โรคต่างๆ
ป้องกันและต้านโรค รวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพ อาการและโรคที่พบบ่อย พร้อมวิธีการป้องกัน รักษาได้ด้วยตัวเอง ก่อนไปพบเเพทย์
โรคต้อหิน อาการที่ไม่ควรมองข้าม และต้องรีบรักษาก่อนจะสายเกินไป
โรคต้อหิน หนึ่งในโรค ที่คนไม่ค่อยอยากให้เกิดกับตัว มากพอๆ กับโรคร้ายแรงชนิดอื่น เพราะเมื่อไรที่เป็นแล้ว ส่วนมากจะทำให้เกิดการสูญเสียการมองเห็น ดังนั้นเรามารู้จัก กับโรคนี้ให้มากขึ้นกันดีกว่า ต้อหินเป็นโรคชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ทั่วไป เกิดขึ้นจาก การเสื่อมของเส้นประสาทตา โดยสาเหตุ มักมาจากความดันลูกตาสูงเกิด ทำให้เกิดการกดทับที่ขั้วประสาทตา ซึ่งหากเรารู้แต่เนิ่นๆ อาจมีโอกาสรักษาได้ แต่หากปล่อยไป จะทำให้สูญเสียการมองเห็นได้ ซึ่งอาการแบบนี้ นับได้ว่าเป็น ปัจจัยหลักสำคัญ ที่ทำให้คนตาบอด ได้มากเป็นอันดับสอง รองจากอาการต้อกระจก ซึ่งต้อหิน มักจะเกิดขึ้นกับคนที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป และยิ่งหากมีประวัติคนในครอบครัว เคยมีอาการแบบนี้ ยิ่งควรระวังให้มากขึ้น นอกจากนี้ คนที่มีโรคประจำตัวอย่าง เบาหวาน ไทรอยด์ หรือคนที่มีสายตาผิดปกติ เช่น สายตาสั้น ยาว เอียง ก็เป็นสาเหตุ ทำให้เกิดต้อหินได้เช่นกัน มาเช็กก่อนดีกว่า ว่าอาการเบื้องต้นของ “โรคต้อหิน” เป็นยังไง โดยทั่วไป จะแบ่งออกเป็น 2 ชนิด – ต้อหินมุมปิด : […]
คนออฟฟิศระวังให้ดี กับอาการปวดหลังล่าง
ปวดหลังส่วนล่าง อาการที่คนวัยทำงานเป็นกันตลอด นั่งทำงานนานๆ ไม่ยอมลุกไปไหน เพราะติดภารกิจไม่ว่าจะเป็นงานที่ต้องทำ ประชุมอีกสารพัด งานเร่ง งานด่วน และอีกมากมาย ทำให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามตัวจนกลายเป็นออฟฟิศซิมโดรม ไม่เพียงแค่นี้แต่ยังมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย อย่างการปวดหลังส่วนล่าง ทำให้เราต้องทรมาณกับการนั่งไปอีกแสนนาน ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับการปวดหลังกันก่อน อาการปวดหลังสามารถเกิดได้จากการเคลื่อนไหวที่ผิดวิธี หรือเกิดจากการยืน และนั่งเป็นเวลานาน จนทำให้เกิดการกดทับบริเวณกล้ามเนื้อหลังตรงช่วงล่าง มีผลให้กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว จึงเป็นสาเหตุสำคัญให้เราเกิดอาการปวดได้ ความจริงแล้วไม่ใช่คนที่นั่งนาน หรือยืนนานเท่านั้นที่จะเป็นอาการนี้ แต่คนที่มีน้ำหนักตัวมากเกินก็มีความเสี่ยงจะเกิดอาการนี้ได้เช่นกัน นอกจากนี้อาการปวดหลังสามารถย่อยได้อีกแบ่งเป็น 3 ส่วน คือ ปวดหลังส่วนบน ปวดหลังส่วนกลาง และ ปวดหลังส่วนล่าง แต่สำหรับคนในวัยทำงานแล้ วมักจะพบอาการปวดหลังส่วนล่างมากกว่าส่วนอื่นๆ โดยอาการคือ จะปวดส่วนบั้นเอวร้าวไปจนถึงช่วงก้นกบ การปวดหลังล่าง อาจไม่ใช่แค่การปวดทั่วไป แต่บางครั้งเป็นสัญญาณเตือนของการเกิดโรคต่างๆ ได้อีก เช่น – โรคหมอนรองกระดูก – โรคการอักเสบที่ไม่ใช่ติดเชื้อ – โรคช่องกระดูกสันหลังตีน – โรคของเอ็นและกล้ามเนื้อหลัง – โรคเกี่ยวกับการผิดรูปของกระดูกสันหลัง – โรคไต โรคหลอดเลือดหัวใจ หรือโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหาร […]
โรคมือแม่บ้าน อีกหนึ่งโรคที่ฮิตในหมู่คนวัยทำงาน
