สร้างนิสัยมองโลกในแง่ดี ธรรมะจากแม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต

สร้างนิสัย มองโลกในแง่ดี ธรรมะจาก แม่ชีศันสนีย์ เสถียรสุต ถ้าเรา มองโลกอย่างที่โลกเป็นแล้วใจไม่เป็นทุกข์ เรามองโลกตามความเป็นจริง เรามองโลกอย่างที่เราอยากให้โลกเป็น อันนี้แหละ เสแสร้ง เพราะฉะนั้น ถ้าเรามองโลกแบบชนิดที่เราอยากปลอบตัวเอง แต่มันไม่จริงแล้วเราคิดว่าเรากำลังมองอย่างเชิงบวก มองโลกในแง่ดี อันนี้อาจจะไปไม่สุดที่สุดแห่งการพ้นทุกข์ พระพุทธเจ้าทรงอยู่เหนือบวก เหนือลบ มองทุกอย่างตามความเป็นจริง บวกก็ไม่เที่ยง ลบก็ไม่เที่ยง อันนี้คือมองตามความเป็นจริง เวลาเราจะคิดอะไรให้คิดตามความเป็นจริง ยกตัวอย่าง ถ้าเขานินทาเรา ความจริงคือเขานินทาเรา แต่เรารู้ว่าเขาไม่รู้อะไร เขากำลังทุกข์อะไร ทำไมเราจะเกลียดคนที่กำลังนินทาเราได้ เป็นไปไม่ได้ อันนี้เป็นความจริง แต่ถ้าเราบอกว่าเขานินทาเรา เดี๋ยวเขาก็หายเอง ทน ๆ ไปก่อนเถอะทีนี้เราดูเหมือนเรามองเขาดูดี แต่มันไม่เข้าถึงความจริง ความอดทนอาจจะมีขีดจำกัด ลูกอาจจะระเบิดสักวันนึง อันนี้ไม่ใช่ความจริง จริงไหม เวลาที่เราไปอธิบายตอนนี้ ตอนที่เขากำลังทุกข์ เขาไม่ฟัง เราก็อย่าเข้าไปอธิบายพูดมากก็เสียมาก พูดน้อยก็เสียน้อย ไม่พูดก็ไม่เสีย ใจของเราก็เป็นกลาง วางด้วยความเข้าใจ และถ้าวันหนึ่ง เขาเดินเข้ามาขอว่าเขาทุกข์เหลือเกินกับสิ่งที่เขากำลังคิดกับเรา เขาให้เราได้มีโอกาสอธิบาย อันนี้ก็สบายเลย เราก็พูดทุกอย่าง ตามที่เราจะคลี่คลายสถานการณ์นั้น […]

จากวัดร้างตระพังจิกสู่โควิด 19

จากวัดร้างตระพังจิกสู่โควิด 19 นับตั้งแต่มีข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อโควิดในจีน จนพบคนไทยติดเชื้อโควิดเป็นรายแรกในช่วงปลายเดือนมกราคม แรกๆ พวกเรายังรู้สึกว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องไกลตัว จนกระทั่งเกิดการแพร่ระบาดรุนแรงที่อิตาลี จนเกิดกรณี Super-spreader จากสนามมวย และผับในไทย ทำให้เมฆหมอกของความกลัวเข้ามาเกาะกุมจิตใจ จนไม่สามารถใช้ชีวิตในที่สาธารณะแบบปกติ จะหยิบจับสัมผัสอะไร ก็ระแวงไปหมดว่า “มีไวรัสเกาะมั้ยเนี่ย?” พร้อมกับคำถามลึกๆ ในใจว่า “เราติดหรือยังนะ?” จนเกิดวลีเด็ดสะท้อนความรู้สึกร่วมของผู้คนในยุคโควิด 19 ที่ว่า “สุขภาพกายโควิด สุขภาพจิตโคม่า” เมื่อสถานการณ์การระบาดในประเทศเลวร้ายขึ้น จนต้อง “อยู่บ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” อาการที่สะท้อนระดับความกลัวที่เร่งตัวขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการเสพข่าวโควิดจนแทบไม่มีเวลาพิจารณาว่า ข่าวจริงหรือข่าวปลอม หรือการทุ่มซื้อหน้ากากอนามัยจนโรงพยาบาลขาดแคลน และเปิดโอกาสให้คนเก็งกำไรทำให้ราคาพุ่งสูงขึ้นเกือบ 20 เท่า จนมาถึงวันนี้ ที่ดูเหมือนคลื่นลูกแรกของโควิดจะเริ่มคลี่คลาย แต่ไม่มีใครรู้ว่า คลื่นลูกที่ 2 จะกลับมาเมื่อไร จะรุนแรงเพียงใด หรือจะเกิดพัฒนาการของโรคใหม่ก็สุดจะประเมิน ดังนั้น สิ่งสำคัญคงหนีไม่พ้นการเตรียมใจเราพร้อมดีที่สุด     ในโอกาสครบรอบวันคล้ายวันเกิดของท่านอาจารย์พุทธทาสหรือ “วันล้ออายุ” (๒๗ พฤษภาคมนี้) ปีที่ ๑๑๔ พวกเราถือโอกาสไปค้นคว้าประสบการณ์ท่านอาจารย์ที่เคยก้าวข้ามความกลัวในใจตัวเองมาเล่าสู่กันฟัง เพื่อให้ท่านผู้อ่านมีวิธีเตรียมพร้อมจิตใจ   ประสบการณ์ความกลัวของท่านอาจารย์ ในช่วงที่ท่านตั้งใจสร้างสวนโมกข์ (แห่งแรก) ที่วัดตระพังจิก ซึ่งเป็นวัดที่ร้างมาไม่น้อยกว่า ๘๐ ปีขณะนั้น ท่านบันทึกไว้ในหนังสือสิบปีสวนโมกข์ว่า ตลอดเวลา ๒ ปีแรกนั้น ไม่มีใครอาศัยอยู่ในสวนโมกข์เลย มีแต่ฉันอยู่คนเดียว … ทั้งในและนอกพรรษา […]

