ดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงวัย คำแนะนำในการดูแลสุขภาพครบถ้วน ทุกแง่มุม ทั้งสุขภาพกาย ใจ และด้านสังคม เพื่อการสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
ครอบครัวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
ครอบครัวกับการดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ในปัจจุบันและอนาคตผู้สูงอายุจะเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศไทยมากขึ้นทุกขณะ เนื่องจากความเจริญก้าวหน้าทางการแพทย์และสาธารณสุขทำให้ประชากรมีอายุขัยยืนยาวขึ้นจำนวน ผู้สูงอายุจึงเพิ่มมากขึ้นเป็นลำดับจากภาวะนี้ทำให้หลายประเทศในโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยที่มีความตื่นตัวและเตรียมการเพื่อรองรับและให้การดูแลประชากรกลุ่มนี้มากขึ้น การดูแลและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุนับว่าเป็นภารกิจที่สำคัญสำหรับครอบครัว ชุมชน และสังคมโดยรวม เพื่อให้เกิดการดูแล เอื้ออาทรแก่ผู้สูงอายุซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่ทำคุณประโยชน์แก่ครอบครัว ชุมชนและสังคมมาก่อน จนถึงวัยที่ท่านสมควรได้รับการตอบแทน โดยการดูแล และห่วงใยท่านเช่นเดียวกับสิ่งที่ท่านได้ทำมา ครอบครัวที่มีผู้สูงอายุอยู่ในความดูแล จำเป็นต้องมีความเข้าใจในธรรมชาติ และการเปลี่ยนแปลงของผู้สูงอายุและตระหนักว่าความสูงวัยเป็นภาวะที่จะต้องเกิดกับทุกคน การทำความเข้าใจความสูงวัย จะทำให้สมาชิกในครอบครัว สามารถปฏิบัติต่อผู้สูงอายุได้อย่างเหมาะสม และนำมาซึ่งความผาสุกของผู้สูงอายุและสมาชิกทุกคนในครอบครัวด้วยเช่นเดียวกัน ธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ มีลักษณะโดยรวมเหมือนกันในทุกคน ทุกเชื้อชาติ ศาสนา เพียงแต่ระยะเวลาความช้าหรือเร็วของการเข้าสู่ความชราจะแตกต่างกันในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับหลายปัจจัยที่เข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น สิ่งแวดล้อม การดูแลสุขภาพ พันธุกรรม และภาวะสุขภาพของแต่ละบุคคล อย่างไรก็ตามความสูงวัยย่อมเกิดอย่างแน่นอนเพียงแต่จะช้าหรือเร็วเท่านั้น ความสูงวัยนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลง 3 ด้านใหญ่ๆในผู้สูงอายุ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย จิตใจ และสังคม การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนแปลงด้านร่างกาย อย่างไรก็ตามการเปลี่ยนแปลงด้านจิตใจ และสังคมก็มีความสำคัญ ซึ่งตัวผู้สูงอายุเองและบุคคลรอบข้างก็ควรให้ความสนใจการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ด้วย การเปลี่ยนแปลงด้านร่างกายในผู้สูงอายุมีลักษณะค่อยเป็นค่อยไป และเป็นการเปลี่ยนแปลงใน ทาง เสื่อมสภาพการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายลง การดูแลผู้สูงอายุซึ่งทำโดยตัวผู้สูงอายุและครอบครัวจึงควรเป็นการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุคงไว้ซึ่งความสามารถทางด้านร่างกาย และส่งเสริมการทำงานของระบบ อวัยวะต่างๆของร่างกายอย่างมีประสิทธิภาพ สาระของการดูแลด้านร่างกายมี 4 ประเด็นหลักที่จำเป็น ได้แก่ 1) […]
เครื่องชั่งน้ำหนักแบบไหน เหมาะกับผู้สูงวัยที่เรารักมากที่สุด
เครื่องชั่งน้ำหนักแบบไหน เหมาะกับผู้สูงวัยที่เรารักมากที่สุด น้ำหนักนับเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะน้ำหนักที่น้อยกว่ามาตรฐานหรือมากจนเกินไป ก็ย่อมส่งผลให้เกิดโรครุมเร้าได้ง่าย ดังนั้น การดูแลน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมจึงเป็นเรื่องที่คุณปู่คุณย่าและลูกหลานควรใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ ผู้สูงอายุจะใช้พลังงาน 1,200 – 1,600 กิโลแคลอรีต่อวัน จึงทำให้การควบคุมน้ำหนักโดยการอดอาหารหรือออกกำลังกายเหมือนกับวัยอื่น ๆ อาจดูมีความยากลำบาก หนึ่งในเคล็ดลับที่จะช่วยให้ผู้สูงอายุสามารถควบคุมน้ำหนักได้ นั่นก็คือ มีเครื่องชั่งน้ำหนักติดบ้าน เพื่อให้พวกท่านได้รู้ว่าควรปรับพฤติกรรมอย่างไร เช่น ออกกำลังกายด้วยการเดินช้า ๆ หรือกินเพิ่มขึ้นเพื่อให้มีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน มีงานศึกษาชิ้นหนึ่งให้ความสนใจเกี่ยวกับ BMI ว่าจะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุมากน้อยเพียงใด ซึ่งการศึกษาชิ้นนี้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร American Journal of Clinical Nutrition ปี ค.ศ. 2014 นักวิจัยรวบรวมข้อมูล BMI จากการศึกษา 32 ครั้ง ในผู้เข้าร่วมที่มีอายุมากกว่า 65 ปี จำนวน 197,940 คน พบว่า เมื่อคำนวณจากน้ำหนักและส่วนสูงของแต่ละคนแล้ว ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักน้อยกว่ามาตรฐานจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเสียชีวิต แต่ผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักเกินจะก่อให้เกิดโรคอ้วนและมีสุขภาพที่แย่ลงเรื่อย ๆ เห็นแบบนี้แล้วก็อยากให้คุณปู่คุณย่าหันมาใส่ใจเรื่องน้ำหนักกันมากขึ้น โดยการหมั่นจดบันทึกน้ำหนักที่ได้ในแต่ละวัน และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต ทำให้ตนเองมีรูปร่างที่สมส่วน […]
รู้หรือไม่! ติดเชื้อบ่อยอาจทำตาบอดในผู้สูงอายุ
