ดูแลผู้สูงอายุ
การดูแลผู้สูงวัย คำแนะนำในการดูแลสุขภาพครบถ้วน ทุกแง่มุม ทั้งสุขภาพกาย ใจ และด้านสังคม เพื่อการสูงวัยอย่างมีคุณภาพ
ยิ่งอายุมากยิ่งไม่ควรประมาทกับชีวิต
ทุกคนในช่วงบั้นปลายของชีวิต เมื่อ อายุมาก ก็ล้วนแต่ต้องการความสุข ความสบาย หลังจากที่ทำงานหนักมาตลอดจนเกษียณ แต่ทราบไหมครับว่าในปัจจุบันมีกี่คนที่จะสามารถเกษียณได้อย่างสบาย ไร้กังวล ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ไม่ได้มีการวางแผนการเกษียณที่ดีพอเสียตั้งแต่แรก บางคนเรียกว่าใช้ชีวิตมาอย่างประมาทมาโดยตลอด ตรงนี้อยากจะบอกไว้เลยว่า ยิ่งเราอายุมากขึ้น ยิ่งต้องงห้ามประมาท ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดก็ตาม การเกษียณอายุก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้ที่เกษียณอายุในหลายๆ ด้าน เนื่องจากต้องเข้าสู่ภาวะวัยสูงอายุด้วย ซึ่งผลกระทบเหล่านั้นล้วนแล้วแต่มีผลต่อความพึงพอใจในชีวิตของผู้เกษียณหรือแม้แต่การดำาเนินชีวิตอย่างมาก ผลกระทบเหล่านั้น ได้แก่ ผลกระทบด้านร่างกาย ผู้ที่เกษียณอายุเป็นผู้สูงอายุ ดังนั้นเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุทำให้ต้องพบกับความเสื่อมของอวัยวะต่างๆอย่างมาก ทำให้ผู้สูงอายุบางคนไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายได้ จึงมีผลต่อการดำาเนินชีวิตโดยทำาให้เกิดความไม่พึงพอใจ และถ้าขาดความรู้ในการดูแลสุขภาพก็จะมีสุขภาพที่เสื่อมลงอย่างรวดเร็ว ผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีก็จะมีการปรับตัวได้ดีด้วย ซึ่งจะเห็นได้ว่าสภาวะทางสุขภาพเป็นตัวแปรสำาคัญที่มีผลต่อการปรับตัวของผู้สูงอาย ผลกระทบด้านจิตใจ การเกษียณอายุนับว่ามีผลกระทบต่อจิตใจกับผู้เกษียณค่อนข้างมาก เนื่องมาจากการเกษียณอายุก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันต่อกิจวัตรประจำาวันจากที่เคยปฏิบัติไปสู่การมีเวลาว่างมากขึ้น และในขณะเดียวกันการเกษียณอายุทำาให้ผู้เกษียณอายุนั้น รู้สึกว่าตนเองด้อยคุณค่าเนื่องมาจากอำานาจที่เคยมีอยู่หมดไปซึ่งสิ่งเหล่านี้ถ้าผู้เกษียณอายุปรับตัวไม่ได้จะทำาให้รู้สึกหงุดหงิด ซึมเศร้า คิดว่าตนเองหมดความหมาย ไม่มีคุณค่า ขาดความพึงพอใจต่อสภาพชีวิตในปัจจุบัน จะเห็นได้ว่าผลกระทบจากการเกษียณอายุส่วนใหญ่จะมีผลด้านจิตใจมากกว่าด้านร่างกายผู้เกษียณอายุที่ขาดการวางแผนการเตรียมตัวเกษียณอายุที่ดีอาจเกิดภาวะตึงเครียดเศร้าหมองซึ่งนำาไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงได้ เนื่องจากการเกษียณอายุเป็นภาวะการเปลี่ยนแปลงบทบาทและสถานภาพทางสังคมอย่างฉับพลันถ้าไม่ได้มีการเตรียมใจไว้ล่วงหน้ามักจะประสบปัญหาความเครียดและการปรับตัวไม่ได้ ซึ่งจะก่อให้เกิดปัญหาทางด้านจิตใจทำาให้มีอารมณ์รุนแรงหงุดหงิด เหงา ว้าเหว่ เบื่อหน่ายชีวิต มีความวิตกกังวล ดังนั้นการเตรียมตัวด้านจิตใจ มีดังนี้ สร้างขวัญกำลังใจที่ดีในการเผชิญหน้ากับวัยเกษียณ ยอมรับว่าการเกษียณเกิดกับทุกคนโดยใช้หลักธรรมะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว ฝึกตนให้เป็นคนใจกว้างมองโลกในแง่ดีและหลายๆ แง่มุม รู้จักปล่อยวางเมื่อมีปัญหาแก้ปัญหาด้วยความมีสติและรู้จักควบคุมตนเอง รวมถึงสนใจหาความรู้ ฟังวิทยุ อ่านหนังสือพิมพ์ ติดตามเหตุการณ์ข่าวสารบ้านเมืองต่างๆ […]
เคล็ดลับปรับครัว เสริมสุขภาพจิต สว.
เคล็ดลับปรับครัว เสริมสุขภาพจิต สว. เมื่อพูดถึงโรคซึมเศร้า หลายคนคงจะนึกถึงผู้ป่วยที่อยู่ในวัยหนุ่มสาวหรือวัยทำงานซะส่วนใหญ่ แต่ใครจะรู้ว่าภาวะนี้มักพบบ่อยในผู้สูงอายุ และหากปล่อยให้อาการซึมเศร้ากัดกร่อนสภาพจิตใจไปเรื่อย ๆ ก็อาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายในที่สุด จะเห็นได้จากข้อมูลของศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ในปี ค.ศ. 2015 พบว่า คนที่มีอายุ 85 ปีขึ้นไป อยู่ในกลุ่มที่มีอัตราการฆ่าตัวตายสูงสุดเป็นอันดับสองในสหรัฐอเมริกา หรือมีโอกาสฆ่าตัวตายมากถึงร้อยละ 19.4 ส่วนหนึ่งมาจากตัวของผู้สูงอายุเอง ที่อาจลังเลที่จะพูดคุยเกี่ยวกับความรู้สึกของตน หรือไม่เข้าใจว่าอาการทางกายลักษณะใดเป็นสัญญาณของภาวะซึมเศร้า โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ตามลำพัง ความเหงาจะก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต COOKING THERAPY เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมามีรายงานการศึกษาทางจิตวิทยาหลายชิ้นที่ระบุว่า การทำอาหารเป็นวิธีหนึ่งที่จะช่วยลดความเครียด อาการซึมเศร้าหรืออาการจิตตก และยิ่งผู้สูงอายุทำกิจกรรมนี้บ่อย ๆ ก็จะยิ่งช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย มีความสุขมากขึ้น ซึ่งตรงตามคำบอกเล่าของ นอร์แมน ซัสแมน นักจิตวิทยาคลินิกจากมหาวิทยาลัยนิวยอร์ก เคยกล่าวว่า ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าหลายคนรู้สึกดีขึ้นเมื่อได้ออกกำลังกาย หรือใช้แรงให้ร่างกายเหงื่อออก เช่นเดียวกับการทำอาหารที่ให้ผลลัพธ์เป็นรูปธรรมทันที และการที่ได้ส่งต่อเมนูอาหารแสนอร่อยให้ผู้อื่น จะช่วยสร้างความรู้สึกที่มีคุณค่าทางจิตใจของผู้ให้ ซึ่งเป็นผลดีต่อสุขภาพจิตในระยะยาว ห้องครัวจึงเป็นบริเวณที่สำคัญไม่น้อย ที่จะช่วยสร้างความสุขให้กับผู้ใช้งาน ดังนั้น เราไปดูไอเดียการทำห้องครัวที่เหมาะกับผู้สูงอายุ จากเว็บไซต์ Senior Safety Advice ของต่างประเทศกันเลยดีกว่าค่ะ […]
