งความฝันไว้กลางทางแต่ไม่ใช่กัลเขาคนนี้ จอห์น พอล โจนส์ เดอโจเรีย