โรคมือแม่บ้าน ชื่อนี้อาจไม่คุ้นหูสำหรับหลายคน แต่มักจะเกิดกับคนที่ทำงานบ้านหนักเป็นส่วนใหญ่ ไม่ว่าจะปัดกวางเช็ดถู ซักผ้า รีดเสื้อ ซื้อของ ซึ่งทุกการกระทำล้วนส่งผลโดยตรงต่อมือของเรา และมักเกิดขึ้นกับผู้หญิงที่ทำงานบ้านเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นที่มาของชื่อ โรคมือแม่บ้านนั่นเอง อาการที่เห็นเด่นชัดเลยคือ ปวดข้อมือ และปลอกหุ้มเอ็นนิ้วหัวแม่มืออักเสบ จะรู้สึกเจ็บปวด และตึงบริเวณข้อมือฝั่งนิ้วหัวแม่มืออย่างมาก และเมื่อต้องใช้งานหนักๆ อย่างเขียนหนังสือ ขับรถ เปิดขวดน้ำ จะยิ่งรู้สึกเจ็บมากกว่าเดิม การรักษาแบบง่ายๆ ตามแพทย์แผนจีนบอกไว้ว่า – อย่างแรกเลยคือลดการใช้งานในท่าทางที่ต้องใช้กล้ามเนื้อในส่วนนั้น ให้น้อยลง – ลองสังเกตตัวเองว่า มักทำท่าทางแบบเดิมๆ เช่น คล้องกระเป๋าไว้ที่แขนท่องล่าง หรือมีการใช้นิ้วหัวแม่มือในงานต่างๆ ที่ต้องค้างไว้นานๆ หรือเปล่า – เมื่อรู้สึกเริ่มตึง หรือมีอาการเจ็บเล็กน้อยให้แช่มือในน้ำอุ่นประมาณ 15 – 20 นาที เป็นประจำทุกวันเพื่อช่วยบรรเทาอาการ – ถ้าทำทุกอย่างแล้วอาการไม่ดีขึ้น อาจต้องไปพบแพทย์ เพื่อรักษาด้วยวิธีต่างๆ กันต่อไป หรือจะใช้วิธีการฝังเข็มก็ถือเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีเช่นกัน ที่มา : โรงพยาบาลหัวเฉียว แพทย์แผนจีน เนื้อหาเพิ่มเติมอื่นๆ ที่น่าสนใจ ปวดข้อมือไม่หาย […]
รู้หรือไม่ ผู้ชายก็มีความเสี่ยงจะเป็นมะเร็งเต้านมได้ !
มะเร็งเต้านมผู้ชาย คำนี้เราเคยได้ยินกันบ้างไหม ? ถึงแม้ว่าโรคมะเร็งเต้านม ส่วนใหญ่แล้วมักจะเกิดกับผู้หญิง มากที่สุดเป็นอันดับ 1 ของโรคมะเร็งทั้งหมด แต่ความจริงแล้วมะเร็งเต้านม ไม่ได้เกิดขึ้นได้กับผู้หญิงเท่านั้น เพราะผู้ชายก็สามารถพบเจอได้เช่นกัน สำหรับโรคมะเร็งเต้านมในผู้ชาย อาจไม่ค่อยเป็นที่รู้จักกันเท่าไร เนื่องจากจะพบได้น้อยคน ถ้าเปรียบเทียบกับผู้หญิง และสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดขึ้นก็ไม่แตกต่างกันเท่าไร ซึ่งสาเหตุที่เป็นปัจจัยเสี่ยง มีด้วยกันหลายข้อ ไม่ว่าจะเป็น คนในครอบครัวเคยมีประวัติการเป็นมะเร็งมาก่อน, เป็นเพศชายแต่มีระดับฮอร์โมเอสโตรเจน หรือฮอร์โมนผู้หญิงมากกว่าปกติทั่วไป, คนที่เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีฉายรังสีบริเวณหน้าอก, มีความผิดปกติบริเวณลูกอัณฑะ, มีอายุ 60 ปีขึ้นไป, น้ำหนักตัวเกินมาตราฐาน และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป สามารถเช็กความผิดปกติที่เข้าข่ายจะเป็นมะเร็งเต้านมได้ด้วยวิธีการสังเกตุง่ายๆ – หัวนมบอด หัวนมยุบ และหัวนมมีอาการแดงกว่าปกติ – รู้สึกมีก้อนแข็งๆ บริเวณเต้านม แต่ไม่รู้สึกถึงการเจ็บ ถึงแม้ว่าจะบีบแรงแค่ไหน – เริ่มมีผื่นขึ้นบริเวณเต้านม – มีแผล และเริ่มล่ามไปทั่วเต้านม – ของเหลว เช่น เลือด น้ำ ไหลออกจากเต้านม ถึงแม้ว่าการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้ชายจะพบได้น้อย แต่ใช่ว่าจะปล่อยปะละเลย โดยส่วนมากคนที่มาหาหมอ จะมาในระยะลุกลาม หรือระยะที่รักษาได้ยาก […]
กรวยไตอักเสบ ภัยร้ายใกล้ตัวของคนชอบอั้น
อั้นนานๆ ระวัง กรวยไตอักเสบ กรวยไตอักเสบ แม้ไม่ใช่โรคผู้หญิงโดยตรง ก็เป็นโรคที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะมาก เพราะต้องอั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะด้วยหาห้องน้ำเข้าไม่ได้ หรือเพราะห้องน้ำที่เจอไม่สะอาดพอให้สบายใจที่จะขับถ่าย วันนี้เรามารู้จักโรคนี้กันสักหน่อยดีกว่าค่ะ กรวยไตอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ ซึ่งเชื้อที่เป็นปัญหาอยู่บ่อยๆ คือเชื้ออีโคไล ( E.coli) โดยมักเป็นอาการที่เกิดขึ้นได้ทั้งอย่างเฉียบพลัน และแบบเรื้อรัง นอกจากนั้นยังพบในผู้หญิงได้มากกว่าผู้ชาย และใครจะเชื่อว่า แค่เพราะกรวยไตอักเสบ หากไม่รักษา ก็อาจทำให้เสียชีวิตได้เลยนะคะ กลุ่มเสี่ยง ต้องระวังตัว ผู้หญิง เพราะท่อปัสสาวะสั้นกว่าผู้ชาย รวมถึงว่าอยู่ใกล้ช่องคลอด