ธรรมะ
การนำ ธรรมะ คำสอนของพระพุทธเจ้า และข้อคิดของพระอาจารย์ชื่อดัง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเรื่องเกร็ดความรู้ด้านพระพุทธศาสนา
“คำสอนแก่ชาวพระนคร” ธรรมะเตือนสติจาก หลวงปู่หลุย จันทสาโร
“คำสอนแก่ชาวพระนคร” ธรรมะเตือนสติจาก หลวงปู่หลุย จันทสาโร ในอดีต สมัยที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ หลวงปู่หลุย จันทสาโร ได้มีโอกาสมาอบรมเทศนาญาติโยมชาวกรุงเทพฯหลายครั้ง ท่านจึงมีคำสอนที่เหมาะแก่ชาวกรุง เพื่อนำไปพิจารณาให้ตระหนักและแสวงหาธรรม เพียรขัดเกลาตนต่อไป ดังนี้ “ชาวจังหวัดพระนคร ใช้ชีวิตประจำวันเช่นไร ตื่นขึ้นมาแต่งตัวไปทำงานอย่างเฉิดฉาย ลุกลนทำงานแต่เช้าจรดเย็น เราคิดกันว่าเราก้าวหน้าในชีวิต มีเกียรติ มีคนนับหน้าถือตา ธุรกิจเจริญก้าวหน้า ต้องมีเลขานุการจดรายการนัดประชุม ใครจะมาพบต้องนัดหมายก่อน เพราะเราเป็นคนสำคัญ อาหารการกิน เลือกแต่ที่ประณีต หรูหรา ราคาแพงอวดกัน ภูมิใจกัน ว่าเราเก่ง เรารวยกว่า เรามีความสำคัญกว่า “คนจนอยู่ในพระนครไม่ได้ เพราะใช้เงินเปลืองมาก ไปไหน ๆ ก็ต้องขึ้นรถขึ้นรา อาหารการกินอย่างประณีต สุขุมมาก เขาถือการกินเป็นใหญ่ บุคคลที่สนใจทางธรรมะมีน้อยกว่าต่างจังหวัด ชอบใช้ไหวพริบไปทางโกงโดยมาก ซื่อตรงแต่บุคคลเป็นอุบาสกอุบาสิกา ผู้ที่รักใคร่ในศีลธรรม เป็นคนชอบแต่งตัวสะอาด ทั้งบ้านเรือนที่อยู่ ไม่เศร้าหมอง สะอาดงามมากในครัวเรือน” “คนกรุงเทพฯชอบเป็นหนี้สินกันโดยมาก ชอบแต่งตัวกันวันละหลายครั้ง เปลืองเครื่องสำอางต่าง ๆ เช่น น้ำอบน้ำหอม เครื่องย้อมเครื่องทา […]
ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี)
ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ธรรมะให้สติปัญญา โดย พระภาวนาเขมคุณ วิ. (หลวงพ่อสุรศักดิ์ เขมรังสี) ” ปฏิบัติธรรมอย่างไรไม่ให้ท้อใจ ” ที่ท้อใจ หงุดหงิดใจ ฟุ้งซ่านใจ กลุ้มใจในการปฏิบัติธรรม แสดงว่าวางใจไม่ถูก คือปฏิบัติด้วยอำนาจของตัณหา ( ความทะยานอยาก ) แสดงว่าทำด้วยความทะยานอยาก จะเอาให้ได้อย่างนั้น จะเอาให้ได้อย่างนี้ ทำไมไม่สงบ ทำไมไม่นิ่ง ทำไมฟุ้งซ่านอยู่ อยากจะหายฟุ้ง อย่างนี้คือการปฏิบัติธรรมที่มีตัณหาเข้าไปบงการ เพราะฉะนั้นแทนที่มันจะเบาใจ แทนที่มันจะสงบใจ มันก็กลับเพิ่มความวุ่นวายใจมากขึ้น อุปมาเหมือนคนที่จะดับไฟ ว่ากิเลสทั้งหลายเหล่านี้เปรียบเหมือนไฟ เวลาที่ไปดับไฟ ใช้อะไรดับ ก็ใช้น้ำดับใช่ไหม น้ำก็เปรียบเสมือนสติสัมปชัญญะเข้าไประลึกรู้ แต่นี่ไม่เอาน้ำอย่างเดียวไปดับ เผลอ ๆ เอาน้ำมันไปฉีด จะดับไฟ แต่ใส่ฟืน ไม่ได้เอาสติสัมปชัญญะ เข้าไประลึกรู้ด้วยความบริสุทธิ์ ใจของสติสัมปชัญญะ แต่เอาตัณหาเข้าไปด้วย เอาความทะยานอยาก เอาความอภิชฌา ความเพ่งเล็งจะเอาให้ได้ เอาโทมนัส ยินร้าย ไม่ชอบ ไม่เอา เกลียดใส่เข้าไปด้วย มันเหมือนกับเอาเชื้อเพลิงเข้าไปใส่ […]
” การปล่อยวาง ” ไม่ใช่การปล่อยปละละเลย โดย พระอาจารย์ชยสาโร