ปรับบ้านหอม ชวนผ่อนคลายให้ตายาย
ปรับบ้านหอม ชวนผ่อนคลายให้ตายาย จะดีแค่ไหนถ้าที่พักอาศัย หรือ บ้าน ของคุณปู่คุณย่านอกจากจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยสำหรับพวกท่านแล้ว ยังเป็นเสมือนสถานที่พักผ่อนที่ให้ความรู้สึกผ่อนคลาย พร้อมกับส่งเสริมให้พวกท่านมีสุขภาพดีได้ในเวลาเดียวกัน จากเหตุการณ์ที่ทั่วโลกต่างเกิดโรคระบาดครั้งใหญ่ที่เรียกว่า โควิด-19 ซึ่งกลุ่มเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัสมากที่สุดคงหนีไม่พ้นวัยของผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้เชี่ยวชาญให้ข้อสังเกตว่าผู้สูงอายุจะมีระบบภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำลงตามวัย จึงมีโอกาสติดเชื้อได้ง่ายกว่าเด็กหรือวัยหนุ่มสาว เห็นได้จากยอดผู้เสียชีวิตในประเทศจีนที่เกือบร้อยละ 15 เป็นคนชรามีอายุมากกว่า 80 ปีขึ้นไป ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตที่อายุน้อยกว่า 50 ปี มีน้อยกว่าร้อยละ 1 ด้วยเหตุนี้เอง คุณปู่คุณย่าหลายท่านอาจกังวลใจอยู่ไม่น้อย และพยายามหาวิธีสร้างภูมิคุ้มกันแก่ร่างกาย เพื่อเป็นเกราะป้องกันไวรัส ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารดีมีประโยชน์ การออกกำลังกาย การใช้สมุนไพรป้องกันไวรัส รวมไปถึงการใช้อโรมาเธอราพี วันนี้จึงอยากชวนคุณปู่คุณย่ามาทำความรู้จักกับ Essential Oil Diffusers ที่นำกลิ่นของน้ำมันหอมระเหยมาสร้างบรรยากาศภายในบ้านของคุณปู่คุณย่าให้หอมคละคลุ้ง เพื่อเกิดการผ่อนคลายจากความวิตกกังวล พร้อมกับกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน ให้ทางเดินหายใจดียิ่งขึ้น รู้จักเครื่องกระจายน้ำมันหอมระเหย คุณปู่คุณย่าอาจพอจะเคยเห็นเจ้าเครื่องนี้กันมาบ้าง แต่ก็ยังอดสงสัยไม่ได้ว่ามันคืออะไรจริงไหมคะ โจ เคลเล็ตต์ สมาชิกของสหพันธ์ด้านน้ำมันหอมระเหยระหว่างประเทศและนักบำบัดกลิ่นหอมของ Tisserand Aromatherap อธิบายว่า Diffuser คืออุปกรณ์ที่กระจายบางสิ่งไปในบริเวณกว้าง ซึ่งในกรณีของเครื่องกระจายกลิ่นสำหรับน้ำมันหอมระเหย (Essential Oil Diffusers) จะต้องใส่น้ำมันหอมระเหยที่มีกลิ่นหอมบำบัดลงในเครื่องกระจายกลิ่น […]
กินเปลี่ยนโลก เปลี่ยนสุขภาวะผู้สูงวัย
กินเปลี่ยนโลก เปลี่ยนสุขภาวะ ผู้สูงวัย ในแต่ละช่วงอายุคน ความต้องการด้านสารอาหารของร่างกายมีความแตกต่างกัน วัยเด็กร่างกายต้องการสารอาหารเพื่อการเจริญเติบโตและสร้างสติปัญญา วัยผู้ใหญ่เน้นสารอาหารที่สามารถเสริมสร้างกำลังกายและกำลังสมอง แต่สำหรับใน ผู้สูงวัย สารอาหารที่ร่างกายต้องการโดยส่วนมากแล้วเน้นเพื่อการคุ้มกันภาวะแทรกซ้อนต่างๆ และป้องกันโรคภัยไข้เจ็บเป็นส่วนมาก การรับประทานอาหารของแต่ละช่วงอายุจึงมีความแตกต่างกัน รวมทั้งพฤติกรรมการรับประทานอาหารของแต่ละวัยก็มีความแตกต่างด้วยเช่นกัน วัยสูงอายุ เป็นวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านร่างกายและด้านจิตใจ การเปลี่ยนแปลงของร่างกายของผู้สูงอายุ มีปัจจัยสำคัญ คือ ปัจจัยทางกรรมพันธุ์และปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สภาพแวดล้อมที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือภาวะโภชนาการและวิถีดำเนินชีวิต ด้วยวิถีการดำเนินชีวิตแบบง่ายๆ ของสังคม ความสำคัญของหลักโภชนาการที่ถูกต้องจึงยังเป็นเรื่องที่ไม่เข้าถึงมากนัก ผู้สูงอายุส่วนมากมีพฤติกรรมการรับประทานที่ไม่ถูกหลักโภชนาการและสุขลักษณะ ส่งผลให้ร่างกายที่มีภูมิต้านทานอ่อนแออยู่แล้วนั้นมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคภัยไข้เจ็บได้ง่ายขึ้นอีก จะเห็นได้ว่าการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการและสุขอนามัยมีความสำคัญ เน้นคำนึงถึงความต้องการสารอาหารของร่างกาย มีความหลากหลายและสมดุลพอเหมาะพอดี ไม่มากเกินไปจนการทำงานของระบบร่างกายผิดปกติหรือต้องไม่น้อยเกินเกิดภาวะขาดสารอาหาร นอกจากนี้การออกกำลังกาย การผ่อนคลายทางจิตใจรวมทั้งการหลีกเลี่ยงสิ่งที่เป็นผลด้านเสียก็เป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการมีสุขภาพที่ดีของผู้สูงอายุอีกด้วย โรคที่พบในผู้สูงอายุมีมาจากการรับประทานอาหารไม่ถูกต้อง ปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับอาหารและโภชนาการ เนื่องจากระบบการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายของผู้สูงอายุได้มีการเปลี่ยนแปลง อวัยวะแต่ละส่วนมีการทำงานด้อยลงไป รวมทั้งประสาทสัมผัสทั้ง 5 ช่น การรับรู้รสและกลิ่นของอาหารได้ไม่ดี ทำให้ความอยากอาหารลดน้อยลงไป ประกอบกับปัญหาเรื่องเหงือกและฟันและระบบการย่อย การดูดซึมได้ไม่ดีเท่าที่ควร จึงมักจะมีปัญหาสุขภาพต่างๆ เพิ่มมากขึ้น ถ้าได้รับสารอาหารมากไปหรือไม่เพียงพออาจมีภาวะแทรกซ้อนของโรคภัยไข้เจ็บได้ เช่น โรคข้อกระดูกเสื่อม โรคอ้วน เบาหวาน ความดันโลหิตสูง เป็นต้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถป้องกันและแก้ไขได้ถ้าผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีความเกี่ยงข้องเอาใจใส่ดูแล แนะนำเกี่ยวกับการบริโภค ทั้งนี้จะเห็นได้วว่าส่วนใหญ่โรคที่พบในผู้สูงอายุที่กล่าวมา […]