และทวารหนัก ผู้หญิงท้อง เพราะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น ทำให้ความดันในท่อไตสูง จนอาจเกิดกรวยไตอุดตันและติดเชื้อ ผู้ที่เคยส่องกล้อง หรือผ่าตัดในระบบทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่กลั้นปัสสาวะบ่อย ดื่มน้ำน้อย ทำให้มีปัสสาวะค้างในกระเพาะปัสสาวะ ผู้ที่เกิดการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ ผู้ที่ระบบทางเดินปัสสาวะผิดปกติ อาการ หนาวสั่น ไข้ขึ้นสูง อาเจียน ปวดสีข้าง หรือบั้นเอวอย่างเฉียบพลัน ปัสสาวะบ่อย รู้สึกปวดปัสสาวะตลอดเวลา ปัสสาวะมีกลิ่นเหม็น สีขุ่น มีเลือดปนหนอง หากมีอาการเหล่านี้ ควรรีบไปพบแพทย์เป็นการด่วน การป้องกัน แม้เป็นโรคที่ผู้หญิงเป็นกันเยอะ […]
เมื่อตกใจจนเกิดเป็น “โรคแพนิก” ควรรับมือกับมันยังไง ?
โรคแพนิก อาการตกใจหรือตื่นตระหนก วิตกกังวลอย่างกะทันหัน และมีอาการรุนแรงมากกว่าทั่วไป ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดขึ้นไม่ได้มีเหตุการณ์ที่เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดขึ้นได้ แต่เรารู้สึกกังวลและเครียดขึ้นมาก่อน สำหรับในไทยสามารถพบคนที่เกิดอาการนี้ได้ถึงร้อยละ 3 – 5 และส่วนใหญ่มักเคยเกิดอาการแบบนี้ อย่างน้อยหนึ่งถึงสองครั้งในชีวิตได้ เมื่อมีอาการแพนิกเกิดขึ้น สมองที่เป็นส่วนเกี่ยวข้องกับอารมณ์ “อะมิกดาลา” (Amygdala) จะส่งสัญญาณไปที่ระบบประสาท ให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลิน ทำให้เรารู้สึกตื่นเต้น ใจเต้นรั่ว รู้สึกปั่นป่วนไปทั่วท้อง ตัวเริ่มเกร็ง ชา เหงื่อแตก ทำอะไรไม่ถูก รู้สึกไม่เป็นตัวเอง สำหรับวิธีการรับมือเบื้องต้นทำได้ง่ายๆ โดย – พยายามหายใจเข้าออกอย่างช้าๆ เมื่อเริ่มรู้สึกหายใจติดขัด ให้เริ่มหายใจทางปาก และตั้งสติให้ได้มากที่สุด – หลับตาลงช้าๆ และค่อยๆ คุยกับตัวเองดึงสติกลับมา การหลับตาจะช่วยให้จิตใจเราสงบมากขึ้น – ผ่อนคลายกล้ามเนื้อ เริ่มจากคลายมือที่เกร็ง ค่อยๆ ขยับไปมาอย่างช้าๆ และทำร่างกายให้สบายๆ เมื่อเกิดอาการแพนิก ส่วนใหญ่แล้วจะสามารถหายได้เอง โดยใช้เวลาประมาณ 10 – 15 นาที แต่ทั้งนี้ก็ต้องมีตัวช่วยและวิธีการรับมือที่ดีเช่นกัน หากรู้สึกว่าอาการไม่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์เพื่อหาทางแก้ไขต่อไป อ่านบทความอื่นๆ […]
จบปัญหา โรคอ้วน ลงพุง เพื่อหยุดสารพัดโรคที่จะตามมา
จบปัญหา โรคอ้วน ลงพุง เพื่อหยุดสารพัดโรคที่จะตามมา โรคอ้วน ลงพุง เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป เกิดจากการเผาผลาญอาหารผิดปกติ ไขมันหน้าท้องแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระ ซึ่งจะยับยั้งกระบวนการเผาผลาญกลูโคสที่กล้ามเนื้อ ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เกิดภาวะหลอดเลือดแดงแข็ง ตีบ หรืออุดตัน ในผู้หญิ งมากกว่าร้อยละ 30 และในผู้ชายมากกว่าร้อยละ 25 เป็นโรคอ้วน และถ้ารอบเอวเพิ่มขึ้นทุก ๆ 5 เซนติเมตร จะยิ่งเพิ่มโอกาสในการเป็นโรคเบาหวานได้มาก 3-5 เท่า เราอ้วนหรือไม่อ้วน? รศ.ดร.นพวรรณ เปียซื่อ โรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ได้บอกไว้ว่า วิธีการสังเกตว่าเราอ้วนหรือไม่ ทำได้ง่ายๆ โดยการวัดส่วนสูง น้ำหนักตัว และเส้นรอบเอว แล้วนำมาพิจารณาดังนี้ น้ำหนักตัวที่เหมาะสมเทียบกับส่วนสูง น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ที่เหมาะสมสำหรับผู้หญิงเท่ากับส่วนสูง (เซนติเมตร) ลบด้วย 110 น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) ที่เหมาะสมสำหรับผู้ชายเท่ากับส่วนสูง (เซนติเมตร) ลบ 100 เช่น ผู้หญิงคนหนึ่งสูง […]