” การปล่อยวาง ” ไม่ใช่การปล่อยปละละเลย ธรรมเตือนสติ โดย พระอาจารย์ชยสาโร การปล่อยวาง ในทางพระพุทธศาสนา คือไม่ใช่การปล่อยปละละเลย ด้วยการปล่อยวางการกระทำในขณะที่เรากำลังทำสิ่งที่ควรทำ ต้องทำด้วยการปล่อยวาง เราก็ปล่อยวางกิเลส ปล่อยวางอัตตาตัวตนที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการทำสิ่งที่ควรทำ ไม่ว่าเราทำสิ่งใดก็ตาม เราต้องเจอ “โลกธรรม” เช่น สรรเสริญ นินทา คนเราส่วนใหญ่หรือว่าทุกคนก็ว่าได้ ชอบคำสรรเสริญ ไม่ชอบคำนินทา และมีแนวโน้มจะหลงอยู่กับคำชื่นชม และน้อยใจ เสียใจ หรือว่าหมดกำลังใจเพราะคำนินทา ถ้าอย่างนั้นเราต้องการคำสรรเสริญ หรือยินดีกับคำสรรเสริญ เราก็จะทุกข์กับคำนินทา การทำงานด้วยการปล่อยวางก็คือ เมื่อเรากำหนดว่าสิ่งไหนควรทำ เราก็เตรียมตัวพร้อม แล้วมันจะไม่ยึดมั่นถือมั่นกับคำพูดของใคร เขาชื่นชม เราก็ไม่มีอะไรดีขึ้น ก็เป็นสักแต่ว่าความรู้สึกของคนบางคน อาจจะเป็นด้วยความเข้าใจก็ได้ ไม่เข้าใจก็ได้ อาจจะพูดด้วยความจริงใจก็ได้ อาจจะพูดด้วยเจตนา ประจบประแจง ก็เป็นเรื่องของโลก เราก็ทำ เรารู้ว่าถึงแม้ว่าทำด้วยความบริสุทธิ์ใจก็มีบางคนเขาจะนินทาเรา อาจจะเป็นด้วยเจตนาร้ายก็ดี หรือด้วยความหวังดีต่อเราก็ได้ สิ่งที่เขานินทาอาจจะมีส่วนถูกก็ได้ การปล่อยวางการคาดหวัง เพราะทำความดีทุกคนต้องยอมรับ หรือว่าไม่ ไม่มีใครน่าตำหนิเราได้ เพราะเราทำความดี อันนี้เราทำงานแบบไม่ ไม่รู้จักปล่อยวาง […]
“อย่ายอมให้อัตตาครองใจ” ธรรมะเตือนสติโดย พระไพศาล วิสาโล
“อย่ายอมให้อัตตาครองใจ” ธรรมะเตือนสติโดย พระไพศาล วิสาโล การทำความดี มีเมตตากรุณาต่อผู้อื่น มิใช่สิ่งที่ฝืนธรรมชาติของมนุษย์ เพราะทุกคนล้วนมีมโนธรรมอยู่แล้วในจิตใจ จริงอยู่ปฏิเสธไม่ได้ว่าความเห็นแก่ตัวหรืออัตตาเป็นธรรมชาติของมนุษย์ด้วย แต่มันก็เปรียบเสมือนเปลือกชั้นนอกของจิตใจ ลึกลงไปเรายังมีธรรมชาติอีกส่วนหนึ่งคือมโนธรรมหรือความใฝ่ดี มโนธรรมเป็นแรงผลักดันให้เราอยากทำความดี ในเวลาเดียวกันทุกครั้งที่เราทำความดีก็ช่วยเสริมสร้างมโนธรรมภายในให้เข้มแข็งขึ้น และทำให้มีพลังในการทำความดีมากขึ้น การทำความดีนั้นบ่อยครั้งหมายถึงการเสียสละ เช่น เสียสละเงินทอง เวลา หรือแรงงาน แต่ก็ทำให้เกิดความอิ่มเอมใจเมื่อเห็นผู้ทุกข์ได้รับความสุข อีกทั้งยังช่วยให้อัตตาของเราเบาบางลง อัตตายิ่งเบาบางมากเท่าไร เราก็ยิ่งมีความสุขได้ง่ายเท่านั้น เพราะเพียงแค่เห็นผู้อื่นเป็นสุข เราก็สุขแล้ว โดยไม่จำต้องไปดิ้นรนแสวงหาสิ่งต่าง ๆ มาครอบครอง การทำความดีจึงเป็นเสมือนกุญแจที่เปิดประตูให้ใจได้สัมผัสกับความสุขภายในซึ่งประเสริฐและประณีตกว่าความสุขจากวัตถุ ได้กล่าวแล้วว่ามโนธรรมภายในเข้มแข็งขึ้นทุกครั้งที่เราทำความดี แต่อันที่จริงแม้ยังไม่ได้ทำความดี เพียงแค่เปิดใจรับรู้ความทุกข์ของผู้อื่น รู้สึกร่วมทุกข์กับเขา ก็ช่วยกระตุ้นมโนธรรมของเราให้เข้มแข็งและฉับไวมากขึ้น ทำนองเดียวกับสมองที่ต้องมีงานทำอยู่เสมอจึงจะกระฉับกระเฉงและแคล่วคล่องว่องไว อย่างไรก็ตามอุปสรรคสำคัญที่มักขัดขวางไม่ให้เราเปิดใจรับรู้ความทุกข์ของผู้อื่น ได้แก่อัตตาหรือความเห็นแก่ตัว อัตตานั้นรู้ว่าหากไปรับรู้ความทุกข์ของผู้อื่นเมื่อใดเราจะรู้สึกเป็นทุกข์และอยู่เฉยไม่ได้ ต้องเข้าไปช่วยเหลือเขา ซึ่งหมายถึงการที่ต้องเสียเวลา เสียเงิน หรือเหนื่อยยาก นั่นเป็นเรื่องที่อัตตายอมไม่ได้ เพราะอัตตานั้นอยาก “เอา” แต่ไม่ต้องการ “ให้” ดังนั้นอัตตาจึงมักหาอุบายขัดขวางเราไม่ให้ทำเช่นนั้น วิธีการที่มักใช้กันก็คือปิดหูปิดตา เบือนหน้าหนี หรือแกล้งเป็นมองไม่เห็น เช่น ถ้านั่งรถเมล์ก็หันหน้าไปทางหน้าต่าง หรือถ้านั่งรถไฟฟ้าก็แกล้งหลับหรือจดจ้องอยู่กับหนังสือ ทั้งนี้ก็เพื่อจะได้ไม่ต้องไปรับรู้ว่ามีเด็ก […]
