7 WONDER TIPS การดูแลผู้สูงอายุ ให้กายใจสดชื่น

7 WONDER TIPS การดูแลผู้สูงอายุ ให้กายใจสดชื่น ในยุคที่ทั่วโลก เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แม้แต่ นิตยาสาร Forbes ซึ่งเป็นนิตยสารธุรกิจหันมาให้ความสำคัญ แนะนำวิธี การดูแลผู้สูงอายุ ให้สดชื่นทั้งกายใจ ห่างไกลโรคซึมเศร้าและอัลไซเมอร์ไว้ ดังนี้ มอบหมายหน้าที่ สร้างคุณค่า อย่าปล่อยให้ผู้สูงอายุต้องนั่งจมเก้าอี้ แต่ควรสนับสนุนให้ท่านทำงานตามความถนัด ไม่ว่าจะเป็นการทำสวน ทำความสะอาดบ้านเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือทำงานอดิเรก เช่น ทำงานฝีมือ ถ้าเป็นงานที่สร้างรายได้ แม้เพียงเล็กน้อย แต่จะทำให้ผู้สูงอายุมีความมั่นคงทางการเงิน และสุขภาพจิตดีขึ้นตามไปด้วย หากสมาชิกในบ้านเข้าใจและร่วมกันดูแลผู้สูงอายุ ท่านเหล่านั้นย่อมมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรงสดชื่นสมวัยได้แน่นอน ทำกิจกรรมร่วมกัน แนะนำให้จัดสรรเวลา อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 – 2 ครั้ง เพื่อทำกิจกรรมร่วมกันเป็นประจำ เช่น ออกกำลังกายในสวนสาธารณะ ไปปิกนิก ออกไปเดินเล่น เป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดี และทำให้เกิดบรรยากาศผ่อนคลาย สนับสนุนกิจกรรมกลุ่ม การได้ออกไปพบปะสังสรรค์กับคนต่างวัย และคนวัยเดียวกันเป็นประจำ จะช่วยให้ผู้สูงอายุเชื่อมโยงตนเองกับสังคมรอบข้าง หากเป็นกลุ่มที่ทำงานสร้างสรรค์ เช่น เป็นอาสาสมัครในโรงพยาบาล […]

ใครรู้บ้าง? ทำไม แสงแดด ถึงจำเป็นมากกับผู้สูงอายุ

แสงแดด จำเป็นกับผู้สูงอายุ จริงหรือ? หลายคนพยายามหลีกเลี่ยง ไม่ชอบความร้อน ไม่อยากถูกแดดเผา กลัวการเกิดฝ้า กระ หรือผิวหมองคล้ำจากแดด แต่หารู้ไม่ว่า วิตามินดีจากแสงแดดนั้นมีประโยชน์มาก ๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ยิ่งอายุเยอะขึ้น ยิ่งต้องการพลังงานจากแดดในปริมาณที่พอเหมาะกับร่างกาย   เพราะวิตามินดีสำคัญต่อร่างกาย วิทยาลัยสาธารณสุขฮาร์วาร์ด ที.เฮช.ชาน (Harvard T.H. Chan School of public health) ได้วิจัยเอาไว้ว่า วิตามินดีช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งเต้านม เบาหวาน และอีกหลายโรค ผู้สูงอายุที่ขาดวิตามินดียังความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจและโรคซึมเศร้ามากขึ้น วิตามินดี ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างไร 1.เพิ่มภูมิคุ้มกันโรค เพราะวิตามินดีจะช่วยเพิ่มจำนวนและความแข็งแรงของเม็ดเลือดขาว ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายของเรา สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ส่งผลต่อการกำจัดโรคที่จะเข้าสู่ร่างกาย และช่วยลดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ ได้ 2. เพิ่มประสิทธิภาพการไหลเวียนเลือด วิตามินดีช่วยส่งเสิรมให้เฮโมโกลบินมีความแข็งแรง สามารถรับออกซิเจนจากปอดได้อย่างเต็มที่ และส่งออกซิเจนต่อไปยังเซลล์ต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้ส่วนต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ 3. เสริมให้กระดูกแข็งแรง หากร่างกายเราได้รับแสงแดดในปริมาณที่เหมาะสม […]

17 TRICKS ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อย่างเข้าใจ

17 TRICKS ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ อย่างเข้าใจ การ ดูแลผู้ป่วยอัลไซเมอร์ เป็นเรื่องใหญ่และเป็นภาระที่หนักอึ้งล้นฟ้า ลูก ๆ หลาน ๆ หลายคนก็เลยพากันเขียนจดหมาย มาปรึกษาผม ว่าจะดูแลพ่อ-แม่ ปู่-ย่า ตา-ยาย ที่ป่วยเป็นโรคอัลไซเมอร์ อย่างไรดี (ดีทั้งตัวผู้ป่วยและผู้ดูแลนั่นแหละครับ) ก่อนอื่น คุณต้องเข้าใจว่าคนเป็นอัลไซเมอร์ หรือสมองเสื่อม ได้สูญเสียความสามารถที่จะเข้าถึงความจำที่สมองเก็บไว้ แต่สิ่งที่ยังเหลืออยู่แน่ ๆ คือ ความเป็นคน ซึ่งยังอาจมีถูกใจ ไม่ถูกใจ ยังอาจมีตัวตนหรือความเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งบ่อยครั้งจะถูกประเมินว่าดื้อ หรือถือดี นอกจากนี้ ธรรมชาติของผู้ป่วยทางสมองคือ มีอารมณ์ขึ้น ๆ ลง ๆ เอานิยายอะไรไม่ได้ ถ้าคุณไปเอานิยายกับท่านเข้า คุณก็โง่แล้ว ในฐานะ “ผู้ดูแลคนป่วยอัลไซเมอร์” การจะให้คนสมองเสื่อมสนใจว่าเราจะพูดกับท่าน เราควรจะเข้าไปหาท่านทางด้านหน้า อย่าพูดแบบอยู่คนละห้องหรืออยู่ข้าง ๆ ขึ้นต้นประโยคด้วยการแนะนำตัวเองอยู่ในทีทุกครั้ง มิฉะนั้นตัวเราเองก็จะถูกท่านลืมในไม่ช้า เช่น สมมุติว่า เราชื่อเล็ก “…เล็กนะพ่อ ลูกคนที่ 5 […]