ประจำเดือนมาน้อย แก้ได้ด้วยอาหารชีวจิต ปรับสมดุลฮอร์โมน
ประจำเดือนมาน้อย แก้ได้ด้วยอาหารชีวจิต ปรับสมดุลฮอร์โมน ใครมีปัญหาเรื่องประจำเดือนกันบ้าง ถ้ามี ต้องลองอาหารที่ช่วย ปรับสมดุลฮอร์โมน เพราะช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนมาน้อย นานๆ มาที ร่วมกับมีสิวเยอะ หน้ามัน ขนดก ผู้ที่ประจำเดือนมาน้อย คุณหมอชัญวลียังอธิบายเรื่องนี้ว่า “ปัจจุบันพบว่าผู้หญิงไทยหนึ่งในห้ามีภาวะอ้วน ฉะนั้นจึงมีโอกาสเป็นโรค PCOS (Polycystic Ovary Syndrome) คือ กลุ่มอาการถุงน้ำจำนวนมากในรังไข่ ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อย นานๆ มาที ร่วมกับมีสิวเยอะ หน้ามัน ขนดก “ภาวะประจำเดือนมาน้อยที่ว่านี้คือ มาแค่วันเดียวและมีปริมาณน้อยจนไม่เต็มผ้าอนามัย 1 ชิ้น อีกทั้งนานๆ มาครั้ง คือรอบประจำเดือนยาวเกินกว่า 35 วัน คุณผู้หญิงบางท่านประจำเดือนมาน้อยมาก มาครั้งหนึ่งหยดเดียว เท่านั้นยังไม่พอ ปีหนึ่งดันมาเพียงครั้งเดียว จวนเจียนจะเรียกว่าประจำปีอยู่รอมร่อ กรณีแบบนี้ พบได้บ่อย ควรมาพบแพทย์ ทว่าอาการมักไม่ใช่โรคร้ายแรง “นอกจากความอ้วนที่ส่งผลให้ประจำเดือนมาน้อยแล้ว ยังมีสาเหตุจากการผอมเกินไป มีปัญหาทางจิตใจ ซึมเศร้า เครียดหรือกังวล จึงส่งผลกระทบต่อฮอร์โมนโดยตรง” ภูมิชีวิตและอาหารชีวจิตปรับสมดุลฮอร์โมน อาจารย์สาทิสแนะนำอาหารที่ช่วยปรับสมดุลฮอร์โมนทั้งคนผอมและคนอ้วนไว้ว่า […]
เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลสุขภาพลำไส้ ช่วยห่างไกลจาก โรคมะเร็งลำไส้
เคล็ดลับง่ายๆ ดูแลสุขภาพลำไส้ ช่วยห่างไกลจาก โรคมะเร็งลำไส้ โรคมะเร็งลำไส้ เป็นอีกหนึ่งโรคที่หลายคนเสี่ยงเป็นกันมาก บางคนมีปัญหาเรื่องท้องผูกมาตั้งแต่เด็กๆ อาจเป็นเพราะพฤติกรรมการกินที่ไม่กินผักผลไม้ ร่างกายไม่ได้รับไฟเบอร์เพียงพอ และดื่มน้ำน้อย ทำให้ระบบขับถ่ายทำงานไม่ดี หากปล่อยให้ท้องผูกเรื้อรังจนมองว่าเป็นเรื่องปกติในชีวิต พฤติกรรมนี้คือสัญญาณหนึ่งที่บอกว่าคุณมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ในอนาคต นายแพทย์วิล บัลซ์วิตซ์ ผู้เขียนหนังสือ Fiber Fueled ระบุถึงวิธีง่ายๆ ที่ช่วยให้ลำไส้ทำงานได้ดี สุขภาพแข็งแรงและดูอ่อนวัย ดังนี้ ㆍ ดื่มน้ำอุ่น 1 แก้วหลังตื่นนอนแล้วนวดท้องเบาๆ กระตุ้นการขับถ่าย ㆍ กินธัญพืช เช่น ลูกเดือย ข้าวโอ๊ต แมงลัก เมล็ดแฟลกซ์ ฯลฯ อย่างน้อยวันละ 3 ซ้อนโต๊ะ ㆍ กินถั่วต่างๆอย่างน้อยวันละ 1 กำมือเป็นอาหารว่าง ㆍ แบ่งครึ่งอาหารก่อนกิน เมื่อกินให้เคี้ยวช้าๆ แล้วจะพบว่าคุณกินอาหารน้อยลง ㆍ กินผักผลไม้สดแทนขนมหวาน ㆍ ดื่มชาเขียวหรือชาสมุนไพรที่ชอบอย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง ㆍ ทำติดต่อกัน 1 […]
ลดความเครียด แบบนักจิตวิทยาได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณอาจมองข้าม
ลดความเครียด แบบนักจิตวิทยาได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณอาจมองข้าม ดอกเตอร์เควิน แชปแมน นักจิตวิทยาคลินิกและผู้อำนวยการ The Kentucky Center for Anxiety and Related Disorders รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา ระบุถึงวิธี ลดความเครียด ไว้ดังนี้ จดจ่อกับปัจจัยที่ควบคุมได้ ปัญหาหรือปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ให้พักไว้ก่อน หลังตื่นนอนให้เขียนสิ่งที่ต้องทำโดยเรียงลำดับตามความสำคัญและทำเท่าที่ทำได้ จัดวันพักผ่อนให้ตัวเองโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลยอย่างน้อย 1 วันใน 1 