6 ข้อควรรู้ ยกเวตให้อ่อนวัย

6 ข้อควรรู้ ยกเวตให้อ่อนวัย เวตเทรนนิ่ง เป็นผู้ช่วยชั้นดีในการชะลอวัยและยืดอายุมวลกล้ามเนื้อ รวมไปถึงมวลกระดูกของวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงวัย วันนี้เราจึงนําข้อควรรู้เกี่ยวกับการยกเวตสําหรับผู้ใหญ่ตามคําแนะนําของอัลวิน  คอสโกรฟ อดีตแชมป์เทควันโดทีมชาติและโค้ชนักกีฬาอาชีพจากสกอตแลนด์ มาฝากกันค่ะ ยิ่งอายุมาก ยิ่งต้องเล่นเวต  อ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์  ประเทศแคนาดา ซึ่งระบุว่า การออกกําลังกายเพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยชะลอวัยในระดับเซลล์ได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นควรหาเวลาเข้ายิมแล้วเล่นเวตเทรนนิ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รับรองเห็นผลลัพธ์ชัวร์ ไม่หยุดพัฒนาศักยภาพ หลายคนจำกัดขีดความสามารถตนเองด้วยเงื่อนไขของวัย ซึ่งความจริงแล้วไม่ว่าวัยไหน การออกกำลังกายอย่างเวตเทรนนิ่งควรมีการพัฒนาและเพิ่มระดับความยากขึ้น เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าการฝึกฝน (Training) เริ่มจากการเพิ่มน้ำหนักและจำนวนครั้งในการยกเวตอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เช่น เพิ่มน้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละ 2.5 กิโลกรัม และเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นสัปดาห์ละ 10-15 ครั้ง จะช่วยพัฒนาศักยภาพและยังช่วยเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น ฝึกฝนหนักไม่ใช่การทําร้ายตัวเอง การฝึกฝนคือกระบวนการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ หากเครียดน้อยไป ผลลัพธ์ก็จะน้อยตามไปด้วย แต่หากเครียดมากไป ร่างกายก็จะไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองเพื่อรับมือกับกิจกรรมถัดไปได้  ดังนั้นการฝึกฝนและรักษาความสม่ำเสมอในการเล่นเวตจึงช่วยให้ร่างกายคุ้นชินกับความเครียดที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนเป็นทักษะที่พัฒนาขึ้นได้อีกเรื่อยๆ ช่วยให้เราสามารถออกกําลังกายได้ในระยะยาว ไม่จําเป็นต้องทําตามคนรุ่นใหม่ แม้คนรุ่นใหม่จะเปรียบเสมือนตัวแทนของความรู้ด้านสุขภาพที่ก้าวหน้า แต่บางครั้งการนั่งบนม้านั่งยกดัมบ์เบลจนกล้ามแขนโตในขณะที่ช่วงตัวเล็กก็ไม่ใช่จุดมุ่งหมายของทุกคน  ดังนั้นการเล่นบอดี้เวตแบบผสมผสานที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายและความกระฉับกระเฉง เช่น สควอต  วิดพื้น  เดดลิฟต์  ก็เป็นอีกท่า ทางเลือกที่ช่วยให้กล้ามเนื้อได้ทํางานสอดคล้องกันในหลายๆ ส่วน น้ำหนักที่มากไม่ได้ทําให้ล่ำ […]

สมาร์ทได้ในวัย 50+

สมาร์ทได้ในวัย 50+ คนส่วนใหญ่มักนึกว่าความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวาจะมีเฉพาะในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ความเป็นจริงคนวัย 50+ ก็คงความสดใส มีชีวิตชีวาได้ไม่แพ้คนวัยอื่นๆ เลย เหตุผลที่ยังคงสมาร์ทได้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ อัสสันชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวไว้ว่า มนุษย์สามารถมีอายุได้ถึง 122 ปี ดังเช่นผู้หญิงชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง ชื่อจอง คราวเดอมองก์ เธอมีอายุยืนยาวแข็งแรงถึง 122 ปี ดังนั้น ถ้าเราคิดว่า พออายุ 60 ปี เกษียณราชการแล้วจะต้องกลายเป็นคนแก่ ทำอะไรไม่ได้ ไม่มีความหวัง ไม่ได้ เพราะเท่ากับเรายังใช้ชีวิตมาไม่ถึงครึ่งทางเลย เหลือเวลาอีกตั้ง 62 ปีกว่าที่จะถึงอายุขัยจริงๆ ของเรา ส่วนด้านกายภาพ ถ้าจะบอกว่า สูงอายุแล้วร่างกายมีแต่จะเสื่อมลงเพียงอย่างเดียว ก็ไม่เป็นความจริง เพราะมีงานวิจัยหนึ่งในผู้สูงอายุพบว่า กล้ามเนื้อของผู้สูงอายุสามารถเพิ่มเติมขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกาย แต่หากนั่งๆ นอนๆ โดยไม่ทำอะไร จะยิ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น ฟังเหตุผลดีๆ อย่างนี้แล้ว คงรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นมาทันควันเลยใช่ไหมคะ อายุเท่าไรไม่สำคัญ อยู่ที่วิธีคิดและการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่า 3 เสาสร้างสุขภาพ […]