เรียนรู้หลากวิธี…ช่วยห่างไกลโรคอัลไซเมอร์

เรียนรู้หลากวิธี…ช่วยห่างไกลโรคอัลไซเมอร์ ว่ากันด้วยเรื่อง “อัลไซเมอร์” ธรรมชาติมักไม่ชอบการฝืนกฎเกณฑ์ โดยเฉพาะสมอง ที่เป็นอวัยวะสุดพิเศษของพวกเราที่คอยรับใช้ไม่หยุดหย่อน แต่เมื่อคุณเริ่มไม่ปฏิบัติต่อสมองอย่างที่ควรจะเป็น สมองเองก็พร้อมนำเรื่องหนักใจมาให้ในเวลาต่อมา และไม่ต้องรอนานด้วยภาวะ สมองเสื่อม “อัลไซเมอร์” โรคความจำบกพร่องที่มนุษย์หวั่นวิตกมากที่สุด ซึ่งเป็นโรคที่ไม่มีใครอยากพบเจอ เพราะไม่มีอะไรเจ็บปวดไปกว่าการที่คุณค่อยๆ หลงลืมคนที่คุณรัก ประสบการณ์หวานขมที่เคยฝ่าฟันมา หรือแม้กระทั่งความทรงจำต่อตนเองที่ค่อยๆ ลบเลือนหายไป โดยที่สมองคุณไม่สามารถรับใช้ความทรงจำเดิมได้อีก นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกต่างพยายามหาทางพิชิตอัลไซเมอร์ด้วยกระบวนการวิจัยต่างๆ จนเป็นวาระสำคัญระดับโลก แต่ส่วนใหญ่ไปมองที่ปลายเหตุ นั่นคือสมองที่เสียหายแล้วจากโรคอัลไซเมอร์ เซลล์ประสาทถูกทำลายไปจำนวนมากโดยเฉพาะบริเวณที่มีอิทธิพลต่อความทรงจำ ทำให้เกิดความเสื่อมถอยทางด้านสติปัญญา ความทรงจำ ความคิด การมีเหตุผล และยังทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ ได้ไปอ่านเจอบทสัมภาษณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้จาก ศ.เกียรติคุณ ดร.ปิยะรัตน์ โกวิทตรพงศ์ นักวิทยาศาสตร์อาวุโสคนสำคัญของไทย ท่านได้บอกเอาไว้ว่าพฤติกรรมการกินของเราเป็นตัวร้ายทีเดียวที่นำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ คนรุ่นใหม่อยู่กับอาหารแคลอรีสูง แทบยังไม่ต้องไปถึงระดับผู้สูงอายุเลยนะ ภาวะติดน้ำตาล กินอาหารไขมันสูงที่มีอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะ นำไปสู่โรคเบาหวาน งานวิจับพบว่า โรคเบาหวานมีอิทธิพลนำไปสู่ภาวะสมองเสื่อมได้เช่นกัน ซึ่งคนทั่วไปยังไม่ทราบ คนอายุน้อยๆ เดี๋ยวนี้เป็นเบาหวานกันเยอะมาก ทำงานหนัก เครียดเรื้อรัง จนพัฒนาไปสู่โรคซึมเศร้าด้วยอีก และจากโรคซึมเศร้ายังพัฒนาต่อเนื่องเป็นโรคอัลไซเมอร์ในท้ายสุด มันเป็นวัฏจักรราวกับวงจรอุบาทว์ การนอนจำเป็นมากที่เราควรรีบแก้ไข การนอนที่ดีจะมีวงจรของตัวมันเองอันเป็นธรรมชาติ เราจะผ่อนคลาย หัวใจเต้นช้าลง เราก็จะสงบ […]

5 วิธีสยบ ปวดข้อ อาการยอดฮิตผู้สูงอายุ

อาการ ปวดข้อ เป็นอีกหนึ่งอาการยอดฮิตของใครหลายคน โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่อวัยวะเริ่มมีความเสื่อมไปตามวัย เริ่มตั้งแต่อาการปวดเล็กน้อยไปจนถึงอาการปวดรุนแรงทนไม่ได้ สำหรับ อาการปวดข้อ เกิดได้จากหลายสาเหตุ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและพยาธิสภาพที่เกิดขึ้น โดยเราได้รวบรวมวิธีบำบัดแบบธรรมชาติ ที่ช่วยแก้อาการ ปวดข้อ ยอดฮิต มาแนะนำดังนี้ วิธีที่ 1 ยาพอกแก้อาการปวดข้อเข่า สำหรับอาการปวดข้อเข่านั้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การปวดข้อเข่าจากความเสื่อม โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (เกิดจากความผิดปกติของภูมิคุ้มกัน) โรคเกาต์ (เกิดจากการมีกรดยูริกในเลือดสูง และมีการตกผลึกของกรดยูริก) ในทางการแพทย์แผนไทยแบ่งอาการปวดข้อเข่าออกเป็น 2 ประเภท คือ จับโปงแห้งและจับโปงน้ำ ซึ่งทั้งสองอาการมีความแตกต่างกันไปตามพยาธิสภาพ จับโปงน้ำ คือข้อเข่ามีอาการปวด บวม แดงร้อน ส่วนจับโปงแห้ง คือมีอาการปวด แต่ไม่มีอาการบวม แดง ร้อน มีเสียงในข้อเข่าเวลาเดินซึ่งการดูแลและรักษามีความแตกต่างกัน NATURAL PAINKILLER แนะนำว่า ผู้ที่มีอาการปวดข้อเข่าควรใช้ยาพอกเข่าในการรักษา เพื่อช่วยลดอาการปวดช่วยนำสารอาหารมาเลี้ยงข้อเข่ามากขึ้น และช่วยดูดพิษร้อน ซึ่งมีวิธีทำดังนี้สูตรยาร้อน (สำหรับข้อเข่าที่มีอาการปวด แต่ไม่มีอาการบวม แดง ร้อน) ประกอบด้วยขิงน้ำตาล ไพล ปริมาณเท่า […]