ติดกล้องวงจรปิด ไอเท็มช่วยชีวิตคุณปู่คุณย่า
ติดกล้องวงจรปิด ไอเท็มช่วยชีวิตคุณปู่คุณย่า เทคโนโลยี เพื่อการช่วยเหลือผู้สูงอายุ เป็นตัวช่วยหนึ่งที่จะช่วยดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้กับผู้สูงอายุ รวมไปถึงสมากชิกในครอบครัวที่ต้องการดูแลพวกท่าน แม้ต้องอยู่ห่างไกลกันก็ตาม การใช้เทคโนโลยีประเภทนี้เหมาะกับคนไทยไม่น้อย เพราะในแต่ละปีจะมีผู้สูงอายุที่เกิดอุบัติเหตุพลัดตกหกล้มเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.5 ซึ่งถ้าหากอ้างอิงข้อมูลของสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติจะพบว่า ในรอบ 3 ปีที่ผ่ามา หรือตั้งแต่ปีพ.ศ. 2559 – 2562 มีจำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับบาดเจ็บด้วยสาเหตุนี้มากถึง 141,895 ราย และคาดว่าภายในปีพ.ศ. 2573 จะมีจำนวนผู้สูงอายุบาดเจ็บจากการพลัดตกหกล้มเพิ่งสูงขึ้นถึงร้อยละ 100 เลยทีเดียว แม้เทคโนโลยีช่วยเหลืออาจไม่ได้เป็นตัวการันตีว่าอุบัติเหตุที่เกิดกับผู้สูงอายุจะลดลงได้หรือไม่ แต่อย่างน้อยเทคโนโลยีประเภทนี้ สามารถส่งสัญญาณเตือนเมื่อเกิดอุบัติเหตุ ให้ผู้รับสัญญาณเข้ามาดูแลได้ทันท่วงที จึงอยากชวนคุณปู่คุณย่ามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีช่วยเหลือ ซึ่งเป็นข้อมูลที่ส่งตรงมาเว็บไซต์ด้านเทคโนโลยีอันดับต้น ๆ ของสหราชอาณาจักรอย่างเว็บไซต์ Which? ทำความรู้จักเทคโนโลยีช่วยเหลือ หากคุณเป็นคนดูแลผู้ที่มีปัญหาเรื่องความจำเสื่อมเป็นโรคอัลไซเมอร์หรือโรคพาร์คินสัน หรือคุณปู่คุณย่าที่ร่างกายไม่แข็งแรง ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีช่วยเหลือมากมายเพื่อช่วยให้คุณหรือคนที่คุณรักปลอดภัยและรู้สึกเป็นอิสระในการใช้ชีวิตประจำวัน ดังนั้นเรามาทำความรู้จักกับเทคโนโลยีช่วยเหลือแต่ละรูปแบบกันก่อนเลยนะคะ 1.ระบบ Telecare เทคโนโลยีที่มีเซ็นเซอร์วางไว้รอบ ๆ บ้านเพื่อตรวจสอบความปลอดภัยของผู้อยู่อาศัยจากระยะไกล แล้วทำการแจ้งเตือนไปยังสมาชิกในครอบครัวที่อยู่นอกบ้าน หรือในต่างประเทศ ระบบนี้จะสามารถส่งสัญญาณไปที่ศูนย์ตรวจสอบก่อนขอความช่วยเหลือไปยังโรงพยาบาล 2.สัญญาณเตือนภัยส่วนบุคคล เมื่อคุณปู่คุณย่าประสบอุบัติเหตุ ตกจากที่สูง สามารถกดเบอร์โทรฉุกเฉินเพื่อขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือบางบ้านอาจติดตั้งปุ่มไว้บริเวณพื้นที่เสี่ยง ผู้สูงอายุสามารถกดปุ่มขอความช่วยเหลือได้ทันที 3.ระบบติดตาม […]
สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อมีผู้สูงอายุต้องดูแล
สิ่งที่ไม่ควรมองข้ามเมื่อต้องดูแล ผู้สูงอายุ เมื่อถึงเวลาที่ต้องดูแลผู้สูงอายุ ไม่ว่าจะเป็นพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ในวัยชรา สิ่งที่ทุกคนเป็นกังวลมากที่สุดคือ ไม่รู้จะเริ่มต้นจากตรงไหน และ ทำแบบไหนถึงจะดี ซึ่งการดูแลผู้สูงอายุมีเรื่องให้ทำมากมายตั้งแต่ตื่นจนเข้านอนในทุกวัน แม้ทุกอย่างจะเป็นเรื่องใหม่ แต่ลูกหลานซึ่งกำลังทำหน้าที่ผู้ดูแลก็ไม่จำเป็นต้องแบกภาระไว้คนเดียว ขอแค่เริ่มต้นจากสิ่งที่ตัวเองทำได้ก่อน จะได้ทำด้วยความสนุกและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริง นั่นเพราะ “ผู้สูงอายุ” เป็นวัยที่ต้องได้รับการดูแลเป็นพิเศษ เพราะเป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลง เสื่อมโทรมถดถอยในด้านต่างๆ มากมาย ทั้งร่างกายและจิตใจ อาจมีโรคเรื้อรังที่ต้องการการดูแลและรักษา เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคกระดูกพรุน โรคเกาต์ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท โรคจอประสาทตา เป็นต้น รวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านจิตใจ อารมณ์ สังคม และเศรษฐกิจ ซึ่งผู้สูงอายุบางรายอาจไม่สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงนี้ได้ และอาจทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมามากมาย ดังนั้น จุดประสงค์หลักของ การดูแลผู้สูงอายุ ก็คือการทำให้ผู้สูงอายุดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข มีอิสระ และมีคุณภาพ สามารถพึ่งพาตนเองได้โดยพึ่งพาผู้อื่นน้อยที่สุด ถึงแม้ร่างกายจะเสื่อมถอยหรือมีโรคประจำตัวอยู่ก็ตาม โดยหน้าที่ของผู้ดูแลคือทำให้ ผู้สูงอายุ เกิดแรงจูงใจในการดูแลตนเอง ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคต่างๆ เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไปได้ […]
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการนอนหลับของตายาย
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อการนอนหลับของตายาย ร่างกายมนุษย์ไม่ได้เหมือนเครื่องจักร เครื่องจักรมีปุ่มเปิด-ปิดทำงาน แต่ร่างกายเราไม่มีปุ่มนั้น ใช้พลังงานตลอดทั้งชีวิต ตั้งแต่ตื่นนอนจนกระทั่งนอนหลับก็มีการเผาผลาญพลังงานในระบบร่างกาย แต่ปัญหาที่พบหลักๆ คือผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เกิดจากหลายสาเหตุ เช่น นอนกลางวันมากเกินไป หลับๆตื่นๆช่วงกลางดึก หากปล่อยปะละเลยไม่มีการดูแล หรือแก้ไขปัญหาวิธีการนอนหลับ อาจจะมีอันตรายหรือโรคบางอย่างแฝงตัวอยู่ ปัญหาที่ผู้สูงอายุทุกคนที่มักพบบ่อยคือ อาการ นอนไม่หลับในผู้สูงอายุ แต่ละคนจะมีพฤติกรรมแตกต่างกันออกไป ลองสังเกตดูนะครับว่า ผู้สูงอายุในบ้านมีพฤติกรรมอย่างนี้บ้างหรือเปล่า รู้สึกง่วงแต่นอนไม่หลับ, นอนกระสับกระส่าย หลับยาก ใช้เวลานอนกว่าจะหลับนาน, หลับๆตื่นๆกลางดึกบ่อย ตื่นแล้วนอนไม่หลับ, หลับและตื่นนอนไม่ตรงเวลา, งีบหลับ ง่วงนอนตอนกลางวันบ่อยขึ้น แต่กลางคืนกลับไม่ง่วง และร่างกายอ่อนเพลีย รู้สึกไม่สดชื่น ไม่มีสมาธิ เหมือนนอนไม่พอ ข้อมูลจากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เคยระบุว่า การทำงานระบบในร่างกายของผู้สูงอายุมีช่วงเวลานอนที่สั้นลงกว่าวัยอื่นๆ ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ เพราะร่างกายจะผลิตสารที่ช่วยให้นอนหลับนอนลง ถ้าไม่มีการดูแล มาเป็นเวลานานอาจจะทำให้ระบบการทำงานในร่างกายผิดปกติ ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ทำให้รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่กระปรี้กระเปร่า ปัจจัยที่ทำให้ผู้สูงอายุนอนไม่หลับ ปัจจัยด้านร่างกาย มีโรคประจำตัว หรืออาการ เจ็บป่วยที่ส่งผลต่อการนอนหลับของผู้สูงอายุ เช่นปวดข้อ ปวดหลัง โรคต่อมลูกหมากโต เบาหวาน […]
THE BEST MASSAGE CHAIR เก้าอี้นวดเพื่อสุขภาพของคุณปู่คุณย่า
THE BEST MASSAGE CHAIR เก้าอี้นวดเพื่อสุขภาพของคุณปู่คุณย่า อาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อเรื้อรังที่ทางการแพทย์เรียกว่า โรคไฟโบรมัยอัลเจีย (Fibromyalgia) สามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย หนึ่งในนั้นคือ ผู้สูงอายุ ที่นอกจากจะรู้สึกเจ็บปวดตามกล้ามเนื้อแล้ว ยังส่งผลให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย การนวดบำบัดถือเป็นหนึ่งวิธีในการรักษาเบื้องต้นที่จะช่วยบรรเทาอาการปวดเมื่อยให้แก่ผู้ป่วยโรคนี้ ซึ่งได้รับการยืนยันจากศูนย์ส่งเสริมและบูรณาการสุขภาพแห่งชาติ (NCCIH) หน่วยงานรัฐบาลของสหรัฐอเมริกาที่ส่งเสริมการวิจัยวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับระบบทางการแพทย์และการดูแลสุขภาพ ได้ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ผลการประเมินเปรียบเทียบการนวดบำบัดในรูปแบบต่าง ๆ โดยมีผู้เข้าร่วมที่เป็นโรคไฟโบรมัยอัลเจียจำนวน 478 คน พบว่า รูปแบบการนวดส่วนใหญ่สามารถบรรเทาอาการปวดได้จริง และล้วนเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย นอกจากการนวดจะช่วยรักษาโรคได้แล้ว เป็นที่ทราบกันดีว่าประโยชน์หลัก ๆ ของการนวดนั้น สามารถทำให้ร่างกายและจิตใจรู้สึกผ่อนคลาย วันนี้จึงอยากชวนคุณปู่คุณย่ามาทำความรู้จักกับเก้าอี้นวดไฟฟ้า ไอเท็มเด็ดที่จะช่วยให้พวกท่านรู้สึกสบายตัว ไม่ต้องทนปวดเมื่อยอีกต่อไปแล้วล่ะค่ะ TYPES OF MASSAGE CHAIRS ทำความรู้จักเก้าอี้นวด 3 รูปแบบ แม้จะใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยหรือเก้าอี้นวดที่ดีที่สุด ก็ไม่สามารถเทียบเท่ากับการนวดโดยนักนวดมืออาชีพ แต่เก้าอี้นวดไฟฟ้ามีข้อได้เปรียบที่น่าสนใจคือ ผู้ใช้งานสามารถรับความสะดวกสบายจากการนวดที่บ้านเมื่อไรก็ได้ Chair Institute กลุ่มวิจัยที่ตระหนักถึงความสำคัญของเก้าอี้ ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์สำหรับการเลือกซื้อเก้าอี้นวดไว้หลายประการด้วยกัน งั้นเรามาเริ่มกันที่ประเภทของเก้าอี้นวดกันเลยดีกว่าค่ะ 1.เก้าอี้นวดสำหรับมืออาชีพ เป็นเก้าอี้นวดแบบพกพาที่นักบำบัดใช้ในการดำเนินธุรกิจนวด ส่วนใหญ่เก้าอี้นวดบำบัดประเภทนี้จะใช้งานโดยผู้ที่ผ่านการฝึกหรือมีใบอนุญาต ซึ่งได้รับการว่าจ้างให้ไปบริการนวดตามพื้นที่ต่าง […]
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคเก๊าท์ มีอะไร? ผู้สูงวัยควรต้องรู้
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงของโรคเก๊าท์ มีอะไร? ผู้สูงวัยควรต้องรู้ โรคเก๊าท์ หนึ่งในโรคกระดูกและข้อที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เกิดจากการกินโปรตีนบางชนิดมากเกินไป ซึ่งโปรตีนดังกล่าวจะย่อยสลายเป็นกรดยูริคไปตกตะกอนในข้อ ทำให้ข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้ออักเสบเฉียบพลันการเกิดโรคเก๊าท์ผู้ป่วยมักมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานพอสมควร โดยเฉลี่ยมากกว่า 20 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะถ้าระดับกรดยูริกยิ่งสูง อุบัติการณ์การเกิดโรคจะยิ่งเพิ่มมากขึ้น เกิดอาการได้เร็วยิ่งขึ้น ในเพศชายพบโรคนี้ได้บ่อยกว่าเพศหญิงประมาณ 10 เท่า แต่วัยหลังหมดประจำเดือน เพศหญิงจะพบโรคสูงขึ้นเมื่อเทียบกับเพศชาย โรคเก๊าท์มีอาการอย่างไร การอักเสบ ของข้อครั้งแรกมักพบในเพศชายอายุมากกว่า 30 ปีขึ้นไป โดยเฉลี่ย 40-60 ปี แต่ในเพศหญิงมักพบหลังวัยหมดประจำเดือนแล้ว ข้ออักเสบในระยะแรกมักเป็นเพียง 1-2 ข้อ จะมีการอักเสบรุนแรงเป็นเฉียบพลัน จากระยะเริ่มปวดจนอักเสบเต็มที่ภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนมากจะเกิดขึ้นทีละ 1 ข้อ ข้อที่พบบ่อย ได้แก่ โคนนิ้วโป้งเท้า ข้อเท้า ข้อกลางเท้า ข้อเข่า ข้อนิ้วมือ ข้อกลางมือ ข้อมือ ข้อศอก ถ้าไม่ได้รับการรักษาหรือรักษาไม่ถูกต้อง จำนวนข้อที่อักเสบจะเพิ่มขึ้น เริ่มพบที่ข้อมือ ข้อนิ้วมือ และข้อศอก การอักเสบรุนแรงขึ้น […]
เทคนิคการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่ควรทำ!
เทคนิคการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองที่ควรทำ! ถ้าคุณมีเวลา 1 อาทิตย์ก่อนตาย อะไรบ้างที่คุณอยากจะทำ ? อะไรบ้างที่อยากจะเตรียมไว้ก่อนจากไปไม่กลับ? หากเจอคำถามเหล่านี้คุณเคยคิดคำตอบในใจกันเอาไว้บ้างหรือยัง ซึ่งวันนี่เราอยากมาพูดเรื่องการตายดี-ไปสบาย ที่เป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนาในช่วงวาระสุดท้ายของชีวิต เป็นที่มาของคำถามที่ว่าจะทำอย่างไรให้การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้าย สามารถทำให้ผู้ป่วยเผชิญความตายอย่างสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เกือบ 2 ทศวรรษที่ไทยเริ่มต้นสนับสนุนให้มี “การจัดระบบดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคอง” หรือ Palliative care และนโยบายนี้ถูกระบุเป็นนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่มีแผนรองรับชัดเจนตั้งแต่ปี 2560 ขณะเดียวกันยังเป็นสิทธิประโยชน์ภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตั้งแต่ปี 2553 แต่ทว่ายังพบว่าการบริการดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายของชีวิตยังมีช่องว่างอยู่ ซึ่งกลายเป็นความท้าทายสำหรับการพัฒนานโยบายที่จะเอื้ออำนวยให้เกิดการบริการที่มีคุณภาพและเปิดกว้างให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการที่มีคุณภาพนี้ได้อย่างครบถ้วน กรมการแพทย์ ได้ให้คำนิยามของคำว่า”Palliative care” ไว้ว่า การดูแลผู้ป่วยระยะสุดท้ายแบบประคับประคองเป็นการดูแลแบบองค์รวมทั้งร่างกายจิตใจและจิตวิญญาณมุมให้ความสุขสบายแก่ผู้ป่วยช่วยลดความปวดและความทุกข์ทรมานการตระหนักถึงการตายอย่างสมศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์รวมถึงครอบครัวผู้ป่วยระยะสุดท้ายและหลังเสียชีวิต โดยในประเทศไทยแบ่งกลุ่มผู้ป่วยระยะท้ายออกเป็น 3 กลุ่ม คือกลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยระยะท้ายด้วยโรคมะเร็ง กลุ่มผู้ป่วยผู้ใหญ่ที่เจ็บป่วยระยะท้ายด้วยโรคเรื้อรังอื่นที่ไม่ใช่มะเร็ง และกลุ่มผู้ป่วยเด็กที่เจ็บป่วยระยะท้าย ขณะเดียวกันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งมีแนวโน้มว่าจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง โดยเฉพาะกลุ่มมะเร็งและโรคทางหลอดเลือดเพิ่มสูง จากสถิติพบว่าโรคมะเร็งเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของไทย และมีแนวโน้มสูงขึ้นในปี 2555 มีจำนวน 98.5 ต่อแสนประชากร เป็น 110 3.7 ต่อแสนประชาชนในปี 2558 ขณะที่โรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้นจาก […]
ผู้ดูแลควรต้องรู้เกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ!
ผู้ดูแลควรต้องรู้เกี่ยวกับปัญหาการใช้ยาในผู้สูงอายุ! ผู้สูงอายุมักได้รับยาหลายชนิดเนื่องจากมีโรคประจำตัวหลายอย่าง รวมถึงการที่ร่างกายมีการ เปลี่ยนแปลงตามอายุ สิ่งเหล่านี้อาจทำให้ผู้สูงอายุมีโอกาสเกิดปัญหาการใช้ยามากขึ้น โดยผู้สูงอายุมักจะมีโรคหลายชนิดและได้รับยาหลายอย่าง ทำให้ยาอาจมีผลต่อกัน ผู้สูงอายุมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีผลต่อการทำงานของยา รวมถึงปัญหาด้านพฤติกรรมการใช้ยาของผู้สูงอายุ เช่น ผู้สูงอายุไม่ไปพบแพทย์ อาจเนื่องจากปัญหา ด้านร่างกายและจิตใจที่ทำให้ผู้สูงอายุไม่สามารถไปพบแพทย์ได้ หรือปัญหาด้านการเดินทาง ด้านการเงิน เป็นต้น หรืออาจเกิดจากความเชื่อที่ชอบซื้อยามารับประทานเอง หรือเอายาเก่าๆ ที่เคยได้มารับประทานเอง เป็นต้น การสั่งใช้ยาที่ไม่เหมาะสมให้แก่ผู้สูงอายุ เช่น การใช้ยากลุ่มที่ผู้สูงอายุมีโอกาสสูงต่อการเกิดผล ข้างเคียงจากยา การเปลี่ยนแปลงของร่างกายที่มีผลต่อการใช้ยาในผู้สูงอายุ คือ การดูดซึมยาลดลง แต่มักไม่ค่อยเกิดปัญหามากนักในผู้สูงอายุ การกระจายตัวของยา ผู้สูงอายุมีสัดส่วนของไขมันเพิ่มขึ้นและน้ำลดลงในร่างกาย ทำให้ยาหลายชนิด มีระดับยาสูงขึ้นในร่างกาย อาจเกิดพิษได้ง่ายและยาออกฤทธิ์นานกว่าปกติ เมตะบอลิสมของยาหรือการเปลี่ยนแปลงยาในร่างกาย โดยเฉพาะที่ตับเปลี่ยนแปลงไป จากการที่ตับ มีขนาดเล็กลง เลือดมาเลี้ยงลดลง ทำให้มีโอกาสที่จะมียาคั่งค้างสูง และการกำจัดยาทางไต ทำได้ลดลงเนื่องจากไตทำงานลดลงตามอายุ จึงอาจทำให้ขับยาออกจากร่างกายไม่ได้ นอกจากนั้นผู้สูงอายุยังมีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอีกหลายอย่างที่ส่งผลต่อการใช้ยา เช่น มีความไวต่อยาบางชนิดเพิ่มขึ้น ในขณะที่ยาบางชนิดผู้สูงอายุกลับมีความไวต่อยาลดลง เป็นต้น สิ่งเหล่านี้จึงอาจก่อให้เกิดปัญหากับการสั่งใช้ยาในผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ทีนี้เราลองมาเจาะลึกเกี่ยวกับการใช้ยาในผู้สูงอายุกันค่ะ ผู้สูงอายุมักมีปัญหาสุขภาพหลายด้าน ทำให้ได้รับยาหลายรายการ ดังนั้น จึงอาจมีความเสี่ยงที่จะได้รับยาเกินความจำเป็น เกิดผลข้างเคียงหรืออันตรายจากยา รวมไปถึงอันตรกิริยาระหว่างยา […]
เพราะ “ข้อสะโพก” เป็นส่วนสำคัญ ดังนั้นอย่าปล่อยให้ “เสื่อม”
