ธรรมะ
การนำ ธรรมะ คำสอนของพระพุทธเจ้า และข้อคิดของพระอาจารย์ชื่อดัง มาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน และเรื่องเกร็ดความรู้ด้านพระพุทธศาสนา
ความสุขที่แท้จริงเป็นอย่างไร ธรรมะสร้างสุขจากพระอาจารย์มานพ อุปสโม
ความสุขที่แท้จริง เป็นอย่างไร ธรรมะสร้างสุขจากพระอาจารย์มานพ อุปสโม ความสุขที่แท้จริง ก็คือ ต้องเป็นสุขข้างในใจ เป็นสุขที่เยือกเย็น เป็นสุขที่ใจของเรานั้นไม่เร่าร้อน เป็นสุขที่ใจของเราไม่ดิ้นรน ไม่กวัดแกว่ง ไม่ซัดสาด อันนี้เป็นความสุขที่แท้จริง เราไม่ต้องทำอะไรเลย ความสุขจะสามารถเกิดขึ้นได้ แก่ตัวเราได้ตลอดเวลาเลย เพียงแต่เรามองเข้าไปในใจของตัวเราทันเท่านั้น มองเข้าไปในความรู้สึกของตัวเราทัน พอเรามองเข้าไปในความรู้สึกแล้ว สิ่งที่เราจะได้รับก็คือ เราไปเห็นความเป็นจริงของความรู้สึกของเรา แต่ละความรู้สึก พอไปเห็นความเป็นจริง จิตของเรานั้นจะรู้สึกเฉย ๆ ถ้ามองหาใจตัวเองเจอ เราจะพบความสุขที่แท้จริง มองเข้าไปในใจของตัวเราได้ แล้วใจตรงนั้น ไม่จำกัดว่ามันจะเป็นใจประเภทไหน ใจประเภทบวกก็ได้ ใจปะเภทลบก็ได้ เพราะใจของคนเรามันมีทั้งบวก ทั้งลบ บวกภาษาธรรมะ เขาเรียกว่า กุศล ถ้าลบ เขาเรียกว่าอกุศล ฉะนั้นจิตกำลังเป็นกุศลอยู่เรามอง เราก็ทำให้เกิดความสงบนิ่ง แม้แต่จิตเป็นอกุศล เราเข้าไปมองมันก็สงบนิ่ง พอไปรอบรู้แล้วก็เกิดอาการสงบนิ่ง มันสงบนิ่งได้อย่างไร ที่เราเป็นทุกข์ ที่เราเร่าร้อนนั้น เพราะใจของเรามันไปเกาะอยู่กับเรื่อง มันมีเรื่องใดเรื่องหนึ่งเข้ามาเกี่ยวข้องกับตัวเรา แล้วเราก็คิดถึง ไม่หยุดไม่หย่อน วาระสุดท้ายเราก็ต้องได้รับความทุกข์ ทุกข์ก็เกิดขึ้นตามมา ฉะนนั้นถ้าเราต้องการที่จะแสวงหาสุขที่แท้จริง ก็จะต้องเลือกเอาสุขที่เป็นสันติสุข […]
วัดอยู่ที่ดวงใจคน พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร
วัดอยู่ที่ดวงใจคน พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่ฝั้น อาจาโร ศาสนาคืออะไร ศาสนาคือคำสั่งสอน ท่านสอนอะไร ก็สอนกายสอนวาจาสอนใจของคน ท่านไม่ได้สอนอื่น สอนเพื่ออะไรกายวาจาใจของคน ท่านให้ละความชั่วทางกายทางวาจาทางใจ ความชั่วไม่ได้อยู่ที่อื่น อยู่ที่กายที่วาจาที่ใจของคน ท่านสอนให้ละความชั่วเพราะกลัวเราทุกข์กลัวเรายาก กลัวเราลำบากรำคาญ กลัวเราอดเราจน ตกทุกข์ได้ยาก ท่านสอนอย่างนี้ก็ดูเอาซี เชื่อหรือไม่เชื่อ ว่าทุกข์ยาก อะไรทุกข์ล่ะ หรือข้าวของเงินทองทุกข์ยาก หรือฟ้าอากาศทุกข์ยาก การงานทุกข์ยาก ไม่มี มีแต่หัวใจคนมันทุกข์ยาก หัวใจคนวุ่นวายเดือดร้อน นี่แหละให้ดูเอา นี่แหละบาป นี่แหละนรก เมื่อจิตใจเป็นอย่างนี้แล้ว เวลาเราดับขันธ์ จิตนั้นก็นำเราไปทุคติ เวลานี้มันก็ทุกข์อยู่แล้ว บางคนมาคำนึงดู อดีตมันเป็นมายังไง ปัจจุบันเป็นยังไง อนาคตข้างหน้าจะเป็นยังไง ดูซิอนาคตข้างหน้าท่านไม่ให้คำนึงคิดถึง อดีตล่วงมาแล้วท่านไม่ให้คำนึงคิดถึง ปัจจุปันนัญจะโยธัมมัง ตัตถะ ตัตถะ วิปัสสติ ท่านให้ดูในปัจจุบันนิ่งอยู่นี้ เวลานี้จิตของเราเป็นยังไง จิตเรามันสุข หรือมันทุกข์มันยากวุ่นวายเดือดร้อน ถ้าจิตเป็นอย่างนี้แล้ว อนาคตก็ร้อนอย่างนี้ อนาคตก็ทุกข์อย่างนี้ พิจารณาดูซิ ถ้าจิตเราสงบ จิตเราดี มีความสุขความสบาย […]
ชีวิตที่ถูกใช้กับชีวิตที่ได้ใช้ต่างกันอย่างไร ธรรมนำทางชีวิตจาก ท่าน ว.วชิรเมธี