การรักษา โรคภูมิคุ้มกัน ภูมิแพ้ และ แพ้ภูมิ ในผู้สูงอายุ

โรคในผู้สูงอายุหรือโรคเอ็นซีดี (NCD : Non-communicable Diseases) โรคภูมิคุ้มกัน เป็นโรคไม่ติดต่อมีความเรื้อรัง หนึ่งในโรคกลุ่มนี้คือโรค ภูมิแพ้ และแพ้ภูมิตนเอง หรือโรคออโต้อิมมูน โรคออโต้อิมมูน (โรคภูมิคุ้มกัน) อยู่ในกลุ่มเดียวกับโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง เพราะคำว่า “ภาวะแพ้ภูมิตนเอง” เป็นภาวะการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งมีสาเหตุมาจากภาวะการดื้ออินซูลินรวมกับภาวะดื้ออะดรีนัล อะดรีนัล คือ สเตียรอยด์ที่ใช้เป็นยารักษาโรค ถามว่าความผิดปกตินี้คืออะไร อะดรีนัลมีอยู่แล้ว แต่ไม่ทำงาน ไม่หลั่งคอร์ติซอล ส่วนใหญ่เมื่อเราดื้อ อินซูลิน เรามักดื้อ อะดรีนัลด้วย เพราะฉะนั้น คนกลุ่มที่เป็นโรค NCD ก็จะเป็นกล่มุ คนที่เกิดภาวะแพ้ภูมิตนเอง คือกลุ่มเดียวกัน เพียงแต่ว่าการแสดงออกของโรคกลุ่มนี้จะต่างจากโรค NCD นิดหน่อย ถ้าสังเกตดี ๆ กลุ่มคนที่เป็นโรค NCD พวกโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมักจะเป็นกลุ่มคนอ้วนที่แสดงอาการของโรคเบาหวานก่อนวัย ตั้งแต่อายุประมาณ 30 – 40 ปี แต่กลุ่มที่มีภาวะแพ้ภูมิตนเองมักเป็นกลุ่มคนผอม หนึ่งในนั้นคือโรคเอสแอลอี โรคเอสแอลอี โรคเอสแอลอี เป็นโรคที่รวมหลายโรคเอาไว้ด้วยกัน […]

ศาสตร์ทางเลือก แก้อาการปัสสาวะเล็ดผู้สูงวัย

ศาสตร์ทางเลือก แก้อาการปัสสาวะเล็ดผู้สูงวัย ภาวะกลั้นปัสสาวะ ไม่ได้ หรือ อาการปัสสาวะเล็ด ถือเป็นปัญหาสุขภาพที่มีความสำคัญอย่างหนึ่งในผู้สูงอายุ เพราะนอกจากพบได้บ่อยแล้วยังส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ทั้งในแง่ของสุขภาพกายเช่น ปัสสาวะที่ราดออกมา จะทำ ให้เกิดการระคายเคืองต่อผิวหนัง เพิ่มโอกาสเสี่ยงในการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ เพิ่มอุบัติการณ์ในการหกล้ม เป็นต้น ส่วนในแง่ของสุขภาพจิต พบว่าผู้สูงอายุที่มีภาวะดังกล่าวจะรู้สึกว่าตนเองไม่ปกติมีภาวะซึมเศร้า อายที่จะเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม และไม่ยอมเดินทางออกนอกบ้าน อย่างไรก็ตาม แม้อาการ “ปัสสาวะเล็ด” จะไม่เป็นอันตรายร้ายแรง แต่ก็สร้างความลำบากต่อการใช้ชีวิตไม่น้อย ข้อมูลจากหนังสือ “ปัสสาวะเล็ดในผู้สูงอายุ ของสถาบันเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ จำแนกอาการปัสสาวะเล็ดและปัสสาวะราดไว้ 3 กลุ่ม คือ 1.เกิดปัสสาวะเล็ดออกมาเมื่อมีความดันช่องท้องเพิ่มขึ้น เกิดจากการไอ จาม หรือหัวเราะ ซึ่งทำให้เกิดความดันที่สูงขึ้นภายในกระเพาะปัสสาวะจนเอาชนะความดันของหูรูด(Stress Incontinence) ทำให้ปัสสาวะเล็ดออกมา 2.กระเพาะปัสสาวะบีบตัวไวเกินไป พบได้ในผู้หญิงที่คลอดบุตรหลายคน เกิดจากกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะบีบตัวบ่อยและเร็วกว่าปกติ ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ (มากกว่าวันละ 8 ครั้ง) 3.เกิดจากกระเพาะปัสสาวะมีปัสสาวะค้างมากเกินความจุของกระเพาะปัสสาวะ หรือภาวะปัสสาวะล้น ทำให้กระเพาะปัสสาวะถูกยืดตัวออกจนแบน หมดกำลังบีบปัสสาวะที่ขังอยู่ จึงเกิดปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ ไม่สามารถถ่ายปัสสาวะออก ปัสสาวะจึงล้นไหลออกมาเป็นหยดตลอดเวลา พบในผู้ป่วยโรคต่อมลูกหมากโต เบาหวาน หรือการได้รับยาบางชนิด […]