รู้หรือไม่! ติดเชื้อบ่อยอาจทำตาบอดในผู้สูงอายุ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น ร่างกายก็อ่อนแอลงเป็นธรรมดา เนื่องจากมีการใช้ร่างกายมาหนักหนาพอสมควร รวมถึงดวงตาก็เช่นกัน เมื่ออายุเพิ่มขึ้นก็มักมีปัญหาสายตาตามมา ในผู้สูงอายุควรหมั่นเฝ้าระวังเป็นพิเศษและเอาใจใส่สม่ำเสมอโดยการพบแพทย์เป็นประจำเพื่อป้องกันโรคร้าย จากผลวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่ ศูนย์โรคตาและหูแมสซาชูเซตส์ สหรัฐอเมริกา ระบุว่า พบเชื้อแบคทีเรียชื่อ C. pneumonia ในเนื้อเยื่อดวงตาของผู้ที่เป็นโรคจอประสาทตาเสื่อมในผู้สูงอายุจำนวน 5 คนใน 9 คน แต่ไม่พบในเนื้อเยื่อดวงตาของคนปกติ เชื้อแบคทีเรียดังกล่าวเป็นสาเหตุของการติดเชื้อในเนื้อเยื่อดวงตา การติดเชื้อซ้ำๆ จะทำให้หลอดเลือดฝอยในดวงตาทำงานได้ไม่เต็มที่ เป็นเหตุให้เลือดไปหล่อเลี้ยงดวงตาไม่เพียงพอ เมื่อเนื้อเยื่อดวงตาขาดออกซิเจนเพราะเลือดไหลเวียนไม่สะดวก จึงเป็นเหตุให้จอประสาทตาเสื่อม และหากติดเชื้อบ่อยๆ จะทำให้สูญเสียการมองเห็นอย่างถาวร นอกจากหมั่นดูแลดวงตาไม่ให้เกิดการติดเชื้อแล้ว อีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยถนอมสายตาได้ คือ การรับประทานอาหารที่มีวิตามินเอ ธาตุสังกะสี วิตามินอี และวิตามินซี เช่น ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ผักใบเขียวเข้ม ฟักทอง พมะม่วงสุก อาหารทะเล ธัญพืชต่างๆ ซึ่งช่วยให้มองเห็นในแสงสลัว ป้องกันการเกิดต้อกระจก อาการตาบอดกลางคืน หากขาดวิตามินเหล่านี้จะทำให้เยื่อบุตาขาวแห้ง ย่น เป็นแผล ตามมาด้วยกระจกตาแห้ง ขรุขระ อ่อนแหลว และท้ายสุด หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงทีอาจตาบอดได้ ใส่ใจดวงตาผู้สูงอายุ […]
สังคม สิ่งแวดล้อม สำคัญอย่างไรต่อผู้สูงอายุ?
สังคม สิ่งแวดล้อม สำคัญอย่างไรต่อผู้สูงอายุ? ปัญหาสุขภาพจะยังคงเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหลักของผู้สูงอายุ โรคที่มักจะเกิดกับผู้สูงอายุล้วนเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องได้รับการเยียวยารักษาอย่างต่อเนื่อง ทั้งการไปพบแพทย์รับยา เจาะเลือด หรือต้องรับการตรวจเพิ่มเติม โรคเหล่านี้มักจะมาพร้อมกับความเสื่อมในระบบอื่นๆ ของร่างกายของผู้สูงอายุ อาทิ ตา,ฟัน, กระดูกและข้อ ซึ่งเกิดขึ้นตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น และต้องยอมรับว่าเป็นปัญหาของวัยสูงอายุที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้ยังพบว่ามีความเสี่ยงมากขึ้นในผู้สูงอายุที่ใช้ชีวิตอยู่ตามลำพัง ที่มักจะมีความเหงา ความว้าเหว่ ความเครียด ความวิตกกังวล ที่เกิดขึ้นมาจากปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุเอง รวมกับภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต้องใช้จ่ายเพิ่มขึ้นจากการเดินทางไปรับการรักษาพยาบาล รวมทั้งค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่จำเป็น อาทิ อาหาร สิ่งของเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เป็นต้น ท่ามกลางการขยายตัวของสังคมอายุยืน ยังคงมีข้อเท็จจริงที่น่าห่วงใยเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายที่เกิดขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุ จากการเปิดเผยข้อมูลการฆ่าตัวตายโดยกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ. 2561 พบว่าสถิติการฆ่าตัวตายสำเร็จในผู้สูงอายุ มีอัตราที่สูงขึ้นเป็นลำดับที่สอง รองจากวัยทำงาน โดยระบุว่าวัยทำงานที่ฆ่าตัวตายสำเร็จมีสูงถึง ร้อยละ 74.7 รองลงมาคือผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป) ร้อยละ 22.1 ซึ่งเหตุผลสำคัญของการตัดสินใจฆ่าตัวตายจะเกี่ยวข้องกับเรื่องความสัมพันธ์ ขาดคนดูแลเอาใจใส่ มีโรคประจำตัว เจ็บป่วยเรื้อรัง หรือมีภาวะซึมเศร้า ที่น่าจะนำไปสู่การตัดสินใจฆ่าตัวตาย เป็นปัจจัยโดยตรงจากภาวะจิตใจของผู้ตัดสินใจฆ่าตัวตาย ผลการวิจัย […]
วิธีสร้างสมดุลชีวิตด้วยการมีวินัยของวัยเก๋า
วิธีสร้างสมดุลชีวิตด้วยการมีวินัยของวัยเก๋า ใครเคยสงสัยบ้างว่าทำไมเดี๋ยวนี้มีจำนวนประชากรผู้สูงอายุมากกว่าจำนวนเด็กแรกเกิดอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสาเหตุอาจมาจากผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้นเนื่องจากการพัฒนาทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น และอัตราการเกิดของประชากรลดลงในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา โดยในปัจจุบันครอบครัวใหญ่มักจะมีบุตรครอบครัวละไม่เกิน 2 คนซึ่งแตกต่างจากสมัยก่อนที่ปู่ย่าตายายมีลูกหลานหลายคน เมื่อมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มมากขึ้นทำให้การรับมือการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุในไทยนั้น จำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ นอกจากนี้ยังต้องมีแนวทางในการเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ อย่างเช่นสิ่งที่กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้เคยออกมาให้ข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางในการเอาใจใส่ดูแลผู้สูงอายุให้มากขึ้นทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจ โดยสามารถปฏิบัติได้ดังนี้ ด้านจิตใจ ผู้สูงอายุเองควรทำจิตใจตัวเองให้เบิกบาน สดใส เมื่อเจอกับเรื่องเครียดควรหากิจกรรมเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ ไม่ควรหงุดหงิดฉุนเฉียว มิเช่นนั้นจะทำให้สุขภาพจิตใจแย่ลงได้ ทั้งยังส่งผลต่อความสัมพันธ์กับคนรอบข้างอีกด้วย ด้านร่างกาย ควรหมั่นออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีในยามแก่เฒ่า ซึ่งการออกกำลังกายนั้นควรเลือกประเภทการออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายของตัวเอง ซึ่งการมีสุขภาพที่ดี ไม่เจ็บไม่ป่วย จะเป็นตัวสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุได้ดีเลยทีเดียว นอกจากนนี้ยังควรหมั่นไปตรวจสุขภาพร่างกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ครบ 3 มื้อ และควรนอนหลับให้เพียงพอ มีอารมณ์ขัน จะมัวเครียดไปทำไม การทำตัวเองให้เป็นคนอารมณ์ขันนอกจากตัวเองจะมีความสุขแล้วยังทำให้คนรอบข้างมีความสุขไปด้วย โดยสารแห่งความสุขนั้นจะทำให้เรามีอายุที่ยืนยาวขึ้น โดยผู้สูงอายุอาจสร้างอารมณ์ขันด้วยตัวเอง หรือจะเป็นจากคนรอบข้างที่ช่วยสร้างเรื่องราวต่างๆให้ผู้สูงอายุได้อารมณ์ขันก็ถือเป็นสิ่งที่ดี ลูกหลานควรเอาใจใส่ผู้สูงอายุด้วยความรัก เมื่อเรารักใครเราจะสามารถดูแลคนๆนั้นได้เป็นอย่างดี ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุก็เช่นกัน ไม่ใช่จะดูแลเพราะเป็นหน้าที่ แต่สิ่งนี้ต้องใช้ความรักในการดูแลด้วย คอยพูดคุยหยอกล้อผู้สูงอายุ คอยดูแลเอาใจใส่ รวมไปถึงการทำกิจกรรมต่างๆร่วมกับผู้สูงอายุเพื่อเป็นการสานสัมพันธ์ที่ดีร่วมกัน จะเห็นได้ว่าวิธีการสร้างความสุขในผู้สูงอายุไม่ใช่เรื่องยาก เพียงแต่ผู้สูงอายุควรจะทำตัวเองให้มีความสุข รวมไปถึงลูกหลาน หรือคนรอบข้างที่ต้องหันกลับมาสร้างความสุขให้กับผู้สูงอายุ เพียงเท่านี้ก็จะเป็นสิ่งที่ทำให้ทุกคนในครอบครัวนั้นมีความสุขกันแล้ว เรามีวิธี “สร้างสมดุลชีวิต ด้วยการมีวินัย […]
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีข้อควรระวังมากกว่าวัยอื่น!
การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ มีข้อควรระวังมากกว่าวัยอื่น! สมรรถภาพของร่างกายไม่ว่าความแข็งแรงหรือความทนทาน ความว่องไว เป็นต้น จะมีสูงสุดเมื่ออายุประมาณ 30 ปี แล้วจะค่อยลดลง 1% ทุกปี ดังนั้น เมื่อคุณอายุ 60 ปี ก็จะมีความแข็งงแรงลดลงง 30% โดยเฉลี่ย การออกกำลังกายจะสามารถชะลอการลดลงของความแข็งแรงได้จำนวนหนึ่งเท่านั้นค่ะ ข้อมูลจากกรมอนามัยกะทรวงสาธารณสุข ระบุว่าผู้สูงอายุจำเป็นต้องออกกำลังอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ มีหลักดังต่อไปนี้ คือ ถ้าไม่เคยออกกำลัง จะต้องศึกษาหลักการ ให้ถูกต้องและค่อยๆ ทำ อย่าหักโหม ถ้าหากมีโรคประจำตัว ต้องปรึกษาแพทย์ก่อน, ควรเลือกชนิดของการออกกำลังให้เหมาะสมกับสภาพร่างกายและถูกกับนิสัย, อย่าแข่งขันกับผู้อื่น เพื่อเอาแพ้เอาชนะ แต่จะออกกำลังกายเพื่อกำลังกายของตนเอง, ระวังอุบัติเหตุ, ทำโดยสม่ำเสมอ สัปดาห์ละ ๓-๔ ครั้ง, เมื่อเกิดอาการผิดปกติอย่างใดควรปรึกษาแพทย์ โดยเฉพาะถ้ามีอาการหน้ามืดหรือใจสั่นผิดปกติ ควรชะลอการออกกำลังลงและหยุด และควรออกกำลังเป็นหมู่คณะ หรือมีเพื่อนร่วมการออกกำลัง ข้อแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุ เราได้รวบรวมของสมาคมและสถาบันที่เชี่ยวชาญทางด้านการออกกำลังกาย ที่มีข้อแนะนำการออกกำลังกายสำหรับผู้สูงอายุว่า ควรออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยความหนักปานกลาง 30 นาทีต่อวัน สัปดาห์ละ 5 วัน หรือออกกำลังกายแบบแอโรบิกด้วยความหนักสูง 20 […]
ส่งความสุขแบบออนไลน์ สำหรับผู้สูงวัย ยุค 4.0
ส่งความสุขแบบออนไลน์ สำหรับผู้สูงวัย ยุค 4.0 สังคมไทยเป็นสังคมดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ รวมถึงนโยบายของรัฐบาลที่เสนอให้ทุกภาคส่วนร่วมกันขับเคลื่อนนโยบายไทยแลนด์ 4.0 จากข้อมูลการสำรวจโดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ ในปี 2560 พบว่า มีผู้สูงอายุเพียงร้อยละ 4.2 ที่ได้รับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต หรือโซเชียลมีเดีย ผู้สูงอายุไทยในอนาคตจึงต้องรู้เท่าทันและสามารถใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ต โซเชียลมีเดีย และสมาร์ทโฟน ในการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร โปรแกรมการดูแลสุขภาพต่างๆ ตลอดจนการทำธุรกรรมทางการเงิน ไม่ตกเป็นผู้เสียหาย นอกจากนี้ภาครัฐยังได้กำหนดให้มียุทธศาสตร์เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้สูงอายุมีความรู้ในด้านการป้องกันและการดูแลสุขภาพของตนเองเบื้องต้น ส่งเสริมและสนับสนุนสื่อทุกประเภทให้มีรายการเพื่อผู้สูงอายุ และให้ผู้สูงอายุสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารและสื่อความรู้ได้สะดวกยิ่งขึ้น รวมทั้งปัจจุบันสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามามีบทบาทต่อการดำเนินชีวิตประจำของกลุ่มคนทุกเพศทุกวัย ส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และเกิดการนำความรู้ใหม่มาพัฒนาองค์ความรู้เดิมที่มีอยู่ การพัฒนาสื่อความรู้ทางด้านสุขภาพ โดยอาศัยสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุสามารถนำความรู้มาดูแลสุขภาพของตนเองได้ คงเป็นเรื่องที่ดีไม่น้อยหากเราจะก้าวข้ามผลกระทบของสังคมผู้สูงอายุในช่วงพอที่จะเริ่มต้นนี้ได้ก็คงเป็นเรื่องที่ควรทำเป็นอย่างยิ่ง ในเมื่อทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวของเรากำลังขับเคลื่อนด้วยยุคที่เรียกว่า ดิจิทัล ผ่านนโยบายไทยแลนด์ 4.0 การผลักดันกลุ่มผู้สูงอายุให้เป็นผู้ประกอบการรายใหม่ เป็นแนวทางหนึ่งของยุคการสร้างนวัตกรรม เพื่อพลิกจากวิกฤตของสังคมสูงวัยให้เป็นโอกาส หากมองความเป็นไปได้ของแนวทางนี้ก็นับว่าเป็นแนวคิดที่เป็นไปได้ค่อนข้างมากเลยทีเดียว เพราะกลุ่มผู้สูงอายุในบางกลุ่มอาจเป็นกลุ่มที่มีเงินทุนอยู่บ้าง มีเครือข่ายมีความรู้รวมไปถึงมีประสบการณ์ ซึ่งเป็นข้อได้เปรียบมากกว่าเสียเปรียบ หากแต่มองดังที่กล่าวมาคือข้อดีที่อาจทำให้เป็นไปได้ แต่สิ่งหนึ่งที่กลุ่มผู้สูงอายุยังขาดอยู่คือ เรื่องของความรู้ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลเท่านั้นเอง ทั้งนี้ การเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัล จึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอีกเช่นเดียวกัน ซึ่งจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีได้อย่างสร้างสรรค์ และเกิดประโยชน์ต่อการใช้งานสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ อีกทั้งยังมีความรู้เท่าทันโลก สามารถหาข้อมูลที่ถูกต้องได้ด้วยตนเอง และไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ นอกจากนี้ในด้านของสุขภาพจิต การใช้เทคโนโลยีดิจิทัลก็ยังมีส่วนสร้างเสริมกิจกรรมต่าง […]