10 วิธีป้องกันกระดูกหักในผู้สูงวัย

10 วิธีป้องกันกระดูกหักในผู้สูงวัย ผู้สูงอายุเกือบทุกคนมักประสบปัญหาการลื่นล้มอยู่บ่อยๆ ที่เกิดง่ายและบ่อยมักจะเป็นการ หกล้มในห้องน้ำ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากกล้ามเนื้ออ่อนแรง การทรงตัวบกพร่อง ปัญหาเรื่องสายตา สมองเสื่อม ความดันโลหิตต่ำ และโรคผู้สูงอายุอื่นๆ ผลจากการหกล้มอาจทำให้กระดูกหัก ซึ่งสำหรับคนวัยนี้รักษาให้หายได้ยากกว่าคนวัยอื่น เราลองมาดูกันว่ามีแนวโน้มใดบ้างที่จะลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุเหล่านั้นได้ จัดการสิ่งแวดล้อมภายในบ้านให้เหมาะสม เพื่อป้องกันการลื่นล้ม ควรเก็บกวาดพื้นบ้านให้สะอาด ทำความสะอาดพื้นห้องน้ำ อย่าให้มีคราบไคลหรือฟองสบู่ที่ทำให้ลื่นล้มได้ พื้นทางเดินควรจะมีแรงเสียดทานพอสมควร และอย่าให้ลื่นเกินไป แสงไฟในบ้านต้องเพียงพอและควรติดราวสำหรับยึดจับตามความจำเป็น หลีกเลี่ยงการยกของหนัก เพราะการออกแรงใช้งานเกินกำลังอาจทำให้กระดูกหักหรือยุบลงได้ หลีกเลี่ยงท่าทางที่ไม่เหมาะสม เช่น การนอนบนเก้าอี้ผ้าใบ ซึ่งจะทำให้กระดูกสันหลังค่อม ควรนอนบนเตียงที่ค่อนข้างแข็ง ขณะนั่งควรนั่งบนเก้าอี้ที่มีพนักพิง และควรใช้หมอนหนุนพิงเพื่อรองรับแผ่นหลัง เป็นต้น หลีกเลี่ยงการใช้ยาบางชนิดทีทำให้เกิดอาการง่วงซึม เช่น ยาแก้แพ้ ยากล่อมประสาท ยาคลายกล้ามเนื้อ ยาแก้อักเสบ ยาลดความดันเลือด ยานอนหลับ เพราะยาเหล่านี้อาจทำให้การทรงตัวของผู้สูงอายุมีปัญหา หรืออาจพลาดหกล้มได้ง่าย แต่ถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และหาผู้ช่วยดูแลเมื่อลุกขึ้นเดินหลังตื่นนอนใหม่ๆ กีฬาบางชนิดอาจไม่เหมาะสม เช่น การตีกอล์ฟ เล่นโบว์ลิ่ง วิ่ง สำหรับกีฬาที่แนะนำ คือ ว่ายน้ำ ไทเก๊ก เดินหรือรำกระบอง […]

เคล็ดลับปราบไรฝุ่นกวนใจ ช่วยตายายสยบภูมิแพ้

เคล็ดลับปราบไรฝุ่นกวนใจ ช่วยตายายสยบภูมิแพ้    ภูมิแพ้ นับเป็นโรคยอดฮิตของคนไทย หากไม่มีการดูแลเอาใจใส่สุขภาพมากพอ โรคนี้จะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น รู้สึกคันหรือมีน้ำมูกไหลอยู่บ่อย ๆ ขอบตาคล้ำเสียบุคลิกภาพ ต้องใช้ยาบรรเทาอาการตลอดเวลา เป็นต้น โรคภูมิแพ้ในแต่ละคนอาจแสดงอาการออกมาไม่เหมือนกัน โดยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงอรพรรณ โพชนุกูล นายกสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย และผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านโรคหืด โรคภูมิแพ้ และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เคยเปิดเผยข้อมูลในปี พ.ศ. 2562 ไว้ว่า คนไทยเป็นภูมิแพ้เพิ่มขึ้น 4 เท่า ในรอบ 40 ปี โดยเฉพาะโรคโพรงจมูกอักเสบจากภูมิแพ้ทางเดินหายใจ เกิดขึ้นประมาณร้อยละ 40 – 50 โรคหอบหืดร้อยละ 10 – 15 และมีภูมิแพ้อากาศร่วมด้วยมากถึงร้อยละ 80  ซึ่งทั้งสองอย่างนี้มีสารก่อภูมิแพ้มาจากไรฝุ่น ภูมิแพ้ในผู้สูงวัย  อายุที่เพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายเสื่อมถอย เช่นเดียวกับ อาการภูมิแพ้ ที่เกิดขึ้นได้เมื่อภูมิคุ้มกันเริ่มลดน้อยลง ซึ่งคุณตาคุณยายหลายท่านก็อาจมองข้ามไป เพราะเห็นว่าโรคภูมิแพ้ไม่ค่อยเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเท่าไรนัก จึงขอนำข้อมูลจากสถาบันโรคผิวหนังในประเทศไทยมาให้คุณตาคุณยายตระหนัก โดยมีใจความว่า ผู้สูงอายุจะเป็นโรคผิวหนังภูมิแพ้ได้ง่าย และหนึ่งในนั้นคือ […]

6 วิธีรับมือวัยทอง ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม

6 วิธีรับมือวัยทอง ของผู้ป่วยมะเร็งเต้านม มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่พบมากเป็นอันดับหนึ่งของผู้หญิง ทั่วโลก   ในประเทศไทยช่วงไม่กี่ปีมานี้มะเร็งเต้านมมาแรง แซงมะเร็งปากมดลูก  ขึ้นจากอันดับสองมาเป็นอันดับหนึ่งพบ ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมรายใหม่มากถึงปีละ12,000คน  หรือตกวันละ 35คน  โดยเสียชีวิตวันละ10 คน ฟังแล้วชวนให้ใจเสีย แต่มะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่ตอบสนอง ต่อการรักษาได้ดี หากเป็นระยะที่ 1 คิดเป็นร้อยละ 99 ที่มี โอกาสรอดชีวิตได้ถึง 5 ปี หากเฉลี่ยทุกระยะและรักษาอย่างเต็มที่ มะเร็งเต้านมถือว่าเป็นมะเร็งที่มีโอกาสรอดชีวิตสูงมาก คือรอดชีวิตอยู่ที่ 5, 10 และ 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 89, 83 และ 78ตามลําดับ ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งเต้านมมีดังนี้ 1.เพศหญิง พบมะเร็งเต้านมในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย 100 เท่า 2.ร้อยละ 80 เกิดในผู้หญิงที่อายุมากกว่า 50 ปี มีเพียงร้อยละ  5 เกิดในผู้หญิงที่อายุต่ำกว่า 40 ปี 3.คนรวยมีโอกาสเป็นมะเร็งเต้านมมากกว่าคนจน 4.เครียดเรื้อรัง 5.อ้วน […]