เตรียมตัวเอ๊าะ เดินหัวเราะในวัยเกษียณ

เตรียมตัวเอ๊าะ เดินหัวเราะในวัยเกษียณ คุณวาดภาพตัวเองใน วัยเกษียณ ไว้อย่างไรคะ หลายคนเห็นตัวเองออกเดินทางรอบโลกไปยังสถานที่ที่เคยวาดฝันในวัยหนุ่มสาว บางคนมีความสุขกับอิสรภาพเพราะได้ทํางานอดิเรก ตลอดจนสิ่งต่างๆ ที่อยากทํามานาน หลายคนมองเห็นรอยยิ้ม ความกระฉับกระเฉง และพลังความเป็นหนุ่มสาวในตัวเอง ความปรารถนาเหล่านี้เป็นจริงได้ค่ะ หากคุณมีกระดูกที่แข็งแรง ซึ่งต้องเริ่มต้นตั้งแต่วันนี้ เพื่อไม่ว่าจะวัยยี่สิบต้นๆ หรือห้าสิบปลายๆ ก็พร้อม “เอ๊าะ” กันได้ใน วัยเกษียณ ชีวจิตวันนี้เราจึงอยากชวนคุณมากินเพื่อฟิตกระดูกอย่างถูกวิธีเพื่อต้อนรับความแข็งแรงในวัยแห่งอิสรภาพที่กําลังใกล้เข้ามาค่ะ กระดูกสําคัญอย่างไร กระดูกมีความสําคัญต่อการดํารงชีวิต เพราะทําหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายใน เป็นที่ยึดเกาะของเอ็นและกล้ามเนื้อ ช่วยรับน้ำหนัก และทําให้ส่วนต่างๆ ของร่างกายสามารถเคลื่อนไหวได้เป็นปกติ เมื่ออายุเพิ่มขึ้น กระดูกที่แข็งแรงจะช่วยให้เราเดินเหินคล่องแคล่ว ลดอุบัติเหตุ และอันตรายจากการหกล้ม ทําให้ร่างกาย มีศักยภาพสําหรับทํากิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น กระดูกเริ่มสลายตั้งแต่เมื่อไร แพทย์หญิงสิรินทร ฉันศิริกาญจน หัวหน้าหน่วยเวชศาสตร์ผู้สูงอายุ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้ข้อมูลว่า กระบวนการสร้างและสลายกระดูกเกิดขึ้นตลอดเวลา โดยกระดูกจะถูกสร้างจนแข็งแรงสูงสุดเมื่ออายุ 30-35 ปี หลังจากนั้นอัตราการสลายจะมากกว่าการสร้าง โดยเฉพาะผู้หญิงในวัยหมดประจําเดือน (อายุประมาณ 50 ปี) จะพบการสลายของกระดูกมากกว่าผู้ชายในวัยเดียวกัน หากปล่อยให้ร่างกายสูญเสียเนื้อกระดูกไปเรื่อยๆ โดยไม่มีการป้องกัน […]

เทคนิคดูแลโรคจิตเสื่อมในผู้สูงวัย

เทคนิคดูแลโรคจิตเสื่อมในผู้สูงวัย สมองเสื่อม เป็นภาวะที่มักพบได้ในผู้สูงอายุ จะทำให้ผู้ที่เป็นมีพฤติกรรมและอารมณ์ที่เปลี่ยนไป มีอาการหลงลืม และใช้ภาษาผิดปกติ ซึ่งการเสื่อมของสมองจะค่อยเป็นค่อยไปและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน ว่าแต่สาเหตุและการป้องกันภาวะสมองเสื่อมจะมีอะไรบ้าง วันนี้เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ โรคจิตเสื่อม คืออะไร โรคจิตเสื่อม  หรือ ภาวะสมองเสื่อม เป็นอาการที่มักจะเกิดขึ้นในผู้สูงอายุเป็นส่วนใหญ่ เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เกิดจากความเสื่อมของร่างกายมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจะเป็นไปในลักษณะที่เสื่อมถอย การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายลดลง มีสุขภาพที่อ่อนแอลง ความสามารถในการดำเนินชีวิตนั้นก็มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ ซึ่งต้องมีครอบครัวและคนใกล้ชิดคอยดูแลและใส่ใจให้มากขึ้น สมองเสื่อม เป็นภาวะหนึ่งของสมองที่เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ โดยพบว่า 70% ของผู้ป่วยสมองเสื่อมมีสาเหตุมาจากโรคอัลไซเมอร์ เกิดจากความเสื่อมสลายของเซลล์ประสาท รองลงมาคือ โรคหลอดเลือดสมองมีความผิดปกติ ซึ่งภาวะสมองเสื่อมเป็นกลุ่มอาการที่เกิดจากความผิดปกติต่าง ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อสมอง ส่งผลกระทบต่อความคิด มีความสับสนในเรื่องของเวลา สถานที่ บุคคล มีพฤติกรรมแปลก ๆ บุคลิกภาพเปลี่ยนไป มีความผิดปกติในการใช้ภาษา การคำนวณ ความเข้าใจ และความสามารถในการปฏิบัติงานในชีวิตประจำวัน ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมของผู้สูงวัย ซึ่งผู้สูงอายุมีจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาหลักสำคัญในผู้สูงอายุ คือ ปัญหาด้านสุขภาพ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลง และเสื่อมถอยของระบบต่างๆ ของร่างกายที่เกิดขึ้นเมื่ออายุมากขึ้น การทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงและเสื่อมถอยนี้ […]