ชีวิตที่ถูกใช้ กับชีวิตที่ได้ใช้ ต่างกันอย่างไร ธรรมนำทางชีวิตจาก ท่าน ว.วชิรเมธี ชีวิตที่ถูกใช้ ก็หมายความว่า ตื่นมาก็ถูกหน้าที่การงาน ดึงดูดเข้าสู่โลกของการทำงาน โดยที่เราแทบจะไม่สามารถบริหารจัดการชีวิตได้ คือตื่นมาก็รู้แล้วว่ามีภาระอยู่ที่คอ เหมือนมีแอกอยู่ที่คอ ตื่นมาปั๊ปก็ถูกดึงดูดไปแล้ว เคยเห็นชาวนาเขาไถนาไหม มันจะมีแอกสวมอยู่ที่คอควาย แล้วก็จะมีเชือกอยู่ซ้ายอยู่ขวา ชาวนาก็จะคอยกระตุกเชือกนั้นแหละ ให้ควายเดินไปข้างหน้า หรือว่าจะให้เลี้ยวขวาหรือจะให้เลี้ยวซ้าย เพราะฉะนั้นก็จะมีแอกค้ำอยู่ที่คอควาย คืนตื่นมาคุณมีชีวิตที่ถูกใช้ ถูกบริษัทใช้หรือ ถูกกิเลสมันกระตุ้นมันเร้า ทำให้เราต้องวิ่ง เพื่อคอยที่จะสนองกิเลส แล้วก็เป็นอย่างนี้ชั่วนาตาปีโดยที่ไม่รู้เนื้อรู้ตัวเลย แท้ที่จริงเรามีชีวิตจริง ๆ หรือเปล่า เราได้ใช้ชีวิตไหม หรือแท้ที่จริงเราถูกชีวิตมันใช้ตลอด แทบไม่มีวันหยุด แทบไม่ได้เป็นตัวของตัวเอง ตื่น..ไม่ว่าจะเป็น ตอนตื่นตอนหลับ ทุกสิ่งทุกอย่างก็เป็นงาน เช่น บางคนตื่นปั๊ป อาบน้ำให้เร็วที่สุด เพราะเดี๋ยวไปสาย รถติด พอไปสายแล้วรถติด เดี๋ยวไม่ทันประชุม พอเลิกมาปั๊ปกินข้าวก็กินอย่างลวก ๆ ซื้อกับข้าวที่ปากซอย แล้วก็กินอย่างลวก ๆ ก็ลูกก็หลับไปแล้ว ลูกก็นอนก่อน สามีก็อาจจะนอนก่อน เราก็นอนที่หลัง ในระหว่างที่นอนนั้น มันยังไม่หลับ […]
“คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก” พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่คำดี ปภาโส
“คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก” พระธรรมเทศนาโดย หลวงปู่คำดี ปภาโส ความตอนหนึ่งในพระธรรมเทศนาของ หลวงปู่คำดี ปภาโส วัดถ้ำผาปู่ จ.เลย ได้กล่าวถึง “คนที่ไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก” ไว้ดังนี้ ในปัจจุบันนี้มีพระและฆราวาสจำนวนมากที่ไม่เชื่อว่า ผู้ที่ปฏิบัติแล้วจะสามารถสำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งได้ ท่านเหล่านั้นถือว่าหมดยุค หมดสมัยแล้ว สำหรับเรื่องนี้แล้ว ถ้าไม่ประพฤติปฏิบัติเองแล้ว ก็จะไม่สามารถรู้ได้ ผู้ที่จะรู้ได้ เห็นได้จะต้องเป็นผู้ปฏิบัติแล้วก็จะเห็นเอง พระพุทธเจ้ายังตรัสกับพระอานนท์ ก่อนที่พระองค์จะเสด็จปรินิพพานว่า “แม้ว่าตัวตถาคตจะปรินิพพานไปแล้ว แต่ธรรมคำสั่งสอนของตถาคตยังอยู่ ถ้าผู้ใดประพฤติปฏิบัติตาม ก็จะสามารถสำเร็จมรรคผลได้เหมือนกัน” นี่แสดงให้เห็นแล้วว่า ในปัจจุบันนี้ก็สามารถสำเร็จเป็นพระอริยเจ้าขั้นใดขั้นหนึ่งได้เหมือนกัน สำหรับผู้ที่ปฏิบัติตามหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า สำหรับผู้ที่ไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้ เราก็ไม่สามารถไปตำหนิติเตียนอะไรได้ เพราะเรื่องบุญเรื่องวาสนานี้ไม่สามารถจะแข่งกันได้ เรื่องที่ว่ามีบุคคลที่ไม่เชื่อนั้น อย่าว่าแต่ในสมัยปัจจุบันเลย แม้แต่ในสมัยพุทธกาลก็ยังมีเหมือนกัน คือในสมัยพุทธกาลนั้นยังมีบุคคลที่ไปด่าพระพุทธเจ้าอยู่ มีอยู่ครั้งหนึ่ง มีผู้ไปด่าพระพุทธเจ้าอย่างมาก พระอานนท์เลยกราบทูลพระพุทธเจ้าให้หลีกหนีไปที่อื่น พระพุทธเจ้าทรงถามพระอานนท์ว่า “เมื่อหนีไปถึงบ้านหน้า เขายังด่าอยู่อีกจะทำอย่างไร” พระอานนท์ก็กราบทูลว่า “ถ้าด่าอีกก็หนีอีก” พระพุทธเจ้าทรงเตือนพระอานนท์ว่า “อย่าเข้าใจเขาด่าอานนท์ เขาด่าเราตถาคตต่างหาก และอีกประการหนึ่งเราจะต้องแก้ที่นี่ ถ้าเราไม่แก้ที่นี่ เราจะต้องหนีไม่มีที่สิ้นสุด” ในโลกมนุษย์นี้ เราจะหลบหนีจากคำตำหนิติเตียนไม่ได้ แม้แต่พระพุทธเจ้าเองซึ่งเป็นจอมปราชญ์ทั้งหลาย ก็ยังถูกโลกติเตียนอยู่ […]
ทุกข์-สุขเกิดขึ้นจากอะไร ธรรมะคลายใจจาก พระอาจารย์มานพ อุปสโม