อานิสงส์แห่งการสวดมนต์ โดย พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ)
อานิสงส์แห่ง การสวดมนต์ โดย พระราชญาณกวี (ท่านปิยโสภณ) การสวดมนต์ ถือว่าเป็นเรื่องที่เป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง ในด้านกายภาพเสียงสวดมนต์นั้น ก็จะเป็นเสียงที่ทำให้ระบบประสาทมีความตื่นตัว เราสวดมนต์แล้วจิตใจจะเยือกเย็นตามไปด้วย บางทีเราอาจนึกไม่ออก นึกไม่ถึงว่า ขณะที่เราสวดมนต์เป็นการกระตุ้นให้ระบบประสาทต่าง ๆ ทำงาน เช่น สมอง เสียง เขาบอกว่าภาษามันก็กระตุ้น ภาษาที่เราสวดมนต์เป็นภาษาที่ให้ศีลให้พรแก่ชีวิต แตกต่างจากภาษาที่เราพูดทั่วไป ยิ่งเราสวดกันหลายคน เป็นร้อย เป็นพัน เป็นหมื่นคน พลังมันก็จะยิ่งมากเหมือนเราร้องเพลงพร้อม ๆ กัน พลังมากก็กระหึ่มมาก สวดคนเดียวก็ได้ หรือบางคนอาจจะเปิดฟังก็ยังมีผล เป็นการพรมน้ำมนต์ให้แก่เม็ดเลือดและร่างกายของเรา และสิ่งที่สำคัญที่สุดของการสวดมนต์คือ ทำให้เกิดปีติอย่างรวดเร็ว การสวดมนต์ช่วยขจัดสิ่งที่ขุ่นมัวในจิตใจ อาตมาภาพเปรียบการสวดมนต์เหมือนกับสารส้ม น้ำขุ่น ๆ ในแก้วเหมือนกับอารมณ์ที่ขุ่นมัว ปกคลุมจิตใจไม่ให้ส่องแสงสว่าง คิดอะไรก็ไม่ออก เอาแต่หงุดหงิดเหมือนน้ำที่เราตักจากข้างคลอง แล้วก็เอามาตั้งนิ่ง ๆ มันก็ยังไม่ตกตะกอน เราจะต้องมีสารส้ม เอาไปแกว่งนิดนึง เสร็จแล้วมันจะตกตะกอนเร็วขึ้น จากนั้นน้ำข้างบนใสน้ำข้างล่างขุ่น เราก็จะเห็นว่ามีอะไรบ้างขุ่น เราทุกข์ร้อนอะไรมามากมายเลย นั่งสมาธิอย่างเดียวจะฟุ้งซ่าน ยิ่งหลับตายิ่งเห็นมาก […]
ความเป็นมาและประโยชน์ของการสวดมนต์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ความเป็นมาและ ประโยชน์ของการสวดมนต์ โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) พวกเราชาวพุทธนิยมสวดมนต์ด้วยเหตุผลต่าง ๆ แต่หลายคนอาจยังไม่รู้เรื่องราวความเป็นมาและ ประโยชน์ของการสวดมนต์ ซึ่งสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) เคยบรรยายธรรมถึงเรื่องนี้เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2551 ไว้ดังนี้ เรื่องสวดมนต์ก็มีพูดไว้หลายอย่าง หนึ่งเป็นวิธีการในการศึกษา โดยเฉพาะการศึกษาของพระ ที่ว่าท่านสาธยายในสิ่งที่สดับฟังมา เพื่อทบทวนหรือรักษาคำสอนที่พระต้องการศึกษา เช่น พระสูตร คำสอนของพระพุทธเจ้า สาธยายก็เป็นวิธีการหนึ่งในการศึกษา ได้ทบทวนและยกขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรอง ทำความเข้าใจ สองเป็นวิธีการรักษาพุทธพจน์ อันนี้เป็นของส่วนรวมแล้วที่มาประชุมกันสวด บางทีถึงกับแบ่งหน้าที่กัน เป็นพระกลุ่มนี้กลุ่มนั้น กลุ่มนี้รักษาพุทธพจน์ในส่วนนี้ เช่น อย่างที่ท่านแบ่งในพระไตรปิฎก ได้แก่ พระสูตร พระสูตรแยกเป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย มีมากมายอย่างนี้ จะให้หมู่เดียวรักษาหมดก็จะเป็นเรื่องที่หนักมาก จึงแบ่งกลุ่ม ๆ ผู้เป็นพระอาจารย์ท่าน ชอบทีฆนิกาย ท่านก็ให้กลุ่มนี้รักษาไว้ ท่านเรียกว่า ทีฆภาณิกา แปลว่า พระที่สวดทีฆนิกาย “ภาณิกา” แปลว่า “สวด” […]
“เหตุเกิดที่ ทำ…พูด…คิด” ธรรมะเตือนสติโดย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ
“เหตุเกิดที่ ทำ…พูด…คิด” ธรรมะเตือนสติโดย หลวงพ่อปัญญานันทภิกขุ ถ้าเราจะรักษาสัจธรรมของพระพุทธเจ้านั้น เราต้องช่วยกันศึกษาธรรมะให้เข้าใจ แล้วต้องปฏิบัติตนตามหลักธรรมะในชีวิตประจำวัน อย่าเอาวัตถุมาเป็นเครื่องช่วย แต่เอาธรรมะมาเป็นเครื่องช่วย ‘ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ’ เราถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง ไม่ใช่ถึงรูปวัตถุทั้งหลายเป็นที่พึ่ง เอาธรรมะเป็นสรณะ เอาธรรมะเป็นที่พึ่งโดยลำดับขึ้นไป เพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตของเรา เช่น เรามีความทุกข์มีความเดือดร้อน พระพุทธเจ้าก็สอนทางให้แล้วบอกว่า เมื่อมีทุกข์มักก็เกิดจากเหตุ แล้วเหตุนั้นไม่ได้อยู่ที่ไหน อยู่ที่การกระทำของเราเอง อยู่ที่การคิด การพูด การกระทำ การพูดกับการกระทำนั้นเริ่มต้นจากการคิด ถ้าคิดผิด มันก็เป็นทุกข์ ถ้าคิดถูกมันก็ไม่เป็นทุกข์ พูดผิดก็เป็นทุกข์ พูดถูกมันก็ไม่มีความทุกข์ พูดผิดก็มีความทุกข์ความเดือดร้อนใจ ทำถูกก็หมดทุกข์ ทำผิดก็เกิดความทุกข์ความเดือดร้อน มันอยู่ที่การกระทำอย่างนั้นต้องแก้ที่การกระทำของเราเอง ต้องหมั่นศึกษาหมั่นพิจารณาตัวเองในเรื่องต่าง ๆ ทำอะไรแล้วก็ต้องจำไว้ว่าเราได้ทำสิ่งนั้นผลมันมีอะไร เกิดขึ้นในรูปใด สมมติว่าเราไปดื่มเหล้าเมาแล้วเกิดอะไรขึ้นบ้าง เราไปบ่อนการพนันเกิดอะไรขึ้นบ้าง เราไปด่าคนนั้นคนนี้ มันเกิด อะไรขึ้นบ้าง เราคิดริษยาคนอื่นใจเรามันเย็นหรือใจเราร้อน มีความสุขหรือว่ามีความทุกข์ คอยตรวจสอบพิจารณาศึกษาค้นคว้าจากในจิตจากการคิดของเรา เราก็จะมองเห็น ความจริงในเรื่องนี้มากขึ้น ๆ รู้เรื่อง เข้าใจเรื่องถูกต้อง เราเอาหลักนี้มาปฏิบัติให้จิตใจเราโปร่งอยู่ด้วยคุณธรรม ความเจริญของพระศาสนาอยู่ที่จิตใจคนผู้นับถือพระศาสนาเจริญด้วยคุณธรรม […]
โควิด 19 : เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสของคนทั้งโลก โดย ท่าน ว.วชิรเมธี
โควิด 19 : เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสของคนทั้งโลก โดย ท่าน ว.วชิรเมธี “ดอกบัวงอกงามขึ้นมาจากตมและน้ำ ฉันใด มนุษยชาติก็อาจเติบโตและงอกงามขึ้นมาจากวิกฤตการณ์ ฉันนั้น” ท่านเจ้าคุณพระเมธีวชิโรดม (ว.วชิรเมธี) พระนักคิด นักเขียน นักพัฒนาสังคมชื่อดัง ผู้อำนวยการศูนย์วิปัสสนาสากลไร่เชิญตะวัน และผู้ดำรงตำแหน่ง UNHCR PATRON เผยแผ่บทความเชิงสร้างสรรค์เชิญชวนประชาคมโลกมองวิกฤติ โควิด 19 ว่าเป็นโอกาสทองของมนุษยชาติ ๙ ประการ โดยมีเนื้อหา ดังต่อไปนี้ จอห์น เอฟ เคเนดี เคยกล่าววรรคทองไว้คราวหนึ่งว่า “ในภาษาจีน คำว่า ‘วิกฤตการณ์’ (crisis) เกิดจากการประกอบกันของอักษรสองตัว คือ ตัวหนึ่งแทนคำว่า ‘อันตราย’ (danger/เวย危) และอีกตัวหนึ่งแทนคำว่า ‘โอกาส’ (opportunity/จี机)” หากเราเชื่อในคำกล่าวนี้ วิกฤติการณ์ที่เกิดจากไวรัสโควิด 19 ก็น่าจะมาพร้อมกับโอกาสบางอย่าง และต่อไปนี้ คือ โอกาสที่ผู้เขียนพอจะมองเห็นและอยากเชิญชวนให้เรามาลองคิดหาโอกาสจากวิกฤติคราวนี้ในมุมมองอื่น ๆ ร่วมกัน […]
โชคมาก็ใช้ทำความดี เคราะห์มีก็เป็นเครื่องมือพัฒนา โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