เรียนรู้เรื่อง…วิตามินดีกับผู้สูงอายุ

เรียนรู้เรื่อง…วิตามินดีกับผู้สูงอายุ ขึ้นชื่อว่า “วิตามิน” หากกินในปริมาณที่เหมาะสม ย่อมเป็นประโยชน์ต่อร่างกาย วิตามินดี ก็เช่นกัน แต่ทราบหรือไม่ ข้อมูลจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติ ประเทศสหรัฐอเมริกา ระบุว่า ในผู้สูงวัยอายุ 65 ปีขึ้นไป ประสิทธิภาพในการสังเคราะห์วิตามินดีจากแสงแดดจะลดลงต่ำกว่า 1 ใน 3  เมื่อเทียบกับคนอายุ 20 ปี หากเป็นเช่นนี้ผู้สูงอายุควรกินผลิตภัณฑ์วิตามินดีเสริม หรือไม่ เรามาหาคําตอบเรื่องนี้กันค่ะ ความสำคัญของวิตามินดี นอกจากวิตามินดีจะมีหน้าที่หลักในการช่วยดูดซึมแคลเซียม ช่วยให้กระดูกแข็งแรงและป้องกัน โรคกระดูกบาง และ กระดูกพรุน วิตามินดียังมีคุณสมบัติพิเศษอีกมากมายที่หลายคนอาจไม่เคยรู้ นั่นคือ วิตามินดีมีโครงสร้างคล้ายฮอร์โมนเพศ จึงมีบทบาทสำคัญในการควบคุมกระบวนการสำคัญต่างๆ ในร่างกาย  เช่น ช่วยลดฮอร์โมนพาราไทรอยด์ ป้องกันการสูญเสียแคลเซียมจากกระดูก เพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในเลือดและป้องกันโรคเบาหวาน นอกจากนี้วิตามินดียังมีหน้าที่สำคัญในการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย มีหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมที่เข้ามาคุกคามร่างกาย เช่น เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เซลล์มะเร็ง ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายที่สนับสนุนการให้วิตามินดีเสริมเพื่อช่วยต้านโรคมะเร็งต่างๆ เช่น มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเต้านม และมะเร็งต่อมลูกหมาก วิตามินดีช่วยให้สมองหลั่งสารเซโรโทนิน มากขึ้น มีผลช่วยลดความเครียด และ […]

รับมือหน้าหนาว โรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ

 โรคข้อเข่าเสื่อม ในผู้สูงอายุ เมื่ออากาศหนาวมาเยือน ผู้สูงอายุ เป็นวัยที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ เพราะร่างกายของผู้สูงอายุ เสื่อมถอยลงกว่าวัยปกติ โดยเฉพาะผู้สูงอายุ ที่มีโรคประจำตัวคือ โรคข้อเข่าเสื่อม เนื่องจากอาการมักกำเริบเมื่ออากาศหนาวเย็น อาการข้อเข่าเสื่อม ข้อเข่าเสื่อมเป็นภาวะที่เกิดขึ้นอย่างช้าๆ มักพบบ่อยในผู้ที่อายุเกิน 60 ปี พบมากในผู้หญิงและผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ส่วนใหญ่เป็นทั้ง 2 ข้าง เนื่องจากเมื่อข้อเข่าข้างหนึ่งเริ่มเสื่อมแล้ว จะมีข้อเข่าอีกข้างเสื่อมอีกใน 11 ปีต่อมา สำหรับอาการระยะแรก ผู้ที่เป็นข้อเข่าเสื่อม จะเริ่มปวดเข่าเวลาเคลื่อนไหวร่างกาย เช่น เดิน ขึ้นลงบันได และเมื่อขยับข้อจะรู้สึกถึงการเสียดสีของกระดูกหรือมีเสียงกรอบแกรบในข้อเข่า หลังจากนั้นหากอาการรุนแรงขึ้น อาการปวดก็จะมากตามไปด้วย บางครั้งปวดเวลากลางคืน หรือมีอาการปวดรุนแรงหรือเสียวบริเวณกระดูกสะบ้า นอกจากนี้อาจมีการอักเสบ ข้อบวม ร้อน เป็นต้น ดูแลผู้สูงอายุ ข้อเข่าเสื่อม อย่างไรดี เมื่อถึงหน้าหนาว นายแพทย์สรรพงศ์ ฤทธิรักษา รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ช่วงการเปลี่ยนผ่านฤดูกาลส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้สูงอายุในช่วงที่สภาพอากาศหนาวเย็น ส่งผลให้เกิดอาการปวดตามข้อต่อต่าง ๆ โดยเฉพาะข้อเข่าซึ่งจะพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ รู้จักกันดีคือ โรคข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis of […]