สัปดาห์ ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20 นาที ต่อเนื่อง และยืดเหยียดร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกายอีก 10 – 15 นาที จดบันทึกเรื่องราวดีๆ และสิ่งที่ทำให้คุณยิ้มหรือหัวเราะได้อย่างน้อยวันละ 1 เรื่อง ทำงานฝีมือ เพราะเป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ร่วมกับการฝึกสมาธิไปพร้อม ๆ กัน ฝึกโยคะในท่าที่ได้ก้มหัวลง เช่น ท่าสุนัขแลลง (Downward-Facing Dog) จะทำให้เลือดไหลไปที่สมองได้มากขึ้น ปฏิเสธให้เป็น การทำในสิ่งที่ฝืนใจไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกดี แต่มันจะส่งผลในทางตรงข้ามเสมอ […]
ผอม ใครบอกไม่เสี่ยงป่วย สารพัดโรคร้ายที่คนผอมก็เป็นได้
ผอม ใครบอกไม่เสี่ยงป่วย สารพัดโรคร้ายที่คนผอมก็เป็นได้ คุณเป็นคนหนึ่งที่รูปร่าง ผอม แต่กลับมีโรครุมเร้าอยู่หรือไม่ เพราะคนที่มีน้ำหนักน้อยอาจพบว่ามีไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และกระดุกพรุนได้เช่นกัน สาเหตุของความผอม องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ดัชนีมวลกาย เป็นเกณฑ์ในการคัดกรองผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐาน เกินเกณฑ์มาตรฐาน หรือเป็นโรคอ้วนได้ ในผู้ใหญ่ชาวเอเชียที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป หากมีค่า BMI 18.5 – 22.90 แสดงว่า น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติ แต่หากน้อยกว่า 18.5 แสดงว่า อยู่ในเกณฑ์น้ำหนักน้อยหรือผอม ผู้มีภาวะผอม อาจมีสาเหตุแตกต่างกันไป เช่น -พันธุกรรม บางคนมีค่าดัชนีมวลกายต่ำตามธรรมชาติ เนื่องจากลักษณะทางกายภาพภายในครอบครัว -เมตาบอลิซึมสูง การมีระบบเผาผลาญพลังงานสูงอาจเป็นสาเหตุของความผอม -การออกกำลังกายเป็นประจำ นักกีฬาหรือผู้ที่ทำกิจกรรมทางกายภาพในระดับสูง เช่น นักวิ่ง -โรคทางกายหรือโรคเรื้อรัง เช่น มีความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน -ปัญหาสุขภาพจิต เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคอะนอเร็กเซีย (anorexia) […]
5 วิธีช่วยลดอาการ ภูมิแพ้เหงื่อ
อะไรคือ ภูมิแพ้เหงื่อ มันเกิดจากอะไร ? บางคนอาจแพ้เกสรดอกไม้ บางคนอาจแพ้ขนสัตว์ แต่รู้หรือไม่ว่า มีบางคนที่แพ้เหงื่อ ฟังไม่ผิดหรอกค่ะเหงื่อของตัวเราเองนิแหละที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ค่ะ มาทำความรู้จักโรคนี้พร้อมวิธีป้องกันกันดีกว่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงเพ็ญวดี พัฒนปรีชากุล คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล อธิบายว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้เมื่อสัมผัสเหงื่อตนเองจะเกิดจุดนูนแดง และขยายขนาดออกเป็นปิ้นนูนคัน ซึ่งเป็นลักษณะของผื่นลมพิษ โดยทั่วไปอาการจะไม่รุนแรงและยุบหายได้เอง ภายในเวลา 30 นาที – 1 ชั่วโมง นาน แต่มักไม่เกิน 24 ชั่วโมง แนวทางการป้องกันการแพ้เหงื่อนั้น แพทย์หญิงเพ็ญวดี แนะนำไว้ 5 ข้อ ดังนี้ งดเดินทางไปในสถานที่ที่มีอากาศร้อน หากต้องการออกกำลังกาย ให้เลือกสถานที่ที่มีอากาศถ่ายเทได้ดี ไม่ร้อนจัด หลีกเลี่ยงปัจจัยที่ก่อความเครียด งดกินอาหารร้อน อาหารเผ็ด ชา กาแฟ และ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ สวมใส่เสื้อผ้าเนื้อบางเบา ไม่รัดแน่น ระบายความร้อนได้ดี แม้ส่วนใหญ่จะมีอาการแพ้ไม่มาก แต่มีบางกรณีที่มีอาการแพ้รุนแรงถึงขั้นเป็นอันตรายถึงชีวิต โดยจะมีอาการปากบวม ตาบวม แน่นหน้าอก […]
ปวดไมเกรน รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ?