โชคมาก็ใช้ทำความดี เคราะห์ มีก็เป็นเครื่องมือพัฒนา โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ชีวิตของคนเราปะปนด้วยโชคกับ เคราะห์ ตรงกับหลักธรรม โลกธรรม 8 บางวันดี บางวันแย่สลับไปมา ในยามที่เคราะห์มาเยือนก็ทุกข์เหลือทน เวลาโชคมาก็มีความสุขล้นเปี่ยม ทำอย่างไรให้เราอยู่บนความพอดีในเวลาที่ทุกข์และสุข สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ดังนี้ คนเราอยู่ในโลก แต่มักปฏิบัติไม่ถูกต้องต่อสิ่งทั้งหลายในโลก จึงดำเนินชีวิตไม่ถูกต้อง สิ่งที่เราเกี่ยวข้องต่างๆ นี่ มันก็อยู่ของมันไปตามปกติ ตามธรรมชาติ แต่เราปฏิบัติต่อมันไม่ถูก วางใจไม่ถูก แม้แต่มองก็ไม่ถูก เราจึงเกิดทุกข์ สิ่งทั้งหลายที่มีอยู่ตามธรรมดามันก็เป็นไป ถ้าเรารู้ทัน ก็เห็นมันเป็นไปตามกฎธรรมชาติ แต่ถ้าเราไม่รู้เท่าทัน เรามองไม่เป็น ก็เกิดทุกข์ทันที แม้แต่เหตุการณ์ความผันผวนปรวนแปรต่างๆ ที่เกิดขึ้นในชีวิตของคนเรา ที่เรียกกันว่า โชคบ้าง เคราะห์บ้าง ศัพท์พระเรียกว่า โลกธรรม ซึ่งเป็นตัวการสำคัญ ที่ทำให้คนดีใจเสียใจ เป็นสุข และเป็นทุกข์ เวลามันเกิดขึ้น ถ้าเราปฏิบัติไม่ถูกต้อง ที่สุขเราก็แปลงให้เป็นทุกข์ ที่มันเป็นทุกข์อยู่แล้ว เราก็เพิ่มทุกข์แก่ตัวเราให้มากขึ้น แต่ถ้าเราปฏิบัติถูกต้อง ที่ทุกข์เราก็ผันแปลงให้เป็นสุข ที่มันเป็นสุขอยู่แล้ว เราก็เพิ่มให้เป็นสุขมากยิ่งขึ้น โลกธรรม คืออะไร […]
Dhamma Daily : กลัวโควิด-19 ควรทำใจอย่างไรดี
Dhamma Daily : กลัวโควิด-19 ควรทำใจอย่างไรดี จากสถานการณ์โรคระบาดในปัจจุบันที่นับวันจะมีจำนวนผู้ป่วยมากขึ้น ทำให้เกิดความหวาด กลัวโควิด-19 เป็นอย่างมาก พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญแห่งสำนักวิวัฏฏะ จังหวัดเลย ได้เมตตาช่วยชี้แนะว่าเราควรจะปฏิบัติตนอย่างไรเพื่อไม่ให้เกิดความกลัวโควิด-19 ดังนี้ ปัญหาธรรม : หากเรากลัวโควิด-19 ควรทำใจอย่างไรดี พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ : พระผู้มีพระภาคเจ้าได้แสดงไว้ว่า โรคนั้นมีสองอย่างคือ “โรคทางกาย” และ “โรคทางใจ” เราไม่ประมาท ดูแลภูมิต้านทานเป็นอย่างดี นั้นคือเราไม่ประมาทโรคทางกาย โรคทางจิตใจคือเรื่องของกิเลสและการปรุงแต่ง วิตก กังวล เครียด ธรรมะจะมีบทบาทช่วยในตรงนี้ รักษาใจให้เป็นปกติ ว่างจากสังขารการปรุงแต่ง เพราะความปรุงแต่งมากขึ้น อารมณ์ก็ขึ้น ๆ ลง ๆ ใจก็เศร้าหมองขุ่นมัว ธรรมะคือยารักษาใจ เป็นโอสถธรรม โอสถทิพย์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการปรุงแต่ง วิตก กังวล ธรรมะนั้นก็คือกรรมฐาน เช่น อยู่กับลมหายใจ (อานาปานสติ) กรรมฐานทุกหมวดทุกประเภท เป็นการทำให้จิตไม่คิดไปในเนื้อเรื่อง ในเนื้อหาเหล่านั้น […]
ซีเคร็ตชวนอ่าน : ท่องโลกกว้างสมัยพุทธกาลกับ “การเดินทางของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้”
หลังจากเจ้าชายสิทธัตถะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว พระองค์เดินทางเผยแผ่คำสอนไปยังแว่นแคว้นต่าง ๆ ของอินเดีย หนังสือธรรมะเล่มนี้ “ การเดินทางของพระพุทธเจ้าหลังตรัสรู้ ” จะนำพาคุณย้อนเวลากลับไปในครั้งพุทธกาล ให้ทราบว่าพระพุทธเจ้าทรงมีพุทธกิจอะไรบ้างตลอด 45 ปีก่อนดับขันธปรินิพพาน
ซีเคร็ตชวนอ่าน : “สิ่งเดียวที่จัดการได้คือใจของเรา” อย่าคร่ำครวญเมื่อปัญหามา แต่ควรใคร่ครวญให้ปัญหากลายเป็นปัญญา