Super Food ต้านอัลไซเมอร์ ตา-ยาย

Super Food ต้านอัลไซเมอร์ ตา–ยาย ในยุคปัจจุบันอัตราการเกิด โรคอัลไซเมอร์ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นในคนที่อายุเฉลี่ยน้อยลง ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้ตั้งแต่ระยะกลางเป็นต้นไป ต้องการการพึ่งพาของสมาชิกในครอบครัวสูงมาก ถือเป็นปัญหาสังคม แต่ถึงแม้ว่า อัลไซเมอร์ จะมีสิทธิ์เกิดขึ้นได้กับคนที่มีอายุไม่มากด้วยก้ตาม แต่ตามสถิติผู้สูงอายุก็ยังเป็นกลุ่มที่พบโรคนี้มากที่สุดอยู่ดี โดยพบในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป ถึงร้อยละ 15 และพบมากในผู้ที่มีอายุ 80 ปี ขึ้นไป ถึงร้อยละ 30 ซึ่งสาเหตุของโรคเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของสมองบางส่วนที่เกิดการฝ่อ ประสิทธิภาพในการทำงานของสมองลดลง ส่งผลให้เกิดอาการหลงลืมเรื่องง่ายๆ ถามคำถามหรือพูดแบบเดิมซ้ำๆ อยู่บ่อยครั้ง และไม่สามารถจดจำหรือเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ได้ ซึ่งในระยะยาวอาจไม่ใช่การสูญเสียความทรงจำ แต่ร้อยละ 90 ของผู้ป่วยจะมีอาการทางจิตเวช และมีพฤติกรรมก้าวร้าวร่วมด้วย จึงต้องอาศัยการดูแลออย่างใกล้ชิด อาการปวดเรื้อรังมีผลต่อความเปลี่ยนแปลงทางสมอง งานวิจัยตีพิมพ์ล่าสุดในวารสาร Journal of Neuroscience ระบุว่าอาการปวดเรื้อรังนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงทางสมองซึ่งจะส่งผลกระทบในระยะยาวต่อผู้ป่วย และนี่อาจบอกเราได้ว่าเหตุใดผู้ป่วยที่มีอาการปวดเรื้อรังจึงมักมีแนวโน้มที่จะเกิดความผิดปกติทางอารมณ์ เช่น ความรู้สึกหดหู่และวิตกกังวล นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยนอร์ทเวสเทิร์น ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้ทำการศึกษาเพื่อเปรียบเทียบปฏิกิริยาตอบสนองของสมอง ด้วยการแบ่งกลุ่มผู้ใหญ่ที่เข้ารับการทดสอบออกเป็นสองกลุ่ม คือ กลุ่มผู้ที่มีสุขภาพดีและกลุ่มของผู้ที่มีอาการปวดหลังเรื้อรัง […]

อากาศหนาวเย็น สำหรับผู้สูงวัย ดูแลป้องกันอย่างไร ไม่ให้ป่วยเป็น โรคหน้าหนาว

อากาศหนาวเย็น สำหรับผู้สูงวัย ดูแลป้องกันอย่างไร ไม่ให้ป่วยเป็น โรคหน้าหนาว ช่วงนี้หน้าหนาว อากาศบางวันก็หนาว บางวันอากาศก็เปลี่ยนจากหนาวเป็นร้อน แล้วบางวันก็เปลี่ยนกลับมาหนาวเย็นขึ้น ซึ่งความแปรปรวนนี้ ไม่ดีต่อสุขภาพผู้สูงวัย แน่นอน เพราะการอยู่กับอากาศหนาว มีทั้งความชื้นและอากาศที่แสนเย็น ก็สามารถทำให้เกิดโรคภัยต่างๆ ขึ้นได้ ฉะนั้นมาเอา วิธีดูแลผู้สูงอายุ ไม่ให้ป่วยเป็น โรคหน้าหนาว กันไปได้เลย โรคที่ “ผู้สูงอายุ” ควรระวังในวันที่อากาศหนาว โรคที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ได้แก่ โรคระบบทางเดินหายใจ เช่น ไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่  โดยอาการของไข้หวัดใหญ่ ได้แก่ ไข้ ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ ซึ่งมักมีอาการมากในช่วง 3-4 วันแรก หลังจากนั้นอาจมี เจ็บคอ ไอแห้งๆ คัดจมูกน้ำมูกไหล เป็นต้น รองลงมาก็คือปัญหาเกี่ยวกับผิวหนัง เช่น ผิวแห้ง ผิวหนังอักเสบและคัน เนื่องจากด้วยวัยผู้สูงอายุ มีไขมันใต้ผิวหนังน้อยและต่อมไขมันทำงานลดลง ทำให้ผิวหนังสูญเสียความชุ่มชื้นได้ง่ายนั่นเอง วิธีดูแลผู้สูงอายุ เมื่ออากาศหนาวมาเยือน นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ […]

5 สมุนไพรบำรุงกระดูกตา-ยาย

5 สมุนไพรบำรุงกระดูกตา-ยาย วัยสูงอายุนั้นเป็นวัยที่ร่างกายเสื่อมโทรมในหลายด้านมีปัญหาสุขภาพและโรคประจำตัวต่างๆมากมาย ในการป้องกันและบำบัดรักษาโรคผู้สูงอายุนั้นนอกจากยาแผนปัจจุบัน ซึ่งต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศเป็นจำนวนเงินมากมายแล้ว สมุนไพร จำนวนมากสามารถใช้ทดแทนได้ดีและใช้กันมาแล้วหลายชั่วอายุคน ผู้สูงอายุมักประสบปัญหาเกี่ยวกับโรคกระดูกพรุน เนื่องจากเซลล์ของกระดูกมีการสลายมากกว่าการสร้างโรคกระดูกพรุนพบในหญิงมากกว่าชายการสูญเสียแคลเชียมที่กระดูกทำให้ความแข็งแรงของกระดูกลดลง กระดูกหักง่ายการได้รับแคลเซี่ยมที่เพียงพอจะช่วยเพิ่มความแน่นของกระดูกดังนั้นผู้สุงอายุควรได้รับอาหารที่มี แคลเซี่ยมเพียงพอประมาณวันละ 800 มิลลิกรัม แคลเชี่ยมมีมากในน้ำนม ปลาป่น กุ้งแห้ง และผักใบเขียวที่มีปริมาณแคลเซียมสูง โดยไม่ต้องไปหายาบำรุงแพงๆ ไม่ต้องหาอาหารเสริมราคาสูง แค่ใช้สมุนไพรในครัวเรือน ก็เสริมสร้างสุขภาพของญาติผู้ใหญ่ที่คุณรักได้แล้วค่ะ เราควรมารู้จัก 5 สมุนไพรไทย เพื่อสุขภาพกระดูกกันดีกว่า ใช้ทดแทนได้ดีและใช้กันมาแล้วหลายชั่วอายุคน ผักกระเฉด ผักกระเฉด พืชผัก สมุนไพร สรรพคุณ บำรุงกระดูกและฟัน บำรุงสายตา ผักกระเฉด เป็นผักที่เจริญเติมโตในน้ำ มีรากแตกเป็นกระจุกตามข้อ ปล้องแก่มีนวมเหมือนฟองน้ำเรียกว่า “นมกระเฉด” หุ้มอยู่ตามปล้องกระเฉด มีคุณสมบัติทำให้ต้นลอย นักโภชนาการพบว่าในผักกระเฉดมี มีวิตามินซีสูงมาก มีแคลเซียม และธาตุเหล็ก ช่วยบำรุงสายตา ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มร่างกายกันทำงานปรกติ ช่วยบำรุงระบบสืบพันธ์ บำรุงกระดูกและฟัน ป้องกันภาวะกระดูกพรุน ทำให้กล้ามเนื้อทำงานปรกติ บำรุงเลือด ยอ สมุนไพรใกล้ตัว ถูกนำมาใช้ทำอาหาร หรือทำเป็นยาพอกแก้ปวด […]