ธรรมลิขิต ๑๒ ฉบับ จากพระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร)

ธรรมลิขิต ๑๒ ฉบับ จากพระญาณสิทธาจารย์ (หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร) เมื่อปี ๒๕๐๖ หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร ได้เมตตาไปอยู่จำพรรษาที่วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ ท่านได้มีลิขิตเป็นจดหมายชี้แจงข้ออรรถ ข้อธรรมสั้น ๆ แต่มีใจความลึกซึ้ง ส่งถึงคณะทางวัดสันติธรรม จ.เชียงใหม่ เป็นครั้งคราว เท่าที่ท่านอาจารย์บุญกู้ อนุวฑฺฒโน วัดอโศการามได้เก็บรวบรวมไว้มีจำนวน ๑๒ ฉบับ ลงพิมพ์เป็นธรรมเมตตาอนุสรณ์ใน “พุทฺธาจารปูชา”   ฉบับที่ ๑ ให้ละกิเลสออกจากจิตให้หมดทุกคน กิเลสนี้แหละทำให้คนเราเดือดร้อนวุ่นวายอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด กิเลสนั้นท่านย่นย่อเข้ามา ก็คือ ความโกรธ ความโลภ ความหลง ๓ อย่างนี้เท่านั้น ทำไมจึงเกิดมาสร้างกิเลสให้มากขึ้นไปทุกภพทุกชาติ ทำไมหนอ ใจคนเราจึงไม่ยอมละ การละไม่หมดสักที ในชาติเดี๋ยวนี้ให้ตั้งใจละทั้งพระและทั้งเณร ญาติโยมทั้งหลาย ความโกรธเมื่อเกิดขึ้น อย่าโกรธไปตาม ถ้าไม่ได้โกรธไปตาม มันจะตายเทียวหรือ ? ทำไมจึงไม่ระลึกอยู่เสมอ ๆ ว่า เราจะละความโกรธให้หมดสิ้นไปในเวลาเดี๋ยวนี้ ๆ อย่าได้มีความท้อถอยในการสร้างความดี […]

ฝึกอ่านจิตเพื่อปล่อยวาง โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม

ฝึกอ่านจิต เพื่อปล่อยวาง โดย พระอาจารย์มานพ อุปสโม ฝึกก็คือ ฝึกอ่านจิต ตัวเอง ก็ใจของเราจริง ๆ เรารู้ว่าใจของเรากำลังรู้สึกอย่างไร เรากำลังสบายใจเรารู้ตัวเอง เราไม่สบายใจเราก็รู้ตัวเอง ฉะนั้นที่เรารู้ตัวเองตรงนั้น เราเพิ่มเข้าไปอีกนิดนึง พอรู้สึกสบายใจแล้วเรารู้ตัวเองว่าเราสบายใจ พอเรารู้ว่าสบายใจให้มองไปที่ความรู้สึกสบายใจนั้น พอรู้สึกไม่สบายใจก็มองเข้าไปที่ความรู้สึกไม่สบายใจ มองตรงนี้บ่อย ๆ เขาเรียกว่าฝึกอ่านความรู้สึก พอเรามองเข้าไปเราก็จะค่อย ๆ เห็นความเป็นจริง ว่ารู้สึกสบายใจมันเกิดจริง แต่เดี๋ยวนี้มันดับแล้ว พอเรามองมันมันก็ดับไป เพราะว่าอายุของความรู้สึกตรงนี้มันมีหนึ่งขณะจิต เกิดขึ้นมาหนึ่งขณะจิตแล้วดับลงทันที พอเราเข้าไปมองคราวนี้จิตใจเราก็เกิดการรอบรู้ขึ้นมา รู้ว่ามันเกิดขึ้นแล้วดับไป เกิดขึ้นแล้วดับไป พอเห็นเกิดขึ้นแล้วดับไปใจก็จะวางเฉย แต่ถ้าเรายังไม่สามารถอ่านความรู้สึกตัวเราเองได้ ตรงนี้ต้องฝึกเจริญสติ ในการฝึกเจริญสตินี่พระพุทธเจ้าก็มีแนวอุบายวิธีหลายอย่าง ฝึกเจริญสติด้วยการติดตามดูร่างกาย เดินแล้วไปตามดูอาการเดิน ยืนแล้วก็ตามดูร่างกายในขณะยืน นั่งอยู่แล้วไปตามดูอาการของกายในขณะนั่ง นอนอยู่แล้วก็ไปตามดูอาการของกายในขณะนอน ไปตามดูร่างกายในขณะเดิน ขณะยืน ขณะนั่งแล้วก็ขณะนอน พอไปตามดูกายบ่อย ๆ สติก็เกิด พอสติของเราเกิดคราวนี้สัมปชัญญะรอบรู้ก็เกิด พอเราเห็นกายจนชำนิชำนาญต่อไปก็ค่อย ๆ เห็นความรู้สึกก็เลยต้องมาฝึก ถ้าการปฏิบัติธรรมก็ฝึกเดินจงกรมหรือฝึกนั่งสมาธิ อย่างนั่งสมาธิเราก็หายใจเข้าเราเพียงมองดู หายใจออกเพียงมองดู นั่นคือเป็นการฝึกเจริญสติอย่างหนึ่ง […]

ปัญหาธรรม : เราสามารถกำหนดภพภูมิได้หรือไม่ โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ

ปัญหาธรรม : เราสามารถ กำหนดภพภูมิ ได้หรือไม่ โดย พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ เมื่อพูดถึงความตาย หลายคนอาจนึกถึง “จิตสุดท้าย” แต่เราจะสามารถ กำหนดภพภูมิ ของเราได้หรือไม่ เพื่อให้จิตสุดท้ายพาเราไปสู่ภพภูมิที่ดี พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญได้ไว้ดังนี้ หลักของการเกิดในชาติต่อไปพระพุทธองค์ตรัสเอาไว้ว่า ถ้าจิตเศร้าหมองในขณะที่จะขาดใจตาย ไปอบายภูมิ หรือทุคติภูมิ อันมีนรก เปรต อสูรกาย สัตว์เดรัจฉาน ไปตามคุณสมบัติของจิตในขณะจะขาดใจตายนั่นเอง แต่ถ้าจิตผ่องใสก็จะไปสุคติภูมิอันมีมนุษย์ เทวดา 6 ชั้น พรหม 20 ชั้น เพราะฉะนั้นเมื่อเรารู้อย่างนี้ ถ้าเราไม่อยากไปอบายภูมิซึ่งมันไม่มีใครอยากไป เวลาจะตาย เราก็ต้องพยายามประคับประคองจิตของเรา ในวาระสุดท้ายของชีวิตในชาตินี้ อย่าให้จิตมันเศร้าหมอง ให้จิตมีความผ่องใส จิตผ่องใสเป็นอย่างไร จิตมีความตั้งมั่นอยู่ในความสงบ นึกถึงความดีที่เราเคยทำไว้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยง นึกถึงพระรัตนตรัยเอาเป็นเครื่องนำทาง หรือจิตมีความกล้าหาญ อาจจองไม่หวั่นไหวต่อสิ่งต่าง ๆ มีปัญญาเข้าใจว่าถึงวาระแล้วที่จิตดวงนี้จะต้องเดินทางต่อไป ละสิ่งทั้งหลาย ละแม้กระทั่งร่างกาย เพราะฉะนั้นโอกาสที่คนตายไปแล้ว จะกลับมาเกิดเป็นคนในชาติถัดไปนี่จึงมีน้อย ส่วนใหญ่มันจะไปอบายภูมิก่อน พ้นกรรมเมื่อใดจึงจะกลับมาเกิดเป็นคนอีก ก็คิดดูเอา […]

ชาวพุทธดีใจ พระพรหมสิทธิ พ้นข้อกล่าวหา

ชาวพุทธดีใจ พระพรหมสิทธิ พ้นข้อกล่าวหา เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ดร.โฆสิต สุวินิจจิต ตัวแทนคณะศิษย์ พระพรหมสิทธิ ได้ชี้แจงกรณีพระพรหมสิทธิไม่ทุจริตคดีฟอกเงินว่า  “ ศาลตัดสินคดีฟอกเงินพระพรหมสิทธิกับอีก 3 พระเถระวัดสระเกศ ไม่พบการทุจริตใด ๆ แต่ผิด พ.ร.บ.ฟอกเงิน เนื่องจากคดีนี้เป็นคดีต่อเนื่องจากคดีที่แล้ว เหตุเชื่อว่ามีส่วนร่วมทำให้ข้าราชการสำนักพุทธฯ ทำผิดระเบียบราชการแต่ไม่ทุจริตผิด ม.157  ศาลจึงตัดสินจำคุกพระพรหมสิทธิ 4 ปี16 เดือน ปรับ 112,000 บาท แต่ให้รอลงอาญา 2 ปี โดยผู้พิพากษาแถลงสาเหตุให้รอลงอาญา 2 ปี สรุปได้ดังนี้ งบประมาณในคดีนี้ได้ใช้ไปเพื่อประโยชน์ของชาติและสังคม โดยที่ไม่มีเถยจิตใด ๆ รัฐไม่เสียหาย เป็นพระที่บวชตั้งแต่สามเณร จนถึงเป็นพระราชาคณะชั้นรองสมเด็จฯ ไม่เคยผิดธรรมวินัย ด่างพร้อยใด ๆ ไม่เคยต้องคดีใด ๆ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ เป็นเจ้าอาวาสวัดสระเกศอารามหลวง เป็นเจ้าคณะภาค10 เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม ได้ทำงานรับใช้พระพุทธศาสนา เป็นประโยชน์ต่อสังคมและพุทธศาสนามาตลอด […]

ทำงานอย่างไรให้มีความสุข ธรรมะน่าคิดจาก ท่าน ว.วชิรเมธี

ทำงานอย่างไรให้มีความสุข ธรรมะน่าคิดจาก ท่าน ว.วชิรเมธี ทำงานอย่างไรให้มีความสุข หลักการมันง่ายนิดเดียว ต้องทำในสิ่งที่เรารัก หรือมิเช่นนั้นก็ต้องรักในสิ่งที่เราทำ ถ้าเราทำในสิ่งที่เรารัก เราไม่ต้องแยกความสุข ออกจากการทำงาน แค่เราได้ทำงานก็มีความสุขแล้ว พระอาจารย์มักจะถูกถามเสมอว่า อะไรคือความสำเร็จในชีวิต พระอาจารย์พูดได้เลยว่า การที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เพราะว่าการที่เราได้ทำในสิ่งที่เรารัก รางวัลมันมาเลย 1. เราจะทำสิ่งนั้นได้เป็นอย่างดีเพราะอะไร เพราะว่ามันเป็นความถนัดส่วนตัวของเราใช่ไหม เพราะมันเป็นความถนัดส่วนตัวของเรา เรารักมัน ฉะนั้นเราจึงทำได้เป็นอย่างดี เหมือนพี่เบิร์ดรักการร้องเพลง พี่เบิร์ดพอทำปุ๊บพี่เบิร์ดก็จะมีความสุขทันที แล้วไม่ต้องขัดเขินด้วย ทำอย่างง่ายดายในขณะที่มันยากสำหรับคนอื่นเพราะเขาไม่รัก แต่สำหรับพี่เบิร์ดมันง่ายมากเพราะพี่เบิร์ดรักมันใช่ไหม ฉะนั้นถ้าเรารักสิ่งไหนสิ่งนั้นจากยากจะกลายเป็นง่ายทันที และ 2. ความสุขจะอยู่ตรงนั้น คุณไม่ต้องไปแยกความสุขออกจากการทำงาน ว่าช่วงนี้เราขอทำงานก่อน เสาร์อาทิตย์ค่อยไปหาความสุขไม่ต้อง ถ้าคุณรักสิ่งใดคุณได้ทำสิ่งนั้น ความสุขจะเป็นฝาแฝดของงานโดยอัตโนมัติ คุณทำในสิ่งที่คุณรัก คุณจะได้รับความสุขเป็นของกำนัล และไม่ต้องรอเวลาถัดไปด้วย เกิดขึ้นตรงนั้นเลย พระอาจารย์เทศน์ทุกวันสอนทุกวันเขียนหนังสือทุกวัน พระอาจารย์มีความสุขทุกวัน ฉะนั้นดัชนีชี้วัดความสำเร็จของพระอาจารย์ คือ ความสุข พอเราได้ทำในสิ่งที่เรารัก เราก็มีความสุข สุขทุกวันที่ได้ทำในสิ่งที่เรารัก ฉะนั้นก็สำเร็จทุกวัน ชีวิตประสบความสำเร็จทุกวัน เพราะเราเอาความสุขเป็นตัวตั้งในการทำงาน แต่ถ้าเรารอว่าเมื่อเราทำงานไปแล้วคนมาให้รางวัล ได้เงินเยอะ […]