ซีเคร็ตชวนอ่าน : “สิ่งเดียวที่จัดการได้คือใจของเรา” อย่าคร่ำครวญเมื่อปัญหามา แต่ควรใคร่ครวญให้ปัญหา กลายเป็นปัญญา หากธรรมะของพระพุทธเจ้าเปรียบเป็นยา หรือที่เรียกว่า “ธรรมโอสถ” ใช้รักษากิเลสโรคในจิตใจของมนุษย์ หนังสือธรรมะจากสำนักพิมพ์อมรินทร์ธรรมะ เล่มนี้ “สิ่งเดียวที่จัดการได้คือใจของเรา” เป็นหนังสือรวบรวมธรรมบรรยายของพระไพศาล วิสาโล ก็เปรียบเหมือนยาสามัญประจำใจ ที่จะทำให้ปัญหา กลายเป็นปัญญาในฉับพลัน ถ้าที่บ้านมีตู้ยาสามัญประจำบ้าน หนังสือธรรมะเล่มนี้คือยาสามัญประจำใจ ทุกบ้านคงมีกล่องยาหรือตู้ยาสามัญประจำบ้าน ไว้ใช้ตอนฉุกเฉิน เวลาที่เรามีไข้ตัวร้อนก็จะกินยาพาราเซตามอล อาการตัวร้อนก็จะบรรเทาลง แต่สำหรับหนังสือธรรมะเล่มนี้ เวลาเราโกรธเคือง มีความทุกข์ เมื่อได้อ่านแล้วมันกลับช่วยบรรเทาความโกรธหรือความทุกข์ในปัญหานั้น ๆ เบาบางลงอย่างน่าประหลาด ธรรมะสั้น คม ตรง สำหรับหนังสือธรรมะ หลายคนอาจส่ายหน้า เพราะเคยมีประสบการณ์ที่ว่า อ่านแล้วเข้าใจยาก อ่านไม่รู้เรื่อง อ่านแล้วง่วง แต่ขอบอกว่า “สิ่งเดียวที่จัดการได้คือใจของเรา” กลับดึงดูดให้เราจดจ่อกับธรรมะที่พระไพศาล วิสาโลบรรยายราวกับมีเวทมนต์ ด้วยคำพูดแสนเรียบง่าย และธรรมะในแต่ละบทของหนังสือเล่มนี้มียาวสุดไม่เกิน 2 หน้า ทำให้อ่านจบในนาทีสั้น ๆ บทที่สั้นสุดก็แค่หนึ่งย่อหน้าเท่านั้นเอง ยิ่งอ่านยิ่งคลายทุกข์ ความทุกข์ที่แบกไว้เพราะเจอกับปัญหาคาใจกลับคลาย ยิ่งอ่าน […]
ใช้ตัวตน… เพื่อลดตัวตน ธรรมะดี ๆ โดย แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
ใช้ตัวตน… เพื่อลดตัวตน ธรรมะดี ๆ โดย แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ในท่ามกลางการจากพราก…มีการเกิดอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งเป็นการเกิดที่ท้าทายตัวเองมากว่า… จะอยู่กับอะไร…จะอยู่กับใคร…และ…จะอยู่อย่างไร เพราะการอยู่ในวิถีชีวิตที่ไม่มีความคุ้นเคยอีกต่อไปแล้วนั้น ต้องอาศัยการพิสูจน์ให้ได้ว่า แม้สิ่งที่เรารักหรือคนที่เรารักจะจากไป แต่ความรักในสิ่งนั้น ความรักของคนคนนั้นที่อยู่ในตัวเรายังคงอยู่ จึงทําให้ข้าพเจ้าใช้ชีวิตอย่างเกิดอีกครั้งหนึ่งบนเส้นทางที่เลือก เพื่อให้ได้อยู่ใกล้ชิดกับคนที่รัก ไม่ว่าจะเป็นการนําพาชีวิตของตัวเองเข้าไปเรียนรู้ในสิ่งที่แม่เคยอยู่ เคยเป็น นั่นคือการสมัครเข้าเรียนวิชาชีพครู แต่ในที่สุด อาชีพครูก็ไม่ใช่สิ่งที่ได้ทํา เพราะในใจกลายกลับ…และก่อเกิดความใฝ่ฝัน ความทะเยอทะยานอยากที่จะเป็นในสิ่งที่ใจต้องการและต้องเป็นให้ได้ การเกิดอีกครั้งในวงการนางแบบจึงเริ่มขึ้น ก้าวแรกสู่วงการ มันคือความหอมหวาน ความสนุกสนาน มันคือของใหม่ในสถานที่ใหม่ที่ไม่คุ้นเคย จึงต้องอาศัยการฝึกฝนและเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ผู้คนใหม่ ๆ ทั้งหมด ที่สําคัญ…ต้องอยู่ให้ได้ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงมาก แต่ด้วยอุปนิสัยที่แม่บ่มเพาะไว้ให้ คือ การไม่วิพากษ์วิจารณ์ใคร และไม่มีใครควรค่าแก่การเกลียดชัง จึงทําให้ข้าพเจ้าอยู่ในสังคมของการเอาตัวตนออกไปนําเสนอสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า รองเท้า แฟชั่น ข้าวของ ได้อย่างมีแต่ละก้าวที่ต้องเรียนรู้กับการชั่งใจตัวเอง ณ ที่นั้น โอกาสมีเสมอสําหรับการก้าว แต่ถ้าก้าวอย่างไม่ระมัดระวัง การก้าวนั้นก็จะผิดพลาด เพราะฉะนั้นการก้าวอย่างมีสติปัญญาจึงเป็นก้าวที่สําคัญมากสําหรับคนที่กําลังจะเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของตัวเอง และต้องตัดสินใจเลือก… และเมื่อตัดสินใจเลือก […]