ทุกข์-สุขเกิดขึ้นจากอะไร ธรรมะคลายใจจาก พระอาจารย์มานพ อุปสโม ไม่มีใครที่ไม่รู้จักกับความทุกข์และความสุข แต่เหมือนว่าคนเราเลือกที่มีความสุขมากกว่าความทุกข์ หากเรารู้ว่า ทุกข์-สุขเกิดขึ้นจากอะไร เราอาจจะรู้วิธีการกำจัดความทุกข์ก็เป็นได้ พระอาจารย์มานพ อุปสโมได้แสดงธรรมเรื่องนี้ไว้ว่า สุขที่บอกว่ามันเป็นเพียงความรู้สึกที่เกิดขึ้นมาหนึ่งขณะจิต แล้วมันดับลงทันที สุขตรงนี้มันเกิดมาจากอะไร สุขหรือทุกข์ก็ได้ สุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้ แต่ที่เกิดมันมีสาเหตุ เกิดมาจากอะไร เกิดมาจากความรู้สึก ความสุขมาจากความรู้สึก ความทุกข์ก็เหมือนกัน มันมาจากความรู้สึก คือมันเกิดจากการรับรู้ รับรู้เรื่อง การรับรู้เรื่องของคนเรามันมีกระบวนการรับรู้เรื่อง หรือมันมีทางรับรู้เรื่อง รับรู้เรื่องทางไหนบ้าง การรับรู้เรื่องก็คือ รับรู้เรื่องทางตา รับรู้เรื่องทางหู รับรู้เรื่องทางจมูก รับรู้เรื่องทางลิ้น รับรู้เรื่องทางกาย และรับรู้เรื่องทางใจ พอเข้าไปรับรู้เรื่องแล้ว คราวนี้ก็จะเกิดก็จะเกิดความรู้สึกตามมา อย่างใดอย่างหนึ่ง ในความรู้สึกสามประการ เป็นความรู้สึกสบายใจ หรือบางครั้งรับรู้เรื่องแล้วก็ไม่สบายใจ แต่บางครั้งไปรับรู้เรื่องแล้วเกิดความรู้สึกเฉย ๆ ตัวรู้สึกสบายใจ รู้สึกไม่สบายใจ รู้สึกเฉย ๆ ตรงนี้เขาเรียกว่า “เวทนา” สุขก็คือเวทนาตัวหนึ่ง ทุกข์ก็เป็นเวทนาตัวหนึ่ง ถ้าเฉย ๆ เขาก็เรียกว่า “อุเบกขาเวทนา” […]
อานิสงส์แห่งการเดินจงกรม มหัศจรรย์แห่งการเดินโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม
อานิสงส์แห่ง การเดินจงกรม มหัศจรรย์แห่งการเดินโดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม การเดินจงกรม เป็นวิธีการปฏิบัติและการเจริญสติอย่างหนึ่งตามแนวทางของสติปัฏฐาน 4 ถ้าเราได้ทำความเข้าใจในการเดินจงกรมแล้ว ว่าเดินแล้วมีประโยชน์อย่างไร ก็จะทำให้ผู้ที่มาปฏิบัติธรรมเกิดกำลังใจในการที่จะเดิน มาพูดถึงเรื่องการเดินจงกรมเป็นวิธีการเจริญสติชนิดหนึ่ง การเจริญสติก็เป็นเรื่องของการปฏิบัติธรรม จุดมุ่งหมายของการเจริญสติคือเราต้องการให้มีสติว่องไว เมื่อสติว่องไวก็จะสามารถตามรู้ทันใจ ความรู้สึก ความนึกคิดของตนเอง พอเราตามความคิดทัน จิตของเราที่เคยวุ่นวายมันก็จะลดความวุ่นวายลง อานุภาพของการดูตามจิตตัวเองทัน มันมีอานุภาพมาก สามารถที่จะเข้าไปหยุด ยุติความรู้สึกที่เลวร้ายให้มันหยุดลงได้ทันที ในปัจจุบันทันทีเลยถ้าเรารู้ทัน ความรู้สึกเลวร้ายมันเป็นอย่างไร คือความรู้สึกเลวร้าย ความรู้สึกเสียใจ ความรู้สึกไม่สบายใจ ความรู้สึกคับแค้นใจ ความรู้สึกเป็นทุกข์ใจ ความรู้สึกระทมขมขื่น ถ้าเรามองความรู้สึกนั้นได้ มองความรู้สึกนั้นทัน แล้วเห็นความรู้สึกนั้นได้ อานุภาพของการเข้าไปมองทัน มองเห็น มันจะหยุดความรู้สึกนั้นให้หยุดลงทันที พอเรามองใจที่กำลังทุกข์ ใจมันโดนพรากออกจากการไปคิดถึงสิ่งที่ทำให้เราทุกข์ ถ้าเรากำลังคิดถึงใครคนใดคนหนึ่งและเราทุกข์เพราะเขา เรามองใจที่กำลังทุกข์ก็จะหยุดคิดถึงคนนั้นทันที พอหยุดคิดถึงคน ๆ นั้นแล้วมันก็จะหยุดทุกข์ทันที อานุภาพของการตามดูใจทัน ถ้าตามดูใจได้ทุกความรู้สึกเลย แบบนี้เป็นพระอรหันต์เลยนะ คือพระอรหันต์เป็นอย่างไร พระอรหันต์จะมีสติสมบูรณ์ สติสมบูรณ์คือท่านจะไม่หลงลืม เมื่อใจคิดท่านก็รู้ทัน มีความรู้สึกท่านก็รู้ทัน พอท่านเห็นความรู้ทัน และเห็นตามความเป็นจริง พอเราไปเห็นความรู้ทันก็ต้องเห็นตามความเป็นจริงอีก […]
หลักการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นแนว หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ
หลักการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นแนว หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ คำภาวนา พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ มีความหมายว่า “ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก” ซึ่งจะขอขยายความเทียบตามหลักของ วิสุทธิมรรคคัมภีร์ ที่รจนาโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ดังนี้ ๑. ฐานของจิต การกำหนดฐานของจิต ให้กำหนดไว้ที่หน้าผาก หรือระหว่างคิ้วทั้งสอง ตามหลักของ วัดประดู่ทรงธรรม และของ สมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดพลับ ถือว่าเป็นฐานที่ ๗ ซึ่งตามหลักท่านวางไว้ถึง ๙ ฐาน โดยฐานต่าง ๆ เหล่านี้ เป็นเสมือนทางผ่านของลมหายใจที่ไปกระทบ เหมือนกับหลักของอานาปานสติ ฐานทั้ง ๙ ฐานที่กำหนดไว้ มีดังนี้ ฐานที่ ๑ อยู่ต่ำกว่าสะดือ ๑ นิ้ว ฐานที่ ๒ อยู่เหนือสะดือ ๑ […]
ข้อดีของความทุกข์ ธรรมะคลายทุกข์จาก พระไพศาล วิสาโล
ข้อดีของความทุกข์ ธรรมะคลายทุกข์จาก พระไพศาล วิสาโล หลายคนมักจะขยาดความทุกข์ แล้วคิดว่าเป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่อยากจะเจอ แต่เชื่อว่า น่าจะมี ข้อดีของความทุกข์ อยู่บ้าง พระไพศาล วิสาโลได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ว่า ทุกข์นั้นเป็นสัญญาเตือนว่า มันมีอะไรที่ผิดปกติ ที่ไม่ถูกต้อง เราก็ต้องหาดูว่ามันคืออะไร สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร ท่านกล่าวไว้ดีมากว่า คนเราเวลามีความทุกข์ เดี๋ยวพอทุกข์ใจก็แสดงว่ากิเลสตัณหากำลังอาละวาด มันกำลังออกฤทธิ์ออกเดช เช่นเราอยากได้ อยากได้เยอะเลย แต่ไม่ได้เราก็ทุกข์ ความทุกข์อย่างนี้เกิดขึ้นเพราะความโลภ นี่เป็นตัวอย่างหนึ่ง ความทุกข์ทำให้เราหันเข้าหาธรรมและเปลี่ยนแปลงชีวิต ความทุกข์นอกจากจะเปลี่ยนแปลงชีวิตแล้ว ความเจ็บป่วยที่เป็นทุกข์ก็ยังผลักดันให้เขาหันมาสนใจธรรมะ บางคนที่เป็นโรคมะเร็ง ก็บอกว่า ขอบคุณที่เป็นมะเร็ง โชคดีที่เป็นมะเร็ง เพราะมะเร็งทำให้เขาหันมาสนใจธรรมะ คือพอรู้ว่าเงินช่วยไม่ได้ เทคโนโลยีการแพทย์ช่วยไม่ได้ เขาก็หันไปหาธรรมะ แล้วพบว่าธรรมะทำให้เขามีความสงบมีความสุขใจ ค้นพบจุดมุ่งหมายของชีวิต ก็ทำให้เขาพบชีวิตใหม่ มองดูดี ๆ นะ ความทุกข์มันมีประโยชน์ในการที่จะสามารถผลักให้เราเข้าหาธรรมะได้ หรือทำให้เราเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตก็ได้ เวลามีเรื่องไม่ดี มักมีข้อดีซ่อนอยู่ มีคนหนึ่งเขาบอกว่า พอเขาตกงาน ทำให้เขาได้มีเวลาไปอยู่กับพ่อแม่ เขาแทบจะไม่ค่อยได้มีเวลา […]
การอยู่กับปัจจุบันขณะคืออะไร ธรรมะปลุกสติจาก ท่าน ว.วชิรเมธี
การ อยู่กับปัจจุบันขณะ คืออะไร ธรรมะปลุกสติจาก ท่าน ว.วชิรเมธี อยู่กับปัจจุบันขณะ หมายความว่าอยู่ที่นี่แล้ว ก็เดี๋ยวนี้ ขณะอึดใจนี้ คำว่าอยู่กับปัจจุบันไม่ใช่มิติของสถานที่ แต่อยู่กับปัจจุบันนี้มันเป็นมิติของจิตวิญญาณ หมายความว่าขณะใดก็ตามที่เรามีความรู้สึกตัวอยู่เสมอ ไม่หลุดไปอยู่ในโลกของความคิดในอนาคต หรือโลกของความคิดในอดีต แต่เป็นการที่เรารู้สึกตัวอยู่ตลอดเวลาในทุกเรื่องที่คิด ทุกกิจที่ทำ ทุกคำที่พูด ทุกคำที่พูดและทุกอิริยาบถที่เคลื่อนไหว อาการที่เรารู้ตัวอยู่ ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา ไม่ถูกปรุงแต่งด้วยตัณหา อวิชชา และอุปาทาน หรืออวิชชา ตัณหา ทิฐิ อวิชชาก็คือความหลง ตัณหาคือความอยาก ทิฐิคือชุดความคิดต่าง ๆ แต่เรารู้ตัวอยู่ที่นี่แล้วก็เดี๋ยวนี้ สด ๆ ในปัจจุบันขณะ โดยไม่ผ่านกระบวนการทางความคิด แต่เป็นความรู้สึกตัวสด ๆ ร้อน ๆ ซึ่งเกิดขึ้นเอง ณ เดี๋ยวนี้ ที่นี่ เช่น เราหายใจอยู่ เราก็รู้ว่าเราหายใจ อันนี้คือการอยู่กับปัจจุบันขณะที่แท้จริง ฉะนั้นเมื่อพูดถึงปัจจุบันขณะ เราไม่พูดถึงวัน เดือน ปี เลย เพราะว่ามันเป็นมิติทางจิตวิญญาณ และลมหายใจเป็นอุปกรณ์ของปัจจุบันขณะจริง […]
วิธีแก้นิมิต โดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม
วิธีแก้นิมิต โดย หลวงปู่สิงห์ ขันตยาคโม ในเวลาจิตเข้าสู่ภวังค์และตั้งลงเป็นองค์มรรคสมังคีแล้วนั้น ย่อมมีนิมิตต่าง ๆ มาปรากฏในขณะจิตอันนั้น ท่านผู้ฝึกหัดใหม่ทั้งหลายพึงตั้งสติกำหนดใจไว้ให้ดี อย่าตกใจประหม่ากระดากและอย่าทำความกลัวจนเสียสติและอารมณ์ ทำใจให้ฟุ้งซ่านรั้งใจไม่อยู่ จะเสียสมาธิ นิมิตทั้งหลายไม่ใช่เป็นของเที่ยง เพียงสักว่าเป็นเงา ๆ พอให้เห็นปรากฏแล้วก็หายไปเท่านั้นเองฯ นิมิตที่ปรากฏนั้น คือ อุคคหนิมิต ๑ ปฏิภาคนิมิต ๑ นิมิตที่ปรากฏเห็นดวงหทัยของตนใสสว่างเหมือนกับดวงแก้ว แล้วยึดหน่วงเหนี่ยวรั้ง ให้ตั้งสติกำหนดจิตไว้ให้ดี เรียกว่า อุคคหนิมิต ไม่เป็นของน่ากลัวฯ นิมิตที่ปรากฏเห็นคนตาย สัตว์ตาย ผู้ไม่มีสติย่อมกลัว แต่ผู้มีสติแล้วย่อมไม่กลัว ยิ่งเป็นอุบายให้พิจารณาเห็นเป็นอสุภะ แยกส่วนแบ่งส่วนของกายนั้นออกดูได้ดีทีเดียว และน้อมเข้ามาพิจารณาภายในกายของตนให้เห็นแจ่มแจ้ง จนเกิดนิพพิทาญาณ เบื่อหน่ายสังเวชสลดใจ ยังใจให้ตั้งมั่นเป็นสมาธิมีกำลังยิ่งขึ้น เรียกว่า ปฏิภาคนิมิตฯ มีวิธีที่จะแก้นิมิตได้เป็น ๓ อย่างคือ วิธีที่ ๑ ทำความนิ่งเฉย คือ พึงตั้งสติกำหนดจิตนั้นไว้ให้มั่นคง ทำความสงบนิ่งแน่วเฉยอยู่ในสมาธิ แม้มีนิมิตอะไร ๆ มาปรากฏ หรือรู้เห็นเป็นจริงในจิตอย่างไรไม่ต้องหวั่นไหวไปตาม คือ ไม่ต้องส่งจิตคิดไป […]
ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่า “ใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า” ธรรมะเปิดโลกจาก พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ
ทำอย่างไรจึงจะเรียกว่า ” ใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า ” ธรรมะเปิดโลกจาก พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ การใช้ชีวิตให้คุ้มค่า หลายคนอาจจะมีความเห็นที่แตกต่างกันออกไป พระพุทธศาสนามีมุมมองการ ใช้ชีวิตได้อย่างคุ้มค่า อย่างไร พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญได้กล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ดังนี้ การใช้ชีวิตของเราในฐานะที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ให้รู้ว่าเราควรจะใช้ชีวิตของเราอย่างไร เราจะต้องเดินทางต่อไปอย่างไรอีก การเดินทางของชีวิตของแต่ละคน เดินทางกันมายาวนาน ยาวไกล ไม่รู้ว่าเริ่มต้นเมื่อใด และไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดวันไหน ณ สถานที่แห่งใด ร่างกายมันมีอายุของมัน อายุขัยของมันอยู่ได้ช่วงอายุขัยของมันเท่านั้นเอง แต่เมื่อร่างกายแตกสลายหรือตายไปแล้ว จิตมันก็ต้องเดินทางต่อไปอีก ไปหาที่เกิดอีก ไม่จบไม่สิ้น สิ่งที่นำจิตไปเกิดก็คือตัณหาที่อยู่ในจิต เกิดทุกชาติไม่ว่าจะเกิดเป็นอะไรก็มีความทุกข์ติดไปด้วย ทุกข์กับกาย ทุกข์กับจิต ทุกข์กับการที่จะต้องใช้ชีวิตอยู่ แล้วเมื่อตายไป มันก็ต้องไปเกิดอีก นี่คือการเดินทางที่แท้จริงของชีวิต จนกว่ามันจะหมดตัณหาหรือหมดกิเลสนั่นเอง จึงไม่มีเหตุที่จิตจะต้องไปเกิดอีก ถ้าเราไม่เข้าใจอย่างนี้แล้ว เราก็ไม่รู้ว่าเราจะใช้ชีวิตของเราอย่างไร แล้วก็คิดว่า เกิดมาทั้งที แสวงหาความสุข สุขที่ชาวโลกปรารถนาคือ สุขจากการเสพรูป เห็นอะไรที่สวยงาม เสียงฟังอะไรที่ไพเราะ ได้กลิ่นที่เราชื่นชอบ สัมผัสกับสิ่งที่นุ่มละไม ชาวโลกก็ต่างปรารถนา สุขอย่างนี้ในรูป ในเสียง ในกลิ่น […]
รักอย่างไรไม่ให้เป็นทุกข์ ธรรมะเติมใจจาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