อาถรรพ์และคำสาปแช่งมีผลต่อชีวิตจริงหรือไม่  พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

อาถรรพ์และ คำสาปแช่ง มีผลต่อชีวิตจริงหรือไม่  พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ เจริญพรเป็นคำถามที่น่าใจมาก คำสาปแช่ง มีจริงไหม แต่ผลจะเป็นไปตามคำสาปแช่งหรือไม่ ตรงนี้น่าสนใจ ผลก็มาจากเหตุ เช่น การที่คนนั้นถูกรถชน หรือว่าร่ำรวย หรือว่ายากจน หรือว่าเจริญ หรือว่าเสื่อม อันนี้เป็นผลที่เกิดจากการกระทำของเขาเอง ไม่เกี่ยวกับใครจะสาปหรือไม่สาป ใครจะยกย่องหรือไม่ยกย่อง มีกรรม ทำกรรมสิ่งไหนไว้ ก็เป็นเจ้าของแห่งกรรม เป็นทายาทแห่งกรรม มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ ถ้าเรายกตัวอย่างว่า ในสมัยพุทธกาล ถ้าบุคคลนั้น ประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ต่อให้คนทั้งโลก มาสวดอ้อนวอนขอร้อง ขอให้เขาไปสู่สุคติเถอะ ขอให้เขาไปสวรรค์ สู่นิพพาน เขาคนนั้นจะเป็นไปได้ไหม เพราะเขาประพฤติชั่วทางกาย ทางวาจา ทางใจ ตามกฎธรรมชาติมันผิด มันเป็นไปไม่ได้ ในทางกลับกัน ถ้าบุคคลคนนั้นในช่วงที่มีชีวิตอยู่ เขาเป็นผู้ที่ประพฤติกายสุจริต วาจาสุจริต และวจีสุจริต คือประพฤติดีทางกาย ทางวาจา และใจ ต่อให้คนทั้งโลกมาสาปแช่งเขา ขอให้แกจงชิบหาย ขอให้แกจงชิบหาย […]

“ทำซ้ำ ย้ำให้ได้ดี” ข้อคิดสะกิดใจ โดย พระไพศาล วิสาโล

“ทำซ้ำ ย้ำให้ได้ดี” ข้อคิดสะกิดใจ โดย พระไพศาล วิสาโล กิจวัตรหรือการปฏิบัติที่ซ้ำ ๆ ทุกวัน (ทำซ้ำ) แม้เรารู้สึกว่าเป็นเรื่องน่าเบื่อ อย่างการเดินจงกรมก็เดินกันเป็นชั่วโมง สร้างจังหวะก็สร้างกันเป็นชั่วโมง ทั้งวันมีแต่การสร้างจังหวะเดินจงกรม สำหรับคนเริ่มต้นใหม่ ๆ ก็อาจรู้สึกว่ามันน่าเบื่อ มองว่ามันเป็นเรื่องซ้ำซาก แต่ถ้าพิจารณาให้ดีก็จะพบว่า ที่ชีวิตเราเจริญได้ก็เพราะการทำสิ่งซ้ำ ๆ อย่างการหายใจเข้า-ออก ก็ทำซ้ำอยู่แค่นี้แหละทั้งวันทั้งคืน เรามีชีวิตอยู่ได้ก็เพราะการหายใจเข้า-หายใจออกแค่สองจังหวะเท่านี้แหละ ในทำนองเดียวกัน หัวใจเราก็เต้นแล้วเต้นอีก ก็เต้นซ้ำ ๆ กันไม่รู้กี่ล้านครั้งแล้ว ทีนี้ลองมาคิดเล่น ๆ ดูว่า ถ้ามันเต้นผิดจังหวะ หรือเปลี่ยนจังหวะเพราะมันเบื่อ มันอยากจะเต้นจังหวะใหม่ ๆ บ้าง เรานั่นแหละที่จะเดือดร้อน แม้แต่การเรียนหนังสือของเรา เราจะเขียน ก ไก่ ข ไข่ ได้ ก็เพราะเราทำซ้ำ ๆ นับร้อย ๆ ครั้ง จะท่องศัพท์จะท่องอาขยานก็ต้องท่องซ้ำ ๆ ศัพท์บางตัวกว่าจะจำได้ต้องท่องจำนับร้อย ๆ ครั้ง […]

จะดับ ความอยากได้ อยากมี ได้อย่างไร ธรรมะรู้ทันกิเลสจาก พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ

จะดับ ความอยากได้ อยากมี ได้อย่างไร ธรรมะรู้ทันกิเลสจาก พระอาจารย์ชาญชัย อธิปัญโญ ความอยากได้ อยากมี อยากเป็นถ้ามันถูกทำนองคลองธรรมไม่ผิด เพราะชีวิตของเรามันต้องหล่อเลี้ยงด้วยวัตถุ เพราะ เพราะร่างกายมันต้องใช้วัตถุบริโภค ร่างกายเป็นธาตุ 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย เครื่องใช้ไม้สอยก็เป็นธาตุ 4 ธาตุ 4 มันต้องตอบสนองบริโภคด้วยธาตุ 4 แต่ร่างกายของเรา อย่าลืม นอนมันก็นอนในที่จำกัดเท่านั้นแหละ ห้องออกกว้างใหญ่ เตียงออกกว้างใหญ่ แต่ร่างกายมันก็มีพื้นที่ที่จะนอนอยู่ในที่จำกัด มันจะดิ้นไปในเตียงกว้างใหญ่ได้ตลอดทั้งคืนได้ยังไง ใช่ไหม กินเนี่ย กระเพาราะของเราก็รับได้ในขีดจำกัดเท่านั้เนเอง นั่งรถโก้แค่ไหน มันก็นั่งในที่จำกัด ที่ก้นของเราหย่อนลงไปเท่านั้นแหละ ร่างกายของเรามันมีลิมิต มันมีขีดจำกัด แต่สิ่งที่เราไม่จำกัดเลยก็คือจิตใจ จิตใจมันไม่มีขีดจำกัด มันไม่มีลีมิต มันไม่อิ่ม ไม่เบื่อ ไม่เพียงพอต่อตัณหา มันดิ้นรน เสาะ แส่ แล้วก็ซัดส่ายไปหาตัณหา เพราะมันเป็นทาสแห่งตัณหา ปฏิเสธวัตถุมันก็ปฏิเสธไม่ได้ เพราะวัตถุนี่เป็นเครื่องยังชีพ เป็นเครื่องรองรับความเป็นอยู่และก็วัตถุเป็นเครื่องรองรับ กิจการงานอาชีพของเราก็ต้องใช้วัตถุนี่แหละ แต่จะหา […]

เมื่อรู้สึกแพ้แล้วใจเป็นทุกข์ควรทำอย่างไร ธรรมะให้ข้อคิดดี ๆ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เมื่อรู้สึกแพ้แล้ว ใจเป็นทุกข์ ควรทำอย่างไร ธรรมะให้ข้อคิดดี ๆ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ บางคนไม่ยอมพ่ายแพ้ คิดแต่จะเอาชนะเพียงอย่างเดียว แต่พอต้องแพ้ขึ้นมา ใจเป็นทุกข์ อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ใครที่เป็นแบบนี้แล้วกำลังทุกข์อยู่กับความพ่ายแพ้ อยากให้ลองเปลี่ยนความคิดและมองความพ่ายแพ้เสียใหม่ มันอาจเป็นความโชคดีก็ได้ พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญได้กล่าวไว้ดังนี้ ชีวิตไม่ได้มีด้านเดียว บางทีก็ล้มบ้าง แพ้บ้าง อะไรก็ได้ไม่จำเป็นต้องไปชนะตลอด มันมีรสชาติแห่งชีวิต ถ้าชนะตลอด เกรดเอตลอด เกรดสี่ตลอด เกียรตินิยมตลอด ไม่ค่อยมีรสชาติ ไม่ค่อยตื่นเต้นแล้ว บางทีถ้ามองว่าเป็นสีสัน สีสันแห่งการใช้ชีวิต มีแพ้บ้าง ชนะบ้าง แม้แต่นักมวยบางคน เขาชนะมาตลอดบางทีเขารู้สึกว่ามันจืดชืดมากเลย  แต่บางทีพอเจอแพ้บ้าง เขารู้สึกว่ามีแรงบันดาลใจอะไรบางสิ่งบางอย่าง แล้วก็จะได้ประสบการณ์ในความพ่ายแพ้ แล้วก็ได้เห็นจิตเห็นใจอะไรบางอย่าง แต่สุดท้าย ถ้าในแง่อยากฝากสำนวนไว้ก็คือว่า   “ ชนะได้เพราะไม่เอาชนะ บุคคลเมื่อไม่อาจพ่ายแพ้ ใหญ่ไม่พ่ายแพ้หมดจด ถ้าไม่อาจพ่ายแพ้ นั่นนับเป็นความพ่ายแพ้ที่ยิ่งใหญ่ ”   เราจะมีความดิ้นรนทางใจอย่างเหลือประมาณที่จะกันทุกวิถีทาง เพื่อไม่ให้พ่ายแพ้ เพื่อรักษาความเป็นเลิศ ความเป็นหนึ่ง เพื่อที่จะต้องชนะ […]

อะไรคือตัวกำหนดการเกิดของสรรพสิ่ง โดย ดร.สนอง วรอุไร

อะไรคือ ตัวกำหนด การเกิดของสรรพสิ่ง โดย ดร.สนอง วรอุไร ทุกการเกิดขึ้นมาของสรรพสิ่งล้วนมีเหตุและผล แต่เคยสงสัยไหมว่า อะไรเป็น ตัวกำหนด ว่าต้องเกิดเป็นมนุษย์ เทวดา เดรัจฉาน อสูรกาย เปรต และสัตว์นรก ดร.สนอง วรอุไรได้ให้คำตอบไว้ดังนี้ กรรมเป็นตัวกำหนด ลูกทำกรรมดีไม่เบียดเบียน ไม่ฆ่าสัตว์ อย่างหมา อย่าไปขังมัน อย่าไปล่ามมัน อย่าไปทุบตีมัน ปล่อยให้มันเป็นอิสระ อายุจะยืน ถ้าฆ่าสัตว์อายุจะสั้น เบียดเบียนสัตว์ก็เจ็บไข้ได้ป่วย นั่นมันอยู่ที่กรรมทั้งนั้นแหละลูก ไม่มีอะไรบังเอิญสักอย่าง หนูอยากอายุยืน คุณย่า คุณแม่ อายุ 90-100 อะไรอย่างนี้ สาธุ ๆ เลยรักษาไว้ดี ๆ กรรมหมายถึงการกระทำ มนุษย์ทำกรรมไว้ 3 ทาง กาย วาจา และใจ ที่เขาเรียก กายกรรม วจีกรรม มโนกรรม ถ้าเราทำสั่งสมไว้ พอทำแล้วมันจะเก็บสั่งสมในจิต ด้วยเหตุนี้ผู้รู้จึงให้ไปพัฒนาจิตให้มีสติ […]