Dhamma Daily : ถ้าให้เลือกได้ 1 อย่าง สิ่งที่ควรทำในช่วงกักตัว 14 วันคืออะไร
คนที่ไปในสถานที่มีเชื้อไวรัส รัฐบาลมีมาตรการให้ กักตัว 14 วัน สำหรับคนที่ต้องกักตัวแบบนี้ สิ่งที่พวกเขาควรทำในช่วงโควิด-19ระบาดคืออะไร
ถ้ารู้จักใช้ ชีวิตก็มีคุณค่ามหาศาล
ถ้ารู้จักใช้ ชีวิตก็มีคุณค่ามหาศาล คนเรานั้นเกิดมาก็มีชีวิตร่างกายเท่ากัน มีกายกับใจเหมือนกัน ทางพระท่านเรียกว่ามีรูปนาม หรือมีขันธ์ ๕ มาเท่าๆ กัน แต่ชีวิตของคนที่เกิดมาเท่ากันนั้น กลับทำอะไรได้ไม่เท่ากัน ก็เพราะว่าคนหนึ่งรู้จักใช้ชีวิตหรือดำเนินชีวิตเป็น ส่วนอีกคนหนึ่งไม่รู้จักใช้ชีวิตหรือดำเนินชีวิตไม่เป็น เป็นคนที่ตกอยู่ในความประมาท ตรงข้ามกับคนที่ใช้ชีวิตเป็นซึ่งเป็นคนที่ไม่ประมาท รู้จักใช้กาลเวลาให้เป็นประโยชน์ พระพุทธเจ้าตรัสอุปมาไว้เป็นพุทธภาษิตบทหนึ่ง อาตมาอยากจะยกมาให้ฟังเป็นตัวอย่างสำหรับเตือนใจ เปรียบเหมือนว่ามีดอกไม้สุมกันอยู่กองหนึ่ง ไม่รู้ว่าดอกอะไรบ้าง มีมากมาย จากกองดอกไม้นั้น นายมาลาการ คือ ช่างจัดดอกไม้ผู้ฉลาด เลือกเก็บดอกไม้จากกองที่สุมอยู่นั้นมาร้อยเป็นพวงมาลามาลัย หรือจัดเป็นแจกันอันสวยงามให้เป็นระเบียบเรียบร้อยน่าดู นอกจากสวยงามแล้วยังมีคุณค่า นำไปบูชาพระพุทธเจ้า หรือบูชาพระรัตนตรัยก็ได้ ดอกไม้ที่กองสุมรวมกันอยู่ เมื่อเรารู้จักใช้ประโยชน์ก็กลายเป็นพวงมาลามาลัยหรือดอกไม้ในแจกันในพานที่สวยงาม ฉันใด คนเราเกิดมาแล้วชาติหนึ่งก็ควรใช้ชีวิตนี้ทำประโยชน์ ทำความดีให้มาก ฉันนั้น ตามความหมายของพุทธภาษิตนี้ ขอให้นึกถึงชีวิตของเราก็จะเห็นว่าเป็นเพียงองค์ประกอบต่างๆ ที่มาประชุมกัน พูดตามภาษาโบราณว่าเป็นการประชุมกันของธาตุทั้งหลาย มีดิน น้ำ ลม ไฟ ร่างกายของเราก็มีแค่ดิน น้ำ ลม ไฟ มารวมกันเข้า พอตายแล้วธาตุเหล่านั้นก็กลับคืนไปเป็นน้ำ เป็นดิน เป็นลม เป็นไฟไปตามเดิม แต่ระหว่างมีชีวิตอยู่คนเราอาจจะใช้ชีวิตที่เป็นธาตุต่างๆ สุมกันอยู่นี้ให้เป็นประโยชน์มีคุณค่าได้ […]
ทำไมจึงต้องจัดระเบียบ ทำไมจึงต้องมีวินัย โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต)
ทำไมจึงต้องจัดระเบียบ ทำไมจึงต้องมีวินัย โดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ถ้าชีวิตวุ่นวายการเป็นอยู่ของมนุษย์สับสนหาระเบียบไม่ได้ โอกาสในการดำเนินชีวิตก็จะหายไป เช่นในที่ประชุมนี้ ถ้าเราไม่มีระเบียบเลย โต๊ะเก้าอี้ก็วางเกะกะทั่วไป คนก็เดินกันไปเดินกันมา อาตมภาพพูดนี่ ก็ฟังกันไม่รู้เรื่อง สับสน แม้แต่เมื่ออยู่ในบ้านของเรา ถ้าสิ่งของตั้งวางไม่เป็นระเบียบกระจัดกระจายอยู่ตรงโน้นตรงนี้แม้แต่จะเดินก็ยาก เดินไปก็เตะโน่น ชนนี่ กว่าจะถึงประตูก็เสียเวลาตั้งหลายนาที แต่พอเราจัดของให้เป็นระเบียบ ตกลงกันว่าตรงนี้เป็นทางเดินก็เว้นไว้เป็นช่องว่าง เราเดินพรวดเดียวก็ถึงประตู ทำให้สะดวกรวดเร็ว กิจการต่าง ๆ ต้องมีระเบียบหรือต้องอาศัยวินัยมาจัดสรรโอกาส ทั้งนั้น ที่เห็นได้ง่าย ๆ เช่น เมื่อแพทย์จะผ่าตัด ศัลยแพทย์จะต้องการวินัยมาก