Exercise Tips for Senior แข็งแรงล้ำอายุ

Exercise Tips for Senior แข็งแรงล้ำอายุ คุณคิดว่าจะมีผู้ที่ขยันออกกําลังกายตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเป็นผู้สูงอายุไหมคะ คําตอบคือ ไม่น่าจะมี…ความหมายของการออกกําลังกายไม่ใช่แค่การเล่นกีฬาหรือเข้าฟิตเนสเท่านั้น แต่หมายถึงการใช้แรงมากกว่าปกติเพื่อให้ร่างกายได้เคลื่อนไหวกล้ามเนื้อและหัวใจแข็งแรง ซึ่งคล้ายกับวิถีชีวิตของชาวไร่ ชาวนา หรือคนสมัยก่อนที่ต้องออกแรงทําไร่ ทํานาด้วยตัวเอง ใช้จอบเสียมขุดดิน การทํางานลักษณะนี้ก็เปรียบเสมือนการเข้าฟิตเนส ถ้าสังเกตดีๆ จะเห็นว่าคนสมัยก่อนทํางานโดยไม่มีวันหยุด จะหยุดต่อเมื่อตัวเองไม่สามารถทําไหวแล้ว ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 70-80 ปี พวกเขาจึงแข็งแรงทั้งภายนอกและภายใน ส่วนคนยุคปัจจุบัน ไม่ค่อยคิดถึงข้อดีของการทํางานในลักษณะนี้สักเท่าไร และมองว่าเป็นงานหนักเหนื่อยและลําบาก จึงไม่ยอมให้พ่อแม่และญาติผู้ใหญ่ทําแบบนั้น ผู้สูงอายุจึงไม่มีกิจกรรมที่ได้ออกกําลังกล้ามเนื้อ ผลลัพธ์คือข้อต่อ อวัยวะต่างๆ เกิดความเสื่อม รวมถึงกินอาหารมากเกินไปและไม่ทํากิจกรรมที่ช่วยเผาผลาญพลังงาน ก็กลายเป็นสาเหตุของโรคอ้วน คอเลสเตอรอลสูง ความดันโลหิตสูง ข้อเสื่อม และยังทําให้เกิดความเหงาอีกด้วย โดยปกติร่างกายของคนเราจะเจริญเติบโตเต็มที่เมื่ออายุ 25-30 ปี หลังจากนั้นหากไม่ดูแลอวัยวะทั้งภายในและภายนอกจะเสื่อมเร็วกว่าปกติ ในทางกลับกันหากเราออกกําลังกายอวัยวะต่างๆ ก็ยังทํางานได้ดีเช่นเดิม สังเกตจากคนที่ออกกําลังกายสม่ำเสมอจะมีใบหน้าสดใส ท่าทางกระฉับกระเฉง กระปรี้กระเปร่า เมื่อไปตรวจสุขภาพก็พบว่าอวัยวะภายในทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ หลากประโยชน์จากการออกกําลัง นี่คือเหตุผลว่า ทําไมการออกกําลังกายจึงจําเป็นสําหรับผู้สูงอายุหรือผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณ ลองมาดูประโยชน์ของมันกันค่ะ 1.ช่วยให้ระบบไหลเวียนโลหิต ปอด หัวใจ ทํางานดีขึ้น 2.เพิ่มภูมิต้านทานโรค […]

กินให้สวยงาม สมวัย 70+

กินให้สวยงาม สมวัย 70+ วัยชรามักมาพร้อมกับอาการอ่อนเพลียและโรคภัย  เนื่องจากระบบต่างๆ  ใน ร่างกายเสื่อมลง ไปตามวัย  เช่น  ระบบเผาผลาญอาหารทํางานได้เชื่องช้าลง ทําให้การดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารบางอย่างน้อยลงด้วย  ยิ่งมีอุปสรรคที่ทําให้ทํากิจกรรมที่ชอบและพบปะเพื่อนฝูงได้น้อยลงด้วยแล้ว อาจทําให้ร่างกายเสื่อมลงเร็วขึ้น อย่างไรก็ตาม การฟื้นฟูสุขภาพให้กลับมาแข็งแรงไม่มีคําว่าสายเกินไป ซึ่งการดูแลเรื่องอาหารการกินให้สมดุลจึงเป็นสิ่งสําคัญ คอยสังเกตตัวเองให้รู้ว่าอาหารอะไรเหมาะหรือไม่เหมาะกับร่างกาย แล้วหมั่นหาสิ่งดีๆ อย่างที่เรานํามาเสนอนี้เติมเต็มให้ตัวเองเสมอ รับรองว่าอาจแข็งแรงกว่าสมัยสาวๆ ก็ได้ อาหารช่วยย่อย  ระบบย่อยอาหารของหลายคนอาจเริ่มทํางานแย่ลงตั้งแต่วัยเลข 6 เมื่อถึงวัยเลข 7 จะปรากฏอาการชัดเจนขึ้น แนะนําให้กินอาหารที่มีจุลินทรีย์ที่ดีต่อระบบย่อยอาหาร คือ โปรไบโอติก(probiotic) อาหารที่อุดมด้วยโปรไบโอติก  ได้แก่ โยเกิร์ต น้ำผลไม้  และผลิตภัณฑ์จากน้ํานมถั่วเหลือง นอกจากนี้ควรกินอาหารที่มีพรีไบโอติก(prebiotic) ที่คอยช่วยเสริมการทํางานของจุลินทรีย์โปรไบโอติกให้สมบูรณ์ขึ้นด้วย  สารอาหารที่มีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติก ได้แก่ โอลิโกฟรักโทส  ซึ่งมีอยู่ในพืช เช่น หอม กระเทียม หน่อไม้ฝรั่ง กล้วย กินปลาเพิ่มวิตามินดี การที่ไม่ค่อยได้ทํากิจกรรมกลางแจ้งหรือออกรับแสงแดดเหมือนเมื่อก่อน ทําให้ได้รับวิตามินดีจากแสงแดดผ่านทางผิวหนังน้อยลง เป็นเหตุให้กระดูกไม่แข็งแรง  แนะนําให้กินอาหารที่อุดมวิตามินดี  เช่น  ปลาต่างๆ เป็นประจํา และอย่าลืมหาโอกาสรับแสงแดดอ่อนๆ […]