การเห็นธรรมในธรรมเป็นอย่างไร ธรรมะเข้าใจธรรมชาติจาก หลวงพ่อเอี้ยน วิโนทโก

การ เห็นธรรมในธรรม เป็นอย่างไร ธรรมะเข้าใจธรรมชาติจาก หลวงพ่อเอี้ยน วิโนทโก เราอาจเคยได้ยินคำว่า ” เห็นธรรมในธรรม ” ซึ่งเป็นคำที่ใช้ในการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 ในขั้นที่ 4 คือ “ธัมมานุปัสสนา” อยากชวนทุกท่านมาทำความเข้าใจการเห็นธรรมในธรรม เพื่อให้เข้าใจแนวทางการปฏิบัติสติปัฏฐาน 4 มากยิ่งขึ้น โดยหลวงพ่อเอี้ยน วิโนทโก การเห็นธรรมในธรรมว่าธรรมนี้เป็นอนิจจัง เป็นอนัตตา เป็นสัญญตา ว่างจากตัวตน นี่มีแต่ว่างทั้งนั้นเลย ทีนี้เราจะเห็นว่า คน ๆ หนึ่ง มีธาตุสี่ คือ ธาตุดิน ธาตุน้ำ ธาตุไฟ และธาตุลม ตายแล้วไปไหน ดินก็กลับไปสู่ดิน อย่างเราเห็นเวลาตายแล้ว แล้วเป็น ๆ ทำไมเราไม่เห็น ที่เรากินอาหารเข้าไปมันดินทั้งนั้นแหละ มันเกิดมาจากดิน แล้วมันตายลงไปกลายเป็นดิน เหงื่อไคลอะไรที่มันออกไปก็เป็นดินทั้งนั้น เรามองไม่เห็น ทั้งที่จริง เข้าไปแล้วก็ออกมาเป็นดิน ที่เป็นน้ำเข้าไปก็ออกมาเป็นน้ำ ออกซิเจน คาร์บอน มันเข้าไปออกมา นี่มันเป็นลม […]

ปัญหาธรรม : เราควรวางใจอย่างไร? กรณีมีคนหยิบของในตู้ปันสุขไปจนหมด

ปัญหาธรรม : เราควรวางใจอย่างไร? กรณีมีคนหยิบของในตู้ปันสุขไปจนหมด “เวลานี้คนกำลังสนใจวิธีการให้โดยการตั้ง “ตู้ปันสุข” ให้คนที่สามารถแบ่งปันได้ นำอาหาร หรือของใช้จำเป็นมาใส่ไว้ในตู้ เพื่อให้คนที่ขาดแคลนมาหยิบไป แต่มีข่าวออกมาว่ามีคนตั้งใจมาโกยเอาของในตู้ปันสุขไปจนหมด ไม่เหลือให้คนอื่น เราควรวางใจอย่างไรกับเรื่องนี้ 1. ในฐานะของผู้ที่ติดตั้งตู้ 2. คนที่นำของมาบริจาคใส่ตู้ 3. คนทั่วไปที่อ่านข่าวนี้” พระครูธรรมรัต (ธนัญชัย เตชปัญโญ) แห่งวัดญาณเวศกวัน ได้ตอบปัญหาธรรมดังนี้   เราควรวางใจอย่างไร? ในกรณีมีคนตั้งใจมาโกยเอาของในตู้ปันสุขไปจนหมด ไม่เหลือให้คนอื่น   ในฐานะ ผู้ติดตั้งตู้ปันสุข นั้น ก็ต้องชัดในเจตนาของตนเอง ถ้าตั้งเจตนาไว้ถูกต้องสอดคล้องกับสิ่งที่ต้องการให้เกิดขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องเป็นทุกข์กังวลใจอะไร (เจตนาแบ่งปัน มีผู้มารับสิ่งที่แบ่งปัน) ถ้าการตั้งตู้ปันสุขคือการเปิดพื้นที่ให้ผู้คนที่มีกำลังทรัพยากรในการดำรงชีวิตมาก มีโอกาสได้เกื้อกูลแบ่งปันกับผู้ที่กำลังเผชิญความทุกข์ยากขาดแคลนเครื่องอุปโภคบริโภค ตู้ปันสุขก็ได้ทำให้เกิดสิ่งนี้ขึ้นแล้ว แต่ในการสร้างสรรค์สิ่งดีงามใด ๆ ก็ตามมักจะมีปัญหาและอุปสรรคเกิดขึ้นได้เสมอ ฉะนั้นเจตนาดีอย่างเดียวคงไม่เพียงพอ เพราะผลที่ต้องการจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องมีเหตุปัจจัยถูกต้องเหมาะสม จึงต้องใคร่ครวญคิดค้นวิธีการด้วยปัญญา ซึ่งยังหมายรวมถึงความรู้เท่าทันสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นภายใต้เหตุปัจจัยอื่นๆ ที่ไม่อาจควบคุมได้ด้วย ในกรณีนี้ ผู้ตั้งตู้ปันสุขก็ต้องรู้เท่าทันว่าเหตุการณ์แบบนี้อาจจะเกิดขึ้นได้ ถ้าหากไม่ต้องการให้เกิดขึ้น ก็ต้องหาวิธีการป้องกันต่อไปเพื่อให้เจตนาหรือความตั้งใจดีนั้นสมประสงค์ เช่น หาวิธีการที่จะทำให้เกิดความละอายใจแก่ผู้ที่คิดจะมากอบโกย กักตุน […]