อาการแบบไหนถึงเรียกว่า ปวดไมเกรน ? คนที่ปวดศีรษะไมเกรนมักจะมีอาการปวดศีรษะแบบ ตุบ ๆ เป็นจังหวะ มักจะเกิดข้างเดียวของศีรษะ แต่ก็สามารถเป็นทั้งสองข้างได้ โดยอาการปวดในช่วงแรกมักมี ความรุนแรงเพียงเล็กน้อยและจะค่อย ๆ เพิ่มความรุนแรงขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนแรง และไวต่อแสง เสียง หรือกลิ่นมากขึ้น อยากห่างไกลไมเกรนต้องทำอย่างไร คนที่เป็นโรคไมเกรนควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ หมั่นออกกำลังกาย หลีกเลี่ยงสิ่งเร้าหรือ สิ่งกระตุ้นที่ทำให้เกิดอาการปวดหัว ลดความเครียด พักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มในกลุ่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด เพื่อป้องกันไม่ให้อาการปวดหัวกำเริบ ส่วนคนทั่วไปก็ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ทำกิจกรรมที่ช่วยให้ผ่อนคลาย หากพบว่าตนเองมีอาการปวดหัวข้างเดียวบ่อย ๆ ก็มิได้หมายความว่าจะเป็นโรคไมเกรนเสมอไป ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อหาสาเหตุและ แนวทางการรักษาอย่างเร่งด่วน เพื่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของตัวคุณเอง “ปวดไมเกรน” รักษาให้หายขาดได้หรือไม่ ? อาการปวดหัวไมเกรนไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ เพียงแต่ให้การรักษาเพื่อลดโอกาสการเกิดอาการปวดหัวไมเกรน เพราะฉะนั้น หัวใจสำคัญในการรักษาไมเกรนก็คือ การรับมือและ การป้องกันกับอาการปวด เพื่อให้ผู้ป่วยลดความทรมานจากการปวดหัว และสามารถ ดำเนินชีวิตประจำวันได้ การรักษาอาการไมเกรนถ้าเป็นทางการแพทย์ก็จะพิจารณาตามระดับ ความรุนแรงของอาการปวด โดยหลัก ๆ แล้วจะเป็นการให้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด […]
3 พฤติกรรมอันตราย ก่อโรคหัวใจ
3 พฤติกรรมอันตราย ก่อโรคหัวใจ ไม่รู้ตัว พฤติกรรมที่ชวน ก่อโรคหัวใจ เรารู้ดี ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหารอุดมไขมันเลว การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย แต่นอกจากนั้นก็ยังมีพฤติกรรมที่คาดไม่ถึง ที่ทำให้เกิดโรคหัวใจอีกด้วยค่ะ นายแพทย์เจมส์ เบคเคอร์ อายุรแพทย์โรคหัวใจ ประจำ Providence St. Vincent Heart Clinic-Cardiology สหรัฐอเมริกา ระบุว่า มีปัจจัยที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงโรคหัวใจที่คนทั่วไปอาจไม่ทราบ ดังนี้ ความสะอาดในช่องปาก หากเชื้อแบคที่เรียที่เหงือกเติบโตเข้าสู่กระแสโลหิตและเข้าสู่หัวใจจะทำให้เกิดการอักเสบ ดังนั้นขอแนะนำให้ทำความสะอาดช่องปากโดยการแปรงฟัน วันละ 2 ครั้ง และพบทันตแพทย์ทุกๆ 6 เดือนเพื่อขูดหินปูน และตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ การทำงานกะดึก งานวิจัยจากทีมของมหาวิทยาลัยเวสต์เทิร์น ประเทศแคนาดา พบว่า คนทำงานเป็นกะ ที่มีวงจรการนอนไม่สม่ำเสมอกินเวลาต่อเนื่อง 1 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงหัวใจวายมากกว่าคนทั่วไปอย่างมีนัยสำคัญ ปัญหาการจราจร ปัจจัยก่อความเครียดที่เกิดขึ้นขณะมีปัญหาจราจรเพียง 1 ชั่วโมง เช่น เสียงบีบแตร การขับรถอย่างเร่งรีบ และแม้แต่อากาศร้อน อาจส่งผลให้ฮอร์โมนคอร์ติซอลหรือฮอร์โมนความเครียดเพิ่มสูงขึ้น และหากปล่อยให้เกิดขึ้นเป็นประจำมีผลต่อกล้ามเนื้อหัวใจได้ เข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัย ปกติการเข้าสู่วัยทองในผู้หญิงจะอยู่ที่ช่วงอายุ ประมาณ 45-55 ปี แต่ถ้าเข้าสู่ภาวะวัยทองก่อนวัยดังกล่าว การลดระดับของฮอร์โมนอสโทรเจนจะส่งผลให้ความเสี่ยงโรคหัวใจเพิ่มสูงขึ้นถึง […]