6 สัญญาณบอกอาการเข่าเสื่อม

6 สัญญาณบอกอาการเข่าเสื่อม พูดถึงอาการ ข้อเข่าเสื่อม คือ การเสื่อมสภาพและสึกหรอของกระดูกอ่อนที่ข้อเข่า มักเกิดกับผู้ที่มีอายุ 50-60  ปีขึ้นไป เมื่อกล้ามเนื้อบริเวณรอบหัวเข่าที่ช่วยในการพยุงหัวเข่าอ่อนแอลง ภาระการรับน้ำหนักจึงตกไปอยู่ที่ข้อเข่ามากขึ้น และยิ่งถ้ามีน้ำหนักตัวมาก ก็จะยิ่งทำให้กระดูกข้อต่อและกระดูกอ่อนของหัวเข่าเสื่อมสภาพลงเร็วขึ้น ส่งผลให้มีอาการปวดข้อเข่า ปวดขาเวลาเดินหรือยืนนานๆ หากไม่ได้รับการรักษา โรคก็จะดำเนินไปจนถึงจุดที่เดินไม่ไหวและมีความเจ็บปวดอย่างรุนแรง แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ลองสังเกตหัวเข่าของตัวเองหรือคนใกล้ตัวว่า มีอาการต่างๆ เหล่านี้หรือไม่ หากมีควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษาก่อนลุกลาม วันนี้เรามี บทความเรื่อง โรคเข่าเสื่อม โดย หน่วยแนะแนวและปรึกษาปัญหาสุขภาพ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ที่ระบุว่า หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ ให้สงสัยว่าอาจเป็นโรคเข่าเสื่อม สัญญาณขั้นต้น หากพบอาการในข้อ 1 – 3 แสดงว่ายังพอแก้ไขทัน แต่ต้องรีบไปพบแพทย์เฉพาะทางโรคข้อ เพื่อช่วยลดความเสียหายที่เกิดขึ้นกับข้อโดยตรงให้เร็วที่สุด ปวดข้อเข่า โดยรู้สึกเมื่อยตึงที่น่องและข้อพับเข่า 2. ข้อเข่าขัด 3. เดินหรือเคลื่อนไหวข้อเข่าได้ไม่เต็มที่ สัญญาณเร่งด่วน หากพบอาการข้อ 4 – 6 ดังต่อไปนี้ แสดงว่ามีอาการโรคข้อเสื่อมค่อนข้างมาก โปรดอย่านิ่งนอนใจ […]

การบริหารสมองในวัยผู้สูงอายุ

การบริหารสมองในวัยผู้สูงอายุ ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ซึ่ง ผู้สูงอายุ มีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาหลักสำคัญใน ผู้สูงอายุ คือ ปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง และ เสื่อมถอยของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอยนี้ เป็นพื้นฐานสำคัญในการดูแลส่งเสริมสุขภาพ รวมทั้งป้องกันปัญหาสุขภาพที่จะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุ โดยปัญหาด้านโรคที่เกิดจากความเสื่อม ทั้งทางระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ เช่น ภาวะข้อเสื่อม โรคทางระบบประสาท เช่น ภาวะสมองเสื่อม และโรคพาร์กินสัน นับเป็นปัญหาที่มีความสำคัญในการตรวจประเมิน ดูแล รักษา ส่งเสริมป้องกัน เพื่อให้ผู้สูงอายุที่มีปัญหาเหล่านี้ สามารถดำรงชีวิตได้โดยการพึ่งพาตนเองมากที่สุด และมีสุขภาพจิตมีคุณภาพชีวิตที่ดี ในวัยของผู้สูงอายุ สมอง ก็เหมือนกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ของร่างกายที่จำต้องบริหารเป็นประจำไปตลอดชีวิตเพื่อสร้างความแข็งแรง การฝึกสมองเพื่อให้การสร้างจุดเชื่อมต่อระหว่างเซลล์ประสาททำงานได้ดีขึ้น จะช่วยบำรุงสติปัญญา ชะลอการเสื่อมถอยให้ช้าลง ไม่ว่าจะเป็นคนที่สมองยังเป็นปกติ หรือแม้แต่คนที่เข้าสู่ภาวะสมองเสื่อมแล้วก็ตาม การดูแลที่สำคัญก็ยังมุ่งเน้นไปที่การคงสภาพ หรือชะลอให้สมองเสื่อมช้าที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ หากใครที่มีญาติผู้ใหญ่กำลังเข้าสู่วัยสูงอายุ หรือวัยหลังเกษียณ ลองแนะนำให้ท่านมองหากิจกรรมต่างๆ ทำเพื่อช่วยบริหารสมองให้แข็งแรง ชะลอการเสื่อมยกตัวอย่างเช่น – อ่านข่าวประจำวันทางหนังสือพิมพ์ – อ่านหนังสือ นิตยสาร พ็อกเก้ตบุ๊กต่างๆ – จดบันทึกประจำวัน […]

กินอยู่อย่างไรไม่ให้…เสื่อม

กินอยู่อย่างไรไม่ให้…เสื่อม   เมื่อชีวิตเข้าช่วงวัยสูงอายุ อวัยวะต่างๆ ก็เริ่มมีการเสื่อมไปตามกาลเวลา จะทำอย่างไรให้ร่างกายเราชะลอความเสื่อมช้าลงแล้วกลับมากระฉับกระเฉงเหมือนวัยหนุ่มวัยสาว การที่คนเราหันมาดูแลเอาใจใส่ตัวเองไม่ให้ร่างกายเสื่อมถอยไปตามกาลเวลานั้น ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะใครๆ ต่างก็ต้องอยากอยู่รอดูความสำเร็จของลูกของหลานด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้น เรื่องสุขภาพร่างกายเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึงเป็นอันดับต้นๆ การที่ผู้สูงอายุจะมีสุขภาพร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงนั้น ก็ต้องมีปัจจัยต่างๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง เรื่องอาหารการกินก็เป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่สูงวัยเพราะว่าผู้สูงวัยจะขบ จะเคี้ยว กัด และกลืนอะไรก็ดูลำบากไปเสียหมด ทำให้รับประทานได้น้อยลง แต่ว่าร่างกายยังต้องการสารอาหารอย่างเพียงพอ เพื่อสามารถบำรุงและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ และหากว่าคุณอยากมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรงยามแก่เฒ่า ก็สามารถทำได้ด้วยตัวของเอง และสิ่งที่ทุกคนจะได้อ่านต่อไปนี้เป็นข้อเสนอแนะถึงแนวทางการปฏิบัติ และการกินการอยู่เพื่อให้มีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง การดูแลเรื่องอาหารในผู้สูงอายุ วัยสูงอายุนั้นมีความต้องการปริมาณอาหารลดน้อยลง แต่ความต้องการสารอาหารยังคงเดิม ดังนั้นอาหารของผู้สูงอายุควรมีปริมาณและคุณภาพพอเพียงกับความต้องการของร่างกาย เพราะไม่มีอาหารชนิดใดเพียงชนิดเดียว ที่มีสารอาหารที่ให้ประโยชน์แก่ร่างกายเพียงพอ และครบถ้วน เราจึงต้องรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ทุกวัน แต่ละหมู่ของอาหารมีหน้าที่ต่อร่างกายต่างกัน การรับประทานอาหารในปริมาณและสัดส่วนที่เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญ ความต้องการสารอาหารในผู้สูงอายุ พลังงาน ในวัยของผู้สูงอายุ มีกิจกรรมต่างๆ ลดลง การใช้แรงงานหนัก ก็น้อยลง รวมทั้งอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย ก็ทำงานน้อยลงด้วย ดังนั้น ความต้องการพลังงานของผู้สูงอายุจะลดลง ร้อยละ 20-30 เมื่อเปรียบเทียบกับความต้องการพลังงานที่ได้รับใน 1 วัน ของกลุ่มอายุ […]