จะต้องจัดระเบียบเครื่องมือที่ใช้ตามลำดับการทำงานอย่างเคร่งครัดทีเดียว ต้องตกลงกันไว้ก่อนว่าขั้นตอนใดจะใช้เครื่องมือไหน และส่งเครื่องมือให้ถูกต้อง คนนี้ยืนตรงนี้ จังหวะนี้ถึงเวลาไหนส่งเครื่องมืออันไหน เพราะอยู่ในช่วงของความเป็นความตาย พยาบาลที่จัดเตรียมเครื่องมือต้องพร้อมและต้องจัดให้ถูกต้องทุกอย่าง ผิดนิดไม่ได้ เพราะงานนั้นต้องเป็นไปตามเวลาที่จำกัด ฉะนั้นในกิจการที่ยิ่งมีความสำคัญ มีความซับซ้อน มีความเป็นความตายเข้ามาเกี่ยวข้อง วินัยจะยิ่งต้องมีความเคร่งครัดแม่นยำมากยิ่งขึ้น ในสังคมวงกว้างออกไป ถ้าชีวิตคนไม่ปลอดภัย สังคมไม่มีความเป็นระเบียบ มีโจร มีขโมย มีการทำร้ายกัน เราจะไปไหนเวลาไหน ก็ไม่สะดวก เพราะกลัวว่าถ้าไปเวลานี้ หรือผ่านสถานที่จุดนั้นแล้ว […]
มาตรการการป้องกันโควิด-19 ในพระภิกษุ-สามเณรที่ชาวพุทธควรรู้ โดย สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)
มาตรการการป้องกันโควิด-19 ในพระภิกษุ-สามเณรที่ชาวพุทธควรรู้ โดย สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) ท่ามกลางการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ชาวพุทธอดเป็นห่วงพระภิกษุและสามเณรไม่ได้ ซีเคร็ตจึงนำบทสนทนาที่ สมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร) เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ทั้งยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม, ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 10 (ฝ่ายศาสนศึกษา), ประธานคณะกรรมการฝ่ายสาธารณะสงเคราะห์ของมหาเถรสมาคม และ ประธานสำนักงานกำกับดูแลพระธรรมทูตไปต่างประเทศจากรายการสถานีประชาชนทางช่องไทยพีบีเอสที่ท่านได้ให้ความรู้เรื่องมาตรการรับมือไวรัสโควิด-19 ของพระภิกษุ-สามเณร และพระธรรมทูต ซึ่งเป็นเรื่องที่ชาวพุทธควรทราบเป็นอย่างยิ่ง มาตรการการป้องกันและรักษาไวรัสโควิด-19 ของคณะสงฆ์ ไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ได้เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2562 ประมาณเดือนธันวาคม แล้วแพร่เข้ามาในประเทศไทยประมาณต้นปี พ.ศ. 2563 เดือนมกราคม ทางมหาเถรสมาคมได้มีการประชุมถึงเรื่องนี้เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ โดยมติมหาเถรสมาคม ครั้งที่ 137 ได้วางมาตรการให้ความรู้แก่พระสังฆาธิการทั่วทั้งมณฑล หมายถึงทุกระดับในประเทศไทย รวมไปถึงพระธรรมทูตในนานาประเทศทั่วโลกอีกด้วย พระภิกษุสงฆ์และสามเณรในประเทศไทยมีจำนวนประมาณสามแสนรูป รวมทั้งพระธรรมทูตที่กระจายไปอยู่ทั่วโลกมีประมาณพันห้าร้อยรูป ให้ปฏิบัติตรงกันโดยยึดหลักของกระทรวงสาธารณสุขที่ให้คำแนะนำในการป้องกัน รักษา และแก้ไขปัญหาเรื่องไวรัสนี้ เจ้าคณะกรรมการนิกายทั้งหลายต่างยึดตามนโยบายของมหาเถรสมาคม ซึ่งเลขาธิการมหาเถรสมาคมได้ประกาศให้ทราบโดยทั่วกันให้วัดต่าง ๆ นำไปปฏิบัติ […]
บอร์ดเกมธรรมะ กลยุทธ์ให้คนรุ่นใหม่เข้าใจธรรมะ: พระปฏิพล ภูมิเมโธ
หลายคนอาจสงสัยว่า เกมกับธรรมะไปด้วยกันได้หรือ วันนี้ซีเคร็ตพามารู้จักกลุ่มพระอาจารย์วัดญาณเวศกวันที่คิด บอร์ด เกมธรรมะ ขึ้น เพื่อให้คนรุ่นใหม่ไม่มองธรรมะเป็นเรื่องน่าเบื่ออีกต่อไป โดยมี พระปฏิพล ภูมิเมโธ หรือท่านบิ๊ก เป็นตัวแทนบอกเล่าความเป็นมา