เคล็ดลับ ลดเสี่ยง หัวใจวาย
5 เคล็ดลับ ลดความเสี่ยงการเกิด หัวใจวาย หัวใจวาย หรือหัวใจล้มเหลว เป็นอีกหนึ่งปัจจัยการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นได้ง่าย และไม่รู้ตัว แต่ถึงอย่างนั้นก็ยังมีวิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดภาวะหัวใจวายได้ คุณหมอสันต์ ใจยอดศิลป์ อธิบายว่า ในกรณีของคนอายุน้อย การป้องกันหัวใจล้มเหลวด้วยการดูแลปัจจัยเสี่ยง เช่น คุมน้ำหนัก ความดันโลหิต ระดับไขมันเลว ระดับน้ำตาลในเลือด ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ปรับไปกินผักผลไม้ให้มากขึ้น อย่างต่ำวันละ400 กรัม ออกกำลังกายเป็นประจำ และงดสูบบุหรี่ ซึ่งมีวิจัยยืนยันว่า หากทำได้จะช่วยลดอัตราตายก่อนวัยอันควร (ก่อนอายุ 70 ปี) ลงไปได้ถึงร้อยละ91 เลยทีเดียว แต่เรื่องสำคัญที่หลายคนอาจยังไม่ทราบว่าช่วยลดความเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวได้อีกนั้นคุณหมอสันต์ได้สรุปเป็นเคล็ดลับสั้นๆ จากงานวิจัยไว้ 5 ข้อ ดังนี้ ใจเย็นๆ เพราะการโมโหแบบปรี๊ดแตกเพิ่มโอกาสทำให้หลอดเลือดหดเกร็งและเสี่ยงภาวะหัวใจล้มเหลวกะทันหันเพิ่มขึ้น 8.5 เท่า งดกินอาหารไขมันมื้อหนักๆ การกินอาหารหนักๆ เพียงมื้อเดียว ทำให้หลอดเลือดหดตัวได้นานถึง 6 ชั่วโมง งดการเติมเกลือหรือใช้เครื่องปรุงรสเค็ม การกินเค็ม มีผลต่อระดับความดันโลหิตโดยตรง ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6 – 8 แก้ว หากร่างกายขาดน้ำ […]
ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ ทำอย่างไร เมื่อรู้ว่าตัวเอง ” เป็นมะเร็ง “
เป็นมะเร็ง รู้แล้วทำอย่างไรต่อ ปัจจุบันสถิติผู้ป่วยมะเร็งทียังมีปริมาณเพิ่มขึ้นสูงขึ้นในทุกๆ ปี ในแต่ละวัน และ “มะเร็ง” ยังคงเป็น 1 ใน 10 อันดับโรคร้ายที่เป็นภัยคร่าชีวิตคนไทยและผู้คนทั่วโลก โดยมีอัตราที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี มะเร็ง เป็นโรคร้ายที่ผู้คนทั่วโลกหวาดกลัว ด้วยอัตราการเสียชีวิตสูง และถือเป็นปัญหาสาธารณสุขระดับโลก อีกทั้งคนไทยยังมีความเชื่อว่าการ เป็นมะเร็ง ถือเป็น “โชคร้าย” และเป็นสัญญาณนับถอยหลังเวลาชีวิต เมื่อพบว่าป่วยเป็นโรคมะเร็ง หลายคนเกิดอาการช็อคทำอะไรไม่ถูก ซึ่งมีผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยที่พลาดโอกาสที่ดีที่สุดจากความสิ้นหวัง หมดกำลังใจ ไม่รู้จะเริ่มดูแลตนเองอย่างไรต่อไป จนบางครั้งเครียดจนปล่อยร่างกายโทรม เสียชีวิตในเวลาอันรวดเร็ว ทั้งที่ปัจจุบันมีวิวัฒนาการด้านการรักษาที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงขึ้น โดยเฉพาะเมื่อตรวจพบเร็ว และรีบตั้งหลักวางแผนการรักษาอย่างเหมาะสม จะช่วยเพิ่มโอกาสการรักษาให้หายเป็นปกติและมีคุณภาพชีวิตที่ดีตลอดระยะเวลารักษา รับมือมะเร็งอย่างไร ปัจจุบันวงการแพทย์พยายามแสวงหาหนทางในการปฏิบัติตัวและการรักษาด้วยเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีการพัฒนาเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก ผสมผสานกับแนวทางการรักษาแผนทางเลือกทั้งแผนไทย แผนจีนแผนสมุนไพร ควบคู่ไปกับหัวใจสำคัญของการรักษา คือ “กำลังใจและความร่วมมือดีที่ของผู้ป่วย” รวมทั้งของญาติผู้ดูแล นายแพทย์ธนุตม์ ก้วยเจริญพานิชก์ ผู้อำนวยการ โรงพยาบาลมะเร็งชีวามิตรา