อยู่อย่างไร ในวัยสูงอายุ

อยู่อย่างไร ในวัยสูงอายุ “ความตั้งใจของผมก็คือ การทำให้สุขภาพแข็งแรง ส่วนอายุยืนนั้นเป็นผลพลอยได้” นี่คือคำกล่าวของท่านอาจารย์สาทิส อินทรกำแหง ในโอกาสที่ท่านเป็นผู้ที่เคยได้รับรางวัลผู้สูงอายุต้นแบบสุขภาพดีเป็นคนแรกๆ ของประเทศไทย ซึ่งคำกล่าวข้างต้นนั้นสื่อได้ถึงหัวใจสำคัญของการมีอายุยืนยาวอย่างมีคุณภาพ และไม่ว่าใครหากเคยได้พบและพูดคุย หรือทราบถึงกิจวัตรประจำวันของท่านอาจารย์สาธิต ในช่วงที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ย่อมอยากรู้ว่าผู้ที่มีวัยสูงอายุมากขนาดนี้มีวิธีใช้ชีวิตอย่างไรให้ทรงคุณค่าและเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม เราเลยไปรวบรวมคำตอบที่ท่านอาจารย์เคยบอกเอาไว้มาให้คุณผู้อ่านทราบกันค่ะ เคล็ด(ไม่) ลับ หลัก 5 เล็ก สำหรับแฟนชีวจิตคงคุ้นเคยกันเป็นอย่างดีเมื่อพูดถึงหลักปัญจกิจเพื่อการสร้างสมดุลในชีวิต หรือหลัก 5 เล็ก คือ การกินให้ถูก นอนให้ถูก ทำงานให้ถูก พักผ่อนให้ถูก และออกกำลังกายให้ถูก โดยจะปรับใช้อย่างไรในวัยสูงอายุนั้นไปดูกันค่ะ “กินให้ถูก” ต้องแน่ใจว่าอาหารที่รับประทานทุกวัน ช่วยเสริมสร้าง Immune System หรือภูมิต้านทานของร่างกาย เช่น รับประทานแป้งที่ไม่ขัดขาว เช่น ข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ และอาหารที่รับประทานต้องแน่ใจว่าไม่มีท็อกซินหรือพิษ “นอนให้ถูก” ต้องแน่ใจว่าทุกคืนได้นอนหลับสนิท หลับลึก และเต็มอิ่ม ซึ่งมีผลให้โกร๊ธฮอร์โมนหลั่ง ตื่นเช้าขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่นปลอดโปร่งโดยอัติโนมิติ “ทำงานให้ถูก” หาแง่ดีของการทำงาน และทำงานอย่างมีความสุข “พักผ่อนให้ถูก” ควรผ่อนคลายตัวเองด้วยการหายใจเข้าลึกๆ หายใจออกยาวๆ […]

SENIOR CARE ดูแลผู้สูงวัยเมื่ออากาศหนาว

SENIOR CARE ดูแลผู้สูงวัยเมื่ออากาศหนาว เมื่อฤดู หนาว มาเยือน ร่างกายของผู้สูงอายุมักมีปฏิกิริยาที่ไวต่อสภาพอากาศ บางคนอาจมีอาการคัดจมูก น้ำมูกไหล รวมไปถึงการแสดงอาการออกทางผิวหนังที่ไม่ควรปล่อยปละละเลย ทางด้าน นายวีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ แนะนำการดูแลตัวเองของผู้สูงอายุในช่วงฤดูหนาว เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนที่อาจตามมา มีวิธีดูแลตัวเองเบื้องต้น ดังนี้ 1.สวมใส่เสื้อผ้าที่มีความหนา หรือห่มผ้าในตอนนอน เพื่อรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อบอุ่นอยู่เสมอ 2.หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีอากาศเย็น และหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีผู้คนหนาแน่น หากออกจากที่พักอาศัยควรสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง 3.หมั่นล้างมือบ่อย ๆ โดยเลี่ยงการใช้น้ำอุ่น และหลังล้างมือควรทาแฮนด์ครีม เพื่อป้องกันผิวหนังแห้งแตก 4.เคลื่อนไหวร่างกายบ่อย ๆ ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การยืดเหยียด หรือออกกำลังกายในระดับปานกลาง อย่างน้อยวันละ 30 นาที โดยเฉลี่ยสัปดาห์ละ 5 วัน 5.กินอาหารร้อน ๆ ปรุงสุกใหม่ ควรเลือกกินอาหารที่หลากหลายและครบ 5 หมู่ เพื่อเพิ่มภูมิต้านทานให้กับร่างกาย 6.ดื่มน้ำอุ่นวันละ 6 – 8 แก้ว ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นไข้หวัด 7.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ โดยผู้สูงวัย […]