รักอย่างไร ไม่ให้เป็นทุกข์ ธรรมะเติมใจจาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ไม่มีใครอยากทุกข์เพราะความรัก แต่จะทำอย่างไรไม่ให้ความรักเป็นทุกข์ รักอย่างไร ไม่ให้เป็นทุกข์ ต้องเป็นความรักแบบไหนกัน ธรรมะจากแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุตอาจช่วยเติมเติมหัวใจของคุณได้ไม่มากก็น้อย ถ้าจะพูดเรื่องความรักก็ต้องเริ่มต้นจากรักตัวเองให้เป็น ไม่มีอะไรมีค่าเท่ากับชีวิต เมื่อคุณรู้ว่าชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่าที่สุด คุณก็ต้องรักสิ่งที่มีค่าที่สุด จะใช้ชีวิตอย่างไร อย่างรักตัวเอง ไม่เบียดเบียน ถ้าเราเริ่มต้นได้จากการรักตัวเอง อย่างเคารพสิ่งที่ดีที่สุด เราก็ไม่ใช้ชีวิตชุ่ย ไม่ใช้ชีวิตเป็นไปเพื่อเบียดเบียนตัวเอง ไม่เบียดเบียนคนอื่นซึ่งจริง ๆ แล้วเป็นความโก้ เป็นความรักที่โก้มาก ตลอด 2600 ปี เราก็ได้รับการเล่าขานกันมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ว่าพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงมีความรักต่อครอบครัว แต่ไม่รักแค่เพียงเป็นพระมเหสี หรือเป็นพระราหุลคือลูกของพระองค์เท่านั้น หรือไม่รักพระเจ้าสุทโธทนะแค่เพียงเป็นพระบิดาของพระองค์เท่านั้น แต่พระองค์คิดว่าถ้าพระองค์จะรักได้มากกว่าที่รักครอบครัวตัวเองคือรักมนุษยชาติ หมายความว่า ถ้าเรารักสิ่งที่เรารัก เราต้องทำให้สังคมของคนที่รักปลอดภัย พระองค์จึงพัฒนาความรักของพระองค์อยู่เหนือเงื่อนไขของการเข้าไปครอบครอง เมื่อพระองค์ไม่มองว่า ความรักต้องเข้าไปครอบครอง พระองค์ก็ต้องศึกษาว่า รักอย่างไรให้เป็นจะได้ไม่เป็นทุกข์ ความรักที่มีต่อมวลมนุษยชาติที่พระองค์ได้ค้นคว้าอยู่ใน 6 ปี ก็ทำให้พระองค์กลับไปรักครอบครัวได้ ไม่ว่าจะมีสมมติฐานตอนนั้นเป็นพระสวามี เป็นพระโอรส หรือเป็นพระบิดา บทบาทสมมตินั้นถูกรับใช้ด้วยความรักของพระองค์ที่ไม่มีเงื่อนไข รักมนุษยชาติ มนุษย์ทั้งผองเป็นพี่น้องกัน พระองค์ได้พิสูจน์ว่ามนุษย์พ้นทุกข์ได้ […]
แก้นิสัยโกรธได้อย่างไร ธรรมะคลายความโกรธจาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต
แก้นิสัยโกรธได้อย่างไร ธรรมะคลาย ความโกรธ จาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต คือถ้าเรามองว่าอารมณ์หนึ่ง อารมณ์ใดที่ปรากฎขึ้นแล้วทำให้เราอึดอัด ความโกรธ ดูเป็นอารมณ์ที่คนเห็นชัดที่สุด แต่จริง ๆ ก่อนโกรธมันมีความไม่รู้ มันมีโมหะ ความไม่แน่ใจ ความรำคาญใจ ไม่เป็นดั่งใจ เห็นไหมว่ามันไล่มาก่อนหรือบางทีมันมีความอยากได้ พอไม่ได้ก็โกรธ มันมีราคะพลิ้วมาก่อนเลย มันมีราคะ มันมีโทสะแบบมันเหมือนเรามองเข้าไปแล้วเราไปเห็นตอนที่โกรธ แต่ก่อนที่จะโกรธมันมีความไม่รู้เกิดขึ้น คุณแม่อยากให้เราเจริญสติ เพื่อรู้ทัน พอไปถึงโกรธแล้วจะแก้ยังไง มันก็เหมือนจิตใจไม่เข้มแข็ง ลองสังเกตอย่างนี้ รำคาญนิด ๆ ไม่เป็นดั่งใจ บ่นหน่อย ๆ จนกลายเป็นพูดร้ายแล้วก็คำรามว่า “เดี๋ยวเถอะ เดี๋ยวเถอะ” เห็นไหมมันมีแอคชั่น กระทบ กระเทือน กระแทกแบบเร็วมาก แต่ถ้าเรากระทบแต่เรารู้ทันกระเทือน เราก็จะไม่กระแทกเราจะเบรกไว้ได้ เช่น พอโกรธเรารู้ทันโกรธ หนึ่งลมหายใจความโกรธกำลังคลายคืน เอาสติกลับมาอยู่ที่ลมหายใจ ลมหายใจเป็นเครื่องมือ เทคนิคคือ อานาปานสติภาวนา ถ้าเราใช้อานาปานสติเห็นความโกรธแค่มาแล้วไป ใจของเราก็จะไม่พยาบาทไม่เอาคืน แสดงว่าเป็นการยุติ หรือถ้าเรามองดูไฟไหม้บ้าน เราจะไปถกเถียงทำไมว่าใครจุดไฟ เราก็ดับไฟก่อน […]
ควรวางใจอย่างไรเมื่อมีคนคิดร้ายกับเรา ธรรมะเตือนใจจาก พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ
ควรวางใจอย่างไรเมื่อมี คนคิดร้ายกับเรา ธรรมะเตือนใจจาก พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ ถ้ามีคนคิดร้ายต่อเรา มี คนคิดร้ายกับเรา เราควรจะมีวิธีวางจิตวางใจหรือปฏิบัติการกับเขาเยี่ยงไรอย่างไรดี ดีมากเลยนะ ซึ่งในสังคมอย่างนี้มันต้องเกิดแน่นอนเลย การที่เราจะไปห้ามไม่ให้ใครคิดร้ายกับเรา คิดไม่ดีกับเรา ปองร้ายเรา หรือนินทา หรืออิจฉาต่าง ๆ นานา ทำไม่ได้อยู่แล้ว มันทำไม่ได้ ยังไงก็ต้องมี พูดถึงประเด็นนี้ก่อน ยังไงก็ต้องมี ยังไงก็ต้องเจอ เช่นบทกลอนไง ที่โบร่ำโบราณท่านกล่าวมาไว้เสมอ ๆ ว่า อันนินทากาเลเหมือนเทน้ำ ไม่ชอกช้ำเหมือนเอามีดมากรีดหิน แม้แต่องค์พระสัมมายังราคิน พระอาจารย์นวลจันทร์เดินดินหรือจะสิ้นคนนินทา สมมติไม่มีทาง ฉะนั้นก็คือหลักปฏิบัติ ปฏิบัติการคือเมื่อมีคนคิดไม่ดีกับเรา มีคนคิดร้ายกับเรา ตามกฎแห่งแรงดึงดูด เราเองนั่นแหละเคยคิดไม่ดีกับเขา เคยคิดร้ายกับเขา ไม่ดีมันจึงดูดไม่ดีมาตามกฎธรรมชาติ กฎแรงดึงดูด กฎพลังงาน เมื่อเราจุดเริ่มต้น เหตุหนึ่งก็คือว่า เราเคยคิดไม่ดีกับเขา เคยมุ่งร้าย เคยไม่ปรารถนาดี เคยนินทาเขาไว้ มันก็เลยดึงดูด ทำให้มีสิ่งหนึ่ง ๆ เขาก็เป็นแค่ตัวละครซึ่งมันเป็นกฎธรรมชาติ เป็นตัวละครว่าเขาก็คิดไม่ดีกับเรา พูดไม่ดีกับเรา ทำไม่ดีกับเรา […]
ประโยชน์ของสมาธิ ธรรมโอวาทจาก หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ
ประโยชน์ของสมาธิ ธรรมโอวาทจาก หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ หลวงปู่ศรีจันทร์ วณฺณาโภ ได้มีธรรมโอวาทเกี่ยวกับเรื่องสมาธิ และประโยชน์ของสมาธิ ไว้ดังนี้ สมาธิ ภิกฺขเว ภาเวถ สมาหิโต ยถาภูตํ ปชานาติ แปลว่า ภิกษุทั้งหลาย ท่านทั้งหลายจงยังสมาธิให้เกิด ชนผู้มีจิตเป็นสมาธิแล้วย่อมรู้ความจริง เพราะเหตุไร พระศาสดาจึงทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ เพราะใจที่ได้อบรมดีแล้วย่อมเป็นไป เพื่อประโยชน์อันใหญ่ คนเราจะทำจะพูดดีหรือเสียก็เพราะใจ ลำพังกายเหมือนรูปหุ่น ใจเหมือนคนชักรูปหุ่น จะกระดิกพลิกแพลงไปเท่าไร ก็ส่อใจของคนชัก ฉันใด อาการกายวาจาจะเป็นไปอย่างไร ก็ส่ออาการของใจ ฉันนั้น อีกอย่างหนึ่ง กายเหมือนเรือ ใจเหมือนนายเรือ ถ้านายเรือไม่ได้รับฝึกหัดให้ชำนิชำนาญหรือประมาทไป ก็จะพาเอาเรือไปเป็นอันตรายเสีย ต่อเป็นผู้ได้ศึกษาและมีสติ จึงจะสามารถพาไปถึงท่า ฉันใด ใจก็ฉันนั้น ที่ชั่วและปล่อยให้ระเริงก็จะชักจูงให้ประพฤติชั่วทางกายทางวาจามีประการต่าง ๆ ล้วนแต่เป็นส่วนเสียหาย ถ้าได้รับการอบรมในทางดีจึงจะชักจูงในทางดี ท่านกล่าวว่าใจที่ไม่ได้อบรมอาจทำคนให้ฉิบหาย ยิ่งกว่าโจร หรือคนมีเวรจะทำให้เสียอีก ใจที่ได้รับการอบรมอาจทำได้ดียิ่งกว่าบิดามารดาและญาติผู้รักใคร่จะพึงทำให้ได้ เพราะเหตุนั้นพระศาสดาผู้ทรงพระกรุณาใหญ่แสวงหาประโยชน์แก่ประชาชน จึงได้ทรงชักนำในอันบำเพ็ญสมาธิ สมาธินั้น พึงรู้อย่างนี้ ใจนี้อบรมดีแล้วย่อมเห็นอรรถเห็นธรรมแจ้งชัด ทำอะไรย่อมจะสำเร็จ […]
“การรู้จักตัวเอง” ทำให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างไร ธรรมะตื่นรู้จากพระไพศาล วิสาโล
” การ รู้จักตัวเอง ” ทำให้เราพ้นทุกข์ได้อย่างไร ธรรมะตื่นรู้จากพระไพศาล วิสาโล การ รู้จักตัวเอง ส่งผลดีต่อทางโลกและทางธรรมอย่างไร พระอาจารย์ไพศาล วิสาโลได้แสดงธรรมเรื่องนี้ไว้ดังนี้ มันมีความหมายหลายระดับ ระดับง่ายๆ คือว่า รู้ว่าเราถนัดอะไร ชอบอะไร อันนี้เป็นปัญหาของคนสมัยนี้มาก ยกตัวอย่างเช่น เวลาจะเรียนหนังสือ เรียนจนจบ ม.6 แล้วก็ยังไม่รู้เลยว่าถนัดอะไร ชอบอะไร แล้วเวลาจะเลือกคณะ ก็เลือกไม่ได้ว่าตัวเองถนัดอะไร ชอบอะไร เลือกตามเพื่อน หรือว่าตามพ่อแม่ เรียนจบมาแล้วก็เคว้งนะ ไม่รู้ว่าจะทำอะไร หรือว่าทำงานในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด แล้วก็ไม่สามารถจะปลุกใจให้ชอบได้ เพราะฉะนั้นก็กลายเป็นว่าทำงานแล้วมีความทุกข์ ทำงานแล้วก็ไม่ประสบความสำเร็จ อันนี้เจอเยอะเลย คือทุกข์ตั้งแต่เรียนหนังสือแล้ว เพราะว่าไม่รู้ว่าเรียนกันไปทำไม ไม่ชอบ ไม่ถนัดสักวิชาเลย มันเป็นปัญหาพื้นฐานของคนสมัยนี้เลย แม้กระทั่งว่าจะแต่งงานก็ยังไม่รู้เลยว่าเรารักเขา หรือว่ามันเป็นแค่ความใคร่กันแน่ คือถ้าเรารู้จักตัวเองเราก็ต้องรู้ว่าเรารักเขา หรือว่ามันเป็นแค่ความใคร่ แล้วเราจะพบว่าหลายคนพอแต่งงานไปแล้วอยู่ได้ไม่นาน 2-3 เดือน 1 ปีก็หย่ากัน เพราะว่าความใคร่มันจืดจาง แล้วมันไม่มีความรักเป็นตัวประสาน คนจำนวนมาก เลือกคู่ก็ไม่รู้ด้วยซ้ำ ว่าเลือกไปเพราะจูงใจอะไร […]