เพราะข้อสะโพกเป็นส่วนสำคัญดังนั้นอย่าปล่อยให้ “เสื่อม” เพราะข้อสะโพกเป็นข้อที่สำคัญใน การเคลื่อนไหวของขา จึงเป็นส่วนที่รับบทหนักในร่างกายที่ทำให้หลายคนเกิดโรค ข้อสะโพกเสื่อม ได้ง่าย และยังมีอีกหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดปัญหาข้อสะโพก เช่น ข้อสะโพกผิดปกติแต่กำเนิดไม่เจริญเติบโตเต็มที่ ข้อสะโพกขาดเลือดไปเลี้ยงที่กระดูกหัวของข้อสะโพก โรคข้อสะโพกจากรูมาตอยด์ ซึ่งเกิดจากการใช้สารสเตอรอยด์เป็นเวลานาน รวมไปถึงการประสบอุบัติเหตุ หกล้ม กระดูกสะโพกหัก ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพก ก็ล้วนเป็นสาเหตุให้มีปัญหาในข้อสะโพกทั้งสิ้น ทั้งนี้เมื่ออายุมากขึ้นกระดูกบริเวณสะโพกจะบางลง โดยเฉพาะคอกระดูก จึงมักพบกระดูกหักบริเวณนี้ได้บ่อยเมื่อผู้สูงอายุล้ม ส่วนของเบ้าสะโพกจะมีเอ็นมายึดเกาะมาก เมื่อเกิดอุบัติเหตุรุนแรงทำให้เส้นเอ็นที่ยึดอยู่ฉีกขาด อาจทำให้ข้อสะโพกหลุดได้ จากการที่เกิดกระดูกสะโพกหักหรือข้อสะโพกหลุดนั้น ส่งผลให้เส้นเลือดที่เลี้ยงหัวกระดูกต้นขาฉีกขาดทำให้ขาดเลือดไปเลี้ยงส่งผลให้หัวกระดูกสะโพกตาย และอาจให้เกิดข้อเสื่อมตามมาได้ อาการผิดปกติของผู้ป่วยโรคข้อสะโพกเสื่อม ในระยะแรกจะมีอาการปวดและอาจมีการขัดที่ข้อ โดยจะมีอาการมากขึ้นเมื่อมีการเคลื่อนไหวของข้อในขณะเหยียด- งอสะโพก จะมีเสียงลั่นในข้อร่วมกับอาการปวดหรือขัดในข้อมากขึ้น ซึ่งเกิดจากการที่ผิวกระดูกภายในข้อเริ่มไม่เรียบและมีกระดูกงอกเกิดขึ้น อาการปวดที่เกิดในผู้ป่วยบางรายทำให้เกิดการปรับตัวด้วยการไม่เหยียดหรืองอข้อสะโพกจนสุด อาจทำให้เกิดปัญหาข้อติดขัดและตามด้วยการเคลื่อนไหวไม่เต็มที่ของข้อสะโพกเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้นหรือข้อที่เสื่อมนั้นถูกใช้งานมากอย่างต่อเนื่อง จะทำให้มีอาการผิดปกติเหล่านี้ขึ้นมาได้ ข้อจำกัดในการใช้ชีวิตประจำวัน ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะต้องปรับวิถีการดำเนินชีวิตใหม่ เพื่อให้อาการเหล่านี้ทุเลาหรือหายไปได้เป็นครั้งงคราว เช่น การปรับตัวในเรื่องการงอข้อสะโพก โดยการหลีกเลี่ยงการนั่งยองๆ การนั่งพับเพียบ การนั่งขัดสมาธิ การนั่งคุกเข่า และการขึ้น-ลงบันไดบ่อยๆ หรือหลายชั้น รวมถึงการปรับกิจกรรมประจำวัน เช่น ลดระยะทางการเดิน ไม่นั่งหรือยืนอยู่ในท่าเดียวนานๆ รวมถึงการใช้ไม้เท้า อุปกรณ์ช่วยเดิน เพื่อลดภาระของข้อในการเดิน ผู้ที่มีปัญหาโรคข้อสะโพกเสื่อมและผู้ที่ผ่านการผ่าตัดเปลี่ยนข้อสะโพกต้องระวังอะไรบ้าง […]
ออกกำลังกายด้วยลีลาศช่วยทรงตัวผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม
ออกกำลังกายด้วยลีลาศช่วยทรงตัวผู้สูงอายุที่มีความเสี่ยงต่อการหกล้ม การล้มเป็นหนึ่งในสาเหตุหลักของการบาดเจ็บและการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลของผู้สูงวัย และคิดเป็นร้อยละ 20-40 ของสาเหตุการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลในกลุ่มคนที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป คนกลุ่มนี้ล้มอย่างน้อย 1 ครั้งต่อปี ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการล้มในผู้สูงวัยส่วนมากไม่รุนแรง อย่างไรก็ตาม พบว่าร้อยละ 20-30 ของการล้มเป็น สาเหตุการบาดเจ็บที่รุนแรง เช่น กระดูกหัก หรือการบาดเจ็บของศีรษะและสมอง และยังส่งผลต่อเนื่องทำให้เกิดความบกพร่องด้านการทรงตัวและการเคลื่อนไหว ซึ่งทำให้ระดับการทำกิจกรรมและความสามารถในการใช้ชีวิตโดยไม่ต้องพึ่งพาผู้อื่นลดลง อีกทั้งยังเสียความมั่นใจในการเดินหรือทำกิจกรรมเนื่องจากกลัวล้ม นอกจากนี้พบว่าการล้มเป็นสาเหตุหลักของอาการกระดูกหักในผู้สูงวัย โดยเฉพาะกระดูกสะโพก และยังเป็น สาเหตุสำาคัญที่ทำให้ผู้สูงวัยต้องย้ายจากบ้านและชุมชนไปอยู่ในสถานพักฟื้นคนชราการจัดการปัญหาการล้มในผู้สูงวัยที่ดีที่สุดคือการตรวจประเมินเพื่อจัดการความเสี่ยง และการออกกำลังกายเพื่อป้องกันการล้มที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อีกหนึ่งในปัจจัยที่เสี่ยงคือภาวะกระดูกพรุน ที่เสี่ยงต่อการหักเมื่อล้ม ทำให้สูญเสียการเคลื่อนไหว ไม่มั่นใจ กระทบต่อความสามารถในการทรงท่า ทั้งขณะอยู่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว ในกิจกรรมที่แตกต่างในการดำรงชีวิตประจำวัน เมื่อทรงท่าได้ไม่ดี จะทำให้เสี่ยงต่อการล้ม ซึ่งอาจจะทำให้กระดูกหัก ทำให้คุณภาพชีวิตลดลง การป้องกันการหกล้มโดยการฝึกฝนให้มีการทรงตัวที่ดีเป็นสิ่งที่พึงกระทำในวัยสูงอายุ แต่พบว่าผู้สูงอายุมีพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มที่คำนึงถึงปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น การสวมรองเท้าที่กระชับ การมีแสงสว่างเพียงพอบริเวณทางเดิน การระวังพื้นลื่นมากกว่าคำนึงถึงปัจจัยภายใน เช่น การตรวจวัดสายตา การออกกำลังกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการออกกำลังกาย ยังมีผู้สูงอายุส่วนหนึ่งมีความเชื่อว่าวัยสูงอายุควรจะเป็นวัยที่มีการพักผ่อ น ไม่ควรออกกำลังกายกายเหมือนวัยเด็กหรือวัยหนุ่มสาว ซึ่งความคิดความเชื่อที่แตกต่างกันไปจะมีผลกระทบต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคหรือสถานการณ์ปัญหาสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง การจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการออกกำลังกายเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและความยือหยุ่นของกล้ามเนื้อขาและข้อเท้าช่วยพัฒนาการทรงตัวและระบบการเคลื่อนไหวและลดการหกล้มของผู้สูงอายุได้โดยการออกกำลังกายสามารถลดความเสี่ยงต่อการหกล้มได้ร้อยละ 12 และลดจำนวนครั้งในการหกล้มได้ถึงร้อยละ19 […]
6 SIGNS CHECK ผู้สูงวัยสูญเสียการได้ยินจากโรคเบาหวาน