สุขภาพจิตของผู้สูงวัย คือเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจ
สุขภาพจิตของผู้สูงวัย คือเรื่องสำคัญที่ทุกคนต้องใส่ใจ อายุที่เพิ่มมากขึ้น นำมาซึ่งความเสื่อมของร่างกายและจิตใจ ตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงในสภาพแวดล้อมทางสังคม เช่น การเกษียณอายุ ทำให้ชีวิตประจำวันและความสัมพันธ์กับบุคคลใกล้ชิดและ บุคคลที่เคยร่วมงานกันมา แตกต่างจากที่เคยเป็นและเคยชิน การคิดถึงความตายที่คืบคลานเข้ามาใกล้มีมากขึ้น สิ่งเหล่านี้ทำให้การดูแลรักษาสุขภาพทางจิตของผู้สูงอายุมีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าการดูแลสุขภาพทางกาย การดูแลสุขภาพทางกาย เช่น เรื่องอาหารการกิน ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง รับประทานโปรตีนจำพวกปลา รับประทานผักและผลไม้ให้มากขึ้น อาหารควรเป็นอาหารสด สะอาดและไม่ใส่สารกันบูด ผู้สูงอายุควรออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพราะอย่างที่รู้ว่าการออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อและข้อต่าง ๆ ไม่ติดขัด ระบบไหลเวียนโลหิตและทางเดินหายใจทำงานสะดวกขึ้น การออกกำลังกายตามสวนสาธารณะยังทำให้ได้พบปะผู้คน ได้พูดคุยสังสรรค์ ทำให้จิตใจสดชื่น ไม่หมกมุ่นอยู่กับเรื่องของตนเอง ผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ควรไปพบแพทย์อย่างสม่ำเสมอ ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์และรับประทานยาตามที่แพทย์สั่ง อย่าให้ผู้สูงวัยรู้สึกด้อยคุณค่า นอกจากนี้อยากให้เน้นไปในเรื่องของการดูแล “สุขภาพจิตของผู้สูงอายุ” เนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงจากการอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่ อันประกอบด้วยปู่ย่า ตายาย พ่อแม่ลูก กลายมาเป็นครอบครัวเชิงเดี่ยว มีเพียงลำพังพ่อแม่ลูก ทำให้ผู้สูงอายุขาดความรักและการดูแลเอาใจใส่จากลูกหลาน ช่วงเวลาที่ยากลำบากสำหรับผู้สูงอายุบางคนคือช่วงเวลาหลังเกษียณ บางคนยังไม่พร้อมจะเกษียณเพราะคิดว่าตนเองยังสามารถทำงานได้และทำได้ดีเหมือนเดิม แต่ลูกหลานเป็นห่วงไม่อยากให้ทำงานอีก ต้องการให้พักผ่อนเพราะได้ทำงานหนักมานานแล้ว การที่ไม่ได้ทำงานที่เป็นกิจวัตรประจำวัน ไม่มีหน้าที่ความรับผิดชอบ เป็นเหตุให้ผู้สูงอายุมีความรู้สึกด้อยคุณค่า เกิดความรู้สึกน้อยเนื้อต่ำใจ เสียใจ เบื่อหน่าย และแยกตัวออกจากสังคม แต่ถ้าพยายามมองในด้านบวก […]
แนะแนวทางการกินดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
แนะแนวทางการกินดี เพื่อส่งเสริมสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ อาหารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต โดยเฉพาะผู้สูงอายุยังคงมีความต้องการพลังงานและสารอาหารที่มีคุณภาพสูงเพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ จึงควรกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ เพียงพอและเหมาะสมกับความต้องการของร่างกาย รวมถึงการกินอาหารให้ถูกสุขลักษณะยิ่งช่วงนี้ที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสร้ายโควิด-19 ด้วยแล้ว ควรต้องกินร้อน ช้อนส่วนตัว และล้างมือ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคให้มากขึ้นด้วย การรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการให้เหมาะสมกับช่วงวัย และ การกินอาการที่สร้างระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยมีสุขภาพที่แข็งแรง ล่าสุดกรมอนามัย ได้ออกมาแนะนำให้รับประทานอาหารที่มี วิตามีนซี วิตามินอี วิตามินดี ซีลีเนียม และสังกะสี เพื่อเพิ่มสารอาหารในการสร้างภูมิคุ้มกันในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19นี้ วิตามินซี” ช่วยในกระบวนการทำงานของเม็ดเลือดขาว ในการขจัดเชื้อโรค เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ช่วยต้านภูมิแพ้ ช่วยลดการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ ลดการจาม น้ำมูกไหล ซึ่งร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์ววิตามินซีได้เอง จำเป็นต้องได้รับจากอาหารซึ่งแหล่งของวิตามินซี เช่น ฝรั่ง มะขามป้อม มะขามเทศ เงาะ พริกหวานแดง พริกเขียวหวาน ผักคะน้า บรอกโคลี และมะระขี้นก “วิตามินอี” เป็นสารต้านอนุมูลอิสระและเพิ่มภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย ทำหน้าที่ขจัดอนุมูลอิสระที่เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาต่างๆในร่างกาย และป้องกันไม่ให้กรดไขมันไม่อิ่มตัว และส่วนประกอบเยื่อหุ้มเซลล์ของอวัยวะในร่างกายถูกทำลาย โดยวิตามินอีจะอยู่ใน น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันดอกคําฝอย น้ำมันปาล์ม […]
เช็กสูงวัยใกล้ตัวมีอาการ “ความจำเสื่อม” หรือไม่?