จะนึกถึงคนตาย หรือนึกถึงความตาย ก็ต้องทำใจให้ถูก

จะนึกถึงคนตาย หรือนึกถึงความตาย ก็ต้องทำใจให้ถูก ธรรมะโดย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป. อ. ปยุตโต) การที่เรามาระลึกถึงท่านผู้ล่วงลับไปแล้ว หรือเรียกง่าย ๆ ว่าระลึกถึงคนตายนี้ ก็น้อมจิตให้ระลึกต่อไปถึงความตายด้วย สองสิ่งนี้เป็นเรื่องที่เนื่องถึงกัน สำหรับการระลึกถึงคนตายนั้น ถ้าจะปฏิบัติให้ถูกต้องก็คือระลึกถึงความดีของท่านที่จะทำให้เราโน้มนำเอาความดีนั้นมาเตือนใจ โดยเฉพาะสำหรับบุตรธิดาก็คือการระลึกถึงความดีที่พ่อแม่ได้บำเพ็ญก็ตาม หรือความดีงามที่ท่านสั่งสอน หรือแม้แต่สั่งเสียไว้ก็ตาม เมื่อมีโอกาสก็พยายามรำลึกถึงและนำมาปฏิบัติตาม การทำอย่างนี้ถือว่าเป็นหน้าที่อย่างหนึ่งในการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อบิดามารดา และเป็นประโยชน์ในการระลึกถึงคนตาย ในการระลึกถึงคนตายนั้น ถ้าระลึกไม่ถูกต้องก็ทำให้เกิดแต่เพียงความเศร้าโศกเสียใจ แต่ถ้าระลึกถูกต้องพอระลึกถึงแล้วก็โยงต่อไปหาธรรมด้วย คือระลึกแล้วจิตไม่ตัน ถ้าระลึกถึงคนตายแล้วมัวแต่ระลึกถึงตัวท่าน แล้วเกิดความเศร้าโศกเสียใจ จิตก็ตันไม่มีทางออก แต่พอโยงไปหาธรรม ก็ระลึกถึงความดีของท่าน ระลึกถึงคุณของท่าน นึกถึงสิ่งที่ท่านได้ทำไว้ และสิ่งที่ท่านได้สั่งสอนไว้ จิตก็มีทางออก เห็นทางที่จะไป และเกิดผลเป็นประโยชน์ อันนี้ก็เป็นเรื่องของการระลึกถึงคนตาย แต่ดังที่กล่าวแล้วอีกสิ่งหนึ่งก็คือ การะลึกถึงคนตายนั้นจะโยงไปหาการระลึกถึงความตายต่อไป การระลึกถึงความตายก็เป็นสิ่งสำคัญ ความตายนั้นเป็นความจริงของชีวิต ท่านเรียกว่าเป็นคติธรรมดาคือคนเราเกิดมาแล้วก็ต้องตาย ชีวิตมีการเริ่มต้นก็ต้องมีที่สิ้นสุด การเริ่มตันของชีวิตเราเรียกว่าการเกิด การสิ้นสุดของชีวิตเราเรียกว่าความตาย เกิดกับตายนี้เป็นของคู่กันและต้องตามกันมาแน่นอน เมื่อระลึกถึงความตายก็คือระลึกถึงความจริงของชีวิต ซึ่งจะทำให้เราเกิดความรู้เท่าทัน แต่ก็เช่นเดียวกันต้องระลึกให้ถูกต้อง ถ้าระลึกไม่เป็น เรียกว่าทำในใจไม่แยบคาย ก็จะทำให้เกิดโทษได้ คนที่ระลึกถึงความตายโดยทำใจไม่แยบคาย เรียกว่าระลึกไม่เป็น […]

เพศมีผลต่อการปฏิบัติธรรมหรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ

เพศมีผลต่อ การปฏิบัติธรรม หรือไม่ โดย พระอาจารย์นวลจันทร์ กิตติปัญโญ บางคนก็สงสัยไปถึงขั้นว่า ถ้าไม่บวชจะบรรลุธรรมได้ไหม ถ้าเป็นฆราวาส คฤหัสถ์เป็นเครื่องเนิ่นช้า เครื่องขัดขวางใน การปฏิบัติธรรม รวมถึงการบรรลุธรรมหรือเปล่า ถ้าเรามองประเด็นที่ว่า ในสมัยพุทธกาล เขาบรรลุธรรมก่อนบวช ลองนึกประเด็นนี้ดูบ้างสิ สมัยพุทธกาล บรรลุธรรมก่อนบวช บรรลุธรรมเสร็จแล้วจึงขอบวช เป็นส่วนมากเป็นส่วนใหญ่ ถ้าอย่างนั้นอย่างนี้แล้ว เราจะได้คลายไปเยอะกับเพศภาวะ เราเป็นคฤหัสถ์ ฆราวาส เราก็ปฏิบัติตามคำสอน ตามวิธี เมื่อปฏิบัติตามแล้ว ผลของการปฏิบัติก็เกิดขึ้น แล้วถ้าเราปฏิบัติอย่างนี้ เราไม่มีเครื่องกีดขวาง หรือแรงเสียดทานในใจว่า เราเป็นคฤหัสถ์ เป็นชาวบ้าน เป็นคน ไม่ใช่นักบวช ไม่ได้บวช มันจะกลายเป็นเครื่องเนิ่นช้าหรือไม่ ตรงนี้กลับกลายเป็นเครื่องเนิ่นช้าเสียเอง ความลังเล ความสงสัย หรือความคิด ความตริ ความตรึก ความดำริอย่างนี้ กลายเป็นแรงเสียดทาน เครื่องเนิ่นช้าจึงไม่ใช่เพศภาวะแล้ว ไม่ใช่รูปแบบภายนอก เช่น เสื้อผ้าอาภรณ์ กลายเป็นข้างในของคุณเอง คิดอย่างนี้มันจึงเป็นเครื่องเนิ่นช้า มันจึงไม่ก้าวหน้า จึงไม่บรรลุธรรม เพราะคิดอย่างนี้ […]