สูตรเพิ่มชีวิตชีวา อายุยืน ไม่มีโรค

สูตรเพิ่มชีวิตชีวา อายุยืน ไม่มีโรค เราเชื่อหมดใจว่าคุณผู้อ่านอยากมีอายุยืนยาวแน่นอน และเมื่อถึงวัยทองก็ต้องการมีสุขภาพแข็งแรง สง่าผ่าเผย ไม่อ้วน ไม่มีโรคจะได้มีเรี่ยวแรงเลี้ยงลูกเลี้ยงหลานอย่างมีความสุข แต่หลายๆ คนกลับประสบปัญหาโรคที่มากับที่เพิ่มมากขึ้นอยู่ เมื่อย่างเข้าสู่สูงอายุจะต้องรับฮอร์โมนทดแทน (HormoneReplacementTherapy:HRT) หรือไม่ คำตอบของอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง กูรูต้นตำรับชีวจิตบอกเอาไว้ว่าควรใช้วิธี ทางธรรมชาติมากกว่า แต่ในกรณีที่บางรายมีอาการหนักมากๆ โดยเฉพาะด้านอารมณ์ เช่น  โศกเศร้าเสียอกเสียใจ  ร้องห่มร้องไห้ง่ายๆ  เป็นต้น จึงจะพิจารณาว่าควรใช้ฮอร์โมนหรือไม่ แต่ต้องรักษาแค่ชั่วคราว เท่านั้น  และปฏิบัติตัวตามคําแนะนําของกลุ่มแพทย์ D.O.หรือ Doctor of Osteopathy ในสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นแพทย์ที่ รักษาความเจ็บป่วยทางร่างกายที่มาจากความเสื่อมโดยเฉพาะกลุ่มแพทย์เชื่อว่า อาการต่างๆ ของวัยทองนั้น เช่น สมองเสื่อม อารมณ์ร้าย กระดูกพรุน และปวดเมื่อยเนื้อตัวสามารถป้องกันและบําบัดเยียวยาได้  แนะนําว่าให้ยึดหลัก อุดมคติ 5 เล็ก ของชีวจิตสม่ำเสมอ คือ กิน นอน พักผ่อนออกกําลังกาย  และทํางานให้สมดุลอีกวิธีหนึ่ง ควรต้องลดการกินอาหารในแต่ละมื้อ เพราะคนวัยทองจะมีอัตราการเผาผลาญลดลงร้อยละ45 เมื่อเทียบกับหนุ่มสาว  หากกินเข้าไปมากๆ […]

สูงวัยต้องรู้ เบาหวานคือต้นเหตุอีกหลายโรค

สูงวัยต้องรู้ เบาหวานคือต้นเหตุอีกหลายโรค โรคเบาหวาน พบได้ในคนทุกเพศทุกวัยและปัจจุบันอัตราการเป็นโรคเบาหวานของคนไทยเพิ่มขึ้น โดยพบมากในผู้สูงอายุสำหรับเด็กและผู้ใหญ่ที่รูปร่างอ้วนจะมีโอกาสเป็นเบาหวานได้สูงเช่นกัน ดังนั้นจึงมีคนจำนวนมากที่ไม่ทราบว่าเป็นโรคนี้ จริงหรือไม่? ที่คนส่วนใหญ่มักคิดว่าเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากการกินหวานเท่านั้น แต่ที่จริงแล้วยังมีอีกหลายสาเหตุ เราลองไปดูกันว่าสาเหตุนั้นมีอะไรบ้าง พันธุกรรม เราพบว่าโรคเบาหวานเป็นโรคทางพันธุกรรม คือโรคที่สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปสู่รุ่นได้ กลุ่มคนเหล่านี้จึงมีอัตราเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานได้มากกว่าคนปกติถึง 50 % เลยนะคะ โรคทางพันธุกรรม ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ทำได้เพียงบรรเทาอาการไม่ให้เกิดขึ้นมากเท่านั้นเอง ดังนั้นการป้องกันโรคทางพันธุกรรมที่ดีที่สุด คือการตรวจร่างกายคัดกรองสภาพทางพันธุกรรมเพื่อทราบระดับเสี่ยง ความอ้วน จากการศึกษาพบว่าเซลล์ไขมันในคนอ้วนมีการหลั่งฮอร์โมน อะดิโปเนคติน (Adiponectin) ซึ่งมีผลต่อการดื้อของอินซูลิน ผู้ที่เป็นเบาหวานจะมีระดับของอะดิโปเนคตินในเลือดต่ำกว่าคนปกติที่มีน้ำหนักตัวเท่ากัน นอกจากนี้ในเซลล์ไขมันยังมีการหลั่งฮอร์โมนตัวอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคเบาหวานอีกหลายชนิด คนอ้วนจึงมีโอกาสเสี่ยงต่อการเป็นเบาหวานได้มากกว่าคนปกติถึง 3 เท่าเลยคะ การรับประทานอาหาร มีกการศึกษาพบว่าทารกที่ทานนมแม่เพียง 2-4 เดือน และได้รับนมวัวเป็นอาหารเสริมในช่วงนั้น มีโอกาสเป็นโรคเบาหวานได้ การขาดวิตามินดีในวัยเด็ก การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงหรือหวานจัด เป็นต้น สิ่งแวดล้อมอื่นๆ เช่น ได้รับเชื้อไวรัสที่ทำให้เร่างกายเกิดการทำลายเบตาเซลล์ ความเครียด อาการแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานานหลายปี จะทำให้เกิดความเสื่อมโทรมในทุกระบบของร่างกาย เซลล์ เนื้อเยื่อทุกชนิดในร่างกายจะมีอายุสั้นลง ผนังเซลล์ไม่แข็งแรง ร่างกายเสื่อมก่อนวัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งผนังหลอดเลือด เบาหวานจึงกลายเป็นโรคต้นเหตุของโรคแทรกซ้อนร้ายแรงอีกหลายโรค หลอดเลือดอุดตัน คือ […]