6 SIGNS CHECK ผู้สูงวัยสูญเสียการได้ยินจากโรคเบาหวาน มีผู้สูงอายุจำนวนไม่น้อยที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและต่อมามีอาการสูญเสียการได้ยินร่วมด้วย โดยพบว่ามีจำนวนมากเป็น2 เท่าของผู้ป่วยสูญเสียการได้ยินทั่วไป ที่สำคัญในกลุ่มของผู้สูญเสียการได้ยินที่ไม่ได้เป็นโรคเบาหวานก็พบว่ามีระดับกลูโคสในเลือดสูงและมีแนวโน้มจะป่วยเป็นโรคเบาหวานในอนาคตได้เช่นกันด้วยเหตุนี้ เหตุนี้สมาพันธ์โรคเบาหวานสหรัฐอเมริกา (American Diabetes Association) จึงแนะนำการสังเกต 6 อาการ ที่เป็นสัญญาณการสูญเสียการได้ยินในกลุ่มนี้ให้คุณสังเกตผู้สูงวัยใกล้ตัว ถามบางคำถามซ้ำบ่อยๆ พบปัญหาการสื่อสารผิดพลาดคลาดเคลื่อนมากกว่า 2 ครั้งขึ้นไป มักรู้สึกหูแว่ว ได้ยินคนในบ้านบ่นหรือแอบต่อว่าบ่อย ๆ มีปัญหาการสื่อสารในพื้นที่กว้าง หรือพื้นที่ที่มีผู้คนจอแจอย่างชัดเจน เช่น เมื่ออยู่ในร้านอาหาร ห้างสรรพสินค้า หรือในงานกิจกรรมกลางแจ้งต่าง ๆ มีปัญหาการฟังเสียงที่ไม่เข้มอย่างเสียงผู้หญิงหรือเสียงพูดของเด็กเล็ก เปิดทีวีหรือวิทยุเสียงดังจนคนข้างเคียงทนไม่ได้ แต่ยังคงรู้สึกว่าได้ยินไม่ชัดเช่นเดิม หากคุณพบเห็นสัญญาณลักษณะนี้ในผู้สูงอายุใกล้ตัว ควรรีบพาท่านไปตรวจการได้ยินรวมถึงตรวจโรคเบาหวานโดยละเอียดก่อนจะสูญเสียการได้ยินอย่างถาวรนะคะ CAREGIVERS MUST KNOW! เทคนิคใส่ใจตัวเองเมื่อต้องเป็น “ผู้ดูแลคนป่วย” การได้ดูแลคนที่เรารักนอกจากสร้างความนับถือตัวเองให้มากขึ้นแล้ว ยังเพิ่มความพร้อมในการรับมือปัญหายากๆ ได้ง่ายขึ้น วันนี้เรามี 4 คำแนะนำดีๆ ที่จะช่วยให้ผู้ดูแลสุขภาพแข็งแรงไปด้วยกันค่ะ ผู้ดูแลผู้ป่วยเรื้อรังส่วนใหญ่มักประสบปัญหา ความดันโลหิตสูง คำแนะนำคือ ควรแบ่งเวลาออกไปทำในสิ่งที่ชอบจะช่วยให้ภาวะความดันโลหิตสูงลดลงได้ ผู้ดูแลมักมี ความรู้สึกกดดัน จากการดูแลผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ แนะนำให้ออกกำลังกาย […]
เครื่องวัดความดันโลหิต ไอเทมที่ควรมีติดบ้านตายาย
เครื่องวัดความดันโลหิต ไอเทมที่ควรมีติดบ้านตายาย โรคความดันโลหิตนับเป็นอันตรายต่อผู้สูงอายุอย่างมาก เนื่องจากส่วนใหญ่ร้อยละ 95 ไม่สามารถตรวจพบสาเหตุโรคความดันโลหิตสูง ทำให้ผู้สูงอายุอาจไม่ได้รับการรักษาที่ตรงจุด หรือปล่อยปะละเลยกับการใส่ใจสุขภาพในทุก ๆ วัน จากข้อมูลองค์การอนามัยโลก (WHO) ปี ค.ศ.2013 พบว่า โรคความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุการตายทั่วโลกสูงถึง 7.5 ล้านคน โดยสองในสามจะอยู่ในประเทศกำลังพัฒนา และแน่นอนว่ารวมไปถึงประเทศไทยที่มียอดผู้ป่วยความดันโลหิตเพิ่มขึ้นทุกปี ซึ่งสาเหตุส่วนใหญ่มาจากปัจจัยการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนไป เช่น มีกิจกรรมทางกายหรือออกกำลังกายน้อย บริโภคอาหารที่มีส่วนประกอบของเกลือและไขมันสูง ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำ รวมไปถึงการแปรผันกับอายุที่เพิ่มขึ้นก็ส่งผลกับโรคความดันโลหิตสูงเช่นเดียวกัน เนื่องจากร่างกายมีความเสื่อมถอยของหลอดเลือด ผนังหลอดเลือดแดงจะหนาทำให้มีความแข็งมากขึ้น ความยืดหยุ่นน้อยลง มักเกิดร่วมกับการสะสมของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันและไขมันในผนังหลอดเลือด ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดโรคความดันโลหิตสูงในผู้สูงอายุ วันนี้ ชีวจิต จึงขอพาคุณตาคุณยายมาทำความรู้จักกับเครื่องวัดความดันโลหิตแต่ละประเภท และวิธีเลือกเครื่องวัดความดันโลหิตสำหรับใช้งานที่บ้านกันค่ะ 3 ประเภทเครื่องวัดความดันโลหิต การตรวจวัดความดันโลหิตด้วยตนเองที่บ้าน (HBPM) เป็นการที่คุณตาคุณยาย หรือบุคคลในครอบครัวที่ได้รับการแนะนำวิธีและเทคนิคในการวัดความดันโลหิตจากแพทย์ เพื่อที่จะสามารถวัดความดันในทุก ๆ วันขณะอยู่บ้าน โดยเริ่มจากการรู้จักเครื่องวัดความดันโลหิตแต่ละประเภทก่อนเลือกใช้ให้เหมาะสม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แบ่งประเภทเครื่องวัดความดันหลัก ๆ ออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ 1.เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท […]
อาหารที่ผู้สูงอายุควรกินเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมตามวัย
อาหารที่ผู้สูงอายุควรกินเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมตามวัย การที่สุขภาพกายและสุขภาพใจจะแข็งแรงสมวัยได้นั้น มีที่มาจากการดูแลที่เหมาะสม และเมื่อล่วงเข้าสู่วัยเกษียณย่อมเกิดความเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆ ร่างกายจึงจะต้องการสารอาหารบางชนิดมากกว่าวัยอื่น คุณศัลยา คงสมบูรณ์เวช นักกําหนดอาหารวิชาชีพ ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้แนะนํากลุ่มอาหารที่ผู้สูงอายุควรกินเพื่อช่วยชะลอความเสื่อมตามวัย ดังนี้ 1.น้ำ ควรดื่มน้ำให้เพียงพอหรือไม่ต่ำกว่าวันละ8-12 แก้ว ช่วยให้ไตขับถ่ายของเสียได้ดี ลดปัญหาท้องผูกที่มักพบบ่อยในผู้สูงอายุได้ นอกจากการดื่มน้ำแล้ว ควรจัด ให้มีอาหารประเภทแกงหรือซุปทุกมื้อ 2.แป้ง คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ50 ของมื้อ ในกรณีที่มี โรคประจําตัวหรือต้องการควบคุมน้ำตาลให้ลดสัดส่วน ของแป้งลงเหลือร้อยละ30 ควรเลือกแป้งหรือข้าวที่ไม่ขัดสี รวมถึงเพิ่มธัญพืชหลากสีในมื้ออาหารเพื่อช่วยรักษาระดับ น้ำตาลในเลือดให้คงที่ ลดโอกาสเกิดโรคเบาหวานโรค เหน็บชา และป้องกันปัญหาท้องผูก 3.โปรตีนปริมาณที่แนะนํา คือวันละ180–210 กรัม แบ่งเป็นมื้อละ60-70 กรัม เลือกโปรตีนจาก ปลา ถั่วหลากสี และเห็ดต่างๆ เพราะย่อยง่าย ไขมันต่ำ อีกทั้ง อุดมไปด้วยไขมันดีที่ช่วยการทํางานของระบบสมอง 4.ผักผลไม้ปริมาณที่แนะนําคือ วันละ400 กรัม แบ่งเป็นมื้อละ 130 กรัม ควรเลือกผักผลไม้หลากสีและมีปริมาณน้ำตาลไม่สูงมาก เน้นกินให้หลากหลายชนิดเพื่อให้ได้วิตามินครบถ้วนและใยอาหารมาช่วยกระตุ้นการทํางาน ของระบบขับถ่าย ชะลอความเสื่อมของเซลล์ 5.แคลเซียมวัยนี้ต้องการแคลเซียมเพิ่มจากเดิมถึง […]