เช็กสูงวัยใกล้ตัวมีอาการ “ความจำเสื่อม” หรือไม่? ปัจจุบันพบว่าปัญหาที่ตามมาและมักพบในสังคมผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ คือ ภาวะสมองเสื่อม ผู้ป่วยจะมีการเสื่อมถอยความสามารถของสมองในหลายๆด้าน เช่น สูญเสียความจำ สมาธิ ความสามารถทางสติปัญญาลดลง คิดและจำเรื่องที่เป็นปัจจุบันไม่ได้ มีอาการหลงลืม ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ซึ่งวันนี้เราจะมาพูดกันถึงเรื่องนี้กันค่ะ ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตระบุว่าขณะนี้พบผู้สูงวัยไทยสมองเสื่อมกันมากถึง 8 แสนกว่าคน พบได้ทุกๆ 8 คนในผู้สูงอายุ 100 คน ภัยที่ตามมาติดๆ คือมีปัญหาพฤติกรรมและจิตใจผิดปกติสูงถึงร้อยละ 90 พบได้บ่อย 9 อาการ อาทิ เฉยเมย ซึมเศร้า ก้าวร้าว กินนอนผิดปกติ หากพบให้รีบปรึกษาสถานพยาบาลใกล้บ้าน ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย สถิติของกระทรวงมหาดไทย พ.ศ. 2559 ประเทศไทยมีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 9.9 ล้านกว่าคน คิดเป็นร้อยละ 15 ของประชากรทั้งประเทศที่มี 65.9 ล้านคน ปัญหาที่ตามมาและมักพบในสังคมผู้สูงอายุมากกว่ากลุ่มวัยอื่นๆ คือ ภาวะสมองเสื่อม (dementia) โดยผู้ป่วยจะมีการเสื่อมถอยความสามารถของสมองในหลายๆ […]
5 Fears 5 Ways Out เมื่อชายเริ่มสูงวัย
5 Fears 5 Ways Out เมื่อชายเริ่มสูงวัย ผู้ชายไทยอาจไม่ได้มีความกลัวเหมือนคนอเมริกันเป๊ะ แต่เชื่อว่ามีความใกล้เคียงกันเพราะรับวัฒนธรรมอเมริกันมาเป็นของเราไม่น้อย โดยเฉพาะวิถีการกินอาหารฟาสต์ฟู้ด ฉะนั้น ข้อมูลต่อไปนี้จึงน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านมากพอสมควรการศึกษาสํารวจผู้ชายอเมริกันวัยกลางคนจากหลายสถาบันและองค์กรหลายแห่งในประเทศสหรัฐอเมริกาพบว่าพวกเขามีความกลัวอยู่ 5 อย่างดังนี้ Fear 1 เพราะคิดเรื่องพรรค์อย่างว่าวันละ 13 ครั้ง ขณะที่ผู้หญิงคิดน้อยกว่านั้นครึ่งหนึ่ง ฉะนั้นเมื่อเริ่มเข้าสู่วัยกลางคนผู้ชายจึงกลัวภาวะนกเขาไม่ขันมากกว่าโรคมะเร็งโรคร้ายใดๆ หรือความตายเสียอีก Way Out การจะป้องกันภาวะนกเขาไม่ขันนั้นง่ายมากจอห์นมุ ลฮอลล์ ผู้อํานวยการการศึกษาวิจัยโปรแกรมการรักษาสมรรถภาพทางเพศแห่งวิทยาลัยแพทย์มหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ ในกรุงนิวยอร์ก กล่าวว่า แค่หมั่นเช็ กสุขภาพและดูแลตัวเองไม่ให้เป็นโรคความดันโลหิตสูงคอเลสเตอรอลสูงเบาหวาน เพราะหลังจากการเกิดภาวะนกเขาไม่ขันสามปีผู้ชายสองในสามจะเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ Fear 2 เคน รอบบินส์ อาจารย์จิตแพทย์จากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน กล่าวว่า เมื่อเรี่ยวแรงหมดลงตามวัยผู้ชายเก้าในสิบคนจะรู้สึกเหมือนสูญเสียทุกอย่างในชีวิต Way Out กินอาหารสุขภาพและหมั่นออกกําลังกาย มูลนิธิ American Geriatrics Society Foundation ยืนยัน Fear 3 ลอรี เจคอบส์ ผู้อํานวยการศูนย์ Jack and Pearl […]
“NEW NORMAL ” ชีวิตวิถีใหม่ของ สว. ที่จะเปลี่ยนไปในหลายๆ ด้าน
“NEW NORMAL ” ชีวิตวิถีใหม่ของ สว. ที่จะเปลี่ยนไปในหลายๆ ด้าน ตั้งแต่ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ระบาด หรืออโควิด-19 ครั้งแรกได้ระบาดและแพร่กระจายไปทั่วทั้งโลกในตอนนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าโรค ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแทบทุกด้านของชีวิต ไม่ว่าจะเป็นด้านการทำงานที่หลายคนจำเป็นต้อง Work From Home หรือต้องอยู่บ้าน เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การใช้ชีวิตประจำวันของผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงที่ได้รับผลกระทบจากการติดเชื้อมากที่สุด ก็จำเป็นต้องเว้นระยะห่างทางสังคม กรมการแพทย์ก็ได้เคยออกมาให้ข้อมูลแล้วว่ากลุ่มผู้ป่วย COVID-19 ในประเทศไทยส่วนใหญ่อยู่ในช่วงอายุวัยทำงาน แต่กลุ่มที่มีการเสียชีวิตมากที่สุด คือกลุ่มอายุ 70 ปีขึ้นไป โดยคิดเป็นร้อยละ 12.1 ขณะที่ผู้ป่วยอายุ 80-89 ปี จะมีอัตราการเสียชีวิตสูงถึงร้อยละ 24 หรือหมายถึงคนอายุเกิน 80 ปี หากป่วย COVID-19 จำนวน 4 คน เสียชีวิต 1 คน ดังนั้น จึงควรดูแลตามหลักการโดยเน้น 2 ส่วนคือ การป้องกันติดเชื้อ และป้องกันร่างกาย-สมองถดถอยช่วงเก็บตัวอยู่บ้าน ผ่าน 5 […]