เครื่องเทศช่วยฉลาด หุ่นดี อ่อนเยาว์ อายุยืน

เครื่องเทศช่วยฉลาด หุ่นดี อ่อนเยาว์ อายุยืน       หลายคนใช้ประโยชน์จากเครื่องเทศสําหรับแต่งสีแต่งกลิ่นและปรุงอาหาร ให้มีรสชาติกลมกล่อมแต่ทราบหรือไม่ว่าส่วนต่างๆ ของพืชทั้ง ราก ใบ เปลือก เมล็ด ดอก ผล ที่กลายมาเป็นเครื่องเทศล้วนมีสรรพคุณแสนพิเศษในการป้องกันและรักษาโรค วันนี้ชีวจิตเราออกจะรสชาติจัดจ้านเผ็ดร้อนและหอมตลบอบอวลอยู่สักหน่อย เพราะตั้งใจยกขบวนเครื่องเทศที่ว่ากันว่ากินแล้วช่วยให้ฉลาด หุ่นดี อ่อนเยาว์ และอายุยืนมาบอกต่อ เพื่อให้คุณผู้อ่านกลายเป็นหนุ่มสาวสองพันปีกันทั่วหน้าค่ะ ขมิ้นเหลืองป้องกันอัลไซเมอร์ โรคอัลไซเมอร์คือโรคทางสมองที่มาพร้อมกับความเสื่อมถอยของร่างกาย ทําให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการสื่อสารการเรียนรู้การใช้ความคิดและความมีเหตุผล ปัญหาจะรุนแรงขึ้นจนผู้ป่วยไม่สามารถทํางานเข้าสังคมกระทั่งช่วยเหลือตนเองหรือทํากิจวัตรประจําวันแม้เพียงเล็กน้อย ย้อนกลับไปในปี1906 นายแพทย์อโลอิสอัลไซเมอร์(AloisAlzheimer) ผู้ค้นพบโรคนี้ลงมือผ่าตัดสมองของผู้ป่วยที่เสียชีวิตเพื่อหาสาเหตุของอาการความจําเสื่อมและพฤติกรรมอันแปลกประหลาด ซึ่งเชื่อว่ามีผลมาจากความผิดปกติของสมองเมื่อตัดเนื้อสมองออกมาตรวจสอบพบว่าสมองมีกลุ่มของเนื้อเยื่อที่ผิดปกติ ปัจจุบันเรียกว่าแอมเมิลลอยด์ พลัค(Amyloid Plaques) มีลักษณะเป็นสารเหนียวจับตัวกันเป็นก้อนทั้งพบเส้นใยสมองพันกันยุ่งเหยิงและพบว่าเกิดการสูญเสียการเชื่อมโยงและการติดต่อกันระหว่างเซลล์ประสาทในสมองอีกด้วย แม้ในปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์ยังไม่ทราบถึงสาเหตุของการเกิดโรคที่แน่ชัด แต่กลับสืบรู้ความลับที่ช่วยป้องกันโรคโดยความลับนี้ได้รับการเปิดเผยเมื่อพวกเขาเดินทางไปยังประเทศอินเดีย ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยพิตต์ส เบิร์ก(The University of Pittsburgh) ประเทศสหรัฐอเมริกาเก็บสถิติการเกิดโรคอัลไซเมอร์จาก กว่า 55 ประเทศทั่วโลก ผลการสํารวจพบว่าประเทศอินเดียมีอัตราการเกิดโรคอัลไซเมอร์ต่ำที่สุด โดยต่ำกว่าประเทศสหรัฐอเมริกาถึง 3 เท่า เหตุผลหนึ่งที่ทําให้ผู้สูงอายุอินเดียป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์น้อย The Journal of the American Botanical […]

3Steps สู่ความสุขยามบั้นปลายของชีวิต

3Steps สู่ความสุขยามบั้นปลายของชีวิต บั้นปลายชีวิต ของผู้สูงอายุแต่ละคนก็คงแตกต่างกันไป บางคนมีครอบครัวที่แสนอบอุ่นอยู่ดีกินดี สุขภาพร่างกายแข็งแรงลูกหลานอยู่พร้อมหน้าพร้อมตา แต่บางคนก็อยู่เพียงลำพังไร้คนเหลียวแล ก่อให้เกิดปัญหาหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะด้านจิตใจ ซึ่งผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับการเอาใจใส่ และความอบอุ่นจากลูกหลานอย่างเพียงงพอ ทำให้รู้สึกว้าเหว่ อ้างว้าง เกิดความกังวลว่าลูกหลานและญติพี่น้องจะทอดทิ้ง กังวลในเรื่องความตาย ผู้สูงอายุมักมีอารมณ์เปลี่ยนแปลงง เช่น เศร้า เฉยเมย เอาแต่ใจตัวเอง ผลการสํารวจของสํานักงานสถิติแห่งชาติพบว่า 1 ใน 3 ของผู้สูงอายุไทยเป็นผู้มีความเปราะบางทางจิตใจ ซึ่งมีสาเหตุมาจากปัญหาการเจ็บป่วยเรื้อรังความรู้สึกว่าคุณค่าในตนเองลดลง และค่านิยมต่อผู้สูงอายุในสังคมไทยเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่ไทยเป็นสังคมกสิกรรม ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้สูงอายุจะได้รับการดูแลเอาใจใส่มากกว่าสังคมอุตสาหกรรมในยุคปัจจุบัน โดยปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยสูงสุดในผู้สูงอายุ 5 อันดับ ได้แก่ ความวิตกกังวล ซึมเศร้า นอนไม่หลับ ภาวะสมองเสื่อม และปัญหาทางเพศ ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขได้เคยมีรายงานไว้ว่า หนทางให้ผู้สูงอายุมีคุณภาพชีวิตและสุขภาพจิตดีขึ้น มีปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ ความมั่นคงทางเศรษฐกิจสุขภาพ(กาย)  และการมีส่วนร่วมทางสังคม หากต้องการให้ผู้สูงอายุมีสุขภาพจิตดี จําเป็นต้องพัฒนาจิตใจและอารมณ์ในเชิงบวกอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นการรู้จักละวางรักษาจิตใจให้ผ่องใสโดยมีธรรมะของศาสนาที่ตนนับถืออยู่เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว ช่วยให้ใช้ชีวิตอยู่ใน สังคมได้อย่างผาสุกและเป็นที่พึ่งให้ลูกหลานหรือผู้คนรอบข้างได้ แพทย์หญิงศรีประภา ชัยสินธพ ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ […]