ฝึกใจอย่างไรให้เรารู้สึกพอใจในสิ่งที่มี ธรรมะสบายใจจากพระไพศาล วิสาโล

ฝึกใจอย่างไรให้เรารู้สึก พอใจ ในสิ่งที่มี ธรรมะสบายใจจากพระไพศาล วิสาโล เราจะฝึกจิตฝึกใจอย่างไรเมื่อทราบว่าคนอื่นได้ดีกว่าเรา เราจะสร้างความ พอใจ ขึ้นมาได้อย่างไร ลองเปรียบเทียบกับคนที่ยังไม่มีสิ สมมติเราได้โบนัสมาห้าหมื่น แต่เราถูกหวยมาหนึ่งแสนบางคนยังไม่ถูกเลย หรืออย่างมีเด็กคนหนึ่งเขาร้องไห้ที่ว่ารองเท้าเขาไม่สวย และแม่ไม่ยอมซื้อรองเท้าใหม่ให้ แต่พอเขาเห็นเด็กคนหนึ่งซึ่งขาขาดกำลังขอทานอยู่ เขาหยุดร้องเลย เขารู้สึกว่าเขายังโชคดีที่ยังมีรองเท้า และเขายังมีขา ปัญหาคนสมัยนี้ไม่ได้อยู่ที่ว่าตัวเองมีเท่าไร แต่อยู่ที่ว่าเพื่อนมีเท่าไร เรามีมากกว่าเขาหรือเปล่า มีน้อยก็จะเป็นทุกข์ เราอย่าไปมองเขา เราต้องรู้จักชื่นชมสิ่งที่เรามี พอใจในสิ่งที่มี ยินดีในสิ่งที่ได้ แล้วหยุดเปรียบเทียบกับคนอื่น ซึ่งอันนี้เรียกว่าสันโดษ ประการที่สองคือรู้จักปล่อยรู้จักวาง สิ่งที่เรายึด และทำให้เราทุกข์ ส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว และสองเป็นสิ่งที่ยังมาไม่ถึง เช่น เงินหาย โทรศัพท์มือถือหาย มันผ่านไปแล้ว ให้เงินเพื่อนยืมแล้วเพื่อโกงไป มันเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว เรายังไปยึดมัน เราจะไม่เสียแค่เงินแล้ว เราจะเสียใจ แล้วถ้าเราเสียใจมาก ๆ สุขภาพเราก็จะเสีย แล้วถ้าเราเสียใจมาก ๆ งานการเราก็จะเสีย แทนที่คนฉลาดจะเสียอย่างเดียวคือเสียเงิน หรือเสียโทรศัพท์มือถือ แต่ไม่ยอมเสียใจ ไม่ยอมเสียสุขภาพ ไม่เสียงานการ   ถอดความ […]

ทำไมสมัยนี้จึงไม่มีคนบรรลุธรรมจากการฟังธรรม โดย ท่าน ว.วชิรเมธี

ทำไมสมัยนี้จึงไม่มีคนบรรลุธรรมจากการ ฟังธรรม โดย ท่าน ว.วชิรเมธี อาตมาคิดว่าเป็นเพราะยุคนั้นเขา ฟังธรรม กับพระพุทธเจ้าโดยตรง คือเมื่อเราไปเรียนกับพระองค์ท่านโดยตรง มันมีบรรยากาศของความศักดิ์สิทธิ์ ลองจินตนาการดู ถ้าเราได้คุยกับบุคคลสำคัญโดยตรง ไม่ผ่านคนอื่น เราจะรู้สึกบรรยายกาศมันต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง แล้วถ้าบุคคลนั้นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จิตใจของเรามันพร้อมที่จะเชื่อพร้อมที่จะเสื่อมใสอยู่แล้ว แล้วพระองค์ก็อยู่ตรงนั้นเป็นประจักษ์พยานให้เราเห็นด้วยว่าผู้ที่บรรลุธรรมผู้ที่มีธรรมะด้วยนั้นเป็นผู้ที่มีความสุขแค่ไหนอย่างไร เรียกว่าสภาพแวดล้อมมันเอื้อ เหมือนเราลองเดินไปในโบสถ์ในวิหารที่มันเงียบดูสิ เราก็จะเงียบโดยอัตโนมัติ บางทีเราเดินเข้าไปในวัดป่าที่มีต้นไม้สูงใหญ่ระหง เรายังไม่เจอพระเลยเราเงียบกริบโดยอัตโนมัติ ฉะนั้นถ้าเราเดินเข้าไป แล้วพระพุทธองค์ทรงแสดงธรรมอยู่ตรงนั้น กายเราก็พร้อมใจเราก็พร้อม วาจาเราก็พร้อมที่จะฟังพระองค์ เราแทบไม่ต้องบอกตัวเองนะว่าตั้งใจ ฉะนั้นเราพร้อมที่จะทุ่มเทความสนจิตสนใจไปตรงนั้นเต็มที่ นี่เรียกว่าสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย แล้วก็มีพระพุทธองค์ซึ่งเป็นผู้ค้นพบธรรมะมาแสดงโดยตรง แล้วตัวเราเองก็เป็นผู้ที่ถึงพร้อม ด้วยความเชื่อความเลื่อมใส และประเด็นสุดท้ายก็คือการที่เราหรือบุคคลเหล่านั้น มาเกิดร่วมยุคกับพระพุทธเจ้า แสดงว่าบารมีนั้นสุกงอมแล้ว มีเหตุอย่างน้อย 4 ประการนี้บวกกัน ก็ทำให้คนบรรลุธรรมกันได้ง่าย ๆ   ถอดความ :  สัมมาทิฏฐิ รู้ถูกต้อง สัมมาปฏิบัติรู้ถูกต้อง ปฏิบัติธรรมก็จะได้ผล | สุขทุกวัน7วัน7กูรู |13ธ.ค.61 ภาพ : www.pexels.com บทความน่าสนใจ อย่ายอมให้อัตตาครองใจ […]

keyboard_arrow_up