เคล็ดลับแก้ปัญหาฮอร์โมนตก นอนไม่หลับ โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ
เคล็ดลับแก้ปัญหาฮอร์โมนตก นอนไม่หลับ โรคเรื้อรังในผู้สูงอายุ หากบอกเพื่อนสนิทสักคนว่ากำลังนอนไม่หลับ อาจถูกแซวกลับว่า อายุเยอะแล้วก็เป็นอย่างนี้ กลายเป็นว่า การนอนไม่หลับเป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุ ซึ่งความเป็นจริงแล้ว เราสามารถนอนหลับได้แม้อยู่ในวัยเก๋า แต่ก็ขึ้นอยู่กับวิธีการดูแลสุขภาพของตัวเองเป็นสำคัญ วันนี้เรานี้จะพาไปเจาะลึกสาเหตุการนอนไม่หลับของคุณลุง คุณป้า คุณตา คุณยาย พร้อมวิธีป้องกันและแก้ไข เพื่อให้หลับสบายและไกลจากโรคเรื้อรัง ไปดูกันว่ามีอะไรบ้าง ฮอร์โมนลด ระบบร่างกายเสื่อม ทำตื่นเร็ว แพทย์หญิงสาริษฐา สมทรัพย์ กุมารแพทย์และผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังและความงาม อธิบายว่า “พฤติกรรมการนอนของผู้สูงอายุคือ จะนอนเร็วแต่หัวค่ำ แต่จะตื่นเร็ว บางคนตื่นตีสอง ตีสาม จากนั้นก็จะนอนต่อไม่ได้ ซึ่งเกิดจากเรื่องของฮอร์โมนต่างๆทำงานน้อยลง ซึ่งทำให้คุณภาพการนอนเสียไป ส่งผลกระทบต่อโรคเรื้อรังที่เป็นอยู่ “นอกจากนี้ยังมีปัญหาการนอนหลับแบบสั้นๆ ส่วนใหญ่จะเกิดกับผู้ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป คือมีช่วงเวลาการนอนสั้น เข้านอนเร็ว ตื่นตีหนึ่ง ตีสอง จะตาค้างอยู่อีกหลายชั่วโมง ซึ่งเป็นผลจาการทำงานของฮอร์โมนไทรอยด์ต่ำ มีพยาธิสภาพ และระบบการทำงานต่างๆเสื่อมลง” โกร๊ธฮอร์โมน ตัวช่วยชะลอแก่ ปกติร่างกายเราจะเสื่อมไปตามวัย แต่ธรรมชาติก็ยังเป็นใจ ช่วยยืดอายุสุขภาพผู้สูงอายุออกไปได้ด้วย โกร๊ธฮอร์โมนอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ผู้ก่อตั้งองค์ความรู้ชีวจิต อธิบายไว้ว่า […]
การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องสำคัญ
การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงเป็นเรื่องสำคัญ รู้หรือไม่! การดูแลสุขภาพช่องปากของผู้สูงอายุเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปากและฟันที่สะอาดจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบาย ไม่เจ็บปวด กินอาหารได้ตามปกติ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ โดยเฉพาะปัญหาปอดติดเชื้อจากการสำลักซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้จำเป็นอย่างยิ่งต้องมีผู้ดูแลคอยช่วยเหลือ การทำความสะอาดปากและฟัน ต้องอาศัยเทคนิคหรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรทำความสะอาดปากและฟัน ต้องอาศัยเทคนิคหรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรทำความสะอาดปากและฟันของผู้สูงอายุทุกวัน อย่างน้อยวันละ 1 ครั้ง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์กล่าวถึงเรื่องที่มีข่าวพบหนอนในช่องปากผู้ป่วยติดเตียง ซึ่งถือว่าเป็นอันตรายอย่างมาก หากหนอนชอนไชเข้าไปถึงส่วนสำคัญใกล้เคียงอย่างจมูกก็มีโอกาสที่จะเข้าไปถึงสมองได้ ดังนั้นการดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุที่ป่วยติดเตียงจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะปากและฟันที่สะอาดจะช่วยให้ผู้สูงอายุรู้สึกสบาย ไม่เจ็บปวดกินอาหารได้ตามปกติ ลดความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุให้เสียชีวิตได้ ความสำคัญของการดูแลช่องปากเป็นอย่างดีนั้นจะช่วยให้ผู้สูงอายุใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างมีความสุขและส่งผลดีต่อสุขภาพโดยรวม โดยเฉพาะผู้สูงอายุกลุ่มติดบ้านและติดเตียงที่ช่ยเหลือตัวเองไม่ได้ อาจมีการกลืนลำบากหรือสำลักง่าย ต้องให้อาหารทางสายยาง หรือใส่ท่อช่วยหายใจ ปากแห้ง มีแผลในปาก การทำความสะอาดปากและฟันจึงต้องอาศัยเทคนิคหรืออุปกรณ์บางอย่างเป็นพิเศษ ผู้ดูแลควรทำความสะอาดปากและฟันของผู้สูงอายุทุกวัน อย่างน้อยวันละครั้ง ด้านทันตแพทย์ อำนาจ ลิขิตกุลธนพร ผู้อำนวยการสถาบันทันตกรรม กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรณีผู้สูงอายุไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ แต่ยังรับรู้ได้ การช่วยแปรงฟันต้องยกศีรษะผู้สูงอายุขึ้นเพื่อป้องกันการสำลัก โดยให้ผู้สูงอายุขึ้นเพื่อกันการสำลัก โดยให้ผู้สูงอายุอยู่ในท่าครึ่งนั่งครึ่งนอน อาจใช้หมอนหนุนบนเตียง หรือถ้าผู้สูงอายุศีรษะไม่นิ่ง ควรให้ผู้สูงงอายุนั่ง ให้ศีรษะพิงผู้ดูแลที่ยืนอยู่ข้างหลังก็ได้ กรณีผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้และไม่รับรู้ สามารถช่วยทำความสะอาดช่องปากได้ โดยใช้ไม้กดลิ้นเปิดช่องปากผู้สูงอายุ […]