6 ข้อควรรู้ ยกเวตให้อ่อนวัย

6 ข้อควรรู้ ยกเวตให้อ่อนวัย เวตเทรนนิ่ง เป็นผู้ช่วยชั้นดีในการชะลอวัยและยืดอายุมวลกล้ามเนื้อ รวมไปถึงมวลกระดูกของวัยกลางคนไปจนถึงผู้สูงวัย วันนี้เราจึงนําข้อควรรู้เกี่ยวกับการยกเวตสําหรับผู้ใหญ่ตามคําแนะนําของอัลวิน  คอสโกรฟ อดีตแชมป์เทควันโดทีมชาติและโค้ชนักกีฬาอาชีพจากสกอตแลนด์ มาฝากกันค่ะ ยิ่งอายุมาก ยิ่งต้องเล่นเวต  อ้างอิงจากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์  ประเทศแคนาดา ซึ่งระบุว่า การออกกําลังกายเพื่อความแข็งแรงของกล้ามเนื้อช่วยชะลอวัยในระดับเซลล์ได้ถึง 20 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นควรหาเวลาเข้ายิมแล้วเล่นเวตเทรนนิ่งเพื่อเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ รับรองเห็นผลลัพธ์ชัวร์ ไม่หยุดพัฒนาศักยภาพ หลายคนจำกัดขีดความสามารถตนเองด้วยเงื่อนไขของวัย ซึ่งความจริงแล้วไม่ว่าวัยไหน การออกกำลังกายอย่างเวตเทรนนิ่งควรมีการพัฒนาและเพิ่มระดับความยากขึ้น เพราะชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าการฝึกฝน (Training) เริ่มจากการเพิ่มน้ำหนักและจำนวนครั้งในการยกเวตอย่างเป็นขั้นตอนและเป็นระบบ เช่น เพิ่มน้ำหนักขึ้นสัปดาห์ละ 2.5 กิโลกรัม และเพิ่มจำนวนครั้งขึ้นสัปดาห์ละ 10-15 ครั้ง จะช่วยพัฒนาศักยภาพและยังช่วยเผาผลาญพลังงานได้ดีขึ้น ฝึกฝนหนักไม่ใช่การทําร้ายตัวเอง การฝึกฝนคือกระบวนการจัดการกับความเครียดที่เกิดขึ้นให้อยู่ในระดับที่พอเหมาะ หากเครียดน้อยไป ผลลัพธ์ก็จะน้อยตามไปด้วย แต่หากเครียดมากไป ร่างกายก็จะไม่สามารถฟื้นฟูตัวเองเพื่อรับมือกับกิจกรรมถัดไปได้  ดังนั้นการฝึกฝนและรักษาความสม่ำเสมอในการเล่นเวตจึงช่วยให้ร่างกายคุ้นชินกับความเครียดที่เกิดขึ้นและเปลี่ยนเป็นทักษะที่พัฒนาขึ้นได้อีกเรื่อยๆ ช่วยให้เราสามารถออกกําลังกายได้ในระยะยาว ไม่จําเป็นต้องทําตามคนรุ่นใหม่ แม้คนรุ่นใหม่จะเปรียบเสมือนตัวแทนของความรู้ด้านสุขภาพที่ก้าวหน้า แต่บางครั้งการนั่งบนม้านั่งยกดัมบ์เบลจนกล้ามแขนโตในขณะที่ช่วงตัวเล็กก็ไม่ใช่จุดมุ่งหมายของทุกคน  ดังนั้นการเล่นบอดี้เวตแบบผสมผสานที่ช่วยเพิ่มความแข็งแรงของร่างกายและความกระฉับกระเฉง เช่น สควอต  วิดพื้น  เดดลิฟต์  ก็เป็นอีกท่า ทางเลือกที่ช่วยให้กล้ามเนื้อได้ทํางานสอดคล้องกันในหลายๆ ส่วน น้ำหนักที่มากไม่ได้ทําให้ล่ำ […]

สมาร์ทได้ในวัย 50+

สมาร์ทได้ในวัย 50+ คนส่วนใหญ่มักนึกว่าความกระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวาจะมีเฉพาะในวัยเด็กและวัยหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ความเป็นจริงคนวัย 50+ ก็คงความสดใส มีชีวิตชีวาได้ไม่แพ้คนวัยอื่นๆ เลย เหตุผลที่ยังคงสมาร์ทได้ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์ประเสริฐ อัสสันชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าวไว้ว่า มนุษย์สามารถมีอายุได้ถึง 122 ปี ดังเช่นผู้หญิงชาวฝรั่งเศสคนหนึ่ง ชื่อจอง คราวเดอมองก์ เธอมีอายุยืนยาวแข็งแรงถึง 122 ปี ดังนั้น ถ้าเราคิดว่า พออายุ 60 ปี เกษียณราชการแล้วจะต้องกลายเป็นคนแก่ ทำอะไรไม่ได้ ไม่มีความหวัง ไม่ได้ เพราะเท่ากับเรายังใช้ชีวิตมาไม่ถึงครึ่งทางเลย เหลือเวลาอีกตั้ง 62 ปีกว่าที่จะถึงอายุขัยจริงๆ ของเรา ส่วนด้านกายภาพ ถ้าจะบอกว่า สูงอายุแล้วร่างกายมีแต่จะเสื่อมลงเพียงอย่างเดียว ก็ไม่เป็นความจริง เพราะมีงานวิจัยหนึ่งในผู้สูงอายุพบว่า กล้ามเนื้อของผู้สูงอายุสามารถเพิ่มเติมขึ้นได้ด้วยการออกกำลังกาย แต่หากนั่งๆ นอนๆ โดยไม่ทำอะไร จะยิ่งทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงมากขึ้น ฟังเหตุผลดีๆ อย่างนี้แล้ว คงรู้สึกกระชุ่มกระชวยขึ้นมาทันควันเลยใช่ไหมคะ อายุเท่าไรไม่สำคัญ อยู่ที่วิธีคิดและการใช้ชีวิตประจำวันมากกว่า 3 เสาสร้างสุขภาพ […]

keyboard_arrow_up