14 สัญญาณเช็กความแก่มาเยือน

14 สัญญาณเช็กความแก่มาเยือน คำว่าแก่พูดเบาๆ ก็เจ็บ ประโยคนี้เอาไว้แซวเล่นกันในหมู่เพื่อนฝูงก็ขำๆ ดีนะคะ แต่หากในชีวิตจริงนั้นการที่คนเรา แก่ตัวลง นอกจากเรื่องของตัวเลขที่เพิ่มขึ้นแล้ว เรื่องความเสื่อมลงไปของร่างกายก็เป็นสิ่งที่วัดได้ว่าเริ่มแก่แล้วนะ ซึ่งหลายๆ คนอาจจะไม่ยอมรับว่าตัวเองแก่ เพราะหน้าตายังไม่แก่ ไปไหนยังมีคนเรียกว่าพี่อยู่เลย เอาแบบนี้ค่ะ วันนี้เรามีวิธีวัดความแก่มาฝาก ลองอ่านดูเพลินๆ นะคะ ดูสิว่าเรานั้นเข้าข่ายกันคนละกี่ข้อแล้ว วิธีวัดความแก่ตามตําราของแพทย์กลุ่มหนึ่ง นำโดยนายแพทย์เอชเอ็ม.ซีเดล(HM.Sedel) พร้อมด้วยนายแพทย์ท่านอื่นๆ ได้ศึกษาและเก็บสถิติรวบรวมไว้เป็นตํารา AGINGANDMENTALHEALTH และนี่คือวิธีตรวจร่างกายโดยคร่าวๆ ว่า คุณแก่หรือยัง 1.วัดความสูงปัจจุบันเทียบกับความสูงในอดีตทั้ งนี้โดยถือเอาอายุ 65ปี ขึ้นไป เป็นเกณฑ์ ซึ่งเกณฑ์ปกตินั้นยอมรับว่าเมื่ออายุ 65 เทียบกับเมื่อ 55 (หรือทั่วๆ ไปอาจจะเอาอายุปัจจุบัน) หรือสิบปีก่อน คุณผู้ชายจะเตี้ยลงประมาณครึ่งนิ้วคุณผู้หญิงอาจจะเตี้ยมากกว่านั้นถ้าอายุถึงวัยทอง แต่ไม่ควรเกิน 1 นิ้ว 2.เทียบน้ำหนัก สําหรับผู้ชายนั้นน้ำหนักควรจะค่อยๆ ลดลง (ไม่ใช่ลดฮวบฮาบ) แต่คุณผู้หญิงมักจะน้ำหนักค่อยๆ เพิ่มมากขึ้น 3.ดูที่ผิวหนัง ผิวหนังมักแห้งลง และบางคนนอกจากผิวแห้งแล้วจะเหี่ยวลงอย่างรวดเร็ว มีมาตรฐานตัวเลขซึ่งกลุ่มแพทย์ลงความเห็นว่าความแห้งของผิวหนัง (DRYNESS) รอยย่น […]

4 EATING TIPS กินคาร์บให้เป๊ะ ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์

 4 EATING TIPS กินคาร์บให้เป๊ะ ลดเสี่ยงอัลไซเมอร์ “อัลไซเมอร์” โรคทางสมอง ที่มักเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุที่เรารัก ส่วนใหญ่จะพบบ่อยในผู้สูงอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป เป็นการสูญเสียความสามารถทางสมอง โดยเฉพาะความจำระยะสั้นที่จะเสียไป รวมถึงความเฉลียวฉลาด การใช้เหตุผล ภาษา การคิด การตัดสินใจ อาจมีอาการทางจิตร่วมด้วย ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน หากมีอาการเช่นนี้ควรรีบพบแพทย์ระบบประสาทหรือจิตแพทย์โรคอัลไซเมอร์โดยด่วน อาการหลงลืมแตกต่างจากโรคอัลไซเมอร์อย่างไร อาการหลงลืมตามวัย ได้แก่ หลงลืมเรื่องที่ไม่สำคัญ ไม่บ่อย และต้องไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิตประจำวัน อาการหลงลืมตามวัยนี้จะสามารถช่วยให้ดีขึ้นได้ ถ้ามีความตั้งใจที่จะจดจำอย่างจริงจัง จดบันทึก เตือนตัวเองโดยวิธีการต่างๆ ฝึกตัวเองให้มีสติอยู่เสมอ จะช่วยลดอาการหลงลืมให้น้อยลงได้ เราสามารถสังเกตอาการของโรคอัลไซเมอร์ได้ ดร.ลิซ่า มอสโคนี ผู้เชี่ยวชาญการให้คำปรึกษาด้านโภชนาการแบบผสมผสาน (Integrative Nutrition Health Coach) และผู้ช่วยผู้อำนวยการ The Alzheimer’s Prevention Clinic แห่ง Weill Cornell Medical College สหรัฐอเมริกา ระบุว่า คนที่มีอายุยืนยาวเกิน 100 […]