การกลั้นปัสสาวะลำบากในผู้สูงวัย หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญ
การกลั้นปัสสาวะลำบากในผู้สูงวัย หนึ่งในปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญ ภาวะการกลั้นปัสสาวะลำบาก หรือ ปัสสาวะเล็ดในผู้สูงวัยนั้น นับเป็นปัญหาที่พบมากขึ้นในสังคมปัจจุบัน โดยอาการที่เกิดขึ้นนั้นไม่สามารถควบคุมได้ ส่งผลให้เกิดความยากลำบากในการใช้ชีวิตประจำวัน และก่อให้เกิดความกังวลใจในการเข้าสังคม โดยความรุนแรงของอาการนั้นเริ่มตั้งแต่การมีปัสสาวะหยดมาเปื้อนกางเกงในปริมาณที่ไม่มากนัก ไปจนถึงมีอาการปัสสาวะเล็ดออกมาเป็นปริมาณมาก ที่บอกไปว่าภาวะกลั้นปัสสาวะไม่ได้ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในผู้สูงอายุนั้น เพราะนอกจากพบได้บ่อยแล้วยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยทั้งในแง่ของสุขภาพกายเช่นปัสสาวะที่ราดออกมาจะทำ ให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนังเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเพิ่มอุบัติการณ์ในการหกล้มเป็นต้นส่วนในแง่ของสุขภาพจิต พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะดังกล่าวจะรู้สึกว่าตนเองไม่ปกติมีภาวะซึมเศร้า อายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และไม่ยอมเดินทางออกนอกบ้าน บางครั้งอาจมีอุจจาระเล็ดร่วมด้วย ผู้สูงวัยบางท่านแม้ยังไม่เริ่มมีอาการดังกล่าวแต่ก็อาจเริ่มมีอาการดังต่อไปนี้ เช่น ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน ปัสสาวะไม่สุด รู้สึกอยากปัสสาวะอยู่ตลอดเวลา ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนมีความสัมพันธ์ต่อการเกิดอาการปัสสาวะเล็ดได้ทั้งสิ้น ข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุขได้เคยให้ข้อมูลเอาไว้ว่า โรคติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะเป็นปัญหาสำคัญที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ สาเหตุมาจากอายุที่เพิ่มขึ้น ทำให้ความเป็นกรดในปัสสาวะและภูมิคุ้มกันลดลง รวมถึงมีแหล่งสะสมเชื้อโรคเพิ่มในร่างกาย โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีอาการปัสสาวะเล็ด ทั้งนี้ เมื่อระบบทางเดินปัสสาวะติดเชื้อแบคทีเรีย จึงทำให้เกิดการอักเสบ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ติดเชื้อส่วนบนของระบบทางเดินปัสสาวะจะมีผลต่อไตและท่อไต 2. ติดเชื้อส่วนล่างของระบบทางเดินปัสสาวะจะมีผลต่อกระเพาะปัสสาวะและท่อปัสสาวะ โดยมีอาการปัสสาวะแสบขัด ขุ่น ปัสสาวะบ่อยขึ้น แต่ถ้าติดเชื้อที่กรวยไตจะมีไข้ ปวดหลังร่วมด้วย ส่วนสาเหตุเกิดจากภูมิคุ้มกันของผู้สูงอายุลดลง เช่น ผู้ชายจะติดเชื้อได้ง่าย เนื่องจากสารคัดหลั่งจากต่อมลูกหมากมีคุณสมบัติฆ่าเชื้อลดลง ผู้หญิงที่หมดประจำเดือนแล้วจะขาดฮอร์โมนเอสโตรเจน ทำให้มีเชื้อ แลคโตบาซิลลัสบริเวณช่องคลอดน้อย ทำให้ค่าความเป็นกรดด่างในช่องคลอดสูงขึ้น […]
10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ลูกหลานควรดูแลอย่างใกล้ชิด
10 โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ ลูกหลานควรดูแลอย่างใกล้ชิด ยิ่งนับวันจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มสูงขึ้น สิ่งหนึ่งที่ผู้สูงอายุหลีกเลี่ยงไม่ได้คือ ร่างกายที่เสื่อมลง ทำให้มีโรคมากมายตามมา โดยจะมี 10 โรค ที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ พร้อมสาเหตุของโรคและอาการ ซึ่งลูกหลานอย่างเราควรดูแลอย่างใกล้ชิด ว่าแต่จะมีโรคอะไรบ้างไปดูกัน โรคทางสมอง พบมากในผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคอ้วน โรคหัวใจ เครียด ขาดการออกกำลังกาย สูบบุหรี่ การเสื่อมของเซลล์สมอง และผู้ที่คนในครอบครับมีประวัติเป็นโรคสมอง ซึ่งส่วนใหญ่จะพบในคนอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป โดยโรคสมองที่พบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ได้แก่ โรคอัมพฟกษ์อัมพาต โรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อม หรือโรคหลอดเลือดสมอง เป็นต้น โรคเกาต์ มักพบในชายสูงอายุมากกว่าหญิง ทำให้เกิดอาการปวดตามข้อ ซึ่งเกิดจากการมีกรดยูริกสะสมในร่างกายเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะตามข้อ ซึ่งคนแต่ละวัยมีระดับกรดยูริกในเลือดที่แตกต่างกัน เช่น ผู้หญิงวัยก่อนหมดประจำเดือนจะมีระดับกรดยูริกในเลือดสูงกว่าคนในวัยอื่นๆ หรือการรับประทานอาหารที่มีสารพิวรีนสูง เช่น เนื้อเป็ด เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่างๆ ก็เป็นสาเหตุสำคัญในการเกิดกรดยูริกในร่างกายมากเกินไป โรคเบาหวาน เป็นความผิดปกติของร่างกายที่มีการผลิตฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงพอ อันส่งผลให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงเกิน ก่อให้เกิดอาการต่างๆ เช่น ปัสสาวะและกระหายน้ำบ่อย […]