เลือกคอนโดผู้สูงอายุ อย่างไรให้เหมาะกับคนวัยเกษียณ
เลือกคอนโดผู้สูงอายุ อย่างไรให้เหมาะกับคนวัยเกษียณ คนเรามักจะมีความเชื่อกันว่า ผู้สูงอายุ จะต้องเป็นคนที่อยู่บ้าน หรืออยู่ติดบ้านเท่านั้น แต่ในปัจจุบันนี้ ก็ต้องยอมรับกันแล้วล่ะครับ ว่าไลฟ์สไตล์ของคนบางกลุ่มมีความเปลี่ยนไปแล้ว จากที่เคยต้องยึดติดกับการต้องอาศัยอยู่กับบ้านเท่านั้น ก็อาจจะขยับขยายมาอาศัยอยู่คอนโดแทน และการอยู่อาศัยในคอนโดนั้น คนเราก็มักจะเชื่อกันอยู่อย่างหนึ่งว่า เหมาะกับการใช้ชีวิตแบบวัยรุ่น และวัยทำงานเท่านั้น แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่เลย เพราะที่อยู่อาศัยแต่ละโครงการนั้น จะต้องรองรับการใช้ชีวิตได้ทุกไลฟ์สไตล์ ทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็ก ไปจนผู้สูงอายุ ดังนั้น ที่อยู่อาศัยประเภทคอนโด ก็ควรทำออกแบบมาเพื่อรองรับการเป็น “คอนโดเพื่อผู้สูงอายุ” ด้วย วันนี้เราเลยมาเปิดข้อดีคอนโดเพื่อผู้สูงอายุกันให้เห็นไปเลยครับ ว่าหากผู้สูงอายุ จะอาศัยอยู่ในคอนโดแล้ว ต้องเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับเรื่องอะไรบ้าง ไปดูกันเลยค่ะ วิธีพิจารณาคอนโดสำหรับผู้สูงอายุ เมื่อต้องการเลือกคอนโดผู้สูงอายุ ทดแทนการให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านพักคนชรา จะต้องทำการพิจารณาในหลาย ๆ ด้านประกอบกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุนั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีหลังเกษียณมากที่สุด จะดีกว่ามากถ้าผู้สูงอายุเป็นผู้เลือกเอง เพราะเราจะต้องเลือกบ้านหลังที่สองที่ถูกใจผู้อยู่มากกว่าผู้เสียค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ จะต้องพิจารณาจากทั้งเรื่องของแวดล้อมต่าง ๆ สิ่งอำนวยความสะดวก การดูแล การให้บริการ อุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายต้องนำทั้งหมดมารวมประกอบเข้าด้วยกันเลย เพื่อให้ทุก ๆ องค์ประกอบสอดคล้องไปด้วยกัน อย่างที่ผู้อาศัยต้องการ เพราะที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงวัยนั้นต้องมีความละเอียดอ่อนอย่างมาก […]
“เจนนี่ ครูปา” เน็ตไอดอลวัย 88 ปี นาทีนี้ต้องเรียกเธอว่า “ดาว TikTok”
“เจนนี่ ครูปา” เน็ตไอดอลวัย 88 ปี นาทีนี้ต้องเรียกเธอว่า “ดาว TikTok” ตอนนี้หากพูดถึงแอปพลิเคชั่นที่ได้รับความนิยมและมียอดดาวโหลดมากที่สุด น่าจะไม่พ้นเจ้า TikTok ซึ่งสิ่งที่ทำให้ TikTok ได้รับความนิยมนั้นเกิดจากเป็นคอนเทนต์ที่สั้นกระชับ ทำให้ง่ายต่อการเข้าถึง มีเพลง มี เอฟเฟกต์ สติ๊กเกอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการลิปซิงค์ตามเพลง การทำวิดีโอเลียนแบบท่าทาง การทำชาเลนจ์ต่างๆ ที่ทำได้โดยง่าย สิ่งเหล่านี้ทำให้คนที่แม้ไม่เคยถ่ายวิดีโอเลยก็สามารถทำได้ ทำให้เกิดความสนุกสนานและสร้างวิดีโอต่อๆ กัน ไปเรื่อยๆ จึงไม่แปลกที่กระแสชาเลนจ์ หรือไวรัล ต่างๆ นั้นเกิดมาจาก TikTok อย่างง่ายดาย ลายคนที่สร้างคอนเทนต์ผ่านแอปฯ นี้ สร้างกระแสความสนใจได้เป็นจำนวนมาก หลายคนเริ่มมีชื่อเสียงและได้รับการสนับสนุนให้สร้างคอนเทนต์ออกมามากมาย เรียกว่าเป็นอินฟูอินเซอร์บนโลกโซเชียลได้เลย เมื่อสร้างคอนเทนต์ออกมาดีน่าสนใจก็สร้างกระแสได้จริง ทำให้คนดูมากขึ้น คนดูก็มีความสุข วันนี้ค่ะ เราจะพาไปรู้จักกับคุณยายสาย TikTok “เจนนี่ ครูปา” เนตไอดอลวัย 88 ปี ที่พกพาความน่ารัก เฟี้ยวฟ้าว เรียกว่าเป็นดาวแอปพลิเคชั่นที่มีผู้ติดตามถึงง 1.4 ล้านคน […]
ตามดูพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานที่ควรทำ!