หัวใจล้มเหลวภัยเงียบที่ไม่ส่งสัญญาณ

หัวใจล้มเหลวภัยเงียบที่ไม่ส่งสัญญาณ ปัจจุบันมีผู้ป่วยที่เป็นภาวะ หัวใจล้มเหลว เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก ซึ่งหลาย ๆ คนนั้นมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ไม่ระมัดระวัง ซึ่งเมื่อก่อนโรคนี้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้สูงอายุเสียส่วนมาก แต่ปัจจุบันพบว่า ภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้เกิดแค่ในเฉพาะผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ในกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ร่างกายแข็งแรง ก็สามารถเกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน แต่ผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวโดยตรง คือ ผู้ที่มีภาวะอ้วน ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ ผู้ที่ขาดการออกกำลังกาย และพักผ่อนไม่เพียงพอ และผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูง ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันโลหิตสูง, เบาหวาน แต่วันนี้เราอยากมาพูดกันถึงงเรื่องภาวะหัวใจล้มเหลวที่เกิดขึ้นในผู้สุงอายุ นั่นเพราะเป็นโรคฮิตที่คร่าผู้สูงอายุ ถือเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของผู้สูงอายุที่เรามักได้ยินบ่อยจนคุ้นหู และถือเป็นภัยใกล้ตัวกว่าที่คิด เพราะที่จริงแล้วไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไรก็สามารถเผชิญหน้ากับภาวะนี้ได้ทั้งนั้น คุณจึงควรทำความรู้จักกับโรคนี้ให้ดียิ่งขึ้น จะได้หมั่นคอยดูแลและรักษาดวงใจของทั้งตัวเองและคนใกล้ชิดได้อย่างทันท่วงที หัวใจล้มเหลวเป็นภาวะที่หัวใจทำงานผิดปกติ โดยไม่สามารถสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆ ของร่างกายได้อย่างเพียงพอต่อความต้องการ และไม่สามารถรับเลือดกลับเข้าสู่หัวใจได้ตามปกติ พูดง่ายๆ ว่าการทำงานของหัวใจบกพร่องและล้มเหลวสมชื่อนั่นเอง สาเหตุเกิดจากอะไรของภาวะหัวใจล้มเหลวเกิดจากอะไร? ภาวะหัวใจล้มเหลวที่พบบ่อยนั้น มักเกิดจากหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ โดยผู้ป่วยมักมีประวัติเจ็บและแน่นหน้าอกมาก่อน และในกรณีที่ผู้ที่มีหลอดเลือดหัวใจตีบตันอย่างเฉียบพลัน จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและตายไปบางส่วน และถ้าบริเวณที่ตายกินบริเวณกว้าง ก็อาจจะเกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ แต่อย่าเพิ่งตกใจไปค่ะ เพราะภาวะหัวใจล้มเหลวไม่ได้เกิดอาการแบบเฉียบพลันเสมอไป สำหรับบางคนอาการก็ไม่ได้เกิดขึ้นแบบรุนแรง ดังนั้น การสังเกตอาการจึงมีความสำคัญมาก โดยลักษณะอาการที่เด่นชัดคือ แน่นหน้าอกเหมือนถูกกดหรือบีบประมาณ 2 – […]

เจ็บป่วยเรื้อรัง ตัวการทำอารมณ์แปรปรวน

เจ็บป่วยเรื้อรัง ตัวการทำอารมณ์แปรปรวน ความเจ็บป่วย เป็นภาวะที่กระทบกระเทือนต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ แต่ละคนมีวิธีปรับตัวต่อการเจ็บป่วยที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความร้ายแรงของโรค ลักษณะและวิธีการแก้ปัญหาของผู้ป่วยและสภาพแวดล้อมทางครอบครัวสังคม ภาวะจิตสังคมของผู้ป่วยเป็นสิ่งที่ผู้รักษาพยาบาลควรให้ความสนใจ และให้ความช่วยเหลือตามความเหมาะสม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้ป่วยที่เป็นโรคร้ายแรงและคุกคามชีวิต โรคที่ร้ายแรงหรือเรื้อรังย่อมมีผลต่อจิตใจและพฤติกรรมของผู้ป่วยอย่างมาก โรคที่ไม่ร้ายแรงก็มีผลต่อจิตใจของผู้ป่วยชั่วระยะหนึ่ง ซึ่งผู้ป่วยปรับตัวต่อโรคได้ไม่ยากและกลับคืนสู่สภาพการดำเนินชีวิตตามปกติต่อไป ปฏิกิริยาต่อโรคของผู้ป่วยนั้นก็คือปฏิกิริยาต่อภาวะวิกฤติ เช่น ผู้ป่วยที่รู้ว่าตนเองเป็นมะเร็งหรือแม้แต่เพียงสงสัยจะมีอาการตกใจมาก มีความกังวลมากในขณะที่รอผลการวินิจฉัยที่แน่นอน การปฏิเสธหรือไม่ยอมรับว่าตนเป็นโรคนั้นเป็นสิ่งที่พบได้บ่อย บ้างก็โทษว่าแพทย์อาจตรวจผิดและพยายามไปรับการตรวจตามที่ต่าง ๆ อาการซึมเศร้าและกังวลมากพบได้ในผู้ป่วยทุกราย แต่การแสดงออกอาจแตกต่างกันไป ความหวาดกลัวและความรู้สึกสูญเสียสมรรถภาพ ตลอดจนความหมดหวัง ทำให้พฤติกรรมของผู้ป่วยเปลี่ยนไปในทางแยกตัวและซึมเฉย นอกจากนั้นในผู้ป่วยยังมีความกังวลต่อผลการรักษา อาการเนื่องจากการรักษาและการกำเริบของโรคอีกด้วย ปฏิกิริยาเหล่านี้พบได้เช่นเดียวกันในผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรงหรือโรคเรื้อรัง ด้านปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อปฏิกิริยาทางจิตใจของผู้ป่วย เริ่มจากปัจจัยเกี่ยวกับการเจ็บป่วย ซึ่งขณะเจ็บป่วยนั้นผู้สูงอายุหรือผู้ป่วยจะรู้สึกถูกคุกคาม สูญเสียความเป็นตัวเอง จะกลัวในสิ่งที่เกิดขึ้น ผู้เจ็บป่วยทุกรายต้องเผชิญกับปัญหาชีวิต ย่อมมีความกังวลเป็นธรรมดา กังวลและซึมเศร้าเป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด แต่การแสดงออกอาจไม่เท่ากัน ระยะเวลาที่มีอาการสั้นหรือยาวย่อมขึ้นอยู่กับความสามารถในการปรับตัวของผู้ป่วย ส่วนลำดับขั้นตอนของการแสดงออกทางอารมณ์และพฤติกรรมของผู้ป่วยด้วยโรคร้ายแรง ได้แก่ ผู้ป่วยมักจะตกใจต่อการที่ทราบหรือสงสัยว่าตนเป็นโรคร้ายที่รักษาไม่หายและอาจต้องเสียชีวิตในเวลาอันใกล้ อาจมีอาการกังวลมาก สับสน ซึมเฉย หรือถ้าตกใจมากอาจเอะอะโวยวาย ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ ในระยะนี้ผู้ป่วยจะปฏิเสธความจริง ปฏิเสธว่าตนไม่ได้เป็นโรคนั้นๆ อาจโทษว่าแพทย์ตรวจผิด ผู้ป่วยจะพยายามหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อลบล้างผลการตรวจของแพทย์ อาจไปหาแพทย์หลายคนเพื่อให้ยืนยันว่าตนไม่ป่วย เมื่อไม่สามารถปฏิเสธความจริงได้ต่อไปผู้ป่วยเริ่มมีความกังวลมาก ความคิดสับสน รู้สึกอึดอัดและหาทางออกไม่ได้ รู้สึกโกรธที่ตนต้องเผชิญกับปัญหาที่ร้ายแรง […]

keyboard_arrow_up