“ม่านหมอกแห่งอวิชชา” ธรรมะดีๆ โดย หลวงพ่อโพธินันทะ
“ม่านหมอกแห่งอวิชชา” ธรรมะดี ๆ โดย หลวงพ่อโพธินันทะ การปลดปล่อยสรรพชีวิตทั้งปวงให้เป็นอิสระเป็นคุณธรรมของวิสุทธิบุคคลและเป็นความก้าวหน้าในการปฏิบัติภาวนา การพำนักอยู่อย่างสันโดษ อย่างไม่หวั่นไหวต่อสิ่งรบกวน มันเป็นวิถีทางปกติธรรมดาสำหรับผู้แสวงหาความหลุดพ้น ธรรมชาติที่แท้จริงของจิตประภัสสรนั้นสว่างไสวอยู่เหนือถ้อยคำอธิบายที่เต็มไปด้วยทัศนะที่สุดโต่งทั้งสอง ไม่มีการเกิดและการดับ ไม่มีอะไรทำอันตรายมันได้ ไม่สามารถตกแต่งสีสันรูปลักษณ์มันได้ มันเป็นเช่นนั้นเองตามที่มันเป็น ถ้าเราเข้าถึงมัน กาลเวลาจะสิ้นสุดลง เพราะอวิชชาทำให้เกิดมิจฉาทิฏฐิที่เห็นว่ามีตัวตนเป็นผู้กระทำ และสิ่งที่ถูกกระทำมีอยู่จริง แต่มันเป็นเพียงภาพมายาดั่งเมฆหมอกหรือน้ำลวงตาที่เกิดจากการสะท้อนของเปลวแดดในทะเลทราย ด้วยการอาศัยจักขุวิญญาณที่เกิดจากอวิชชาในระดับจิตสามัญสำนึก มองภาพเป็นดั่งม่านหมอกที่สังขารปรุงแต่งขึ้น ด้วยกระบวนความคิดที่หลั่งไลมาจากจิตสามัญสำนึกด้วยอวิชชา สร้างกาลเวลาอันหาจุดจบไม่ได้ในสังสารวัฏ มายาภาพทั้งหลายเหล่านี้จึงไม่มีอะไรที่เป็นแก่นสาระของชีวิต การพิจารณาเห็นโทษภัยของชีวิตที่ถูกร้อยรัดพันธนาของโลกธรรม ๘ ประการ และมหันตภัยของกฎแห่งกรรมในสังสารวัฏ พึงถือเอาดวงแก้วทั้งสามคือพระรัตนตรัยมาเป็นสรณะ การบำเพ็ญภาวนาบนวิถีของจิตหนึ่งเดียว “เอกายนมรรค”* จึงจะสามารถขจัดเมฆหมอกแห่งอวิชชาลงได้ และบรรลุถึงสุญญตภาวะอันสมบูรณ์ด้วยสัมมาญาณทัศนะ สว่างไสวอยู่ในอาณาจักรที่ไม่อาจสร้างขึ้นหรือทำให้สูญสลายไปได้ ย่อมไม่หวั่นไหวขณะดำรงชีวิตอยู่หรือกำลังจะตาย *เอกายนมรรค หมายถึง ทางอันเอก คือข้อปฏิบัติอันประเสริฐที่จะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ความพ้นทุกข์ (นิพพาน) ได้แก่สติปัฏฐาน ๔ ที่มา : ทีฆนิกาย มหาวรรค…ไตร – เล่มที่ ๒ ข้อ ๓๐๐ หน้า ๒๗๗ […]
ถ้าไม่มี “ ขันติ ” จะเกิดอะไรขึ้น โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ
ถ้าไม่มี “ ขันติ ” จะเกิดอะไรขึ้น โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ ขันติ คือความอดทน อดกลั้น มีตั้งหลายอย่าง เช่น อดทนทางกาย กายที่เราจะต้องลำบาก กายที่เราจะต้องเหนื่อยมาก หนาวก็ต้องอดทน ร้อนก็ต้องอดทน เจ็บไข้ได้ป่วยก็ต้องอดทน เหนื่อยก็ต้องอดทน หิวก็ต้องอดทน เมื่อเราเจอกับสภาพอย่างนั้น อดทนทางวาจาทั้งต่อตัวเราและของคนอื่น วาจาที่เราคิดอยากจะพูดประทุษร้ายคนอื่นก็ต้องกลั้นเอาไว้ อดทนเอาไว้ ไม่พูดในสิ่งนั้น ที่เป็นโทษเป็นภัย ทั้งต่อตัวเราเองและคนอื่น แม้วาจาของคนอื่น ที่เช้ามากระทบกระทั่งเรา ซึ่งเป็นธรรมนั่นแหละ ก็คนเราอยู่ร่วมกัน บางทีเขาก็เจตนา บางทีเขาก็ไม่เจตนา แต่เราไปรับเอาเอง ก็ต้องอดทนอดกลั้น ถ้าเราไม่อดทนอดกลั้นแล้ว เราไปแสดงอารมณ์ออกไป หลุดออกไป มันก็เสียไมตรีได้ แล้วไม่เพียงแต่เท่านั้น ความทุกข์ใจทั้งหลายที่คนอื่นเขากระทำต่อเรา เราก็ต้องอดทน บางทีต้องทนฟัง ทนอยู่ร่วมด้วย ทนลำบากตรากตรำ เพราะถ้าเราไม่อดทนต่อสิ่งไหนแล้ว เราก็จะตัดความสัมพันธ์ต่อสิ่งนั้น ถ้าเราอดทนไปสักหน่อย ที่ว่าไม่ดี กลับดีก็ได้ แล้วชีวิตคนจะให้ไปถูกอกถูกใจไปทุกอย่าง มันเป็นไปได้อย่างไร บางอย่างมันก็ไม่ถูกอกถูกใจเรา แต่ทนไปอีกสักนิด […]