ตามดูพฤติกรรมการดูแลเท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวานที่ควรทำ! สำหรับใครที่ต้องดูแลผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวาน ต้องให้ความสำคัญให้มาก โดยเฉพาะการดูแลระวังรักษาเท้าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน จะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดแผลเรื้อรัง หรือเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรงมากกว่าคนปกติ ถ้าไม่ได้รับการรักษาที่ดีพอ อาจลุกลามถึงต้องเสียนิ้วหรือเสียขา สิ่งเหล่านี้สามารถป้องกันได้โดยการเอาใจใส่สำรวจเท้าทุกวัน ถ้าเกิดความผิดปกติควรได้รับการดูแลแพทย์ผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่ระยะเริ่มต้น สาเหตุที่ผู้เป็นเบาหวานเกิดแผลที่เท้าง่ายกว่าคนปกติ ส่วนมากแล้วโรคเบาหวานจะมีอาการชาปลายมือปลายเท้า ซึ่งเกิดจากปลายประสาททำงานลดลงและสูญเสียการทำงาน ทำให้ไม่สามารถรับรู้ความรู้สึกต่างๆ ประกอบกับระบบไหลเวียนของเลือดที่ปลายทือปลายเท้าทำงานไม่ดี ทำให้เกิดบาดแผลโดยไม่รู้ตัวบ่อยๆ โดยเฉพาะเท้ากว่าจะสังเกตพบแผลก็ลุกลามไปมาก เมื่อประสาทที่เลี้ยงกล้ามเนื้อขาและเท้าเสื่อม กล้ามเนื้อจะแฟบลงทำให้รูปร่างของเท้าผิดปกติ นิ้วเท้างอขึ้นเท้ารับน้ำหนักไม่สม่ำเสมอ บริเวณที่รับน้ำหนักมากหรือถูกกดอยู่เป็นเวลานานจะหนาขึ้นเกิดเป็นตาปลาหรือเป็นแผล .การไหลเวียนของโลหิตที่ไปสู่ขาลดลง เนื่องจากผนังหลอดเลือดแดงหนาขึ้น ทำให้ขาดออกซิเจน ผิวหนังจะบางลง แผลหายช้า เกิดอาการปวดน่องเวลาเดิน ถ้าเป็นมากจนหลอดเลือดอุดตันเนื้อเยื่อส่วนปลายจะตายมีสีคล้ำดำขึ้น จนต้องตัดนิ้วหรือนิ้วแห้งดำหลุดไปได้ รวมถึงผู้ป่วยที่มีระดับน้ำตาลในโลหิตสูงอยู่นาน จะเกิดการติดเชื้อได้ง่ายโดยเฉพาะเชื้อราที่ผิวหนังระหว่างนิ้วเท้า ทำให้ผิวหนังถลอกมีแผลเกิดขึ้น อาจจะมีเชื้อโรคที่รุนแรงเกิดขึ้นตามมา การแก้ปัญหาการเกิดแผลที่เท้าของผู้สูงอายุที่เป็นเบาหวาน ปัญหาดังกล่าวผู้ดูแลผู้ดูแลผู้สูงอายุสามารถที่จะแก้ไขได้ดังนี้ 1.ต้องคอยดูแลเท้า หรือตรวจเท้าทุกวันว่ามีบาดแผลหรือไม่ โดยใช้แว่นขยายเป็นเครื่องมือช่วยในการส่องดูเท้าได้อย่างทั่วถึงว่ามีรอยแตก มีรอยแดง แผลพุพอง ผื่นคัน ตุ่มน้ำใส ขุยขาวที่ซอกนิ้วเท้า ตาปลาและสีเล็บ หรือไม่ หากมีควรปรึกษาแพทย์ทันที 2.ทำความสะอาดเท้า ล้างเท้าให้สะอาดทุกวันด้วยสบู่และน้ำธรรมดาหรือน้ำอุ่น ไม่ใช้น้ำเย็นจัดหรือร้อน เช็ดเท้ารวมทั้งตามซอกนิ้วเท้าให้แห้ง อย่าถูแรง 3.นวดผิวหนังที่ขาและเท้าด้วยน้ำมันวาสลิน หรือโลชั่นเพื่อให้ผิวหนังนุ่ม ป้องกันผิวแห้งและป้องกันอาการคันและเกาจนเกิดแผล […]
สว. มักมีความเสื่อมตามวัย ในบางครั้งอาหารเสริมจึงมีความจำเป็น!
สว. มักมีความเสื่อมตามวัย ในบางครั้งอาหารเสริมจึงมีความจำเป็น! ความสำคัญของการบริโภคอาหารที่จำเป็นต่อสุขภาพ และ สารอาหารที่มักมีปัญหาในผู้สูงอายุไทย เนื่องจากบุคคลในวัยนี้จะมีปัญหาสุขภาพตามความเสื่อมของวัย ดังนั้น การคิดนวัตกรรมอาหารที่สอดคล้องกับสุขภาพของคนวัยนี้จึงมีความสำคัญเพื่อให้เกิดสังคมผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีตามวัย ผู้สูงอายุมีความเสื่อมของร่างกายเริ่มตั้งปากและฟันที่มีความสามารถในการบดเคี้ยวได้น้อยลงซึ่งจะส่งผลต่อการได้รับอาหารพวกเนื้อสัตว์และผัก ดังนั้นต้องเลือกประเภทโปรตีนที่เคี้ยวง่าย มีกรดอะมิโนครบถ้วนและไขมันต่ำ ได้แก่ ไข่และปลา วันละ 0.8 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ 6 ช้อนกินข้าว ส่วนผักควรจะเป็นผักต้มสุกจนนิ่มวันละ 4 ทัพพี ผลไม้ต้องระมัดระวังเรื่องน้ำตาลควรรับประทานผลไม้รสจืดวันละ 3 ส่วนเพื่อลดอาการท้องผูก เช่นเดียวกันอาหารกลุ่มแป้งควรรับประทานข้าววันละ 8 ทัพพี ควรเลือกข้าวกล้องแทนข้าวขาวเพื่อเพิ่มใยอาหาร ส่วนภาวะกระดูกพรุนที่มักเกิดในวัยนี้ก็ควรรับประทานอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น ผลิตภัณฑ์นม ผักใบเขียวเข้ม หรือ ปลาเล็กปลาน้อย ดังนั้น การสร้างนวัตกรรมอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการเฉพาะวัยสูงอายุสามารถบริโภคได้สะดวก ประเทศไทยจะกลายเป็นสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2570 ซึ่งในอนาคตจะมีผู้สูงอายุจำนวนมากที่มีปัญหาสุขภาพต้องได้รับการดูแลจากครอบครัวและรัฐ นอกจากนี้เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นการทางานของระบบต่างๆ ภายในร่างกายย่อมเสื่อมถอยลงส่งผลให้เกิดโรคเสื่อมในระบบต่างๆ ของร่างกาย ซึ่งประกอบด้วย ระบบประสาท ระบบผิวหนัง ระบบฮอร์โมน ระบบหลอดเลือด ระบบภูมิคุ้มกัน และ ระบบกระดูกและข้อ เป็นต้น […]