โรงพยาบาลเอกชนเฉพาะทางโรคมะเร็งแห่งแรกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แนะแนวทางการตั้งรับสำหรับผู้ที่พบตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ดังนี้ “ตั้งสติ”และยอมรับความจริง การมีสติจะช่วยให้ผู้ป่วยมองทุกอย่างอย่างตรงไปตรงมา และรู้ว่าตนเองจะต้องทำอย่างไรต่อไปเพื่อให้หายจากมะเร็ง แน่นอนว่าผู้ป่วยมักมีคำถามมากมายเกี่ยวกับโรคนี้ ดังนั้นผู้ป่วยควรปรึกษาคุณหมอเมื่อสงสัย ไม่คิดไปเอง ไม่วิตกเกินกว่าเหตุ ควรสอบถามและปรึกษาคุณหมอทุกอย่างเพื่อจะได้มีความรู้และความเข้าใจในการดูแลตนเอง ให้สามารถปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง และรักษามะเร็งให้หายขาด “รู้จักชนิดมะเร็งที่เป็น”ต้องรู้ว่าเป็นมะเร็งชนิดอะไร อยู่ในระยะไหน มีการแพร่กระจายไปที่ไหนหรือไม่ ซึ่งข้อมูลที่สำคัญเหล่านี้จะช่วยให้ผู้ป่วยหาข้อมูลที่จำเป็นได้อย่างถูกต้อง […]
โรคอ้วน ทำสุขภาพพังในระยะยาวได้อย่างไร มาดูกัน
โรคอ้วน เป็นหนึ่ง ได้แถมอีกเพียบ ทั่วโลกกำลังเผชิญกับปัญหา โรคอ้วน (Obesity disease) รายงานจาก World Obesity Federation ปีพ.ศ. 2565พบว่าทั่วโลกมีคนเป็นโรคอ้วน ประมาณ 800 ล้านคน ในจำนวนนี้ 39 ล้านคน เป็นเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และอีกประมาณ 340 ล้านคน เป็นเด็กและวัยรุ่นอายุ 5-19 ปี ปัญหาโรคอ้วน องค์การอนามัยโลก หรือ WHO รายงานว่า ในปี พ.ศ. 2559 ความชุก (prevalence) ของปัญหาน้ำหนักเกินและโรคอ้วนในผู้ใหญ่เท่ากับ 39% หรือมากกว่า 1.9 พันล้านคน เป็นไปในทิศทางเดียวกับประเทศไทย ปัจจุบันคนไทยมีภาวะโรคอ้วนเป็นอันดับ 2 ของอาเซียน รองจากมาเลเซีย และตัวเลขยังขยับขึ้นเรื่อยๆ โดยข้อมูลจากกองโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานความชุกของปัญหาน้ำหนักเกินหรืออ้วนในผู้ใหญ่ ในปีพ.ศ. 2564 […]
กินเป็น ก่อนแก้ ช่วย ป้องกันโรคไต ในระยะยาวได้
ป้องกันโรคไต ด้วยการกินอาหาร ผู้ป่วยโรคไตในปัจจุบันมีอัตราเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ และในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังกว่า 17.6 เปอร์เซ็นต์ เพื่อเป็นการจบต้นต่อการเกิดโรคไต การเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และดีต่อไตจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะไตไม่ได้มีหน้าที่แค่ขับถ่ายของเสียเท่านั้น แต่รวมถึงการรักษาสมดุลต่าง ๆ ของร่างกายด้วย เมื่อไตแข็งแรงก็จะมีสุขภาพที่ดีด้วย มาดูคำแนะนำวิธีการ ป้องกันโรคไต จากผู้เชี่ยวชาญกันค่ะ ว่าด้วยโรคไต พญ.นลินี สายประเสริฐกิจ แพทย์อายุศาสตร์โรคไต ศูนย์โรคไต รพ.กรุงเทพ กล่าวว่า คนเราจะมีไต 2 ข้างและทำหน้าที่ในการขับของเสียและดูดซึมน้ำ รักษาสมดุลเกลือแร่ กรดด่างของร่างกาย ควบคุมความดันโลหิต ผลิตฮอร์โมนควบคุมการทำงานของเม็ดเลือด รักษาสมดุลแคลเซียมต่างๆ เพราะฉะนั้นหากไตมีปัญหา จะทำให้ไตเกิดความผิดปกติทั้งหมด โดยโรคไตแบ่งออกเป็นไตวายเฉียบพลัน และ ไตวายเรื้อรัง ไตวายเฉียบพลัน คือ การทำงานของไตที่ผิดปกติในช่วงเวลาอันสั้น เกิดขึ้นโดยไม่ทันตั้งตัว แต่สามารถรักษาให้กลับสู่ภาวะปกติได้ ไตวายเรื้อรัง คือ ภาวะที่ไตมีความผิดปกติ ค่าการทำงานของไตต่ำลงเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่อง หรือมีระยะเวลานานกว่า 3 เดือน ใครเสี่ยงบ้าง กลุ่มเสี่ยงในการเกิดโรคไต อาทิ คนไข้ที่เป็นโรคเบาหวานอยู่แล้วจะมีความเสี่ยงเป็นโรคไตร่วมด้วย คนไข้ที่มีความดันโลหิตสูงจะสัมพันธ์กับไต […]