ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฉีดวัคซีนโควิดแล้วไม่ตอบสนอง ลองมาทำความรู้จัก LAAB ไปด้วยกัน

ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ฉีดวัคซีนโควิดแล้วไม่ตอบสนอง ลองมาทำความรู้จัก LAAB ไปด้วยกัน

ในภาวะที่โควิดกลับมาระบาดอีกครั้งสร้างความกังวลให้กับหลาย ๆ คน โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาภูมิคุ้มกันบกพร่อง จากโรคภัยต่างๆ รวมถึงผู้ที่ต้องรับยากดภูมิ ส่งผลให้ร่างกายตอบสนองกับวัคซีนโควิด-19 ได้ไม่ดีพอ วันนี้แอดจึงพาไปรู้จักกับอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจสำหรับผู้มีปัญหาดังกล่าว นั้นก็คือ LAAB หรือ ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป

สำหรับผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง เช่นผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ผู้ป่วยที่ได้รับการเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิ เมื่อได้รับวัคซีนไปแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่ดีเท่ากับคนทั่วๆ ไป เนื่องจากร่างกายอาจตอบสนองต่อวัคซีนได้ไม่เพียงพอ หรือสร้างภูมิคุ้มกันได้เองระดับหนึ่ง แต่เป็นระดับที่ไม่เพียงพอต่อการป้องกันโรคหรือมีปัญหาภูมิตกเร็ว จึงมีความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อและมีอาการรุนแรงจากโควิด-19 มากกว่าที่หลายคนคาดคิด

และเมื่อวัคซีนไม่ใช่คำตอบ การใช้ LAAB จึงเสริมภูมิคุ้มกันให้กับกลุ่มคนเหล่านี้

LAAB หรือ Long-acting Antibody เป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ที่ฉีดเข้าสู่ร่างกายในบริเวณกล้ามเนื้อสะโพก และสามารถออกฤทธิ์ได้เลยภายใน 6 ชั่วโมง จึงช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้กับประชากรกลุ่มเสี่ยงที่ตอบสนองต่อวัคซีนได้น้อยกว่าคนทั่วไป หรือไม่ตอบสนองต่อวัคซีน

มาถึงตรงนี้หลายคนอาจสงสัยว่าแล้ว LAAB แตกต่างจากวัคซีนธรรมดาอย่างไร หากหากเปรียบให้เข้าใจง่ายก็คือ วัคซีน คือ สารที่นำเข้าสู่ร่างกายด้วยวิธีการต่าง ๆ สำหรับวัคซีนโควิด-19 คือ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อบริเวณแขน เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิต้านทานโรค ในขณะที่ LAAB คือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป เมื่อฉีดแล้วร่างกายสามารถนำไปใช้ได้ทันที ซึ่งเร็วกว่าวัคซีนที่ใช้เวลานานกว่า 2 อาทิตย์เพื่อสร้างภูมิ แต่ LAAB  ซึ่งเป็นภูมิคุ้มกันสำเร็จรูปที่เสริมภูมิคุ้มกันได้เลย โดยออกฤทธิ์ใน 6 ชั่วโมง

เมื่อร่างกายได้รับ LAAB ไปแล้ว จะสามารถป้องกันโควิด แบบมีอาการได้สูงถึง 82.8% เมื่อติดตามไป 6 เดือนนะคะ และอีกประเด็นที่น่าสนใจคือในเรื่องของผลข้างเคียง เนื่องจากเป็นสิ่งที่ทุกคนให้ความสำคัญ โดยจากการศึกษาพบว่าผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นเป็นแบบไม่รุนแรง และหายได้เอง โดยบริเวณที่เกิดอาการไม่พึงประสงค์มากที่สุด คือในบริเวณที่รับยา โดยมักมีอาการ ปวด บวม แดง และอาการเหล่านั้นจะหายไปเอง

สำหรับในประเทศไทย ปัจจุบันมีการใช้ LAAB ในกลุ่มผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งที่เกิดจากตัวโรค และที่เกิดจากการใช้ยากดภูมิ โดยมีกลุ่มเป้าหมายคือ

  • ผู้ที่อายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 หรือได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 เข็มสุดท้ายนานเกิน 3 เดือน
  • ผู้ที่โรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 หรือได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด – 19 เข็มสุดท้ายนานเกิน 3 เดือน
  • ผู้ป่วยโรคไตระยะสุดท้าย ที่ได้รับการบำบัดทดแทนไต ทั้งการปอกเลือด และการล้างไตทางหน้าท้อง
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายอวัยวะ
  • ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือด หรือมะเร็งที่อวัยวะอื่นๆ
  • ผู้ป่วยทีไ่ด้รับยากดภูมิ
  • ผู้ติดเชื้อ HIV ที่มีซีดีสี่น้อยกว่า 200 เซลล์/ลบ.มม.
  • ผู้ป่วยกลุ่มอื่นๆ ที่แพทย์พิจารณาแล้วว่า ควรได้รับยา

ใครอยากรู้ว่าเราอยู่ในกลุ่มที่มีความจำเป็นต้องรับ “ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป” หรือไม่ ก็สามารถไปปรึกษาแพทย์เจ้าของไข้ หรือโรงพยาบาลต้นสังกัด เพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมกันได้

ท่านสามารถค้นหาโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการฉีด LAAB ได้ที่ลิงค์ >> http://bit.ly/3ZBDCiM

รวมถึงผู้ที่สนใจ แต่ยังไม่แน่ใจว่าตนเองมีปัญหาด้านภูมิคุ้มกันหรือไม่ สามารถทำแบบประเมินตนเอง และค้นหาโรงพยาบาลเพื่อเข้ารับการฉีดLAAB ได้ที่ลิงค์ http://bit.ly/3y9sjCw

ข้อมูลจาก RAMA Channel และ ศูนย์ข้อมูล COVID-19

© COPYRIGHT 2024 Amarin Corporations Public Company Limited.